โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ

Home > โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก – Pediatric Respiratory Disease


เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอบจึงมีส่วนสำคัญในการเป็นผู้ปกป้องดูแลสุขภาพของเด็ก อวัยวะหรือโครงสร้างในระบบการหายใจในเด็กยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ หากเกิดการเจ็บป่วยบางอย่างอาจส่งผลต่อการทำงานของปอดในระยะยาว สถาบันกุมารเวชพร้อมให้การดูแล ตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบการหายใจและทางเดินหายใจ โดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ปัญหาและโรคระบบการหายใจที่พบบ่อยในเด็ก

● โรคหวัด
● คอหรือทอนซิลอักเสบ
● ภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ
● โรคไซนัสอักเสบ
● หลอดลมอักเสบ
● ปอดอักเสบติดเชื้อ หรือ ปอดบวม
● ไอเรื้อรัง
● หอบบ่อย หรือเป็นซ้ำ
● โรคหืด
● หายใจมีเสียงดัง หรือ หายใจครืดคราด
● นอนกรน นอนหายใจเสียงดัง
● ต่อมทอนซิล ต่อมอะดีนอยด์โต
● ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
● ตรวจสมรรถภาพปอด

“การติดเชื้อนิวโมคอคคัสอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างท่วงทัน โดยจากสถิติพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถตรวจพบได้สามอันดับแรกของการติดเชื้อแบบรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี”


กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ


นอกจากการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการติดเชื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญต่อสุขอนามัย และการจัดสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ นอกจากนี้ในปัจจุบัน มีวัคซีนที่สามารถช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยและให้เด็กๆ มีสุขภาพแข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนได้มาก

Package

แพ็กเกจวัคซีนไอพีดี (IPD)
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจผ่าตัดทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ในผู้ป่วยเด็ก
แพ็กเกจตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

แชร์บทความ

แม่และเด็ก

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของปอด ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ปอดได้รับความเสียหายจนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการหายใจ รวมถึงมีอาการโรคถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย เช่น ไอมีเสมหะ เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอกเป็นต้น

อาการของโรคนี้จะรุนแรงขึ้นตามระยะ ซึ่งในระยแรกๆอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยความรุนแรงของอาการนี้ขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอด โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรัง และมีเสมหะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
  • มีอาการหอบเหนื่อย เวลาทำกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเวลาที่ออกแรง
  • หายใจได้ลำบาก แน่นหน้าอก และมีเสียงหวีดได้ในลำคอ
  • เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้บ่อยๆ
  • อาการอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเป็นสีม่วง เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด แขน ขา หรือข้อเท้าบวม หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง เนื่องจากถุงลมโป่งพองจึงทำให้ความดันเลือดที่ปอดสูงขึ้น
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีโอกาสเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโรคอื่นๆที่เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ลำบากและอาจมีเนื้อเยื่อปอดสูญเสียได้
  • โรคหัวใจ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • โรคกระดูกพรุน เนื่องจากได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ หรือปอดแตก เนื่องจากโครงสร้างปอดเสียหาย ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ช่องอก
  • มะเร็งปอด เนื่องจากมีมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันกับหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่
  • โรคซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมได้ปกติ จนรู้สึกหดหู่ เครียด และเศร้า จนเกิดอารมณ์ทางด้านลบที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรค COPD

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD นี้ เกิดจากการที่ปอด ทั้งเนื้อปอด หลอดลม และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบ เนื่องจากได้รับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ทำให้หลอดลมค่อยๆตีบลง หรืออาจอุดกั้นโดยไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ ทั้งนี้สาเหตุและความเสี่ยงอาจเกิดได้จาก

  1. การสูบบุหรี่ หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่รับควันบุหรี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เนื่องจากควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4000 ชนิดซึ่งทำให้เกิดความระคายเคืองต่อปอดจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง
  2. มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันเสีย รวมถึงการหายใจนำสารเคมีเป็นพิษเข้าไปเป็นเวลานาน
  3. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่เกิดจากการขาดอัลฟ่า 1 (Alpha-1-Antitrypsin Deficiency) ซึ่งเป็นเอนไซม์นี้เป็นเอนไซม์ที่ผลิตในตับและส่งไปยังปอดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลาย
  4. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ผู้ที่มีอาการหอบหืดแล้วสูบบุหรี่ร่วมด้วย อายุที่มากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเสี่ยงกว่าเด็กทั่วไป

การวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD

  • การตรวจด้วย Spirometry ซึ่งเป็นวิธีในการตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด รวมถึงประสิทธิภาพของปอด โดยวัดค่าปริมาณอากาศที่ผู้ป่วยสามารถหายใจออกใน 1 วินาที (FEV1) เทียบกับค่าปริมาณของอากาศเมื่อหายใจออกทั้งหมด โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์ เมื่อนำผลมาพิจารณาประกอบกับอาการของผู้ป่วยก็จะสามารถบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคได้ดังนี้
ความรุนแรงFEV1 % ที่คาดคะเน
เล็กน้อย (GOLD 1) ≥80
ปานกลาง (GOLD 2) 50–79
รุนแรง (GOLD 3) 30–49
รุนแรงมาก (GOLD 4) <30 หรือความล้มเหลวของระบบทางเดินหายใจ
  • การตรวจภาพรังสีทรวงอก หรือเอกซเรย์ปอด เพื่อแยกโรคที่มีภาวะคล้ายกัน รวมถึงวินิจฉัยการมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย
  • การตรวจซีที สแกน (CT scan) เพื่อแยกมะเร็งปอด รวมถึงดูการกระจายตัวของโรคถุงลมโป่งพองเพื่อใช้ประกอบกับการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยการผ่าตัด
  • การตรวจวิเคราะห์แก๊สในเลือดแดง (arterial blood gas) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ตรวจดูประสิทธิภาพของปอดได้ โดยดูจากปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
  • การตรวจอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของอาการบางอย่าง หรือตัดภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ
การตรวจด้วยเครื่อง Spirometer

การประเมินระดับความรุนแรงของ COPD

โรค COPD สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับความรุนแรงดังนี้

ระดับ 1 ไม่รุนแรง

ผู้ป่วยไม่ค่อยแสดงอาการ แต่อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะ ซึ่งการรักษาระยะนี้สามารถใช้ยาขยายหลอดลมได้

ระดับ 2 ปานกลาง

ผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่เริ่มสังเกตได้ เช่น ไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก การรักษาระยะนี้ต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว

ระดับ 3 รุนแรง

อาการของโรคเกิดได้ถี่มากขึ้น บางครั้งอาจเกิดได้รุนแรงและเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆได้ลำบาก

ระดับ 4 รุนแรงมาก

ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมากจนไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆด้วย

การรักษาและการป้องกัน

  1. การเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจาก ควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การเลิกบุหรี่จะทำให้การหายใจได้ดีขึ้น และยังส่งผลไม่ให้อาการแย่ลงด้วย
  2. หลีกเลี่ยงการสูดดมมลพิษทางอากาศทั้งฝุ่นละออง และควันพิษ ที่กระตุ้นอาการให้อาการแย่ลง
  3. การใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ยาต้องเป็นไปตามระดับความรุนแรงและอาการ โดยกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษานี้ได้แก่
  4. ยาขยายหลอดลม ช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ลดอาการไอ หายใจติดขัดซึ่งมี 2 ประเภทคือออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว
  5. ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดลมเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  6. ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการที่เกิดการติดเชื้อ หรือการกำเริบแบบเฉียบพลัน
  7. ยาอื่นๆ เช่น ยาทีโอฟิลลีน ซึ่งช่วยให้การหายใจสะดวกมากขึ้นและป้องกันการกำเริบของอาการ
  8. การใช้เครื่องช่วยหายใจ BiPAP
  9. การบำบัดด้วยออกซิเจน เช่น ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน หรือถังออกซิเจน เพราะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะที่ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องบำบัดด้วยออกซิเจนเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอซึ่งอาจจะใช้ในระยะเวลาอันสั้น หรือยาว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  10. การผ่าตัด หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล จึงต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรปอดหรือผ่าตัดเพื่อนำถุงลมโป่งพองขนาดใหญ่ที่กดเนื้อปอดข้างเคียงออกหรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายปอด
  11. การรักษาอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมถึงควบคุมไม่ให้อาการแย่ลงโดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ

Managing Director at NK Sleepcare Co., Ltd. / Bachelor of Engineering, Chulalongkorn University

แนะแนวเรื่อง