ลักษณะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก

Show

ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม

1. ธุรกิจขนาดย่อม ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการกระ จายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มคนต่างๆทำให้เกิดการจ้างงานและ ประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
2. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมทำ ให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้นและมีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่
3. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิดและผลิตผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุน

SME คืออะไร?

คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง.
คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง

สำหรับประเทศไทย ได้มีกฎหมาย ธุรกิจเอสเอ็มอีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543 โดยตาม กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้ให้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดว่า ใครบ้างที่จะได้ ขึ้นชื่อว่า เข้าข่ายเป็น ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งจะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวง ก่อนหน้านี้ จะใช้เกณฑ์ ในการวัดว่า ธุรกิจไหนเป็น เอสเอ็มอี ดังนี้คือ
• กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน
• กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน
• กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน

SME ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ชื่อภาษาไทยคือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(บางที่เรียกว่าธุรกิจกลาง-เล็ก) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม(Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)
2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3) การบริการ (Service Sector)

มีการจำแนกกิจการของ SMEs เอาไว้อย่างไร
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกิจการของ SMEs ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม คือ
1) มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร
2) จำนวนการจ้างงาน

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร
สามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การผลิต:วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
2) การบริการ:วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
3) การค้า
3.1 ค้าส่ง:วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 100 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
3.2 ค้าปลีก:วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 60 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 30 ล้านบาท

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้เกณฑ์จากจำนวนการจ้างงาน
สามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การผลิต: วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
2) การบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
3) การค้า
3.1 ค้าส่ง : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 50 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 25 คน
3.2 ค้าปลีก : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 30 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 15 คน

ลักษณะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สงสัยไหมว่า SME คืออะไร ถ้าตอนนี้มีร้านค้า มีกิจการเล็ก ๆ เป็นของตัวเองและเริ่มขายของผ่านช่องทางออนไลน์แบบจริงจังแล้ว อย่างนี้ถือว่าเป็น SME ใช่หรือไม่

SEM คำยอดฮิตที่ใคร ๆ ต่างใช้เรียกนิยามกลุ่มธุรกิจในปัจจุบัน ความจริงแล้ว SME ไม่ได้เป็นเพียงคำฮิตแต่ SME มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทั่งภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลกลุ่มธุรกิจ SME โดยเฉพาะ ในบทความนี้เราจะพาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปรู้จักธุรกิจ SME กัน

SME คืออะไร 

SME (Small and Medium Enterprises) หรือที่เรียกในชื่อภาษาไทยว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยประเภทของ SME จะครอบคลุมกิจการหลัก 3 กิจการ ได้แก่

SME แบ่งเป็นกี่ประเภท

  1. กิจการการผลิต ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจการเหมืองแร่ และรูปแบบการผลิตที่ทำวัตถุดิบที่มีอยู่เดิมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  2. กิจการการค้า กิจการที่เกี่ยวกับการค้า ทั้งกิจการค้าส่งและกิจการค้าปลีก รูปแบบกิจการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกิจการการผลิต
  3. กิจการบริการ กิจการเกี่ยวกับร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิงและกิจการที่เกี่ยวกับการบริการทั้งหมด

แม้ SME จะถูกจัดเป็นวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่กลับมีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสังคมเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดความเข้มแข็ง ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราจากการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ทำให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มคนในภูมิภาคต่างๆ นอกเมืองหลวง

SME เป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก ป้องกันการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจาก SME จะเป็นผู้นำเทรนด์คิดค้นและผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาดอยู่เสมอทำให้เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม

ธุรกิจแบบไหนถึงจัดว่าเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้กำหนดลักษณะการแบ่งประเภทของ SME ขนาดกลางและขนาดย่อม จากรายได้และอัตราการจ้างงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดกลาง

  1. กิจการการผลิต รายได้ 500 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 200 คน
  2. กิจการการค้า รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
  3. กิจการการบริการ รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน

การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดย่อม

โดยในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท วิสาหกิจรายย่อย (Micro) และวิสาหกิจรายย่อม

  1. กิจการการผลิต

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 100 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 50 คน

2. กิจการการค้า 

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม  รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

3. กิจการการบริการ  

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม  รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

รู้จักฟีเจอร์ของเรา             สมัครสมาชิก

สร้างสิ่งใหม่ ลดผูกขาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ข้อดีของการทำธุรกิจ SME

โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างและยืดหยุ่นมากกว่า 

ธุรกิจ SME เป็นการนำผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตที่มีอยู่เดิม มาแปรรูป ทำการตลาดและสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างไร้ข้อจำกัด ด้วยการเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้เงินและคนงานในการดำเนินการน้อย ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้าหาการตลาใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า มีความใกล้ชิดลูกค้าและสามารถวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวเร็ว พร้อมกับสามารถคิดกลยุทธ์ทางการตลาดขึ้นมาเจาะกลุ่มลูกค้าได้แบบตรงจุดได้อย่างคล่องตัวมากกว่าอีกด้วย

เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

ธุรกิจ SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการเข้ามาเป็นคนกลางที่เชื่อมธุรกิจทุกขนาดเข้าด้วยกัน เป็นแนวกันชนป้องกันการผูกขาดของธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ธุรกิจ SME มีความยืดหยุ่นทางด้านการลงทุนและการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศ พร้อมกับลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมกับกำให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ในภูมิภาค ไม่ให้กระจุกตัวแต่เพียงพื้นที่ภายในเมืองใหญ่

รัฐให้ความสำคัญและมีหน่วยงานดูแลเฉพาะ 

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐมีการจัดตั้งหน่วงงานขึ้นมาดูและและส่งเสริมธุรกิจ SME ทั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน่วยงานเพื่อจัดองค์ความรู้ ประสานงานช่วยเหลือ แชร์ข้อมูลสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง

กรมการธุรกิจการค้า (DBD) เสริมความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ SME แก่ผู้บริโภคเจ้าของธุรกิจ SME สามารถลงทะเบียนร้านค้ายืนยันตัวตนหรือที่เรียกกันว่าการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าจะได้เครื่องหมาย DBD ไปแปะที่หน้าเว็บไซต์ เป็นเครื่องหมายยืนยันว่าธุรกิจนี้ได้รับการรองรับจากกรมธุรกิจการค้าแล้วนั่นเอง

SME จัดการธุรกิจได้ไร้กังวล ธุรกิจที่ช่วยจัดการหลังร้านช่วยเหลือ 

ธุรกิจ SME ที่ผันตัวเองมาจับตลาดช่องทางออนไลน์ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายและคล่องตัว นอกจากแพลตฟอร์มที่เริ่มพัฒนาฟีเจอร์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจออนไลน์แล้ว ยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ตธุรกิจ SME โดยเฉพาะ โดยเฉพาะ SME ที่เปิดร้านค้าออนไลน์ที่ต้องสต๊อกสินค้า จัดการออเดอร์ แพ็คพัสดุ และเรียนขนส่ง ปัจจุบันมีระบบช่วยจัดการหลังร้านออนไลน์ครบวงจรตั้งแต่การจัดการคลังสินค้า พิมพ์ แพ็ค จัดการขนส่ง ที่เข้ามาทำให้เสริมประสิทธิภาพธุรกิจ SEM ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมืออาชีพและมั่นคง

ธุรกิจ SME มีลักษณะอย่างไร

1 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชําระแล้วในวันสุดท้ายของ รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท 2 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน 3 เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นําหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI.

ธุรกิจ SME มีความสําคัญอย่างไร

ธุรกิจ SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการเข้ามาเป็นคนกลางที่เชื่อมธุรกิจทุกขนาดเข้าด้วยกัน เป็นแนวกันชนป้องกันการผูกขาดของธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ธุรกิจ SME มีความยืดหยุ่นทางด้านการลงทุนและการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศ ...

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแตกต่างกันอย่างไร

ธุรกิจการให้บริการ = 'ธุรกิจขนาดย่อม' มีจำนวนบุคลากรไม่เกิน 50 คน และมีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท, 'ธุรกิจขนาดกลาง' มีจำนวนบุคลากรตั้งแต่ 51-200 คน สินทรัพย์ถาวรตั้งแต่ 51-200 ล้านบาท

ธุรกิจขนาดกลาง หมายถึงอะไร

วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) คือ กิจการในภาคการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 50 -200 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่า 100–500 ล้านบาท ส่วนกิจการในภาคการค้า (ค้าส่ง หรือค้าปลีก) และบริการ มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่า 30–100 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่า 50–300 ล้านบาท ทั้งนี้ หากจ้างงานและรายได้ เข้าลักษณะของวิสาหกิจต่าง ...