แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน



กระทรวงพลังงงานเตรียมกางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP ฉบับล่าสุดครั้งแรก พร้อมเผยข้อมูลเชิงลึกก่อนใคร ที่งาน SETA, Enlit Asia 2022 และ SSA 2022 พร้อมกัน 3 งาน ที่ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ 20-22 ก.ย.นี้

วันนี้ (20 ก.ค.) ประเทศไทยเดินหน้าผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและเปิดประเทศต้อนรับกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงงานประชุมแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านไฟฟ้าและพลังงงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ทั้ง 3 งาน ได้แก่ Enlit Asia 2022 / งาน SETA 2022 (Sustainable Energy Technology Asia) และงาน Solar+Storage Asia (SSA) 2022 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย. นี้ ภายใต้ความร่วมมือของ GAT International และพันธมิตร Clarion Events โดยถือเป็นโอกาสพิเศษสุดที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและประเด็นสำคัญของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือ PDP ฉบับล่าสุด เป็นครั้งแรกก่อนใคร จากผู้แทนระทรวงพลังงานที่จะนำแผน PDP มาอภิปรายถึงยุทธศาสตร์ของภาครัฐ ทั้งในด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของประเทศไทยและความคาดหวังที่จะบรรลุเป้าหมายในด้านการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เช่น พลังงานไฮโดรเจน

ทั้งนี้ หัวข้อต่าง ๆ ที่จะมีการอภิปรายบนเวที SETA 2022, Enlit Asia 2022 และ Solar+Storage Asia 2022 ตลอดระยะเวลาการจัดงานทั้ง 3 วัน จะเป็นประเด็นสอดคล้องกับแผน PDP ฉบับใหม่ ทั้งสิ้น โดยมีเนื้อหาสำคัญ 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การผลิตไฟฟ้าแบบปลอดคาร์บอน (Decarbonised Power Generation) (2) การเสริมความแข็งแกร่งและสร้างโครงข่ายระบบไฟฟ้าในอนาคต (Fortifying and Creating a Next-Gen Power Grid) (3) การพัฒนาระบบไฟฟ้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (The Electrification of The ASEAN Economy) (4) ความผันผวนของราคาไฟฟ้าจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด (Electricity Prices Surging due to unexpected Circumstances) (5) การผลักดันพลังงานหมุนเวียนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Enabling Renewable Energy to meet RE Targets) และ (6) แผนกลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (The Roadmap to Net-Zero)

งานประชุมและนิทรรศการทั้ง 3 งานนี้ นับเป็นเวทีด้านพลังงานที่สำคัญที่ผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาคจะได้มาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้โซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมด้านพลังงานที่แท้จริง รวมถึงยังเป็นเวทีที่เปิดกว้างให้มีการอภิปรายและถกกันในประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงพาณิชย์ของธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน อีกทั้งจะมีการนำเสนอข้อมูล และรายงานต่างๆ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานต้องเผชิญ

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังมีโอกาสในการขยายเครือข่ายและการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานจากวิทยากรที่มาจากองค์กรอุตสาหกรรมพลังงานชั้นนำกว่า 200 แห่ง ที่จะหยิบยกประเด็นด้านพลังงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในยุคปัจจุบันที่อุตสาหกรรมพลังงานโลกกำลังวิวัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง วิทยากรที่เข้าร่วมจะบรรยายและอภิปรายในประเด็นที่ท้าทายเหล่านี้ อาทิ ผู้บริหารจาก ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) การไฟฟ้าแห่งเวียดนาม (EVN) การฟ้าแห่งอินโดนีเซีย (PLN) และตัวแทนจากภาคเอกชน เช่น Indonesia Power, Trilliant, Wartsila, Shell, Mitsubishi, Saudi Aramco และ อีกหลายองค์กร

ความแข็งแกร่งจาก 3 ผู้จัดงานประชุมและแสดงสินค้าชั้นนำอย่าง SETA, Enlist Asia และ Solar& Storage Asia ที่จับมือเป็นเจ้าภาพร่วมกัน คาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้มากกว่า 10,000 คน จากธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานทั่วภูมิภาคเอเซีย เอเซียแปซิฟิค และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีบริษัทด้านพลังงานชั้นนำ รวมถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กว่า 350 บริษัท มาจัดแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดและโซลูชั่นด้านพลังงาน รวมถึงพร้อมให้ความรู้ คำแนะนำ และข้อมูลเชิงลึก เพื่อรับมือกับความท้าทายในอุตสาหกรรมพลังงานในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ถือได้ว่าประเทศไทยยืนอยู่แถวหน้าในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาค และมีนโยบายเชิงรุกรวมถึงการกำกับดูแลด้านพลังงานที่ส่งเสริมและก่อให้เกิดแรงดึงดูดการลงทุนมหาศาล นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2065-70 ซึ่งเป็นคำมั่นที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายพลังงานสะอาดในอนาคต ไม่พลาดโอกาสเชื่อมต่อทางธุรกิจ และความร่วมมือกับผู้นำด้านพลังงาน ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ Enlit Asia 2022 SETA Asia 2022 และ Solar+Storage Asia 2022



  • กระทรวงพลังงาน

กพช.รับทราบแผนPDP เพิ่มซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 10 ปีแรกกว่า 9,996​ เมกะวัตต์

07/05/2022 ; 7:12 am

Facebook

LINE

Twitter

Email

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

- Advertisment-

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

กพช.รับทราบแผนPDP เพิ่มซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 10 ปี (2564-2573)​กว่า 9,996 เมกะวัตต์​ พร้อมอนุมัติอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบFeed in Tariff สำหรับปี65 ของ โรงไฟฟ้าขยะชุมชน จาก 34 โครงการกำลังผลิตรวม 282 เมกะวัตต์ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินอีก 90 เมกะวัตต์ และไฟเขียว กฟผ.ลงนามโครงการปากแบง ที่สปป.ลาว ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 897 เมกะวัตต์ อายุสัญญา 29 ปี พร้อมให้ลงนาม Tariff MOU กับ โครงการเซกอง 4A และ 4B ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 347.30 เมกะวัตต์

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) รวม 34 โครงการ ปริมาณรับซื้อไฟฟ้ารวม 282.98 เมกะวัตต์ ระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในปี 2568 – 2569 ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้าต่อไป

ที่ประชุม กพช. ยังได้รับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์ และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและข้อเสนออัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff สำหรับปี พ.ศ. 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัญญาไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ซึ่งจะดำเนินการเปิดรับซื้อไฟฟ้าด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่พิจารณาถึงความพร้อมด้านราคา คุณสมบัติ และเทคนิคร่วมกัน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าโครงการที่ได้รับการคัดเลือกมีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาให้สำเร็จ สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามแผนที่กำหนด

- Advertisment -

แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน

โดยระยะเวลาสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าเป็นเวลา 20 – 25 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) และรูปแบบสัญญา Partial-Firm สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS)

ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการออกระเบียบ ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าและกำกับดูแลการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ให้มีการกำหนดเงื่อนไขให้กรรมสิทธิ์ในหน่วย Renewable Energy Certificate (REC) ที่เกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของภาครัฐด้วยการระบุไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

​นายกุลิศ กล่าวว่า ที่ประชุม กพช. ได้เห็นชอบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โครงการปากแบง และได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามในสัญญาโครงการปากแบง ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว โดยโครงการปากแบงเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภท Run of River มีอายุสัญญา 29 ปี ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 897 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2576

ที่ประชุม กพช. ยังได้มีมติเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการเซกอง 4A และ 4B และมอบหมายให้ กฟผ. ลงนามในบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) โครงการเซกอง 4A และ 4B ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ทั้งนี้ โครงการเซกอง 4A และ 4B เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภท Reservoir มีอายุสัญญา 27 ปี ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 347.30 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2576

​นอกจากนี้ ที่ประชุม กพช. ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่รับซื้อจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ พพ. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) จำนวน 26 แห่ง กำลังผลิตรวม 94.447 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่รวมเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าไว้ด้วยแล้ว อีกทั้งที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้กรรมสิทธิ์ Renewable Energy Certificate (REC) ที่เกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ดำเนินการโดย พพ. เป็นกรรมสิทธิ์ของภาครัฐ

​ที่ประชุม กพช. ยังเห็นชอบทบทวนมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2550​ (ครั้งที่ 116) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550​ ในส่วนของกลไกการกำกับดูแลและเงื่อนไข เรื่องการลงทุนและการร่วมทุนโครงการของ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในข้อที่ 2 โดยขยายกรอบการพิจารณาการลงทุนและร่วมทุน ดังนี้ “ในการลงทุนและร่วมทุนในต่างประเทศของบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงานก่อนเป็นรายโครงการ โดยให้หมายรวมถึง การลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หลักทรัพย์อื่นของบริษัทใดๆ และกองทุนประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวกับ กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมทางด้านพลังงานไฟฟ้าหรือธุรกิจนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เกี่ยวเนื่องหรือต่อเนื่องกับกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในต่างประเทศ และสำหรับโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็นชอบ