เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เช็กสิทธิเยียวยาประกันสังคม www.sso.go.th โอนเงินเข้า ม.33-ม.39-ม.40 ในกิจการบันเทิง โอนเข้า 2 มี.ค. 65

Show

จากกรณีที่มติ ครม. เห็นชอบตามคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ให้ประกันสังคมปรับเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเยียวยาประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40  www.sso.go.th ในกิจการสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบมาตรการของรัฐ จากเป้าเดิมที่ขอรับการเยียวยา 110,669 คน ให้ปรับเป็น 138,669 คน เพิ่มขึ้น 28,000 คน พร้อมปรับเพิ่มกรอบวงเงินเยียวยาจากเดิม 607 ล้านบาท เป็น 747 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 140 ล้านบาท

  • ครม. อนุมัติปรับเพิ่มเป้าเยียวยาประกันสังคม ม.39-ม.40 ในกิจการบันเทิง อีก 28,000 คน

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก เราชนะ ระบุว่า เตรียมรับเงินเยียวยาประกันสังคม รอบที่ 5 และรอบที่ 6 จำนวน 5,000 บาท โอนรอบถัดไป 2 มี.ค. 65 ซึ่งขณะนี้มีการอัปเดตสถานะเป็นสีเขียวแล้ว ณ วันที่ 28 ก.พ. 65 โดยจะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

ผู้ประกันตนที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิงสามารถตรวจสอบสถานะได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

  1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือกตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (กิจการสถานบันเทิง)
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสให้ตรงรูปภาพ
  3. กดตรวจสอบสิทธิ ระบบจะแสดงผลว่ามีสิทธิได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ พร้อมกับระบุข้อมูลที่อัปเดตล่าสุด

ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เท่านั้น และจะโอนเงินเข้าให้กับผู้มีสิทธิไปต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 65

  • วิธีเช็กสิทธิประกันสังคม "ม.33-ม.39-ม.40" ในสถานบันเทิง รู้ผลรับ 5,000 บาท ได้ที่นี่

  • เช็กสิทธิ "ประกันสังคม" ด้วยบัตรประชาชนผ่านเว็บไซต์ได้ง่ายๆ

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปประกันสังคม เปิดให้ท่านสามารถดู วิธีตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา 10000 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม33. ไม่เกิน 3 นาทีรู้ผล สำหรับท่านที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้

เมื่อเร็วๆนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้เปิดเว็บไซต์ ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา แรงงานในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ได้แก่

    • กรุงเทพมหานคร
    • นครปฐม
    • นนทบุรี
    • ปทุมธานี
    • สมุทรปราการ
    • สมุทรสาคร
    • นราธิวาส
    • ปัตตานี
    • ยะลา
    • สงขลา
โดยจะต้องอยู่ในกลุ่มสาขาดังต่อไปนี้  กลุ่มแรงงานก่อสร้าง, กลุ่มพักงานที่พักแรมและบริการด้านอาหาร, กลุ่มศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ, ผู้ให้บริการด้านอื่น ๆ และกิจกรรมทางวิชาการ, กลุ่มการขายส่ง - ปลีก ซ่อมยานยนต์, กลุ่มการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า, กลุ่มกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน, กลุ่มกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม33.

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เข้าไปที่ลิงค์นี้ ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือกดที่รูปด้านบน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

จากนั้นกรอกเลขบัตรประชาชนและกรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ จากนั้นกดค้นหา

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

หลังจากที่ท่านกดค้นหาแล้วหาท่านได้รับสิทธิโปรแกรมจะแสดงข้อมูลตามรูปด้านบน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

หากแสดงข้อความว่าไม่ได้รับสิทธิเพราะไม่ตรงตามเงื่อนไขโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33

สิทธิรับเงินเยียวยากลุ่มผู้ประกันตน ม.33

สิทธิรับเงินเยียวยานายจ้าง

    • รัฐจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว สูงสุดไม่เกิน 200 คน

สิทธิรับเงินเยียวยาลูกจ้าง

    • ลูกจ้างรับเงิน 2,500 บาทต่อคน
    • รับเงินชดเชย 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิด 7,500 บาท
รวมแล้วลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุดรวมเป็น 10,000 บาทต่อคน ในกรณีที่ใครไม่เคยลงทะเบียนให้ดูขั้นตอนได้ที่ข้อมูลด้านล่างนี้

ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคมเพื่อดูสิทธิ์ต่างๆที่ท่านจะได้รับ

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

อันดับแรกเข้าเว็บ สำนักงานประกันสังคม คลิก www.sso.go.th

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

2.จากนั้นเมื่อมาที่หน้า ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน ให้ไปคลิกที่ สมัครสามาชิกดังรูป

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

ติ๊กยอมรับข้อตกลงในการบริการ จากนั้นกดถัดไป

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

กรอกข้อมูลในรูปให้ครบ เมื่อครบแล้วกดถัดไป

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

จากนั้น คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส นำรหัสที่จะจาก SMS บนมือถือมาใส่ในช่องใส่รหัส กดยืนยัน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย หน้าจอจะแสดงผลดังรูป

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เข้าสู่ระบบ จากรหัสที่สมัครไปด้านบน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

วิธีลงทะเบียนรับเงินเยียวยากลุ่มลูกจ้างนอกระบบ

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

    1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
    2. เลือกขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
    3.  ระบบส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง e-mail เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียนส่งสำนักงานประกันสังคม
    4. ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตราและพยาน 2 ท่าน
    5.  สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง e-mail เพื่อสถานประกอบการสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียน
    6.  แจ้งเข้า – แจ้งออก เปลี่ยนแปลงข้อมูลและส่งเงินสมทบประจำเดือน

ขั้นตอนส่งข้อมูลทะเบียนผู้ประกันตน

นายจ้างดำเนินการส่งข้อมูลทะเบียนผู้ประกันตนตามขั้นตอน ดังนี้

    1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
    2. เลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
    3. เลือกเมนูที่จะดำเนินการ
    4. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03)
    5.  บันทึกขึ้นทะเบียนสำหรับผู้ที่เคยมีบัตรรับรองสิทธิแล้ว
    6. แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)
    7.  แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน (สปส.6-10)
    8. ส่งข้อมูลทะเบียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สปส.1-04)

ขั้นตอนการส่งข้อมูลเงินสมทบ

    1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
    2.  เลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
    3. เลือกวิธีการยื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
    4.  ส่งเงินสมทบแบบแยกยื่น (สปส.1-10)
    5. ส่งเงินสมทบแบบยื่นรวมสาขา (สปส.1-10/1)
    6. เลือกสถานประกอบการ (เลขที่บัญชีนายจ้าง และลำดับที่สาขา)
    7. เลือกวิธีการนำส่งข้อมูล (งวดเดือน ปี พ.ศ.) และเลือกวิธีการนำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบ
    8. กรอกข้อมูล (กรอกเลขบัตรประชาชน และค่าจ้าง)
    9.  แนบไฟล์ (เลือกรูปแบบไฟล์ และไฟล์เงินสมทบที่จะนำส่งเงินสมทบ)

วิธีลงทะเบียนรับเงินกรณีตกงาน แบบออนไลน์

โดยท่านสามารถลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากถูกเลิกจ้าง โดยขั้นตอนมีวิธีดังต่อไปนี้

การขึ้นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน แล้วให้ท่านไปคลิกที่ ลงทะเบียนใช้งาน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

จากนั้นคลิ๊กที่ ยอมรับและเข้าใช้งาน จากนั้น กดคลิ๊กขั้นตอนต่อไป

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบตามรูป เมื่อกรอกครบหมดแล้วไปคลิ๊กที่ปุ่มตรวจสอบข้อมูล

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

จากนั้นกรอกข้อมูลตามรูปให้ครบ และรูปที่จะใช้ไฟล์ต้องไม่เกิน 5 เมกะไบต์ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จกดปุ่มลงทะเบียนเป็นอันเรียบร้อย

เมื่อลงทะเบียนแล้วทำตามขั้นตอน Flowchart ดังรูปต่อไปนี้

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

กรณีลืมรหัสผ่าน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

ท่านสามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต โดยระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ให้บริการแก่คนหางานที่เป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน ซึ่งคนหางานที่จะได้รับสิทธิผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยระบบจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ให้สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการใช้บริการในระบบดังกล่าวผ่านอินเตอร์เน็ต และยังสามารถออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533


ขั้นตอน ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีว่างงาน แบบออนไลน์ กรณีว่างงานเลิกจ้างจากเหตุโควิด 19 ให้ลงทะเบียนที่ (https://www.sso.go.th )

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม คลิกที่ กรอกแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน (ท่านจะต้องทำการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ประกันสังคมก่อน ดูวิธีสมัครได้ที่นี้ วิธีสมัครสมาชิกประกันสังคม)

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

   2.ให้ท่านคลิกที่ แบบฟอร์มรับประโยชน์ กรณีว่างงาน ตามวงกลมสีแดง

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

3. จากนั้นคลิกที่ ลิงค์ในวงกลมสีแดง ด้านบนท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มยื่นกรณีว่างงาน

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

4.ติ๊กถูกที่ช่อง รับทราบ จากนั้น เลื่อนเมาส์ลงมาเพื่อทำการกรอกข้อมูล

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

เช็คสิทธิ์เยียวยาประกันสังคม

5. เมื่อเลื่อนกรอกข้อมูลจนครบแล้ว ให้ติ๊กถูกที่ช่อง รับรองและยินยอมตามข้อความข้างตันทั้งหมด จากนั้นกดปุ่ม Submit เป็นอันเสร็จสิ้น ทั้งนี้ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 1 สำนักงานประกันสังคม ตลอด 24 ชั่วโมง


ขั้นตอน การไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีว่างงาน โดยเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง 

1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน

2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

- หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที

6. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

7. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

8. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

9. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามด้วยตนเองที่สํานักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือโทรศัพท์ 02-4558989 ต่อ 215 , 220 , 221 แฟกซ์ 02-4554898 ,02-4554896

ใครบ้างที่สามารถขอเงินชดเชย ว่างงาน ตามผู้ประกันตนมาตรา 33

    • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น
    • ต้องมีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
    • ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
    • ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
    • ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
    • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังต่อไปนี้ ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
    • มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
    • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

ประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ

    • กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บา ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
    • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
    • เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต) และประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

ทั้งนี้ ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน


สิทธิ์ช่วยเหลือสำหรับสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จากประกันสังคม ช่วงโควิด-19 ระบาด

ในเวลานี้กองทุนประกันสังคมจะเพิ่มสิทธิประโยชน์และเงินทดแทนต่าง ๆ กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั้งหมด 11 ล้านคนทั่วประเทศ  ดังนี้

ลดเงินสมทบเหลือ 0.5-3%

    • ในช่วงโควิด-19 ระบาด กองทุนประกันสังคมได้ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 จากปกติต้องจ่าย 5% ของค่าจ้างหรือสูงสุด 750 บาทต่อเดือน เหลือ 3% ของค่าจ้าง หรือสูงสุด 450 บาทต่อเดือน ในเดือนมกราคม 2564 จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 จะได้รับลดหย่อยเหลือ 0.5% ของค่าจ้าง หรือสูงสุด 75 บาทต่อเดือน

สิทธิรับเงินทดแทน 50% ในกรณีว่างงาน (ชั่วคราว) เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19

    • ปี 2564 ประกันสังคม จะจ่ายเงินทดแทน กรณีว่างงาน (ชั่วคราว) จากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท โดยผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนดังกล่าวไม่เกิน 90 วันภายใน 1 ปี สำหรับเงื่อนไข มีดังต่อไปนี้ 1.เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือนย้อนหลัง 2.ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งจากไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือนายจ้างต้องหยุดกิจการ เนื่องจากคำสั่งของราชการ 3.ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

สิทธิรับเงินทดแทน 70% กรณีถูกเลิกจ้าง

    • หากท่านว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้าง ประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 200 วัน จากเดิมกองทุนฯ จ่ายเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 180 วันต่อปี

จ่ายเงินทดแทน 45% กรณีลาออก

    • หากท่านว่างงานเพราะลาออก ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 45% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 90 วัน จากเดิมจะได้รับเงินชดเชย 30% ไม่เกินปีละ 90 วัน

นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคม ได้เร่งลงทะเบียนนายจ้าง และให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบนิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างลูกจ้างของนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ในช่วงวันที่ 29 มิถุนายน-30 กรกฎาคม 2564 เพื่อยืนยันว่ามีการประกอบธุรกิจและมีการจ้างงานตามจำนวนที่แจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคมไว้จริง รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างรายใหม่ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้นด้วย

ในช่วงภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19แบบนี้  MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยเงินกู้สำหรับใช้ในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีตัวช่วยสำหรับการ เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวันที่ MoneyGuru นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง LINE @MoneyGuruThailand รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำราคาเบี้ยประกันที่ดีที่สุดจากเรา

บทความแนะนำ

    • อาทิตย์สุดท้ายรีบยื่นทบทวนสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33-39-40 ก่อนอดรับเงิน 1 หมื่น
    • เช็กจุดฉีดวัคซีนผู้ประกันตน ม.33 ใน 4 จังหวัดเศรษฐกิจ
    • วิธีตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา 10000 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม33. ไม่เกิน 3 นาทีรู้ผล