หนังสือความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

"ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง (รหัสวิชา 3106-2111)" เล่มนี้ เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับ ปวส. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ และสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม รวมถึงนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาการจัดการงานก่อสร้าง สาขาเทคโนโลยีก่อสร้าง สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย และสาขาวิชาอาชีวอนามัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง โดยเนื้อหาวิชาได้เขียนให้ครอบคลุมถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แนวทางการป้องกันอันตราย แนวทางการจัดการให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานด้านการก่อสร้าง รวมทั้งข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยต่างๆ ที่บังคับให้ทั้งนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเกิดความสงบสุขต่อสังคมโดยรวม
ปัจจุบันงานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก รวมทั้งการนำเอาเทคนิควิชาการใหม่ๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร เพื่อทุ่นแรง และประหยัดเวลาในการทำงาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คือ อุบัติการณ์หรืออุบัติเหตุ ซึ่งการเกิดแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น  จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง  พบว่ายังมีผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงาน ผู้สัญจรผ่านบริเวณก่อสร้าง ผู้คุมงาน ฯลฯ  มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง  ดังนั้น การป้องกันอุบัติเหตุและการลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

การปรับปรุงครั้งที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2560  เป็นการปรับปรุง “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับ พ.ศ. 2518 โดยแก้ไขชื่อใหม่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง” ซึ่งมีการเพิ่มขอบเขตงานจากงานอาคารเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มงานอื่นๆ และแยกเป็น 4 เล่ม เช่น เล่ม 1 การจัดการทั่วไป เพิ่มเนื้อหาใหม่ทั้งเล่ม, เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร  เพิ่มเรื่องลิฟต์ขนส่งชั่วคราว เล่ม 3ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ เพิ่มเรื่องเครื่องจักรและพื้นผสมคอนกรีต  งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคาร งานจัดจราจรและการจัดการขนส่ง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ  เพิ่มเรื่องการทำงานในที่มีฝุ่นหรือละอองขนาดเล็ก การทำงานในที่เกิดแรงกระแทก การทำงานในที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด และการทำงานก่อสร้างในลำน้ำและชายฝั่งทะเล

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างนี้จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ภายใต้คณะอนุกรรมการสาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมาตรฐานเล่มนี้ เป็นมาตรฐานเล่มที่ 2 จากมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างซึ่งมี 4 เล่ม ดังนี้

มาตรฐานเล่มที่ 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป

มาตรฐานเล่มที่ 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

มาตรฐานเล่มที่ 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ

มาตรฐานเล่มที่ 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่มที่ 2 ฉบับนี้จัดทำเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างทราบถึงแนวทางปฏิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการทำงานก่อสร้าง  โดยมีขอบเขตครอบคลุมในช่วงเวลาดำเนินงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงหลักทางวิศวกรรมตามสภาพหน้างานที่อาจมีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐาน และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ควรอยู่ในความดูแลและกำกับของวิศวกร ทั้งนี้หน่วยการวัดต่างๆ ที่ปรากฏในมาตรฐานเล่มนี้อาจมีการใช้หลายระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติที่หน้างานได้ตรงกัน

ทั้งนี้ หากผู้ใช้งานมาตรฐานมีข้อเสนอแนะ สามารถส่งข้อมูลกลับมาที่ วสท. เพื่อที่ทางคณะทำงานจะได้รวบรวมสำหรับใช้ประกอบการปรับปรุงในครั้งต่อไป

    หนังสือ "ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง (รหัสวิชา 20106-2113)" เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาทั้งหมด 16 บท ประกอบด้วย ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง กฎหมายความปลอดภัย ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับไฟฟ้า การป้องกันและระงับอัคคีภัย การปฐมพยาบาล การจัดอาชีวอนามัยในการทำงาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ความปลอดภัยเกี่ยวกับนั่งร้าน การใช้เครื่องมือ ไปจนถึงการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด พร้อมแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และภาพประกอบเพื่อความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น