หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

                               ผู้ที่มีจิตสาธารณะ  คือ  ผู้ที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น  แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์ส่วนรวม  เข้าใจ  เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน  อาสาช่วยเหลือสังคม  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยแรงกาย  สติปัญญา  ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน  โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

สิทธิและเสรีภาพในประชาธิปไตย

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

 

                    ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน

ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาลประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนโดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาล หลักการดังกล่าวสะท้อนออกมาผ่านความเสมอภาคทางกฎหมายของพลเมืองทุกคน และสิทธิเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายโดยเท่าเทียม ตัวอย่างเช่น ในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ทุกเสียงมีน้ำหนักเท่ากันทั้งสิ้น และไม่มีการจำกัดอย่างไร้เหตุผลใช้บังคับกับทุกคนที่ปรารถนาเป็นผู้แทน ส่วนอิสรภาพได้มาจากสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งโดยทั่วไปได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในกรีซโบราณ แต่วิธีปฏิบัติแบบประชาธิปไตยปรากฏในสังคมอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งเมโสโปเตเมีย ฟินีเซียและอินเดีย วัฒนธรรมอื่นหลังกรีซได้มีส่วนสำคัญต่อวิวัฒนาการของประชาธิปไตย เช่น โรมันโบราณยุโรปและอเมริกาเหนือและใต้มโนทัศน์ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเกิดขึ้นส่วนใหญ่จากแนวคิดและสถาบันซึ่งได้ถูกพัฒนาระหว่างยุคกลางของยุโรปและยุคภูมิธรรมในการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส

ประชาธิปไตยถูกเรียกว่า “ระบอบการปกครองสุดท้าย” และแพร่หลายอย่างมากไปทั่วโลก สิทธิในการออกเสียงลงมติในหลายประเทศได้ขยายวงกว้างขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากกลุ่มค่อนข้างแคบ (เช่น ชายมั่งมีในกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ๆ) โดยนิวซีแลนด์เป็นชาติแรกที่ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแก่พลเมืองทุกคนใน ค.ศ. 1893 ประชาธิปไตยมักถูกเข้าใจสับสนกับระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ในบางนิยาม “สาธารณรัฐ” เป็นประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง แต่นิยามอื่นทำให้ “สาธารณรัฐ” เป็นคำที่มีความหมายต่างหาก ไม่เกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ดี แม้การดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแม้จะได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน แต่ต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่างเช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดน การอพยพเข้าเมือง และการกีดกันกลุ่มประชากรบางชาติพันธุ์เป็นต้น

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ความเป็นไทย

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

 

                                        เอกลักษณ์ไทย คือ สิ่งที่บ่งบอกความเป็นชาติไทยได้อย่างชัดเจน ได้แก่

1.

ภาษาไทย คือ ภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ถึงแม้จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการใช้ศัพท์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ และอักษรไทยที่ใช้ในภาษาเขียนโดยทั่วไป

 

2.

การแต่งกาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแต่งกายของชาวไทยจะเป็นสากลมากขึ้น แต่ก็ยังคงเครื่องแต่งกาย ของไทยไว้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น ในงานพระราชพิธี งานที่เป็นพิธีการ หรือในโอกาสพบปะ สังสรรค์ระหว่างผู้นำ พิธีแต่งงาน เทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้น หรือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ในบางหน่วยงานของราชการ มีการรณรงค์ให้แต่งกายในรูป แบบไทย ๆ ด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

3.

การแสดงความเคารพด้วยการไหว้และกราบ ซึ่งแบ่งแยกออกได้อย่างชัดเจน เช่น กราบพระพุทธรูป กราบพระสงฆ์ กราบไหว้บุคคลในฐานะ หรือวัยต่าง ๆ ตลอดจนการวางตนด้วยความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมไปถึงความเกรงใจ

 

4.

สถาปัตยกรรม เห็นได้จากชิ้นงานที่ปรากฏในศาสนสถาน โบสถ์วิหาร ปราสาทราชวัง และอาคารบ้าน ทรงไทย

 

5.

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ประเทศไทยมีการติดต่อกับหลายเชื้อชาติ ทำให้มีการรับวัฒนธรรมของชาติ ต่าง ๆ เข้ามา แต่คนไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติสืบต่อกันมาจน กลายเป็น ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของไทย

 

6.

ดนตรีไทย กีฬาไทย และการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ 

           สิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ถึงแม้ว่าจะมีบางอย่างที่มองไม่เห็น เด่นชัดหรือเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องคงอยู่ในใจของคนไทยตลอดไป ก็คือ ศักดิ์ศรีของคนไทย

 
หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

รักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (Love of nation, religion and king) เป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติ ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เด็กที่มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะเป็นเด็กที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี ปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

การสอนลูกให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์มีความสำคัญอย่างไร?

  • ความรักชาติ ชาติ หมายถึง แผ่นดินที่มีประชาชนยึดครอง มีอาณาเขตที่แน่นอน มีการปกครองเป็นสัดส่วน มีผู้นำเป็นผู้ปกครองประเทศและประชาชนทั้งหมด ด้วยกฎหมายที่ประชาชนในชาตินั้นกำหนดขึ้น เช่น ประเทศไทย มีอาณาเขต มีเนื้อที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 66.7 ล้านคน (พ.ศ. 2555) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลายาวนาน ผู้ที่มีความรักชาติ จะช่วยกันปกป้องรักษาชาติ ไม่ให้ศัตรูมารุกรานหรือทำร้ายทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยต่อไป และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขสืบไป ส่วนผู้ที่ไม่รักชาติ ก็จะผู้ที่คิดไม่ดีต่อชาติ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาทำร้าย ทำลาย แล้วยึดครองประเทศชาติ สร้างความแตกแยกให้คนในชาติ นำความเสื่อมเสียมาให้ประเทศชาติบ้านเมือง
  • ศาสนา หมายถึง คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ เช่น ศาสนาคริสต์ คือ คำสอนของพระเยซูเจ้า ศาสนาอิสลาม คือ คำสอนของพระอัลลอฮ์ มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ ศาสนาพุทธ คือ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศาสนาอื่นๆ ก็คือ คำสอนขององค์ศาสดาแต่ละพระองค์ตามศาสนาหรือลัทธิความเชื่อของศาสนานั้นๆ ศาสนาทุกศาสนามีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่ว ประพฤติดี ผู้ที่รักศาสนา จะเป็นผู้ที่นำคำสอนของแต่ละศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ละความชั่ว กระทำแต่ความดี และทำจิตใจให้สะอาดปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ส่วนผู้ที่ไม่รักศาสนา จึงเป็นผู้ที่ไม่นำคำสอนของศาสนานั้นไปประพฤติปฏิบัติ ไม่ละความชั่ว ไม่ประพฤติดี ไม่ชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำจิตใจ
  • พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ มีหน้าที่ปกครองประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นให้อยู่ดีมีสุขตามกฎหมาย ตามครรลองคลองธรรมจารีตประเพณีวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ เช่น ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นพระประมุข ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ตามหลักทศพิธราชธรรม ทรงให้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทย นำความเจริญรุ่งเรืองความผาสุกมาสู่พสกนิกรถ้วนหน้า ผู้ที่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้มีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความรู้รักสามัคคีกลมเกลียว รวมน้ำใจไทยทั้งชาติให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ประพฤติตนเป็นคนดีถวายเป็นพระราชกุศล และถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนผู้ที่ไม่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้ที่ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพนับถือ ไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

สถาบันทั้ง 3 นี้มีบุญคุณต่อเราอย่างมาก เพราะชาติ คือ แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ศาสนา คือ คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ที่สอนให้เราทุกคนเป็นคนดี และพระมหากษัตริย์ คือ ผู้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เพื่อความสงบสุขของพสกนิกรชาวไทย เราทุกคนจึงควรรักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

การสอนลูกให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

เด็กที่มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะเติบโตไปเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

  • เด็กที่เป็นพลเมืองดีของชาติ จะสามารถยืนตรงเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ อธิบายความหมายของเพลงชาติได้ถูกต้อง ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่พลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี ปรองดอง
  • เด็กที่ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย จะเข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความสามัคคีปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม มีความหวงแหน ปกป้อง ยกย่องความเป็นชาติไทย
  • เด็กที่ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา จะเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของศาสนิกชน
  • เด็กที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ และแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ครูจัดกิจกรรมการสอนเรื่องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

ครูจะปลูกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ได้ ให้เด็กเกิดการพัฒนา ทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา โดยการฝึกปฏิบัติจริงให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ดังนี้

  • สอนผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่
    • กิจวัตรประจำวัน เช่น กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติในตอนเช้าทุกวัน กิจกรรมสวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา กิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างมีสติ และกิจกรรมฝึกสมาธิเบื้องต้น เพื่อให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิต เพื่อเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
    • กิจกรรมเกี่ยวกับชาติ โดยครูอธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการต่างๆ และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีและวันสำคัญของไทย เพื่อให้เด็กเข้าร่วม เช่น กิจกรรมประกวดมารยาทไทย กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย กิจกรรมวันสงกรานต์ เป็นต้น
    • กิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา พาเด็กเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทำบุญใส่บาตร ฟังธรรมทุกวันพระ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา ฯลฯ
    • กิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ครูจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กแสดงความจงรักภักดีในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ วันแม่ วันพ่อ วันจักรี วันฉัตรมงคล โดยพาเด็กๆ ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ทำดีถวายในหลวง ปลูกฝังให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในวิถีชีวิต ฝึกให้ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี แสดงความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
    • กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เน้นให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเอง หน้าที่ต่อส่วนรวม รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว มีความรับผิดชอบ และรู้จักสร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่สังคมที่เหมาะสมกับวัย เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน ด้วยการดูแลรักษา ทำความสะอาด ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ฝึกปฏิบัติจริงตามกระบวนการประชาธิปไตยในโรงเรียน เช่น เลือกหัวหน้าห้อง เลือกประธานชุมนุม ประธานนักเรียน ฝึกปฏิบัติตนตามข้อตกลง กติกา กฎระเบียบ และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่โรงเรียน ฝึกปฏิบัติตามมารยาทชาวพุทธ เช่น การพนมมือ ไหว้ กราบ นั่ง ยืน เดิน ต้อนรับ การรับ-ส่งของแก่ผู้ใหญ่ การพูดคุยสนทนา การสำรวมกิริยา การแต่งกายที่เหมาะสมในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
  • สอนด้วยการพาไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยครูให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไป การปฏิบัติตนที่เหมาะสม และการร่วมกิจกรรมในสถานที่นั้นๆ รวมถึงการฝึกบำเพ็ญประโยชน์ต่อสถานที่ไปได้อย่างเหมาะสมกับวัย ตัวอย่างของแหล่งวัฒนธรรมในชุมชนที่ใกล้ตัวนักเรียน เช่น วัด ตลาด พิพิธภัณฑ์ มัสยิด โบสถ์คริสต์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของแหล่งวัฒนธรรมในชุมชนในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งเรียนรู้ สิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น สิ่งของ สถานที่ ภาษาถิ่น ประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงผลงานหรือบุคคลที่ทำประโยชน์ต่อท้องถิ่นหรือประเทศชาติที่ควรนำเป็นแบบอย่าง
  • สอนด้วยเพลง โดยศึกษาความหมาย ความสำคัญของสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นไทย และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ได้แก่ ธงชาติ เพลงชาติ พระพุทธรูป พระบรมฉายาลักษณ์ เอกลักษณ์อื่นๆ เช่น แผนที่ประเทศไทย ประเพณีไทย อาหารไทย (ที่ต่างชาติยกย่อง เช่น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย) ที่มีความภาคภูมิใจ และมีส่วนร่วมที่จะอนุรักษ์ไว้ ผ่านเนื้อเพลง และฝึกร้องเพลงต่างๆ เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีมหาราชา เพลงความฝันอันสูงสุด เพลงรักเมืองไทย เพลงแผ่นดินของเรา เพลงต้นตระกูลไทย เพลงรักกันไว้เถิด เพลงสยามานุสติ เพลงสามัคคีชุมนุม เพลงลอยกระทง เพลงส้มตำ เป็นต้น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมส่งเสริมให้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ได้อย่างไร?

  • อบรมสั่งสอนให้ลูกเกิดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยการปลูกฝังทัศนคติที่ดีงาม ให้มีความรักต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นไทย และมีความเอาใจใส่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมที่เน้นให้เด็กๆ ได้ปฏิบัติจริง เช่น
    • ให้ลูกฟังเพลงชาติ ร้องเพลงชาติ ฝึกให้ยืนตรงเคารพธงชาติ
    • เล่าประวัติศาสตร์ชาติไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมไทยที่ดีงามให้ลูกฟัง ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง มีกิริยามารยาทแบบไทย ฝึกให้ลูกไหว้แบบอ่อนช้อย สวยงาม
    • สอนเล่นการละเล่นแบบไทยๆ
    • สอนให้ลูกทำความดี เช่น ทิ้งขยะถูกที่ ไม่รังแกผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งของสาธารณะ เอาใจใส่สิ่งแวดล้อม ชื่นชมธรรมชาติ ฯลฯ
    • สอนให้ลูกเป็นเด็กดี ด้วยการเรียนรู้ที่จะเข้าใจเรื่องศาสนาตั้งแต่ยังเล็ก สอนให้รู้จักหลักคำสอนและปฏิบัติตามหลักศาสนาที่นับถือ พาลูกไปสถานที่สำคัญทางศาสนา เพื่อปฏิบัติศาสนพิธีตามหลักศาสนาต่างๆ เช่น ฟังเทศน์ ทำบุญ ใส่บาตร นมัสการพระเจ้า เป็นต้น
    • สอนให้ลูกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยเล่าประวัติของพระมหากษัตริย์ไทยให้ลูกฟังและกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณต่างๆ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย การเลิกทาส การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ฯลฯ
    • สอนให้ลูกแสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่พูดจาจาบจ้วงหรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกิจกรรมพิธีถวายพระพรในโอกาสต่างๆ เรียนรู้โครงการหลวงที่ใกล้ตัวเด็ก เป็นต้น
  • เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก ด้วยการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตยต่างๆ เช่น การเลือกตั้ง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สาธารณสมบัติ โบราณวัตถุ และโบราณสถาน การพัฒนาชุมชน ปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายทะเบียนราษฎร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ
  • น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการสอนให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเอง รู้จักมองโลกในแง่ดี สร้างทักษะทางอารมณ์ ให้รู้จักบริโภคด้วยปัญญา เลือกรับ-ปฏิเสธข่าวและวัตถุต่างๆ ปรับปรุงตนเองและสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ปฏิบัติตนและมีส่วนสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก เคารพกฎหมายและกติกาสังคม เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและทำกิจกรรมในครอบครัวตามกระบวนการประชาธิปไตย เป็นต้น

 
หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ความปรองดอง สมานฉันท์

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

             หนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)หลังเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมาก็คือการสร้างความปรองดองในชาติให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงหลังจากที่ชาติบ้านเมืองต้องบอบช้ำอย่างหนักจากความแตกแยกในชาติที่มีการแบ่งสีแบ่งกลุ่มจนนำไปสู่วิกฤติการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

คสช.ได้จัดกิจกรรมให้ตัวแทนคนทุกสีทุกกลุ่มที่มีความขัดแย้งทางการเมืองมาร่วมกิจกรรมสร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ โดยล่าสุดมีการจัดมหกรรมสร้างความปรองดองครั้งยิ่งใหญ่ที่ท้องสนามหลวงระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค.ที่ผ่านมาโดยมีตัวแทนจากกลุ่มพลังมวลชนทุกสีทุกกลุ่ม  เหล่าข้าราชการตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมกิจกรรมพร้อมกับการแสดงและความบันเทิงมากมาย

การรณรงค์จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความปรองดองของคสช.คงจะไม่สามารถจะละลายพฤติกรรมที่คับข้องใจและความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองของประชาชนกลุ่มหนึ่งได้อย่างสิ้นเชิงและในเร็ววันเพราะความขัดแย้งได้สั่งสมมายาวนานและลึกซึ้งซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการเยียวยาเพื่อละลายพฤติกรรมนานพอสมควร   ทั้งนี้สิ่งที่คู่ขัดแย้งในชาติควรตระหนักก็คือ ความเห็นที่แตกต่างถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย แต่ความเห็นที่แตกต่างไม่ควรนำไปสู่ความแตกแยกในชาติ และที่สำคัญอย่างยิ่งต้องไม่นำไปสู่การใช้วิธีการอันรุนแรงเหมือนในอดีตที่ผ่านมาที่ถึงขั้นก่อการร้ายเผาบ้านทำลายเมือง

นอกจากนี้ความปรองดองคงไม่มีทางเป็นจริงตราบใดที่ประชาธิปไตยที่แท้จริงยังไม่เกิดขึ้นโดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีพฤติกรรมเป็นธุรกิจการเมืองทุนสามานย์ในคราบประชาธิปไตยยังมีอำนาจบทบาทกระทำสิ่งที่ชั่วร้ายบ่อนทำลายประเทศเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งการทุ่มเงินและผลประโยชน์รูปแบบต่างๆซื้ออำนาจรัฐ แล้วทุจริตคอร์รัปชั่นถอนทุนบวกกำไรมหาศาล  การผูกขาดอำนาจยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ  การเป็นเผด็จการเสียงข้างมากในคราบประชาธิปไตยที่ออกกฏหมายตามอำเภอใจเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง  และที่เลวร้ายที่สุดก็คือความเหิมเกริมของขบวนการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง  ซึ่งหากประเทศยังตกอยู่ภายในระบอบการเมืองอันชั่วร้ายตราบนั้นมวลมหาประชาชนกลุ่มหนึ่งย่อมต้องออกมาแสดงพลังต่อต้านจนกลายเป็นความแตกแยกและนำไปสู่วิกฤติความรุนแรง

ดังนั้นจำเป็นต้องขจัดต้อตอรากเหง้าของปัญหาอันเป็นเงื่อนไขของความแตกแยกอย่างยั่งยืนนั่นคือต้องปฏิรูปเพื่อล้างระบอบธุรกิจการเมืองทุนสามานย์ไม่ให้นักการเมืองเลวเข้ามามีอำนาจยึดครองประเทศ และที่สำคัญคสช.ต้องไม่สร้างเงื่อนสุมไฟวิกฤติแตกแยกให้ลุกโชนด้วยการผลักดันกฏหมายนิรโทษกรรมโทษจำคุกคดีทุจริตหรือคดีอาญาร้ายแรงแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพวกอันเป็นการทำลายหลักนิติรัฐอย่างยับเยิน

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ความมีวินัยในตนเอง

หน้าที่พลเมือง ม.3 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

 

 

           วินัยในตนเอง   หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และพฤตกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหวัง โดยเกดจากการสำนึกขึ้นมาเอง ทั้งนี้จะตองไม่กระทําการใดๆ อันจะเกิดความยุ่งยากแก่ตนเองในอนาคต แต่จะต้องกอให้เกิดความเจริญต่อตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและศีลธรรม มีความตั้งใจ และมั่นใจในพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม

ความสำคัญของการมีวินัยในตนเอง

1.ถ้าไม่มีวินัยในตนเองชวีตก็จะสับสนยุ่งเหยิง สังคมจะวุ่นวาย ระส่ําระสาย ทําลายโอกาสในการที่จะดําเนินชีวิตที่ดีงามและโอกาสในการพัฒนาตนเองของทุกคน
2.วินันในตนเอง เป็นองค์ประกอบหนึ่งของลักษณะชีวิตที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืนในชีวิต เราจะไม่สามารถนําชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงามได้จนกว่าจะตั้งอยู่บนวินัย
วินัยสร้างความรับผิดชอบ
3.วินัยสร้างระเบียบแบบแผน วินัยสร้างคนให้เป็นคนดี วินัยสร้างคนใหเป็นคนเก่ง ดังนั้น วินัยจึงเป็นเรื่องสําคัญ เราจําเป็นต้องสร้างวินัยใหแก่มนุษย์ตั้งแต่เด็ก
4. สำหรับการจัดการศึกษา ความมีจึงเป็นสิ่งงสําคัญที่ครูผู้สอนต้องให้ความสําคัญ ในการส่งเสริมให้เกิดขึ้นในวัยเด็ก ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณ ค่าของความมีวินัยในตนเอง เพื่อความสุขและความสําเร็จของตนเองและสังคม ดังนนการทำจะใหเกิดวนิัยขึ้นในหมู่คณะ
ไม่ว่าจะเป็นวินัยด้านใด ก็ตามล้วนแต่มีความสําคัญและจําเป็นต่อการอยู่ร่วมกนในสังคม หากแตว่าวินยในตนเองนั้นเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีวินัยในสังคมและประเทศชาติต่อไป

ความจำเป็นที่ต้องมีระเบียบวินัยในตนเอง

1. วินัยช่วยให้ตนเองเป็นผู้ที่มีระเบียบเรียบร้อย
2. วินัยช่วยให้มีความสามัคคีปรองดองในกลุ่มคน
3. วินัยมีส่วนช่วยให้ประสบความสําเร็จในชีวิต
4. วินัยช่วยให้ทุกคนรู้จักควบคุม และปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย หรือ
มีวินยสำหรับตนเอง
5. ช่วยให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม

ดังนั้นหากเพียรพยายามสร้างระเบียบวินัยในชีวิตของแต่ละคนได้ ท้ายที่สุดเมื่อคนในสังคม คนในประเทศมีลักษณะชีวิตที่มีระเบยบวินัยแล้ว นอกจากตนเองจะก้าวสู่ความสําเร็จแล้ว ยังสามารถพัฒนาสังคมให้มีระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนประเทศชาติให้ทัดเทียมกับอารยประเทศด้วย