ออก จาก งาน ส่ง ต่อ ประกัน สังคม

  • 11 ต.ค. 2564
  • 27.6k

ลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้าง แต่ยังอยากได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประกันสังคมอยู่ สามารถส่งเงินสมทบเองได้! เพียงแค่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาตรา 39 ช่วงนี้จ่ายราคาลด 235 บาท ถึงสิ้นเดือน พ.ย.

อย่าลืมรักษาสิทธิ แม้จะลาออกจากงานมาแล้ว เพราะตอนที่เป็นลูกจ้างบริษัท เงินเดือนส่วนหนึ่งถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคมมาตรา 33 ทำให้ได้รับการคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมใน 7 กรณี คือ ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

เมื่อตัดสินใจลาออก ไปประกอบกิจการของตัวเอง หรือถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ใช่ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นจะสิ้นสุดลงทันที แต่ยังสามารถใช้สิทธิ์ได้ครบทั้ง 7 กรณี ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงาน และจากนั้น สามารถรักษาสิทธิต่อได้ ด้วยการสมัครมาตรา 39

มาตรา 39 คุ้มครองอะไรบ้าง

ได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ

ออก จาก งาน ส่ง ต่อ ประกัน สังคม

มาตรา39 สมัครอย่างไร

  • เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • สามารถยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • โดยส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท แต่วันนี้ ถึง สิ้นเดือน พ.ย. 2564 จ่ายเพียง 235 บาท (ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน)

สามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี คือ

  1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด
  2. จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  3. ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารนครหลวงไทย
  4. เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารกรุงไทยธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารกสิกรไทย (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชี)

ออก จาก งาน ส่ง ต่อ ประกัน สังคม

หากไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ถ้าเราไม่อยากเสียสิทธิดังกล่าว อย่าขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็น ผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออก จากมาตรา 39

ต้องการสมัครใช้สิทธิดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506

ออก จาก งาน ส่ง ต่อ ประกัน สังคม

สำหรับลูกจ้างประจำของบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ย่อมได้รับสวัสดิการคุ้มครองในการทำงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน สุขภาพ ความปลอดภัย รวมถึงเงินชดเชยกรณีต่างๆ ทั้งที่ออกจากงาน ถูกไล่ออก ชราภาพ และเสียชีวิต โดยทั้งหมดนี้จะรวมอยู่ในสิทธิ์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจและรู้ลึกถึงสิทธิ์ที่ควรได้เมื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออกจากงาน จะมีสิทธิ์อะไรที่ไม่ควรพลาดบ้าง ติดตามไปดูกัน

ผู้ประกันตนมาตรา ลาออกจากงาน จะได้สิทธิ์อะไรบ้าง

ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต และว่างงาน

สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน โดยอายุยังไม่ถึงวาระเกษียณนั้นสามารถยื่นขอสิทธิ์ต่างๆ ได้ดังนี้

1. ใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

โดยผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน หากไม่ได้ต่อประกันสังคมกับที่ทำงานใหม่ จะยังสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน สำหรับกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

2. เปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา

โดยสามารถรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมต่อเนื่องโดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขคือ
• ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33มาก่อน

• นำส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน

• ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ระบุไว้ในการลาออก

• ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นเป็นการประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งผู้ประกันตนจะเป็นผู้ส่งเงินสมทบเอง และจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ และกรณีเสียชีวิต

การเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส.1-20)  และแนบบัตรประชาชนพร้อมสำเนา ยื่นเรื่องภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครทุกเขตพื้นที่ หรือยื่นที่จังหวัด หรือสาขา ที่ใกล้ที่พักอาศัย

3. สิทธิ์ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน

โดยในที่นี้จะโฟกัสไปที่ประเด็นผู้ประกันตนลาออกจากงานตามขั้นตอนปกติ (ไม่ใช่ผู้ถูกไล่ออก หรือบริษัทปิดกิจการ) ซึ่งจะมีขั้นตอนและรายละเอียดการขอรับเงินชดเชยดังนี้
• เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

• มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

• หลังลาออกจากงานแล้วต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออก

• จากนั้นต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

• ผู้ลงทะเบียนว่างงานไว้แล้วจะมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยมีฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท

การลาออกจากงานไม่ว่าจะเป็นการลาออกโดยมีที่ทำงานที่ใหม่รองรับ หรือไม่มีก็ตาม แต่หากมีช่วงระยะเวลาระหว่างการรอเริ่มต้นทำงานใหม่ ผู้ประกันตนเองควรรู้เรื่องสิทธิ์ที่พึงได้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์สำหรับตนเองให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาลหรือการรับเงินชดเชยก็ตาม

อ้างอิงข้อมูล

สำนักงานประกันสังคม