ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ตา ไต เท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ที่ทำให้เส้นประสาทเท้าเสื่อม ส่งผลต่อการรับความรู้สึก และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้า จนเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังตามมา และอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น จนนำไปสู่การรักษาด้วยการตัดเท้าหรือตัดขาในที่สุด


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้าเกิดจากอะไร

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า เป็นลักษณะอาการที่ปรากฏขึ้นที่เท้า เกิดจากภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่มาจากโรคเบาหวาน เกิดจาก 2 สาเหตุ หลักๆ คือ

  1. การทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย จนทำให้เส้นประสาทเท้าทำงานได้ผิดปกติ ส่งผลต่อการรับความรู้สึก และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้า การรับความรู้สึก ร้อน เย็น เจ็บ ได้ลดลง หรือไม่รู้สึก เช่น เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น จะไม่รู้สึกเจ็บ เมื่อตรวจดูจึงพบว่าเป็นแผลเรื้อรัง ทำให้แผลหายยาก หรือติดเชื้อไปแล้ว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้าทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เท้าผิดรูป ซึ่งจะทำให้การลงน้ำหนักที่เท้าไม่กระจายเหมือนปกติ มีการลงน้ำหนักที่จุดใดจุดหนึ่งในเท้ามากกว่าปกติ ทำให้เกิดแผล หนังแข็งๆ และเจ็บได้
  2. หลอดเลือดแดงตีบหรือเสื่อม ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงเท้าทำงานได้ลดลง ส่งผลให้ปลายเท้าคล้ำ ดำ เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เมื่อเป็นแผล แผลจะหายช้า และเกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้ามีอาการอย่างไร

มีอาการแสดงได้หลากหลาย ในระยะแรก บางรายจะมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือน โดนน้ำร้อนลวกบริเวณเท้าทั้งสองข้าง หรือ บางรายอาจมีอาการปวดแปลบๆ คล้ายเข็มตำบริเวณเท้าหรือเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักมีอาการตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ถ้าเป็นรุนแรงก็อาจมีอาการทั้งกลางวันและกลางคืน สีผิวเปลี่ยน อาจซีดลง บวมแดง หรือคล้ำขึ้นก็ได้ ปลายเท้าคล้ำ หรือดำ เท้าบวม

โดยอาการที่มักพบบ่อย คือ อาการชา โดยเริ่มที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างก่อน แล้วค่อยๆ ลุกลามไปยังมือทั้งสองข้าง อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงของอาการชามีตั้งแต่อาการน้อยมากๆ คือ ไม่รู้สึกว่าชา ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ ไปจนถึงอาการรุนแรง คือ ชามากจนไม่รู้สึกสัมผัส ซึ่งในบางรายอาจมีปัญหาต่อการเดินและการทรงตัว ทำให้หกล้มได้ง่าย


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า

  • ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ปลายประสาทจากเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • เท้าผิดรูป
  • เท้ามีหนังหนาด้าน หรือตาปลา
  • หลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ
  • ประวัติเคยมีแผลที่เท้า หรือถูกตัดขา หรือ เท้ามาก่อน
  • มีจอตาผิดปกติจากเบาหวาน หรือสายตาเสื่อม
  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เท้าอะไรบ้าง

เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า จะทำให้พบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

  • เกิดแผลเบาหวาน แผลเรื้อรังหายช้า
  • หนังหนา เกิดหนังแข็งๆ ที่ฝ่าเท้า
  • ผิวแห้ง ผิวแตก
  • เล็บขบ ในผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นปัญหาแผลเรื้อรังได้
  • เชื้อราที่เท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกเล็บ ง่ามนิ้วเท้า จะมีอาการคัน ผิวหนังบวมแดง ผิวหนังแตก
  • นิ้วเท้าผิดรูป เกิดจากกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้าทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้นิ้วเท้าผิดรูป

การรักษาโรคโลหิตจาง

การรักษาโรคโลหิตจาง แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน ให้ออกซิเจนในรายที่อาการค่อนข้างรุนแรงมาก และอาจให้ผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก

สำหรับผู้ป่วยโลหิตจางที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะรักษาตามอาการโดยให้ยาบำรุงโลหิตไปรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางที่สำคัญนั้น คือ การตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้แพทย์เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ ที่สำคัญในบางครั้งภาวะโลหิตจางก็อาจทำให้สามารถตรวจพบโรคร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยภาวะโลหิตจางได้


หลักการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

  • ทำความสะอาดเท้า และเช็ดเท้าให้แห้งทันที
  • สำรวจเท้า และซอกนิ้วเท้า เพื่อดูว่ามีผิวหนังแข็ง ตาปลา แผล หรือการเกิดเชื้อรา หากมีปัญหาทางสายตา ควรให้ญาติช่วยตรวจ
  • หากผิวแห้งควรใช้ครีมทาบำรุง แต่ไม่ควรทาที่ซอกนิ้ว เพราะจะทำให้อับชื้น
  • หากต้องแช่เท้าในน้ำร้อน ควรทดสอบอุณหภูมิก่อน โดยใช้ข้อศอกทดสอบระดับความร้อนก่อน
  • หากมีหากมีอาการเท้าเย็นตอนกลางคืน ให้สวมถุงเท้า
  • สวมรองเท้าที่มีขนาดพอดี เหมาะสมกับรูปเท้า โดยสวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้า
  • ตรวจดูรองเท้าทั้งภายในและภายนอกก่อนใช้ทุกครั้ง
  • ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น หรือเริ่มมีโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่เริ่มมีภาวะเสี่ยง ควรมาพบแพทย์ประเมินอาการ พร้อมทั้งแนะนำการดูแลของคุณเท้าอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าได้

       ผู้เป็นเบาหวานมานานหลายปีมักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่า โดยเฉพาะบริเวณเท้า ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากก็จะช่วยชะลอ และลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้มากเท่านั้น ที่สำคัญคือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังนี้อาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ถ้าผู้เป็นเบาหวานได้รับการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการรักษาแต่เริ่มแรก

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ตา ไต เท้า

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้เป็นเบาหวาน

  • โรคตา จอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจกจากเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในร่างกายมีมากขึ้น ร่างกายจะขับน้ำตาลออกมาตามส่วนต่างๆ รวมถึงบริเวณเลนส์ตา ส่งผลให้อาจจะเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาหลายชนิด เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม และอาจส่งผลให้จอรับภาพเกิดการฉีกขาดหรือแตก ทำให้มีโอกาสตาบอดได้ ดังนั้น ถ้าผู้เป็นเบาหวานเริ่มมีอาการปวดตา เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว มองเห็นแสงไฟ หรือใยแมงมุมอยู่ในอากาศ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ แต่ถ้าเป็นไปได้เมื่อทราบแล้วว่ากำลังเป็นเบาหวาน ต้องรับการตรวจดวงตาเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยป้องกันดวงตาจากอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
    ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ตา ไต เท้า

  • โรคไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน ไต อวัยวะซึ่งทำหน้าที่กรองสารต่างๆ ที่อยู่ในกระแสเลือด มีหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมากบริเวณไต เมื่อผนังหลอดเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน การทำหน้าที่กรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะผู้เป็นเบาหวานมานานกว่า10 ปี มักเกิดปัญหาไตเสื่อม แต่ความรุนแรงและระยะการเกิดจะมาก หรือน้อย ขึ้นกับการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวานควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ รวมทั้งผู้สูบบุหรี่ควรเลิกสูบบุหรี่ หันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไต ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานได้

ทั้งหมดนี้ เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นเบาหวาน ส่งผลต่อการทำงาน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และบางครั้งโรคแทรกซ้อนนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว จะช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคแทรกซ้อน

ศูนย์เบาหวานและเฉพาะโรค อาคาร 1 ชั้น 2 โทร. 02-271 7000 ต่อ เบาหวานและเฉพาะโรค