การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

����� ����͹��ѡ�� ������ҹء�� ���¶֧ ����ѡ����餧��� �ѧ��� ���͹��ѡ����Ż������ �֧���¶֧ ����ѡ����Ż����������ҧ��鹺��׹�蹴Թ�� �ѹ���Ѳ������ͧ��Ҿѹ�����餧�������ô��ͧ�������ѧ���� ���֡�Ҷ֧���˵���С������������������Ƿҧ���͡��͹��ѡ�������Ż��´�ç�������Ҿ�������ó���ҷ��з���

ศิลปวัฒนธรรมไทย แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน เป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระทางความคิด บุคคลในประเทศมีความสงบสุข รัก สามัคคี จึงเกิดมีศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นระเบียบแบบแผน มีความเป็นมา มีคุณค่า วิธีการที่มีความสำคัญ ทุกคนแม้แต่ชาวต่างชาติเห็นแล้วรู้ทันทีว่า นี่คือ “ประเทศไทย”

แนวทางการปลูกฝังให้ผู้เรียนหรือทุกคนได้มีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ควรมีแนวทาง ดังนี้

1. ศึกษาความเป็นมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีประวัติ ความเป็นมาโดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ด้วยความประณีตแล้วจะต้องมีความเป็นมา มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นศิลปที่งดงาม วัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับเห็นแล้วเกิดความภาคภูมิใจ เช่น ศิลปะด้านการขียนภาพ การสร้างบ้านทรงไทย วัฒนธรรมการไหว้ การรับประทานอาหาร เป็นต้น

2. ศึกษาคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นศิลปหรือวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ ต้องมีคุณค่าที่ชัดเจนหรือคุณค่าแฝงอยู่มากมาย เช่น วัฒนธรรมการไหว้ ประเพณีสงกรานต์ ศิลปะแต่ละสมัย

3. ศึกษาวิธีการ ของศิลปะและวัฒนธรรมให้เข้าใจ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ อย่าให้ผิดเพี้ยนจะเกิดความเสียหาย เช่นการไหว้ที่ถูกต้อง แต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคลทำอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น

การที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมและความเป็นไทยนั้นต้องสร้างและจัดกิจกรรมที่จะฝึกให้ผู้เรียนได้ศึกษาความเป็นมาอย่างท่องแท้ รู้ถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและศึกษาวิธีการให้เข้าใจ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้เรียนจะมีความภาคภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทยอย่างมีจิตสำนึก บนพื้นฐานความภาคภูมิใจตลอดไป

การสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในสังคม ควบคู่กับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยจิตสำนึก จะสามารถส่งต่อคุณค่าของมรดกทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้คนรุ่นต่อไป

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักดีถึงคุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม จึงได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรการกุศลที่ทำงานในด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อถ่ายทอดไปสู่ชนรุ่นหลัง ทำให้ชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยวัฒนธรรมอันดีงาม ที่หล่อหลอมให้คนในชาติมีความรักความสามัคคีต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ถือเป็นวาระสำคัญของโลกที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ทุกคนต่างตระหนักดีว่า เป็นหน้าที่ของทุกคนบนโลกในการร่วมกัน ลด ละ เลิก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัดอย่างสิ้นเปลือง พร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายจนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และภาวะเรือนกระจก จนส่งผลถึงการดำรงชีวิตของเราทุกคน ธนาคารไทยพาณิชย์ภาคภูมิใจที่เป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย ที่เสนอให้ลูกค้าเลือกไม่รับใบบันทึกรายการจากเครื่องเอทีเอ็ม และคำนึงถึงการลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในกระบวนการทำงานและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่

นอกจากนี้ ธนาคารยังร่วมรณรงค์ปลูกฝังให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานจิตอาสา SCB ชวนกันทำดี ในการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ พร้อมสนับสนุนเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน 

ในปี 2563 มีการจัดแสดงนิทรรศการฟิล์มกระจก เรื่องราวเหนือกาลเวลา ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดย ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน รับหน้าที่ภัณฑารักษ์ คัดสรรภาพถ่ายในอดีตนำมาจัดแสดงจำนวนทั้งสิ้น 102 ภาพ โดยเน้นภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสยามครั้งอดีตในด้านต่างๆ เสมือนหนึ่งได้ร่วมเดินทางไปในการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จะเห็นภาพชาวบ้านตามหัวเมืองต่างๆ มาเข้าเฝ้ารอรับเสด็จอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ไทยเบฟสนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือ “ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์” เล่ม ๒ โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้เชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพถ่ายโบราณ ร่วมจัดทำคำบรรยายและคัดเลือกภาพถ่าย จำนวน 205 ภาพ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ห้องภาพฉายานิติกรเป็นห้องภาพเฉพาะกิจที่ไทยเบฟก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการถ่ายภาพบุคคลในแบบย้อนยุค โดยห้องภาพฉายานิติกรจะร่วมออกร้านในงานหรือโอกาสพิเศษต่างๆ ซึ่งจัดโดยหน่วยงานภาครัฐ ศาสนสถาน และองค์กรการกุศล เช่น งาน ““อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ที่พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า งาน “เถลิงศกสุขสันต์ มหาสงกรานต์ ตำนานไทย” ที่เมืองมัลลิกา จังหวัดกาญจนบุรี งาน “ศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” และ งาน “จิบน้ำชายามเย็น ตามรอยสาส์นสมเด็จ” ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ผู้รับบริการจะได้รับภาพถ่ายที่มีคุณภาพสูงในราคาย่อมเยาโดยรายได้จากการถ่ายภาพทั้งหมดได้นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟ ร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ จัดประกวดภาพถ่ายที่บันทึกเหตุการณ์และแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ในช่วงสถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 โดยภาพถ่ายทั้งหมดที่ผ่านการคัดเลือกจะนำส่งมอบให้กับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อร่วมบันทึกเป็นจดหมายเหตุของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญครั้งหนึ่งของประเทศไทย

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟ จัดการประกวดภาพถ่าย ช้าง ไฟน์อาร์ท อินเตอร์เนชันแนล โฟโต คอนเทสต์ ครั้งที่ 8 เพื่อส่งเสริมนักถ่ายภาพแนวไฟน์อาร์ท (Fine Art Photography) ให้ก้าวสู่เวทีนานาชาติโดยนำเสนอเป็นภาพชุด 3-5 ภาพ เน้นแนวความคิดที่แสดงออกถึงจินตนาการของศิลปินได้อย่างกว้างไกล โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนนิทรรศการภาพถ่าย “60 ปี วิถี แสง” เนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแสดง ณ BAB BOX โครงการ ONE BANGKOK เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ วิถีวัฒนธรรมและสภาพสังคมที่ซุกซ่อนในภาพ ในงานมีการแสดงภาพถ่าย 262 ภาพถ่าย จาก 262 นักถ่ายภาพ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟ สนับสนุนกิจกรรมประกวดภาพถ่ายภายใต้ ซีรีย์ “One Shot Knockout” โดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยรูปแบบของการแข่งขันไม่จำกัดอุปกรณ์การถ่ายภาพ และได้ความรู้จากคำวิจารณ์ของกรรมการสดๆ และรู้ผลและรับรางวัลภายในวันแข่งขัน

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งร่วมกับ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย จัดประกวดภาพถ่ายผ่านอินสตาแกรม โดยมี “ผ้าขาวม้า” เป็นองค์ประกอบหลัก ในหัวข้อ “ผ้าขาวม้ารัก(ษ์)โลก”

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ จัดการประกวดและนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติครั้งที่ 16 หัวข้อ “ฉลอง” สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์งานศิลปะด้านการถ่ายภาพเพื่อพัฒนาไปสู่ระดับสากล

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และ ศูนย์ C asean จัดโครงการประกวดภาพถ่าย Sustainability Action Hero โดยเน้นภาพถ่ายที่นำเสนอแนวคิด แนวทาง กระบวนการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยเหลือช่างภาพอิสระที่ประสบปัญหาเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในงานนนี้ ผู้ส่งภาพเข้าประกวดได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งภาพที่สอดคล้องกับ UN SDGs เข้าประกวด โดยมีจำนวนการส่งภาพเข้าประกวดทั้งสิ้น 1000 ภาพ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 เพื่อ ส่งเสริมให้นักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาเข้าค่ายเยาวชนดนตรีไทยศรทอง มีโอกาสเรียนรู้จากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญนอกโรงเรียนและโครงการเพื่อนดนตรี โดยในปี 2563 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทอง ชิงถ้วยพระราชทาน ทั้งหมด 1,625 คน จาก 398 โรงเรียน

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟ สนับสนุคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลูมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นคณะนักร้องฯ ที่บุกเบิกและสร้างมิติใหม่ในการขับร้องประสานเสียงจนเข้าสู่ปีที่ 20 ซึ่งได้นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข จัดกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตผ่านดนตรี ให้กับเด็กในโรงเรียนที่ขาดแคลน กลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ สถานบำบัด สถานฟื้นฟู ในทุกภูมิภาคต่อเนื่องมา 17 ปี ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ผ่านโครงการต่างๆ เช่น

  • โครงการพัฒนาวงดนตรีต้นแบบนำร่องเพื่อเด็กและเยาวชน โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม
  • โครงการดนตรีเพื่อพัฒนาเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี
  • โครงการเด็กภูมิดีด้วยดนตรีพื้นบ้าน โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • โครงการดนตรีบำบัดในสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก จังหวัดชลบุรี
  • โครงการพัฒนาตัวตนที่ดีของเด็กด้วยกระบวนการเรียนดนตรี เด็กวัย 0-3 ขวบ มูลนิธิเด็ก จังหวัดนครปฐม
  • โครงการพลังฝันกำลังใจ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการบรรเลงบทเพลง
  • โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งประเภททุนการศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
A. ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่มาตรฐานสากล
B. ทุนสนับสนุนเพื่อการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
C. ทุนสนับสนุนเพื่อการแสดงที่ได้รับการคัดเลือกหรือรับเชิญจากต่างประเทศในระดับชาติและนานาชาติ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟจัดโครงการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อสนับสนุนศิลปะในเชิงเสมือนจริงและศิลปะรูปลักษณ์ โดยในปี 2563 เป็นการประกวดในหัวข้อ “สยามเมืองยิ้ม” โดยรางวัลชนะเลิศสูงถึง 1 ล้านบาท

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนเทศกาลศิลปะร่วมสมัย BAB 2020 ครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานศิลปะภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในหัวข้อ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” (Escape Routes) เป็นแนวทางการใช้ศิลปะเพื่อเยียวยา เตือนภัยและหาทางออก ให้ความหวังหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีศิลปินเข้าร่วมจาก 35 ประเทศ จาก 5 ทวีป รวม 82 คน งานจัดแสดงที่ 9 สถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ อาทิ โครงการเดอะพารค์ โครงการวัน แบงค็อก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณฯ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หอ ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ล้ง 1919 และมิวเซียมสยาม ทั้งนี้สามารถติดตามข่าวสารและตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ BAB 2020

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟร่วมมือกับมูลนิธิสิริวัฒนภักดี ชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน สนับสนุนการจัดงาน “สมโภชพระอาราม 192 ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” เป็นปีที่ 6 ในงานนี้นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติร่วมไหว้พระขอพร ชมพิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร ไทยที่คว้ารางวัลยอดเยี่ยมระดับโลกจาก UNESCO พร้อมชิมอาหารชุมชน ทั้งจากชุมชนกะดีจีน-คลองสาน กรุงเทพมหานคร และวิทยาลัยอาชีวะในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจากทั่วประเทศ มากกว่า 150 ร้านค้า

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และพันธมิตร จัดเทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย (Water Festival) ก้าวข้ามปีใหม่ไทย พร้อมกัน 4 ภาค กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-อุดรธานี-ภูเก็ต โดยในปี 2562 ได้ผสานความร่วมมือกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อบรรจุเทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ASEAN Cultural Year 2019) เพราะมีความสอดคล้องกับแนวคิดของปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน คือ หลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน (diversity, creativity, sustainability)

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟร่วมมือกับ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร จัดงาน “สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” (River Festival) เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ให้ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิง ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปีวัฒนธรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Cultural Year 2019) เป็นการสนับสนุนการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนสู่สาธารณชนของภูมิภาคอาเซียนในวงกว้าง นอกจากนี้ยังสานต่อความสำเร็จของอีกสองโครงการที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ
  • โครงการ“คลีนคลอง” เป็นโครงการต้นแบบของชุมชนริมน้ำที่ขยายผลสู่การพัฒนาชุมชนและสร้างจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์สายน้ำและฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง ในช่วงหลังเทศกาลลอยกระทงให้กลับมามีทัศนียภาพสวยงามใสสะอาดเช่นเดิม
  • โครงการ “เยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม” เป็นโครงการที่เสริมสร้างทักษะความรู้เรื่องชุมชนให้กับเยาวชน และฝึกฝนการเป็นเจ้าบ้านที่ดีพร้อมเป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยไป สู่สากล พร้อมทั้งเผยแพร่เรื่องราว บอกเล่าประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของชุมชนให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่มาเที่ยวงาน “Bangkok River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” ครั้งที่ 6

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

ไทยเบฟสนับสนุนการจัดทำหนังสือที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์เป็นแหล่งข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ดังนี้
  • หนังสืออัน “ด้วยจงรักและบูชา” ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อรวบรวมภาพถ่ายและข้อมูลผ้าที่พระองค์ทรงสะสมจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย เพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผ้าจากแต่ละจังหวัดในประเทศไทย
  • หนังสือในโอกาสสถาปนาวัดราชบพิธ ครบ 150 ปี ประกอบไปด้วยหนังสือ ศิลปกรรมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระประวัติภูมิปัญญาและผลงานพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และนำชมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อเผยแพร่แก่บุคคลและหน่วยงานต่างๆ
  • หนังสือ “ประวัติวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม พระอารามหลวง” ซึ่งเป็นวัดศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีที่สำคัญในจังหวัดอุทัยธานี
  • หนังสือ Remembering The British Embassy, Bangkok on Wireless Road เพื่อเป็นที่ระลึกและบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสถานทูตเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย
  • หนังสือ The Embassy Of Portugal Bangkok; The First Diplomatic Mission In Thailand เพื่อเป็นที่ระลึกและบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสถานทูตเอกอัครราชโปรตุเกส ประจำประเทศไทย

จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันก่อตั้งอาเซียนประจำปีและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตประเทศอาเซียนประจำประเทศไทย ภาคเอกชนแนวหน้าของอาเซียน และภาควิชาการด้านอาเซียน

  • พื่อร่วมเฉลิมฉลองวันก่อตั้งอาเซียน
  • เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความหมายและความสําคัญของอาเซียน
  • เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนของภูมิภาค
  • เพื่อเสริมสร้างและแสดงพลังความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนในภูมิภาค

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้แทนจากกระทรวงต่างประเทศ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศอาเซียนประจำประเทศไทย ภาคเอกชนจาก Thailand Supply Chain Network (TSCN) องค์กรที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องในประเทศอาเซียน และภาควิชาการด้านอาเซียนศึกษา ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวนทั้งสิ้น 101 คน จากเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และ14 สถานทูตประจำประเทศไทย

เพื่อสร้างความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติโรคระบาด และส่งมอบกำลังใจให้กับประชาคมโลก สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้เชิญวงดนตรี C asean Consonant บรรเลงดนตรี 2 บทเพลงในรูปแบบของมิวสิควิดีโอ เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองวันอาเซียน ครั้งที่ 53 (53rd ASEAN Day Celebration) โดยในปีนี้ งานพิธีได้จัดในรูปแบบ Virtual Online Celebration เป็นครั้งแรกเนื่องจากวิกฤติการระบาดของโรค COVID-19 และเพลงที่ได้รับเชิญให้บรรเลงในรูปแบบมิวสิควิดีโอ ได้แก่ 1) The ASEAN Way เพลงชาติของภูมิภาค และ 2) ASEAN as One เพลงที่แต่ง ขึ้นมาใหม่ โดย C asean Consonant เพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันให้ประชาชนอาเซียน โดยได้มีการนำมิวสิควิดีโอทั้ง 2 เพลงเผยแพร่ในสื่อเฟซบุ๊กและโซเชียลมีเดียอื่นๆ เพื่อให้เข้าถึงชาวอาเซียนอย่างทั่วถึง

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ

ในงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 หรือ BAB 2020 ยังให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายดังนี้

  • จัดการขยะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดงาน เช่น จัดที่รับขวดน้ําพลาสติก เพื่อนําไปเข้ากระบวนการ recycle แปรสภาพนํากลับมาใช้ใหม่ โดยตั้งเป้าที่จะนําขวด PET ที่ใช้แล้วนํามาผลิตเป็นเส้นใย PET ตัวอย่างผ้าห่ม
  • แคมเปญแมงโก้โควิดโดยช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการอุดหนุนมะม่วงกุดหมากไฟจากอุดรธานีที่ล้นตลาดและกําลังจะเน่าเสีย เป็นจํานวน 12 ตัน และให้ศิลปิน BAB ช่วยกันสร้างงานศิลป์โดยใช้มะม่วงเป็นโจทย์ ถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ ปัญหาให้รับรู้ในวงกว้างจนเกิดเป็นกระแสช่วยกันอุดหนุนผลไม้ไทยไม่ให้เน่าเสียเป็นขยะโดยเปล่าประโยชน์
  • จัดโครงการ BAB x UN SDGs ชวนศิลปินมาเรียนรู้กรรมวิธีกําจัดขยะแต่ละชนิดและนํามาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับสื่อสารให้คนตระหนักรู้เรื่องปัญหาขยะเพื่อร่วมช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ลดจํานวนการขนส่งชิ้นงานขนาดใหญ่จากต่างประเทศลง 50% จากจํานวน 50 ชิ้น เหลือจํานวน 25 ชิ้น เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย คือ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้วยเล็งเห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างเด่นชัด ที่ได้สืบทอดต่อมาจากบรรพกาลมาถึงปัจจุบันกาล แนวทางในการทำงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของบริษัทฯแบ่งเป็นหลักสามประการได้แก่

  • โดยสนับสนุนให้ค้นคว้า ศึกษาภูมิปัญญาด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีอันดีจากผู้รู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไป เช่นการสนับสนุนการสอนและแข่งขันดนตรีไทยของมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ รวมถึงการสนับสนุนสถานศึกษาต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเป็นต้นเพื่อสร้างบุคลากรในด้านต่างๆต่อไป
  • โดยให้ความสำคัญกับงานศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ดีงามอันเป็นมรดกของชาติให้คงอยู่ เช่น การบูรณะปฏิสังขรโบราณสถานและจิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น โดยให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาครัฐเช่น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร วัดวาอารามต่างๆ
  • โดยสนับสนุนส่งเสริมองค์กรต่าง เช่น สถาบันการศึกษา สมาคม มูลนิธิ ชุมชน และ หน่วยงานทางด้านทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ศิลปะการแสดง และศิลปะพื้นบ้าน ที่ เราเชื่อว่ายังมีศิลปิน และช่างหลากหลายแขนง มีความสามารถโดดเด่นแต่ยังขาดโอกาส หรือขาดช่องทางหรือเวทีที่จะแสดงฝีมือ


ไทยเบฟยังคงเดินหน้าสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยสร้างสรรค์กิจกรรม ภายใต้กลยุทธ์ 3 ประการคือ สืบสาน (stable of growth) รักษา (sustainability) และต่อยอด (creating value) เพื่อขับเคลื่อนการทำงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติของกลุ่มงานต่างๆ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง วรรณศิลป์ ประเพณีวัฒนธรรม และศาสนา

ทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมวัฒนธรรมของไทยเบฟ เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมโดยรวม เกิดความเข้มแข็ง มีความสุข และเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน