การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การพิจารณาปัญหาและการวางแผนแก้ปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การแก้ปัญหาเป็นการใช้เหตุผลโดยการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ซึ่งใช้วิธีการบอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์     

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การพิจารณาปัญหาและการวางแผนแก้ปัญหา

แผนภาพความคิดการพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลในการแก้ปัญหา

การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง

การพิจารณาปัญหาและการวางแผนแก้ปัญหา

1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด แล้วพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น ปัญหานี้เกิดจากอะไร  ปัญหานี้มีผลต่อใคร ผลที่เกิดจากปัญหาคืออะไร สิ่งที่ต้องการแก้ปัญหา คืออะไร
2.  การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้แก้ปัญหาเข้าใจตรงกันและปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาจแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาโดยการบอกเล่าเป็นข้อความ การวาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์

ให้นักเรียนพิจารณา อัลกอริทึม ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม

     การอาบนํ้าในฤดูหนาวอย่างไรไม่ให้หนาว
เริ่มต้น
     1.  ต้มนํ้าร้อน
     2.  นำนํ้าร้อนที่ต้มเสร็จไปผสมกับนํ้าที่อุณหภูมิปกติตามความเหมาะสม
     3.  อาบนํ้า
     4.  เช็ดตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้า
จบ

  • หากไม่ใช้นํ้าร้อน นักเรียนคิดว่ามีวิธีการใดอีกบ้างที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้

นักเรียนร่วมกันอ่านและวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับการจัดลำดับการทำงานบ้าน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่กำหนด

ปัญหาเกี่ยวกับการจัดลำดับการทำงานบ้านในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานักเรียนต้องไปโรงเรียน อาจมีการบ้าน  และงานส่วนตัวต้องทำในวันหยุด ซึ่งมีเพียงสองวัน ดังนั้น นักเรียน  จะต้องวางแผนจัดลำดับการทำงานให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับเวลา  ถ้าวันหยุดนักเรียนต้องซักผ้า และทำการบ้าน หากนักเรียนตื่นแต่เช้า  แล้วซักผ้า แต่วันนั้นฝนตก จะทำให้นักเรียนเสียเวลาในการซักผ้า   ดังนั้น เราอาจวางแผนลำดับขั้นตอนโดยเพิ่มเงื่อนไข ดังนี้
เริ่มต้น
     1.  ฝนตกหรือไม่
     2.  ถ้าฝนตกจริง ทำการบ้านก่อน แล้วจึงซักผ้า  แล้วนำไปตาก
     3.  ถ้าฝนไม่ตก ซักผ้าแล้วตาก   จากนั้นจึงทำการบ้าน
จบ

การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง

การพิจารณาปัญหาเป็นการทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด แล้วพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ส่วนการวางแผนแก้ปัญหาเป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการ อุปกรณ์เครื่องมือและระยะเวลาในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้แก้ปัญหามีความเข้าใจตรงกัน ซึ่งสามารถแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาได้หลายวิธี เช่น การบอกเล่าเป็นข้อความ การวาดภาพ การใช้สัญลักษณ์ หรือการออกแบบผังงาน

การแก้ปัญหาเป็นการใช้เหตุผลโดยการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงานโดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนซึ่งใช้วิธีการบอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์

การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง

  • การพิจารณา
  • การวางแผน
  • ป.5

การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง
ทักษะในการแก้ปัญหาแบ่งออกเป็นสองแบบ คือปัญหาระยะสั้นและปัญหาระยะยาว ปัญหาระยะสั้นคือปัญหาที่เกิดเฉพาะหน้าต้องเน้นความสามารถ ไหวพริบ และการตัดสินใจที่แน่วแน่ ส่วนปัญหาระยะยาวเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยรูปแบบ แบบแผน และแนวทางขององค์กรนั้น ๆ ในการแก้ไขปัญหา
กล่าวโดยง่าย คือปัญหาระยะยาวเป็นปัญหาที่หลายฝ่าย ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข และมีเวลาตัดสินใจนานขึ้น แล้วแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนปัญหาระยะสั้นเป็นทักษะส่วนบุคคลที่ไม่สามารถลอกแบบกันได้ หรือทำได้แค่ไม่เหมือน

 ทักษะที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแก้ปัญหา

1. ทักษะในการ  “ขวนขวายหาข้อมูล”

             การแก้ปัญหาได้ดี ต้องมีข้อมูล ไม่ว่าอะไรเป็น รากเหตุ สาเหตุ  วิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้ ผลของการใช้วิธีแก้ไขแต่ละเรื่อง  คนที่แก้ปัญหาเก่ง จะเป็นคนที่ตัดสินใจจากข้อมูล ไม่ใช่เป็นคนพึ่งโชคชะตาฟ้าดิน หรือโทษฟ้า โทษดิน โทษเพื่อนกันไปเรื่อยเปื่อย 

            การขวนขวายหาข้อมูล เป็นสมรรถนะเชิงพฤติกรรม ที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ความปรารถนาที่จะมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ หรือเกี่ยวกับคน หรือเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ซึ่งความรู้นั้นจะต้องลึกซึ้งกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวันในหน้าที่การงาน และจะต้องเจาะลึกหรือเค้นเอาข้อมูลที่แท้จริง เช่น การสร้างสมมุติฐานหลากหลายเพื่อการแก้ไขปัญหา หรือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อสรรหาโอกาสทางธุรกิจที่ยังมีคนสนใจน้อยพยายามเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่อาจจำเป็นที่จะนำมาใช้ในอนาคต
ระดับ 1 ทำการเปลี่ยนแปลงเมื่อถึงคราวจำเป็น
            • ถามคำถามที่เกี่ยวข้อง เพื่อความกระจ่างในคำสั่งหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
            • รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาให้มากขึ้น
ระดับ 2 ตรวจสอบด้วยตนเอง
            • มุ่งตรวจสอบทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
            • หาวิธีการใหม่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ได้มีอยู่แล้ว
ระดับ 3 เจาะลึก
            • ในการค้นหาคำตอบ จะไม่ด่วนสรุปทันทีเมื่อได้คำตอบแรก แต่จะเจาะลึกต่อไปจนกว่าจะพบคำตอบที่น่าจะถูกต้องมากกว่า
            • ติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นปัญหาเพื่อมุมมองอื่น ๆ และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาในมุมองของคนเหล่านั้น
ระดับ 4 ทำการค้นหา  วิจัย
            • เก็บข้อมูลและบทสะท้อนกลับ เพื่อการออกแบบและดำเนินการวิจัยอย่างเป็นทางการ
            • ดำเนินการ เจาะลึก หรือวิจัยเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามความเหมาะสม
ระดับ 5 สร้างระบบของตน
            • สร้างวิธีการปฏิบัติในการเก็บข้อมูลทั่วไป เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
            • สรรหาและปรับปรุงข้อมูลที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัยอยู่เสมอ

2. ทักษะในการ “คิดเชิงวิเคราะห์”

            Analytical Thinking คือการทำความเข้าใจในสถานการณ์ด้วยการแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาเป็นส่วน ๆ หรือการพยายามค้นหาร่องรอยของผลกระทบจากสถานการณ์หนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการเรียบเรียงที่มาของปัญหา หรือสถานการณ์อย่างมีระบบ สามารถเปรียบเทียบคุณลักษณะและองค์ประกอบที่แตกต่าง กำหนดระยะเวลา ลำดับความสำคัญก่อนหลังอย่างมีเหตุมีผล สามารถบ่งชี้ถึงเหตุและผลของการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะมีต่อสถานการณ์และปัญหานั้น ๆ
ระดับ 1 แยกส่วนประกอบของปัญหา
            • แยกส่วนประกอบของปัญหาออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้
            • กำหนดขั้นตอนการแก้ไขปัญหา สำหรับปัญหาที่ไม่สลับซับซ้อน
ระดับ 2 มองเห็นความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน
            • วิเคราะห์หาสาเหตุและที่มาของปัญหา
            • วางแผน จัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผลและดำเนินการจากสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นลำดับแรก
ระดับ 3 มองเห็นความสัมพันธ์ในหลายระดับ
            • วิเคราะห์หาสาเหตุต่าง ๆ และวิธีการที่หลากหลาย ในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก
            • คิดไปข้างหน้า และวางแผนงาน เพื่อหลีกเลี่ยง หรือเตรียมการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ระดับ 4 วางแผนเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่สลับซับซ้อน
            • วิเคราะห์ปัญหาเชิงธุรกิจที่สลับซับซ้อน โดยการคำนึงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยมุมมองที่หลากหลาย
            • วางแผนการที่มีหลากหลายขั้นตอน และใช้ทรัพยากรหลากหลายชนิด ในการแก้ไขปัญหาเชิงธุรกิจที่สลับซับซ้อน

3. ทักษะการ  “คิดเชิงหลักการ”

Conceptual Thinking เป็นสมรรถนะพฤติกรรมในการวิเคราะห์ปัญหาภายใต้สถานการณ์หนึ่ง ซึ่งจะสามารถบ่งบอกถึงรูปแบบของการเกิดปัญหา หรือการเชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์กับปัญหา โดยปัญหานั้นจะต้องเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน สมรรถนะนี้ยังรวมไปถึงการใช้เหตุผลที่สร้างสรรค์มีหลักการ และสามารถสร้างอิทธิพลในการชักนำอีกด้วย
ระดับ 1 ใช้กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน
• ใช้สามัญสำนึกในการบ่งบอกถึงปัญหาง่าย ๆ
• ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน และกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไปอย่างถี่ถ้วน
ระดับ 2 มองเห็นรูปแบบของการเกิดปัญหา
• มองเห็นรูปแบบ แนวโน้ม หรือส่วนที่ขาดหายไป ในการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง
• ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ระดับ 3 ประยุกต์หลักการ
• นำหลักการ ข้อมูลสถิติ และตัวเลขทางการเงิน มาใช้ในการแก้ไขปัญหา
• ใช้ข้อเท็จจริงจากอดีต และข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องในปัจจุบันในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
ระดับ 4 อธิบายหลักการที่ยุ่งยากให้เข้าใจง่าย
• ทำแนวคิดหรือสถานการณ์ที่สลับซับซ้อน ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
• อธิบายแนวคิดที่ยุ่งยากกับผู้อื่นได้อย่างกระจ่างชัด และมีเหตุมีผล
ระดับ 5 สร้างหลักการใหม่ ๆ
• สร้างวิธีการรูปแบบใหม่ในการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน
• คิดนอกกรอบในการให้มุมมองและวิธีการเชิงธุรกิจ

การวางแผนการแก้ปัญหา หมายถึง

การวางแผนการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการแก้ปัญหา.
1. การยอมรับถึงปัญหา สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจะแก้ปัญหาให้ได้ผล นั้น คือการยอมรับว่าปัญหาว่าเป็นปัญหา งงมั้ย หากงง อ่านใหม่ หากยังไม่เข้าใจอีกให้อ่านใหม่อีก สำคัญนะข้อนี้.
2. กำจัดขอบเขตของปัญหา ... .
3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา ... .
4. การลงมือทำตามแผน ... .
5. การติดตาม.

ความหมายของการวางแผนแก้ปัญหาคืออะไร

คือการหาให้เจอว่าปัญหานั้นคืออะไร มีมากน้อยขนาดไหน เป็นปัญหาเล็ก ปัญหาใหญ่ เกิดบ่อยหรือนานๆเกิดทีปัญหาเล็กปัญหาใหญ่มีวิธีการแก้ไม่เหมือนกัน 3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา การมองหาทางออก วิธีที่จะใช้ในการแก้ปัญหา มีหลากหลาย บางวิธีแก้ระยะสั้น บางวิธีเป็นการ แก้ระยะยาว 4. การลงมือทำตามแผน

การวางแผนในการแก้ปัญหา มีกี่กรณี อะไรบ้าง

2) การวางแผนในการแก้ปัญหา แบ่งได้ 2 กรณีคือ 2.1 มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในลักษณะนั้น ๆ มาก่อน - พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา - เลือกปัญหาเก่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาที่จะแก้ ทำให้ได้แนวทาง

ลักษณะกระบวนการแก้ปัญหาคืออะไร

จากความหมายข้างต้นพอสรุปได้ว่า การคิดแก้ปัญหา หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่ผ่าน การคิด โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ในการขจัดอุปสรรค หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ที่ต้องการ ประเภทของปัญหา