การตรวจชีพจรและการหายใจ

สัญญาณชีพ หรือ ชีวสัญญาณ (Vital signs) เป็นอาการที่แสดงสัญญาณถึงการมีชีวิตของมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความปกติของชีวิต

สัญญาณชีพหลัก มี 4 อย่าง ได้แก่

1. อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T) 
2. ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)
3. อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)
4. ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)

ในบางสถานการณ์อาจมีค่าอื่นๆ ที่นำมาประเมินร่วมกับสัญญาณชีพ แล้วเรียกว่าเป็น "สัญญาณชีพที่ 5" หรือ "สัญญาณชีพที่ 6" ได้ ค่าอื่นๆ เหล่านี้ เช่น ระดับความเจ็บปวด ระดับน้ำตาลในเลือด ความอิ่มตัวออกซิเจน เป็นต้น

ค่าสัญญาณชีพพื้นฐานเหล่านี้ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นกับ อายุ เพศ สภาพร่างกาย สภาพแวดล้อม ห้วงเวลาขณะที่ตรวจ  

การตรวจวัดค่าเหล่านี้ ในเบื้องต้น ก็คือการตรวจสอบว่าร่างกายมีความผิดปกติไปหรือไม่ นั่นเอง ในภาวะปกติสัญญาณชีพอาจเปลี่ยนแปลงได้บ้าง แต่หากเมื่อใดพบความผิดปกติมากขึ้น นั่นหมายถึงร่างกายอาจมีปัญหาสุขภาพได้ 

ลักษณะเบื้องต้นที่สัญญาณชีพสื่อออกมาว่าร่างกายผิดปกติ เช่น ระดับออกซิเจนไม่เพียงพอ ระดับต่ำ ร่างกายเสียน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกิน  การติดเชื้อโรค  อัตราการเต้นหัวใจเร็วหรือช้าผิดปกติ เป็นต้น

"เวลาไปโรงพยาบาล ที่คุณพยาบาล ให้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ก็คือการวัดสัญญาณชีพ นี่เอง"

4 สัญญาณชีพพื้นฐาน

1. อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T)

อุณหภูมิร่างกายเป็นตัววัดความสมดุลการสร้างความร้อนกับการสูญเสียความร้อน ของร่างกาย 

มี 2 ชนิดคือ อุณหภูมิในร่างกาย วัดได้จากทางปาก หรือ ทวารหนัก  และ อุณภูมิผิว วัดทางรักแร้หรือหน้าผาก

อุณหภูมิร่างกายมนุษย์ ปกติและคงที่อยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส 

อาจแตกต่างกันได้ ตามสภาพร่างกาย วัย เพศ ระดับฮอรโมน การออกกำลังการ อาหารที่กิน

สภาวะไม่ปกติ 

ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 37.5  คือ การมีไข้ (Fever, Hyperthermia) เป็นไข้ต่ำ หากสูงระดับ 39.5-40 เรียกไข้สูง เกิน 40.5 เรียกว่าไข้สูงมาก อันตรายมาก ในเด็กอาจชัก ในผู้ใหญ่ อาจเพ้อ หลอนได้ หากสูงถึง 43-45 องศา อาจเสียชีวิตได้ใน 2-3 ชั่วโมง 

อุณหภูมิต่ำ กว่า 34-35 องศาฯ ถือว่าผิดปกติ การไหลเวียนเลือดจะช้าลงหรือหยุดทำงาน เป็นภาวะอันตรายเช่นกัน

2. ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)

ความดันโลหิต คือแรงดันที่หัวใจต้องทำงานในการสูบฉีดโลหิต หน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท หรือ mm.Hg)

ค่าความดันมี 2 ค่า คือ 1) จังหวะที่หัวใจบีบตัว  และ 2) จังหวะที่หัวใจคลายตัว  ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัวจะสูงกว่าขณะคลายตัว 

ค่าความดันโลหิตปกติ อยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ระดับที่แสดงว่าสุขภาพดี คือ 110/70

3. อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)

คือกระบวนการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์  ร่างกายหายใจนำออกซิเจนเข้าและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป การหายใจมี 2 แบบคือ หายใจภายนอก คือระบบแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างปอดกับอากาศภายนอก  และ หายใจภายใน คือการแลกเปลี่ยนออก ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในระหว่างเซลล์ต่างๆในร่างกายกับเส้นเลือด 

อัตราการหายใจ ปกติในผู้ใหญ่ อยู่ที่ 20-26 ครั้ง/นาที เด็กวัยรุ่น16–25 ครั้งต่อนาที เด็กแรกเกิด 30-50 ครั้ง/นาที 

ผู้ใหญ่ขณะออกกำลังกาย 35–45 ครั้งต่อนาที

4. ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)

คืออัตราการเต้นของหัวใจ วัดจากการหดและขยายตัวของผนังเส้นเลือด ที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ จังหวะการเต้นของเส้นเลือดก็คือจังหวะการเต้นของหัวใจ นั่นเอง 

การตรวจชีพจร ทั่วไปจะคลำที่ตำแหน่งเส้นเลือดแดง บริเวณข้อมือด้านนอก จะพบง่ายที่สุด ตำแหน่งอื่นๆ ก็คลำได้เช่นกัน อาทิ ที่คาง ขมับ ขาหนีบ

อัตราปกติคือ 70-80  ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่  90-130 ครั้ง/นาที ในเด็ก 

ผู้ใหญ่หากเกิน 100 ครั้ง/นาที หรือ ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที ถือว่าผิดปกติ

ชีพจรจะเพิ่มขึ้น 7-10   ครั้ง/นาที เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.56 องศาฯ

การตรวจชีพจรและการหายใจ

ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจรักษาทุกครั้ง คนไข้จะต้องถูกคัดกรองเบื้องต้นด้วยการวัดค่าต่าง ๆ ของร่างกาย ค่าเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่าค่าสัญญาณชีพ หรือ Vital sign สัญญาณชีพคืออะไร มีอะไรบ้าง และบอกอะไรเกี่ยวกับร่างกายของเรา มาทำความเข้าใจกัน

อ่านตามหัวข้อ

  • อุณหภูมิ (Temperature)

  • ความดันโลหิต (Blood Pressure)

  • ชีพจร (Pulse)

  • การหายใจ (Respiratory)

สัญญาณชีพเป็นค่าที่บอกสภาพการทำงานของระบบในร่างกาย ประกอบไปด้วย 4 ค่าด้วยกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความดันโลหิต ชีพจร และจำนวนครั้งการหายใจ

อุณหภูมิ (Temperature)

โดยทั่วไปร่างกายคนเราอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าเกิน 37.5 ถือว่ามีไข้ การวัดใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์ โดยนิยมวัดทางปาก หรือรักแร้

ความดันโลหิต (Blood Pressure)

คือแรงที่หัวใจใช้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ประกอบไปด้วย ค่าความดันตัวบน (ค่าความดันสูงสุดขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว) โดยทั่วไปไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่าง (ค่าความดันต่ำสุดขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว) โดยทั่วไปไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ใหญ่ปกติ

ชีพจร (Pulse)

หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ค่าอยู่ที่ 60 – 100 ครั้งต่อนาที สำหรับบุคคลทั่วไป

การหายใจ (Respiratory)

โดยทั่วไปอยู่ที่ 12 – 20 ครั้งต่อนาที สำหรับผู้ใหญ่ปกติ

นอกจากนี้อาจมีการตรวจวัดสัญญาณชีพอื่นเพิ่มเติม เพื่อประกอบการวินิจฉัยให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น การวัดปริมาณฮีโมโกลบินที่จับตัวอยู่กับออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อติดตามภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผลกระทบต่อความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในเลือดของร่างกาย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการทราบถึงสถานะของสัญญาณชีพเป็นประโยชน์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถวินิจฉัยและทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมแม่นยำ ในความจริงแล้วค่าสัญญาณชีพไม่ได้คงที่ตลอดเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงอายุ ลักษณะท่าทาง หรือกิจกรรมที่ทำขณะวัด ซึ่ง H LAB ได้พัฒนา embedded-algorithm ใน Vital Sign monitoring feature ใน CORTEX ER ซึ่งเป็น platform การบริหารจัดการงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่สามารถตรวจวัดสัญญาณชีพของคนไข้ที่นอนพักรักษาและแสดงผลใน dashboard ได้แบบ real time รวมถึงนำข้อมูลสัญญาณชีพที่วัดได้ไปประมวลผลด้วย rule-based MEWS criteria ที่มีการตกลงร่วมกับแพทย์ เพื่อพิจารณาแนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event) ได้ล่วงหน้า ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ลดเวลาในการตัดสินใจ เพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์สภาพร่างกาย และแนะนำขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุดต่อไปด้วย

ทั้งนี้การวัดสัญญาณชีพเพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์จำเป็นที่จะต้องตรวจวัดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรอาหารและยา ในปัจจุบันการวัดสัญญาณชีพด้วยเครื่อง ECG หรือ smartphone หรือ smartwatch ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานประกอบการรักษาได้

H LAB เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา และพัฒนา Modern Cloud-Based Healthcare Platform สำหรับการบริหารจัดการในโรงพยาบาล พวกเรามีความตั้งใจในการพัฒนาระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการของโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการรักษาและการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชนที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

สัญญาณชีพ 4 อย่างที่ใช้ตรวจวัดความผิดปกติของร่างกายคือข้อใดบ้าง

7. ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพ เช่น ก่อนให้ ผู้ป่วย ambulate / ออกก าลังกาย Page 4 ความหมาย สัญญาณชีพ (Vital Signs) เป็นสิ่งที่บ่งบอกการมีชีวิตของบุคคล ประกอบด้วย 1. อุณหภูมิ (Temperature) 2. ชีพจร (Pulse) 3. การหายใจ (Respiration) 4. ความดันโลหิต (Blood pressure)

Respiratory rate วัดยังไง

การตรวจการหายใจโดยทั่วไป มักจะตรวจ 2.1 อัตราหายใจ (respiratory rate) คือ ตรวจดูว่าหายใจนาทีละกี่ครั้ง โดยนับการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือหน้าท้องที่กระเพื่อมขึ้นหรือลงเป็นจำนวนกี่ครั้งต่อหนึ่งนาที จำนวนครั้งต่อนาทีต่อการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือหน้าท้องที่เกิดจากการหายใจคือ อัตราหายใจ นั่นเอง

สัญญาณชีพ มีประโยชน์อย่างไร

สัญญาณชีพ หรือ ชีวสัญญาณ เป็นกลุ่มของอาการแสดงสำคัญ 4-6 อย่าง ที่บ่งบอกถึงสถานะของกระบวนการสำคัญที่ทำให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ ค่าเหล่านี้ใช้เพื่อช่วยในการประเมินสุขภาพกายโดยทั่วไปของบุคคล ช่วยในการวินิจฉัยโรค และช่วยบ่งบอกการฟื้นตัวจากโรค ค่าปกติของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปตามอายุ น้ำหนัก เพศ และสุขภาพโดยรวม

ข้อบ่งชี้ในการวัดสัญญาณชีพมีอะไรบ้าง

สรุปความหมายของสัญญาณชีพ หมายถึง สัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิต ซึ่งจะสามารถวัดได้มี องค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่อุณหภูมิ(Body temperature, T) ชีพจร (Pulse, P) การหายใจ (Respiration, R) และความดันโลหิต (Blood pressure, BP)