ลักษณะของคํา ภาษาอังกฤษในภาษาไทย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

มูลฐาน » ภาษาทั้งหมด » ไทย » ศัพท์แบ่งตามรากศัพท์ » Borrowed terms » ภาษาอังกฤษ

ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ

แรกสุด – ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ฦ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

หน้าในหมวดหมู่ "ภาษาไทย:ยืมจากภาษาอังกฤษ"

200 หน้าต่อไปนี้อยู่ในหมวดหมู่นี้ จากทั้งหมด 746 หน้า

(หน้าก่อนหน้า) (หน้าถัดไป)

  • ก้นก๊อก
  • กราฟ
  • ก๊อก
  • ก๊อบปี้
  • ก๊อป
  • ก๊อปปี้
  • กอริลลา
  • กอล์ฟ
  • กะหรี่ปั๊บ
  • กังฟู
  • กันโบ๊ต
  • กัปตัน
  • ก๊าซ
  • กาฐมาณฑุ
  • การ์ด
  • ก๊าร์ด
  • ก๊าร์ดรถ
  • การ์ตูน
  • การันตี
  • กาลาดินเนอร์
  • กาลาดินเน่อร์
  • กาล่าดินเน่อร์
  • กาลาพรีเมียร์
  • กาล่าพรีเหมี่ยร์
  • กำมะหยี่
  • กิกะไบต์
  • กิ๊บ
  • กิ๊บเก๋ยูเรก้า
  • กิโล
  • กิโลกรัม
  • กิโลไบต์
  • กีตาร์
  • กีวี
  • กุ๊ก
  • กุลี
  • กูรู
  • เก๊กแมน
  • เก็ต
  • เก๊ต
  • เกม
  • เกมโชว์
  • เกย์
  • เกย์ควีน
  • เกย์คิง
  • เกรด
  • เกรน
  • เกะ
  • เกาต์
  • เกาลิน
  • เกียร์
  • แก๊ก
  • แก๊ง
  • แกโดลิเนียม
  • แก๊ป
  • แกมมา
  • แกรนิต
  • แกรไฟต์
  • แกลลอน
  • แกลเลอรี
  • แกลเลียม
  • แก๊ส
  • โกโก้
  • โกรต๋น
  • โกอินเตอร์
  • ไกด์
  • ไก๊ด์

  • เข้าเกียร์เดินหน้า
  • เข้าเกียร์ถอยหลัง
  • เข้าแก๊ป
  • เข้าวิน

  • คริสต์
  • คริสต์มาส
  • คริสเตียน
  • ครีม
  • คลอโรฟอร์ม
  • คลอโรฟิลล์
  • คลิก
  • คลินิก
  • คลีน
  • ควิซ
  • ควีน
  • ค็อกเทล
  • ค็อด
  • คอนกรีต
  • คอนเสิร์ต
  • คอมพิวเตอร์
  • คอมพิวเต้อร์
  • คอมมานโด
  • ค็อมมานโด
  • คอมมิวนิสต์
  • คอมเมนต์
  • ค็อมเม้นต์
  • คอร์ด
  • คอร์ต
  • คอร์รัปชัน
  • คอร์ส
  • ค้อร์ส
  • คอลัมน์
  • คอสติกโซดา
  • คอสเพลย์
  • คัต
  • คัตเอาต์
  • คัตเอ๊าต์
  • คัสซี
  • คาทอลิก
  • คาร์บอน
  • คาร์บอนไดออกไซด์
  • คาร์บอนมอนอกไซด์
  • คาร์บอเนต
  • คาราวาน
  • ค่าสัมบูรณ์
  • คิง
  • คิริบาส
  • คิว
  • คีย์
  • คีย์การ์ด
  • คีย์ก๊าร์ด
  • คีย์บอร์ด
  • คีย์แมน
  • คุกกี้
  • คู่เดต
  • คูเรียม
  • คูล
  • เค
  • เค้ก
  • เคเบิลทีวี
  • เคเบิ้ลทีวี
  • เคมี
  • เครดิต
  • เครดิตการ์ด
  • เครดิตก๊าร์ด
  • เครน
  • เคลม
  • เคลียร์
  • เคส
  • เคอร์ฟิว
  • เคาต์ดาวน์
  • เค้าต์ดาวน์
  • เคาน์ซิล
  • แคตวอล์ก
  • แค็ตว้อล์ก
  • แคม
  • แคร์
  • แคร์รอต
  • แคลคูลัส
  • แคลเซียม
  • แคลอรี
  • โค้ก
  • โคคาอีน
  • โคเคน
  • โคช
  • โค้ช
  • โคไซน์
  • โค้ด
  • โคน
  • โคโยตี้
  • โครโมโซม
  • โคลน
  • โคล่า
  • โคโลญ
  • โควตา

  • เฆมี

  • จ๊อบ
  • จอย
  • จากัวร์
  • จ๊าบ
  • จิ๊กโก๋
  • จิกะไบต์
  • จิ้น
  • จี
  • จุ๊บ
  • จูน
  • เจ
  • เจนีวา
  • เจล
  • แจ็ก
  • แจ๊ก
  • แจ็กเก็ต
  • แจม
  • โจ๊ก
  • โจ๊กเกอร์

  • เฉด

  • ชวา
  • ช็อก
  • ช็อกโกแลต
  • ช็อต
  • ช็อป
  • ชอล์ก
  • ชาด
  • ชาร์จ
  • ชาร์ป
  • ชี
  • ชีส
  • เช็ก
  • เช็ค
  • เชียร์
  • เชียร์ลีดเดอร์
  • แชร์
  • แชสซี
  • โชว์

(หน้าก่อนหน้า) (หน้าถัดไป)

เข้าถึงจาก "https://th.wiktionary.org/w/index.php?title=หมวดหมู่:ภาษาไทย:ยืมจากภาษาอังกฤษ&oldid=1005497"

หมวดหมู่:

  • Borrowed termsภาษาไทย
  • ภาษาไทย:รากศัพท์จากภาษาอังกฤษ
  • ยืมจากภาษาอังกฤษ

 ลักษณะคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

เมื่อคนไทยมีการติดต่อกับประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านการค้า  การทูต  การสงคราม  การเมือง  การศึกษา  วรรณคดี  ศาสนา   วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และอื่นๆ  ทำให้มีการรับภาษาต่างๆ  มาใช้ในภาษาไทยด้วย เช่น  ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต   ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส  ภาษามาลายู  ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้นการยืมคำภาษาต่างประเทศ มาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีการงอกงามและมีคำใช้ในการสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น  คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ   มีดังนี้

๑. คำบาลีสันสกฤต

                ภาษาไทยมีคำศัพท์ที่มีการปรุงแต่งมาจากภาษาต่างประเทศ  เช่น   ภาษาบาลี  และภาษาสันสกฤตอยู่มาก  ส่วนใหญ่จะใช้เกี่ยวกับเรื่องศาสนา  วรรณคดี   วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้งใช้ในคำสุภาพและคำศัพท์ทั่วไป  มีหลักการสังเกต   ดังนี้

๑ ) เป็นคำที่มีหลายพยางค์  เช่น

บิดา

มารดา

ภรรยา

กรุณา

อนุเคราะห์

สถาปนา

เมตตา

นิทรา

ปราโมทย์

ทนงศักดิ์

พรรณทิวา

กีฬา

ฤษี

พิสดาร

เกษียณ

๒ ) ตัวสะกดมักมีตัวการันต์อยู่ด้วย  เช่น  

แม่กง          >          องค์        รงค์         สงฆ์      วงศ์       หงส์        ณรงค์

แม่กน         >           สวรรค์      มนต์      ทันต์

แม่กม         >          พิมพ์       อารมณ์      รื่นรมย์

แม่กก         >           ทุกข์     พักตร์

แม่กด         >           ฤทธิ์      พจน์   โจทย์

แม่กบ         >           กาพย์      กษาปณ์

๓ ) มีคำที่ประสมด้วยพยัญนะ ฆ , ฌ , ญ , ฎ , ฏ , ฒ , ณ , ธ , ภ , ศ , ษ , ฤ , ฬ  

 เช่น ฆาต , มัชฌิม , สัญญา , กุฎี , โกฏิ , วุฒิ , เณร , พุทธ , โลภ , เศรษฐี , ฤดู ,จุฬา  เป็นต้น

๔ ) เป็นคำที่มีอักษรควบ  คำบาลีสันสกฤต  นิยมคำที่มีอักษรควบ  

เช่น  จักร  บุตร  เพชร  เนตร   ประสูติ   ประโยชน์   ปณิธาน  ปราโมทย์    ปรัชญา    ประมาท     ประกาศ    ปรัชญา     ประสูติ     เป็นต้น

๕ ) คำบาลีไม่มีวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้

ภาษาบาลี

๑.  พยัญชนะบาลีมี ๓๓ ตัว  สระมี ๘ ตัว

๒. คำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตามในวรรคเดียวกันเสมอ พยัญชนะแถวที่ ๑ ,๓ , ๕ เป็นตัวสะกด    ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑ หรือ ๒ เป็นตัวตามได้  เช่น สักกะ ทุกขะ    ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓   สะกด  แถวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ เช่น อัคคี วิชชา     ถ้าแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกแถวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ องค์ ยกเว้น ง ตามตัวเองไม่ได้                           

๓.  สังเกตจากพยัญชนะ “ ฬ ” มีใช้เฉพาะบาลี เช่น จุฬา วิฬาร์ ครุฬ

๔.  บาลีมีตัวสะกดและตัวตามที่ซ้ำกัน ไทยจะตัดตัวที่ซ้ำกันออกให้เหลือตัวเดียว เช่น

รัฏ.ฐ       –    รัฐ                           ปุญ.ญ      –     บุญ

นิส.สิต    –    นิสิต                         กิจจ        –      กิจ

เขตต       –    เขต

ภาษาสันสกฤต

๑.  สันสกฤตมีพยัญชนะ  ๓๕  ตัว  ( เพิ่ม  ศ  ษ )    สระสันสกฤตมี  ๑๔  ตัว

๒. ตัวสะกดตัวตามของสันสกฤตจะอยู่ต่างวรรคกัน  เช่น  สัปดาห์  อักษร  บุษบา  อัศจรรย์ 

๓.  สันสกฤตนิยมใช้ตัว  “ ฑ ”   เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ   

๔.  นิยมใช้อักษรควบเป็นตัวสะกด  เช่น  จักร  อัคร  บุตร  จันทร

๕.  มักจะมี  “ ษ ”  หรือ  “ รร ”  อยู่ในคำนั้น ๆ  เช่น  ราษฎร์  ฤษี  ภรรยา  กฤษณา 

ตารางแสดงตัวสะกด  ตัวตาม  ในภาษาบาลี – สันสกฤต

ฐานที่เกิด

แถว

วรรค

เศษวรรค

คอ

วรรค กะ

ห  อ  ฮ

เพดานปาก

วรรค จะ

ย  ศ

ปุ่มเหงือก

วรรค ฏะ

ร  ษ  ฬ

ฟัน

วรรค ตะ

ล  ส

ริมฝีปาก

วรรค ปะ

*หมายเหตุ           ตัวที่ขีดเส้นใต้เป็นอักษรที่มีใช้เฉพาะภาษาสันสกฤตเท่านั้น

สรุปข้อแตกต่างระหว่างภาษาบาลี  กับ  ภาษาสันสกฤต

บาลี

สันสกฤต

๑. สระบาลี  มี  ๘  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู      เอ  โอ๒.  พยัญชนะ  บาลี มี  ๓๓  ตัว

๓.  บาลีนิยม  ฬ  เช่น  จุฬา  กีฬา  อาสาฬห  วิฬาร์ ๔. ไม่นิยมคำควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม 

      มัจฉา  วิชชา  สามี

๕. มีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดตัวตามแน่นอน

๖. ใช้ริ  กลางคำ  เช่น  อริยะ  จริยา  อัจฉริยะ

๗. บาลีใช้  อะ  อิ  อุ  เช่น  อมตะ  ติณ  ปุจฉา  อุตุ

๘. บาลีใช้  ส  ทั้งหมด  เช่น  สงฆ์  สามัญ 

     ปัสสาวะ  อัสสุ  มัสสุ  สิกขา  สัจจะ

๑.  สระสันสกฤตมี  ๑๔  ตัว  เพิ่ม  ไอ  เอา  ฤ  ฤา       ฦ  ฦา๒. พยัญชนะสันสกฤตมี  ๓๕  ตัว  เพิ่ม  ศ  ษ

๓. สันสกฤตใช้  ฑ  ฒ  เช่น  จุฑา  กรีฑา

๔.นิยมควบกล้ำ  และอักษรนำ  เช่น  ประถม  

     มัตสยา  วิทยา  สวามี

๕. มีหลักตัวสะกดตัวตามไม่แน่นอน

๖. ใช้  ร  กลางคำ  เช่น  อาจารย  จรรยา  อารยะ

๗. สันสกฤต  ใช้  ฤ  เช่น  อมฤต  ตฤณ  ปฤจฉา 

     ฤดู

๘. ใช้  ส    จะมีพยัญชนะวรรค  ต  ( ต  ถ ท ธ น )  เป็นตัวตาม  เช่น  สตรี  สถานี  พัสดุ  สถิติ  พิสดาร

 ๒. ภาษาเขมร

                ภาษาเขมรเข้ามาสู่ประทศไทยโดยทางการค้า  การสงคราม  การเมืองและวัฒนธรรม  คำที่มาจากภาษาเขมรส่วนใหญ่ที่พบมักใช้ในวรรณกรรม  วรรณคดี  คำราชาศัพท์  และใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลักในการสังเกตดังนี้

๑ ) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์               

ยกเว้น          เสน่ง     เขม่า     เป็นต้น

๒ ) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์ 

เช่น   ลออ        ผจง       ผอบ       ฉงน  เป็นต้น

๓ ) มักใช้  ร  ล  ญ  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กน  เช่น

ขจร         ขะ-จอน                 ร              เหมือน  น  สะกด

กาล         กาน                        ล             เหมือน  น  สะกด

เจริญ      จะ-เริน                  ญ            เหมือน  น  สะกด

๔ ) มักใช้  จ  ส  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กด  เช่น

เสด็จ     เผด็จ     บำเหน็จ     บังอาจ     ตรัส     จำรัส     เป็นต้น

๕ ) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ

กระจอก     กระออม    ขนาด     ขลัง     โขมด        ตรอก      เฉนียน   เผด็จ   เป็นต้น

๖ ) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร  เช่น  

คำราชาศัพท์

ความหมาย

แกล

หน้าต่าง

ปับผาสะ

ปอด

ขนง

คิ้ว

๗ ) คำที่ขึ้นต้นด้วย  บัง    บัน    บำ     บรร   มักมาจากภาษาเขมร  เช่น       

       บันดาล   บันได   บันทึก   บันเทิง   บันลือ    บันโดย

บันโหย    บันเดิน   บันกวด    บังเกิด       บรรทัด

บรรทม   บรรทัด     บรรจุ    บรรลุ    บรรพต    บรรเลง

บรรพชา    บรรหาร   บรรทุก    บำเพ็ญ       บำราศ

บำเรอ    บำนาญ    บำเหน็จ   บำบัด  บำบวม

บังคม       บังเกิด     บังอาจ    บังเหียน    บังคับ    บังคล    บังเหิน

๘ ) คำที่ขึ้นต้นด้วย   กำ   คำ   จำ    ชำ    ดำ   ตำ     ทำ    มักมาจากภาษาเขมร  เช่น  

   กำเนิด     กำหนด     กำจร      คำนับ       จำเริญ      จำเนียร        ชำนาญ

ดำเนิน      ดำริ        ดำรง       ตำรวจ     ตำนาน      ทำนาย     ทำเนียม

๙ ) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้  เช่น  

                          เกิด        >        กำเนิด                           จ่าย        >       จำหน่าย

ครบ      >          คำรบ                           ชาญ      >       ชำนาญ

แจก      >         จำแนก                          ตรวจ    >         ตำรวจ

ความรู้เสริมเกี่ยวกับคำแผลง       

แผลงพยัญชนะ คือ  การเปลี่ยนพยัญชนะไปจากเดิม เช่น 

ขจาย       เป็น        กระจาย, กำจาย ฉงาย      เป็น        จำงาย รม           เป็น        ระงม
ขจร        เป็น        กำจร ฉลุ          เป็น        ชำลุ รำ            เป็น        ระบำ
แข็ง        เป็น        กำแหง เฉียง       เป็น        เฉลียง ราญ        เป็น        รำบาญ
ขด           เป็น        ขนด เฉิด         เป็น        ประเจิด บวก        เป็น        ผนวก
ชะ          เป็น        ชำระ ถก           เป็น        ถลก บวช        เป็น        ผนวช
ช่วย        เป็น        ชำร่วย ถวาย       เป็น        ตังวาย แผก        เป็น        แผนก
ทรุด        เป็น        ชำรุด ผจญ       เป็น        ประจญ โลภ        เป็น        ละโมบ
เพราะ    เป็น        ไพเราะ พิศ          เป็น        พินิศ เดิน        เป็น      ดำเนิน

แผลงสระ  คือ  การเปลี่ยนสระให้ผิดไปจากเดิม
วชิระ          เป็น            วิเชียร
บุราณ         เป็น           โบราณ
ศิลา           เป็น            เศลา, ไศล
พิจิตร         เป็น           ไพจิตร
สินธุ           เป็น            สินธู
นู่น            เป็น           โน้น
สุภาพ        เป็น            สุวภาพ
ศิระ            เป็น           เศียร

 ๓. ภาษาจีน

   ภาษาจีนเข้าสู่ประเทศไทยโดยการติดต่อค้าขาย  ลักษณะภาษาจีนและภาษาไทยมี  คล้ายคลึงกัน   เพราะเป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์  โดยมากเป็นคำนามที่เป็นเรื่องของ

อาหารและเครื่องใช้

คำจีนที่นำมาใช้โดยมากใช้ตามสำเนียงเดิม  จะมีเพี้ยนไปบ้างก็ไม่มาก  พอฟังกันรู้เรื่อง เช่น  เกาเหลา  แป๊ะซะ  ก๋วยเตี๋ยว  เต้าหู้  เต้าส่วน  พะโล้  กวยจั๊บ  จับฉ่าย  บะฉ่อ  เกี๊ยว  ปุ้งกี๋  ตะหลิว  บะหมี่   เกี๊ยะ  เป็นต้น

๔. ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษเข้ามาในภาษาไทย  เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษาในยุคที่ไร้พรมแดน  ทำให้คนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น  เช่น  กราฟ  กลูโคส กอล์ฟ  คริสต์มาส  เครดิต (  ชื่อเสียง ) เช็ค  เชิ้ต  โชว์  ชอล์ก  เช็ค  เชียร์  ซอส  ซีเมนต์  เซ็น เต็นท์  ทอฟฟี่  บล็อก  บรู๊ฟ  ปลั๊ก  พลาสติก  ฟุลสแก๊ป  ฟิล์ม ฟิวส์ แฟลต ไมโครเวฟ ไมโครโฟน  ไมล์  ริบบิ้น  ลิฟต์  เสิร์ฟ  หรีด  โหวด  อิเล็กทรอนิกส์   โอลิมปิก ไอศกรีม  ฮอกกี้ เฮลิคอปเตอร์  เป็นต้น

๕. ภาษาชวา

ภาษาชวาเข้าปะปนในภาษาไทย เพราะอิทธิพลจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา  ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศหล้านภาลัยเป็นที่รู้จักแพร่หลาย  คนไทยจึงรู้จักภาษาชวา และนำภาษาชวามาใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น  กระยาหงัน ( สวรรค์ )    กริช  โนรี ( นกแก้ว )   ซาหริ่ม ( ขนม )   ปั้นเหน่ง ( เข็มขัด)   โดม ( สูง ) บุหงา ( ดอกไม้ )   บุหรง ( นกยูง )   บุหลัน ( ดวงจันทร์ )  ยาหยี ( น้องรัก )   ยี่หว่า ( ชีวิตจิตใจ ) ตุนาหงัน ( คู่หมั้น )   มะงุมมะงาหรา    ช่าโบะ( ผ้าห่ม )

๖. ภาษาเปอร์เซีย  เช่น

กะลาสี ( ลูกเรือ ) กากี กาหลิน กุหลาบ จารบิ บัลกรี ยี่หร่า สักหลาด ชาร์ ( กษัตริย์ )

๗.  ภาษาโปรตุเกส 

ภาษาโปรตุเกสเข้ามาในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ เช่น กะละมัง กะละแม ปิ่นโต เลหลัง สบู่ เหรียญ   

ดาวน์โหลด ลักษณะคำ ได้ด้านล่างนี้คะ

 >>  ลักษณะคำไทย_อื่น ๆ

ลักษณะของคำไทยแท้

ลักษณะคำไทย_เขมร

ลักษณะคำไทย_จีน

ลักษณะคำไทย_บาลี สันสกฤต

ลักษณะคำไทย_อังกฤษ  <<