มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

Show

Maejo University Podcast
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้  FM 95.50 MHz
งานอำนวยการ กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

☎️ สำนักงาน 053-873038-9
☎️ ห้องออกอากาศ 053-353955
🖥 E-mail :
🖥 Admin นายวีระยุทธ แสนสุข
ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์    

MJU RADIO NETWORK

  • FM 90 MHz ชุมพร
  • FM 94 MHz แพร่
  • FM 95.5 MHz เชียงใหม่

LINK

  • กองกลาง
  • GREEN OFFICE
  • ข่าวรับสมัครงาน
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในสื่อ

วิทยุไม่ดังคลิก

>> ช่องที่ 1         >> ช่องที่ 2

Maejo University Podcast

มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

©2022. สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ FM 95.50 MHz. All Rights Reserved.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

ตราพระพิรุณทรงนาค
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ชื่อย่อมจ.[1] / MJU
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (88 ปี)
นายกสภาฯอำนวย ยศสุข
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ดร.วีระพล ทองมา
ผู้ศึกษา14,716 คน (ปีการศึกษา 2563)[2]
ที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับวิทยาเขตอื่น ดูในบทความ

ต้นไม้อินทนิล
สี             สีเขียว-ขาว-เหลือง
เว็บไซต์www.mju.ac.th
มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อังกฤษ: Maejo University; อักษรย่อ: มจ. — MJU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 23 ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม[แก้]

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการพัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[3] ตามคำบัญชาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการในขณะนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 900 ไร่เศษบริเวณพื้นที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ มีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)|พระช่วงเกษตรศิลปการเป็นอาจารย์ใหญ่คนสุดท้ายของโรงเรียน รับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูลเข้าศึกษาในหลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) มีนักเรียนเข้าศึกษาในปีแรกจำนวน 48 คน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของโรงเรียนเรียนมีความไม่พร้อมในการทำเกษตรกรรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ดินทรายจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ใช้ในกการทำการเกษตรได้ อีกทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเช่น ห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู ต้องจัดสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวเพื่อให้ทันต่อนโยบายของกระทรวงธรรมการในการเปิดโรงเรียน ทำให้ช่วงแรกของการก่อตั้งมีความยากลำบากอย่างมาก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2479 หลังเปิดการการเรียนการสอนได้เพียง 3 รุ่น ซึ่งกระทรวงธรรมการเห็นว่าหลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรมที่เปิดไปมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนเพียงพอและมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรจำนวนน้อย จึงเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) ขึ้นแทนโดยรับผุ้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมปีที่ 4 เข้าศึกษาโดยกำหนดเวลาเรียน 4 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรจำนวน 4 รุ่น

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2481 ไดมีการยุบรวมโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่ตำบลคอหงส์ จังหวัดสงขลา ภาคกลางที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี และภาคอีสานที่ตำบลโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แต่มิได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือจากการผลักดันของพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจและหลวงอิงคศรีกสิการ ให้มีการรักษาโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมไว้ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยม 8 เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญาทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งจากแม่โจ้ไปยังสถานีเกษตรกลาง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยในส่วนของพื้นที่แม่โจ้นั้นได้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงสามารถเข้าศึกษาในระดับปริญญาที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้โดยไม่ต้องส เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประสบปัญหาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามดังกล่าวทำให้มีผู้สมัคเรียนจำนวนน้อยอีกทั้งยังมีการคมนาคมที่ลำบากและห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมาก จึงมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงในปี พ.ศ. 2488 โดยได้มีการงดการรับนักศึกษาในปี พ.ศ. 2490 - 2491 เนื่องจากขาดงบประมาณและจำนวนผู้เรียนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนสถานะเป็นสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ และเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2492 โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2499

มหาวิทยาลัย[แก้]

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนสถานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[4] และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน โดยเปิดสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทก.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี รวมถึงในระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิต และได้เปลี่ยนชื่อสถาบันในปี พ.ศ. 2525 เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เนื่องจากคำว่าแม่โจ้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากกว่า[5]

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [6] เมื่อวัน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ[แก้]

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล[7]

  • อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้

    มหาวิทยาลัย แม่ โจ้ เชียงใหม่ มีคณะ อะไร บ้าง

  • ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว
  • อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
  • ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม

รายนามอธิการบดี[แก้]

โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ/ โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/ วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่
คนที่ รายนามอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ 2477 - 2481
2. หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) รักษาการ ก.ค.-ต.ค.2479
3. จรัด สุนทรศิล รักษาการ 2481 - 2482
4. ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ผู้อำนวยการ 2482 - 2484,2486-2495
5. ประเทือง ประทีปเสน 2484 - 2486
6. ไสว ชูติวัตร 2495 - 2497
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร
คนที่ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
7. ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
8. พันเอก ดร.อาทร ชนเห็นชอบ รักษาการ 21 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2522
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
9. ศาสตราจารย์ ดร.ยรรยง สิทธิชัย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530
10. ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี 5 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 30 เมษายน พ.ศ. 2532
11. รองศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เที่ยงตรง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 30 เมษายน พ.ศ. 2536
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - 30 เมษายน พ.ศ. 2540
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
12. ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (รักษาราชการแทน)
13. นายสราญ เพิ่มพูล 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
14. รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
1 เมษายน พ.ศ. 2558[8] - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
16. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพล ทองมา 1 เมษายน พ.ศ. 2562 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทน)
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[9] - ปัจจุบัน

การจัดอันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย[แก้]

การจัดอันดับโดย Webometrics Ranking of World University

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2,875 ของโลก อันดับที่ 97 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 23 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[10]

การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 121 ของโลกในปี 2664[11]

การจัดอันดับโดย SDG Impact Ranking the Times Higher Education Impact Rankings (Impact Rankings)

เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations-UN) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 17 เป้าหมาย มีตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นมา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่

• Research : มีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ด้าน

• Stewardship: มีการดูแลรับผิดชอบทรัพยากรของสถาบัน

• Outreach : มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับ ท้องถิ่น ภูมิภาค ชาติและนานาชาติ

• Teaching : การสอนมีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีทักษะและเชี่ยวชาญในส่งเสริมให้เป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายของสหประชาชาติประสบความสำเร็จ และเพื่อให้แน่ใจว่าบัณฑิตของสถาบันนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในอาชีพการงานของตน

โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศไทย อันดับที่ 301-400 ของโลก [12]

การจัดอันดับโดย SCD Ranking Sustainable Community Development University Rankings (SCDUR)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (SCDUR) จัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อการส่งเสริมกระทรวงมหาวิทยาลัย (UFPMUA) ประเทศไทย เกณฑ์การให้คะแนน จะดูจากการดำนเนินงานของมหาวิทยาลัย ที่ ครอบคลุม 7 ด้าน ได้แก่

·      นโยบายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

·      หลักสูตรศึกษา-สอนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่าง

·      บริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

·      การหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

·      การวิจัยการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

·      ศิษย์เก่าที่ทำงานในชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

·      รางวัลด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities

การจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยโดยระบบ 4 International Colleges & Universities (4icu.org) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ดำเนินการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศและทั่วโลกมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยรายงาน ผลปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดอันดับความนิยมของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ บนพื้นฐานของความนิยมในการเข้าติดตามชมเว็บไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเป็น เว็บไซต์ที่ช่วยให้นักศึกษานานาชาติได้เข้าใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนานาชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และมีการ Update ข้อมูลข่าวสารที่สม่าเสมอจะถูกนำมาใช้ในการ พิจารณาจัดอันดับอีกด้วย ล่าสุดปี 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 3,799 ของโลก อันดับที่ 28 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [13]

การจัดอันดับโดย SCIMAGO (Agricultural) SCImago Institutions Ranking

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย SCIMAGO (Agricultural) เป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในด้านของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภท (หรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล Scopus) การจัดอันดับนั้นสามารถดูได้ทั้งแบบในภาพรวม หรือเลือกดูเฉพาะกลุ่ม ซึ่งการเลือกดูเฉพาะกลุ่ม จะแยกเป็นประเภทสาขาวิชา ซึ่งแบ่งเป็น 19 กลุ่ม เช่น Agricultural and biological sciences และ Computer science โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 22 ของประเทศไทย และอันดับที่ 822 ของโลก

การจัดอันดับ UPM (University Performance Metric)

การจัดอันดับ UPM (University Performance Metric) เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยการวัดระดับประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของมหาวิทยาลัยในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 100 อันดับแรกของเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับ 658 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 5 ของประเทศไทย อันดับที่ 16 ของเอเชีย [14]

การจัดอันดับโดย U-MultiRank

การจัดอันดับเชิงเปรียบเทียบสถาบันการศึกษาในหลากหลายมิติ  ดำเนินการโดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งจะประเมินมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ในการพิจารณา 5 ด้าน คือ

·      ด้านการสอนและการเรียนรู้ (Teaching and Learning)

·      ด้านการวิจัย (Research)

·      ด้านการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)

·      ด้านความเป็นนานาชาติ (International Orientation)

·      ด้านการมีส่วนร่วมในภูมิภาค (Regional Engagement)

โดยการจัดอันดับประจำปี ค.ศ. 2021 มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 28 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 3,799 ของโลก [15]

การจัดอันดับโดย URAP University Ranking by Academic Performance เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก มีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับที่ 21 ของประเทศไทย และอันดับที่ 2,822 ของโลก

การจัดอันดับโดย Nature Index (Thailand) เป็นการจัดอันดับตัวชี้วัดคุณภาพงานวิจัย โดยจัดอันดับประเทศและสถาบัน ด้วยการพิจารณาการตีพิมพ์บทความวิจัย ในวารสารที่มีผลกระทบสูงและเป็นที่ยอมรับของแต่ละสาขาในเครือ Nature Research ซึ่งแบ่งเป็น 4 สาขาวิชา

• วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences)

• วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences)

• เคมี (Chemistry)

• วิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth & Environmental Sciences)

MJU In the World Ranking
สถาบันที่จัดอันดับในประเทศ / อันดับโลก
Green University 9/121
SDG Impact Ranking 5/301-400
Webometrics 23/2,875
SCD Ranking 2
UPM (University Performance Metric 5/16(Asean)
U-Multirank 28/3,799
SCIMAGO (Agricultural) 22/822
Nature Index (Thailand) All Sector 25/Earth & Envi.8
URAP 21/2,882

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย[แก้]

วิทยาเขต[แก้]

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-พร้าว ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 12,879 ไร่ อยู่ใน 3 จังหวัด คือ

  1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงใหม่ - พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
  2. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เลขที่ 17 หมู่ 3 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
  3. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เลขที่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีเสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2558 เป็นครั้งที่ 37 บัณฑิตรุ่นที่ 38 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จัด ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 - 20 กุมภาพันธุ์ 2558

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
  2. จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีการศึกษา 2563 สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563
  3. "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
  4. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. ๒๕๑๘
  5. พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๒๕
  6. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๓๙
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-05. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นายจำเนียร ยศราช)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นายวีระพล ทองมา)
  10. [http://www.webometrics.info/en/Asia_Pacifico/South%20East%20Asia
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
  12. https://www.timeshighereducation.com/rankings/impact/2022/overall#!/page/0/length/25/locations/THA/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/undefined
  13. http://www.4icu.org/reviews/4489.htm
  14. "University Performance Metrics". University Performance Metrics (ภาษาอังกฤษ).
  15. https://www.umultirank.org/compare?trackType=compare&sightMode=undefined&section=compareRanking&mode=likewithlike&instutionalField=true&pref-4=1&pref-4=2&name=null&country=77&co&valueLetterMode=showLetters&sortOrder=desc&sortCol=overallPerformance

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สโมสรฟุตบอลแม่โจ้ ยูไนเต็ด

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
  • เพจมหาวิทยาลัยแม่โจ้

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°53′50″N 99°00′40″E / 18.897151°N 99.011117°E

ม.แม่โจ้มีกี่แห่ง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีสถานที่จัดการเรียนการสอน 3 แห่ง คือ 1.1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เลขที่ 63 หมู่ 4 ถนนเชียงใหม่-พร้าว ต าบลหนองหาร อ าเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 0 5357 3460 โทรสาร 0 5387 3461 www.admissions.mju.ac.th.

วิศวะ แม่โจ้ มีสาขาอะไรบ้าง

หลักสูตรปริญญาตรี.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร.
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร.
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร.
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว.
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์.

แม่โจ้มีวิทยาเขตไหนบ้าง

วิทยาเขต.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงใหม่ - พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เลขที่ 17 หมู่ 3 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เลขที่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สังกัดอะไร

พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้สังกัดกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตร” พ.ศ. 2492 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ