การสร้างขอบเขตพื้นที่ selection ภาพ

ในบทนี้เราจะเรียนรู้มาตราวัดของภาพ การกำหนดระยะต่างๆ และที่สำคัญคือ การเลือกพื้นที่(Selection) ซึ่งการเลือกพื้นที่ นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่ง ของการตกแต่งภาพโดยใช้ Photoshop การเลือกเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น ของการตกแต่งภาพ

1.ความหมายของการ Selection

ใน Photoshop หากเราต้องการปรับแต่งภาพ แต่ไม่ได้เลือกพื้นที่อย่างเจาะจง ก็หมายความว่า เรากำลังปรับแต่งทั้งภาพ ซึงในความเป็นจริงแล้ว ภาพบางภาพเราต้องการปรับแต่งเฉพาะบางจุดเท่านั้น ดังนั้นการ Selection จึงนับว่าเป็นเรื่องจำเป็น (อาจกล่าวได้ว่า ครึ่งหนึ่งของการตกแต่งภาพคือการ Selection) เพราะว่าถ้าเราทำการ Selection ได้ดี การปรับแต่งภาพก็จะทำได้โดยง่ายด้วย

2.การใช้งานเครื่องมือวัดตำแหน่งต่างๆ

ก่อนที่เราจะเรียนรู้เรื่อง Selection สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ คือการใช้เครื่องมือวัดต่างๆ อันได้แก่ Ruler,Guideและ Grid เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ในการจัดวางงานของเรา

3.การใช้งาน Ruler

มีลักษณะเหมือนไม้บรรทัด ที่อยู่บริเวณด้านบนและด้านซ้ายของหน้าต่างรูปภาพ เป็นตัวอ้างอิง เพื่อใช้บอกตำแหน่งของตัวชี้เมาส์บนภาพ ถ้าที่หน้าต่างภาพไม่มีแถบไม้บรรทัด ให้เลือกคำสั่ง View >Show Ruler ที่แถบเมนู

การเซ็ตค่าพิกัดเริ่มต้น (0,0) ของไม้บรรทัด

ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ภาพ ตำแหน่งเริ่มต้นพิกัด (0,0) จะถูกกำหนดไว้อยู่มุมบนซ้ายเสมอ เราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งพิกัดเริ่มต้น ไปอยู่ตำแหน่งใดในภาพก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการวัดระยะทาง โดยวิธีการต่อไปนี้ คือ

1. Click mouse ค้างไว้แล้วลากจากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งที่เราต้องการ

2. Double Click ที่มุมซ้ายบน หากต้องการให้พิกัด ( 0, 0 ) มาเริ่มที่มุมซ้ายดังเดิม

Tip

เราสามารถเปลี่ยนหน่วยวัด ที่ไม้บรรทัดในหน้าต่าง Preferences ด้วยคำสั่ง Edit> Preferences>Units& Ruler หรือ Click mouse ปุ่มขวาที่ไม้บรรทัด จากนั้นจะปรากฏเมนูของหน่วยวัด ให้เราเลือกหน่วยวัดตามที่ต้องการ

4.การใช้งาน Guide

เป็นการอ้างอิง โดยใช้แนวเส้นตรงทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน เส้น Guide จะปรากฏเป็นลักษณะของเส้นตรง เหนือรูปภาพทั้งหมด โดยเส้นเหล่านี้ จะไม่ถูกพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์

5.การสร้างเส้น Guide

การสร้างเส้น Guide เราสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 สร้างโดยการลากเมาส์

1. เลื่อนเมาส์ไปที่ไม้บรรทัดอาจเป็นแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ (แล้วแต่ความต้องการ) ตัวชี้เมาส์ จะเปลี่ยนเป็นรูป  หลังจากนั้น Click mouse ค้างไว้ แล้วลากออกมาในตำแหน่งที่ต้องการ สังเกต ขณะเลื่อนตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป

2. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ปล่อยเมาส์ จะปรากฏเป็นเส้นตรงสีฟ้า เราเรียกว่าเส้น Guide ซึ่งเราสามารถสร้างกี่เส้นก็ได้

Tip

หากเรากด <Alt> ค้างไว้ในขณะสร้างเส้น Guide ผลลัพธ์ที่ได้จะตรงข้ามกับปกติ คือ เมื่อเราลากเส้น Guide ออกจากไม้บรรทัดแนวตั้ง จะได้เส้น Guide ในแนวนอน และหากลากเส้น Guide จากไม้บรรทัดในแนวนอนจะได้เส้น Guide ในแนวตั้ง

วิธีที่ 2 สร้างโดยกำหนดตำแหน่งอย่างเจาะจง

ให้เราเลือกคำสั่ง View>New Guide จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ และให้กำหนดค่าต่างๆ ดังนี้

– Orientation กำหนดแนวของเส้น Guide ได้แก่ แนวนอน (Horizontal), แนวตั้ง (Vertical)

– Position กำหนดตำแหน่งโดยยึดระยะห่างจากขอบไม้บรรทัด

6.การเคลื่อนย้ายเส้น Guide

3. หากต้องการย้ายตำแหน่งเส้น Guide ให้ Click mouse ที่ไอคอน ที่ Toolbox

4. เลื่อนเมาส์ไปยังเส้นที่ต้องการย้ายตำแหน่ง ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป

5. Click mouse ค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ

7.การลบเส้น Guide

การลบเส้น Guide คือการย้ายเส้น Guide ออกไปนอกหน้าต่างภาพ เส้น Guide นั้น ก็จะหายไป หากต้องการลบเส้น Guide ทั้งหมด เลือกคำสั่ง View >Clear >Guides

8.การซ่อนและแสดงเส้น Guide

เลือก View>Show> Guides เพื่อแสดงเส้น Guide

เลือก View>Show> Guides อีกครั้งเพื่อซ่อนเส้น Guide

9.การยึดตำแหน่งเส้น Guide โดยใช้คำสั่ง Lock Guide

ในขณะที่เราทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนย้ายภาพ เราอาจเผลอทำให้เส้น Guide ที่เราวางตำแหน่งไว้เคลื่อน ฉะนั้นเราสามารถล็อกตำแหน่งเส้น Guide ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายได้ โดยเลือกคำสั่ง View >Lock > Guides

Tip

– ถ้าต้องการให้ตำแหน่งของเส้น Guide สัมพันธ์พอดีกับสเกลของไม้บรรทัด ให้กดปุ่ม <Shift> ค้างไว้ขณะที่ลากเมาส์เลื่อนตำแหน่ง

–         เราสามารถเปลี่ยนเส้น Guide สลับไปมา ระหว่างแนวนอนและแนวตั้งได้ โดยกดปุ่ม <Alt> และเลื่อนเมาส์ไปที่เส้น Guide นั้นหลังจากนั้น Click mouse เส้น Guide จะเปลี่ยนจากแนวตั้งเป็นแนวนอน หรือเปลี่ยนแนวนอนเป็นแนวตั้ง

10.การใช้ Grid

Grid คือ การอ้างตำแหน่งโดยใช้จุดพิกัดโดยจุดแต่ละจุด เกิดจากเส้นแนวตั้ง และแนวนอนมาตัดกัน เราสามารถให้โปรแกรม แสดงเส้น Grid ได้โดยเลือกคำสั่ง View>Show Grid

การกำหนดรูปแบบของ Guide และ Grid

11.การกำหนดรูปแบบของ Guide และ Grid
จากที่ผ่านมา เราสามารถกำหนดรายละเอียด ของ Guide และ Grid ได้โดยเลือกที่เมนู Edit >Preference >Guides & Grid ซึ่งจะปรากฏหน้าจอ Preference

1.กำหนดลักษณะของเส้น Guide
* กำหนดสีของเส้น (Color)
* กำหนดสีของเส้น (Color)
* กำหนดลักษณะของเส้น (Style)2. กำหนดลักษณะของเส้น Grid
* กำหนดสีของเส้น (Color)
* กำหนดสีของเส้น (Color)
* กำหนดลักษณะของเส้น (Style)
* กำหนดลักษณะของเส้น (Style)
* กำหนดระยะห่างของเส้น Grid แต่ละเส้น
* กำหนดจำนวนเส้นย่อยระหว่างเส้น Grid แต่ละเส้น

 

12.การใช้งาน Snap

Snap เป็นคำสั่งที่ช่วยสร้างความแม่นยำให้ในการ Selection, Crop ภาพ, การ Slice, การวาดภาพ และการจัดวางวัตถุต่างๆ โดยยึดแนวของ เส้น Guide, เส้นของการแบ่ง Slice, ขอบเขตหน้าเอกสาร และเส้น Grid เป็นหลัก

13.การเรียกใช้/ยกเลิก Snap

– เรียกใช้ Snap โดยเลือกคำสั่ง View>Snap

– ยกเลิกการใช้ Snap โดยเลือกคำสั่ง View> Snapอีกครั้ง

14.เลือกใช้ Snap ในลักษณะต่างๆ

– การใช้ Snap ยึดแนวเส้น Guide ให้เลือกคำสั่ง View> Snap to>Guide

– การใช้ Snap ยึดแนวเส้น Grid ให้เลือกคำสั่ง View> Snap to>Grid

– การใช้ Snap ยึดเส้นแบ่งพื้นที่ Slice ให้เลือกคำสั่ง View> Snap to >Slice

– การใช้ Snap โดยยึดแนวขอบเขตเอกสาร ให้เลือกคำสั่ง View> Snap to >Document Bounds

– การใช้ Snap ได้ในทุกลักษณะ ให้เลือกคำสั่ง View> Snap to >All

– ยกเลิกการใช้ Snap ในทุกลักษณะ ให้ใช้คำสั่ง View> Snap to >None

15.การใช้ Extras

ในโปรแกรม Photoshop จะมีสิ่งต่างๆ ที่ช่วยในการเลือกพื้นที่ภาพ สำหรับตกแต่งภาพ การเคลื่อนย้ายภาพ และการแก้ไขภาพ ซึ่งได้แก่เส้น Guide, เส้น Grid,เส้น Path, ส่วนที่แสดงขอบเขตของการเลือกพื้นที่,ขอบเขตของการ Slice, ขอบเขตของข้อความ และส่วนที่เป็นโน๊ตเตือนความจำ สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะแสดงให้เราเห็น เฉพาะในขณะที่ทำการตกแต่งภาพอยู่เท่านั้น จะไม่มีผลต่อภาพที่พิมพ์ออก แสดงทางเครื่องพิมพ์แต่อย่างใดเราเรียกสิ่งต่างๆเหล่านี้ว่า “Extras”

เราสามารถสั่งให้ซ่อน หรือแสดง Extras ที่เกี่ยวกับงานที่เรากำลังทำอยู่ ทั้งหมดได้ โดยเฉพาะ ในการสร้างกราฟิกแต่ละครั้ง อาจจะมี Extras หลายเส้นเข้ามาเกะกะ ทำให้พื้นที่ในการทำงานนั้น ไม่ว่างเราสามารถซ่อน Extras เหล่านี้ไว้ก่อน โดยใช้คำสั่ง View> Extras และเมื่อต้องการกลับมาใช้ Extras สำหรับช่วยตกแต่งภาพอีกครั้งหนึ่ง ให้เราเรียกใช้คำสั่ง View> Extras อีกครั้ง

1. เลือกใช้คำสั่ง View > Show Extrast ซ่อนการแสดง Extrast

2. Extracts ทั้งหมดจะถูกซ่อนไม่ให้แสดง

การวัดระยะของวัตถุโดยใช้คำสั่ง Measure Tool

ในขณะที่เรากำลังทำงาน เราสามารถวัดระยะทาง และมุมของตำแหน่งของวัตถุ 2 ตำแหน่ง ได้โดยการใช้คำสั่ง Measure Tool  ซึ่งทำหน้าที่เหมือนไม้บรรทัด (วัดระยะทาง) และไม้ Protecter (การวัดมุม) เพื่อให้การทำงานของเราสะดวกรวดเร็ว และแม่นยำขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ คือ

1. Click mouse ที่  ซึ่งเป็น Tool ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ Eyedropper Tool จะปรากฏตัวชี้เมาส์เป็นรูป

2. ดูระยะทางโดย Drag mouse ลากระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดปลายที่เราต้องการวัด

3. ดูระยะทางที่ Info Palette ตัว D คือระยะของเส้นที่เราลาก (Distance) มีหน่วยเหมือนกันหน่วยวัด ของแถบไม้บรรทัด

4. ดูมุมโดยหลังจากที่ลากเส้นระยะทางแล้ว เลื่อนเมาส์ไปยังจุดปลาย ของเส้นระยะทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วกดปุ่ม <Alt> ค้างไว้ จะปรากฏตัวชี้เมาส์เป็นรูป หลังจากนั้น Drag mouseเป็นมุมตามต้องการ

5. ดูค่าของมุมได้ที่ Info Palette ตัว A คือมุมของเส้นที่เราลาก (Angle)

6. เราสามารถเลื่อนเส้นวัดระยะทางหรือมุมได้ โดยการเลื่อนเมาส์ไปที่เส้นนั้น ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป  แล้ว Drag mouse เลื่อนเส้นไปยังแหน่งที่ต้องการ

16.การ Selection โดยใช้ Marquee Tool

Marquee Tool เป็นเครื่องมือที่เราทำการ Selection แบบมีรูปแบบตายตัว เช่น การเลือกพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกกลม ด้วยวิธีง่ายๆเพียงลากเมาส์ ผ่านพื้นที่ภาพเท่านั้น Marquee Tool แบ่งตามลักษณะการใช้งานเป็น 4 รูปแบบ คือ

Rectangular Marquee Tool สามารถสร้างการเลือกเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมจัตุรัส

Elliptical Marquee Tool สามารถสร้างการเลือกพื้นที่เป็นวงกลมและวงรี

Single Row Marquee Tool เป็นการเลือกพื้นที่เป็นแนวเส้นตรงในแนวนอน ความกว้าง 1 พิกเซล

Single Column Marquee Tool เป็นการเลือกพื้นที่เป็นแนวเส้นตรงในแนวตั้ง ความกว้าง 1

พิกเซล

17.วิธีการใช้งาน Marquee Tool

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า Marquee Tool มี 4 ลักษณะ ในหัวข้อนี้ จะแสดงให้เราเห็นว่า เราสามารถใช้งาน Marquee Tool ได้ดังนี้คือ

1. เลือกรูปแบบของ Marquee โดย Click mouse ค้างไว้ จะปรากฏรูปทรงต่างๆ ของ Marquee Selection ที่ซ่อนไว้ เลื่อนเมาส์ไปยังรูปแบบที่ต้องการ แล้วปล่อยเมาส์ แต่ถ้ารูปแบบที่ต้องการไม่ถูกซ่อนอยู่ ก็สามารถ Click mouse ที่ไอคอนนั้นได้เลย หรือกดปุ่ม <M> ซึ่งเป็นชอร์ตคัทของ Marquee Tool

ในที่นี้เราเลือก Rectangular Marquee Tool

2. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปที่บริเวณภาพ ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็น + หลังจากนั้น Click mouse และลากเพื่อเลือกพื้นที่ที่ต้องการ

3. เมื่อได้พื้นที่ที่ต้องการแล้วปล่อยเมาส์ จะปรากฏอาณาบริเวณที่เลือกขึ้น

Tip

การใช้เมาส์ร่วมกับคีย์บอร์ดในกากรเลือก

– กด<Shift> ค้างไว้ในขณะที่ลากเมาส์ เลือกพื้นที่แบบ Rectangular Marquee  จะได้พื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

– กด<Shift> ค้างไว้ในขณะที่ลากเมาส์ เลือกพื้นที่แบบ Elliptical Marquee  จะได้พื้นที่เป็นรูปวงกลม

– กด <Alt> ค้างไว้ในขณะที่ลากเมาส์เลือกพื้นที่ จะเป็นการเลือก จากจุดศูนย์กลางขยายออกไป

Click mouse เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าเป็นการเลือกแบบ Single Row Tool และ Single Column Tool

18.Marquee Options

เราสามารถกำหนดคุณลักษณะต่างๆ ของ Marquee Tool ได้โดย Click mouse เลือกที่ Options Bar จะแสดงขึ้น

19.รายละเอียดของ Function ต่างๆ ใน Marquee Options

1. Feather เป็นการกำหนดความฟุ้งเบลอของขอบที่เลือก มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 250 เป็นการสร้างเส้นขอบ Selection ให้มีความฟุ้งเบลอ และลดความละเอียดของขอบ ที่ Selection ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เมื่อมีการ Cut, Coppy หรือ Move พื้นที่ที่เลือกนั้น หากค่าของ Feather มากความฟุ้งเบลอ จะมากตามไปด้วย

Feather = 0                                               Feather = 8

2. Style ของ Marquee Options แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

– Normal เลือกอย่างอิสระ ขนาดของพื้นที่เลือกจะเปลี่ยนแปลงไป ตามตำแหน่งของเมาส์ที่เลื่อนไป

– Constrained Aspect Ratio เลือกแบบกำหนดค่ายืดหยุ่นตามอัตราส่วน ความกว้าง:ความสูง ที่ได้กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ Width=1 และ Height=1 หมายถึงเมื่อเราลากเมาส์พื้นที่เลือกได้ จะถูกบังคับให้เป็นอัตราส่วน 1:1 เสมอ

– Fixed Size เลือกโดยกำหนดพื้นที่เลือกทั้งความกว้าง และความสูงอย่างเจาะจง แน่นอน Click mouse เพียงครั้งเดียว จะได้พื้นที่เลือกโดยอัตโนมัติ