มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวล้านนา

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 7 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 วันเปิดเรียนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างเป็นทางการ

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

รูปช้างชูคบเพลิงมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบนและคำว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 อยู่ด้านล่างตรงกลาง ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี ดอกสัก คั่นกลางปรากฏอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีความหมายดังนี้

ช้าง เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ

การก้าวย่างของช้าง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ไม่หยุดยั้ง

คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ

รัศมี 8 แฉก หมายถึง คณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

สาขาวิชา

ไทย : แพทยศาสตรบัณฑิต

อังกฤษ : Doctor of Medicine

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2558 ระยะเวลาในการศึกษา : 6 ปี ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 12 ปี

รายละเอียด สาขาวิชา

เป็นสาขาวิชาที่มุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มีความรู้ ความสามารถในการวินิจฉัยบำบัดรักษาและป้องกันโรคอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร่วมกับการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยคำนึงถึงความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีความสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ร่วมงาน เป็นผู้ใฝ่เรียนและใฝ่รู้ มีทักษะการทำวิจัย สามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนเป็นผู้ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถครองตน ครองคนครองงานด้วยมโนธรรมและจิตสำนึกต่อสังคม

แนวทางในการประกอบอาชีพ

1 .แพทย์ในระบบราชการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสถาบันการแพทย์ต่างๆ
2. แพทย์ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน สถานประกอบการส่วนตัว
3. นักวิจัย หรือนักวิชาการ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่    http://www.med.cmu.ac.th/HOME/tdefault.php

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

คณะสัตวแพทยศาสตร์

1 สาขาวิชา

ไทย : สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

อังกฤษ : Doctor of Veterinary Medicine

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2558 ระยะเวลาในการศึกษา : 6 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ซึ่งได้รับการรับรองจากสัตวแพทยสภา ผู้จบการศึกษาสามารถสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตามกฎหมาย ใช้เวลาในการเรียน 6 ปีการศึกษา
– ชั้นปีที่ 1 – 3 ศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาพื้นฐานทางคลินิก โดยจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค ซึ่งเน้นกระบวนวิชาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) และเน้นกระบวนวิชาแก้ไขปัญหาบูรณาการ
– ชั้นปีที่ 4 – 6 ศึกษาในหมวดวิชาทางคลินิก โดยจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาตลอดปีการศึกษา ในการเรียนชั้นปีที่ 6 จะเป็นการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงาน และเสริมสร้างทักษะทางสัตวแพทยศาสตร์ ทางด้านคลินิกสัตว์เล็ก คลินิกช้างและสัตว์ป่า คลินิกม้า คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง คลินิกสัตว์น้ำ คลินิกสัตว์ปีก คลินิกสุกร สัตวแพทย์สาธารณสุข และพาราคลินิกทางสัตวแพทย์

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้จบการศึกษาเป็นสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ประกอบอาชีพได้ในหลากหลายรูปแบบ และสามารถเลือกประกอบอาชีพทางสัตวแพทย์ได้กับสัตว์ชนิดต่างๆ ที่บัณฑิตมีความถนัดและชำนาญ สำหรับแนวทางการประกอบอาชีพ มีดังนี้

1.ธุรกิจส่วนตัว ผู้ที่จบการศึกษาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และขึ้นทะเบียนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา สามารถเปิดคลินิกหรือโรงพยาบาลเพื่อให้บริการรักษาและดูแลสุขภาพสัตว์ได้หรือ ทำธุรกิจด้านอื่นๆ ที่ใช้ความสามารถด้านการสัตวแพทย์ เช่น ธุรกิจยาสัตว์ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการรักษาสัตว์ จัดตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนตัว ฯลฯ
2.รับราชการ สามารถประกอบวิชาชีพในหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ต้องการสัตวแพทย์ เช่น
– กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ กรมปศุสัตว์ ทำงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ในประเทศและระหว่างประเทศ ดูแล ควบคุมกำกับการใช้สารต่างๆ ในอาหารสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการรณรงค์ความปลอดภัยของอาหารทั่วประเทศ
– กระทรวงมหาดไทย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองกำกับการสุนัขตำรวจ กองกำกับการตำรวจม้า ฯลฯ เพื่อดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ รวมทั้งเป็นนายสัตวแพทย์ประจำหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล เป็นต้น
– กระทรวงกลาโหม เช่น สำนักงานทหารพัฒนาการ กองบัญชาการทหารสูงสุด กรมการสัตว์ทหารบก ศูนย์การสุนัขทหาร กองพันสัตว์ต่าง ฯลฯ เพื่อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดหาเวชกรรมป้องกัน รักษาพยาบาลและผลิตสัตว์ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม
– กระทรวงศึกษาธิการ สามารถเป็นอาจารย์สัตวแพทย์ หรือ นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเรียนการสอน การวิจัย และดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ ในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
– กระทรวงสาธารณสุข เช่น กรมควบคุมโรคติดต่อกรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น
3.องค์กรธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจยาสัตว์และวัคซีน ธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อและนม ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่ผู้รับบริการ และมีโอกาสร่วมในงานวิจัยของฝ่ายวิชาการของบริษัทต่างๆ
4.หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.vet.cmu.ac.th