ลักษณะของสื่อโฆษณาเกินจริง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพประชาชน กล่าวในการแถลงข่าว โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายในยุค คสช. ว่า กสทช. ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด เพื่อสร้างนักร้องเรียนให้ช่วยติดตามตรวจสอบการเผยแพร่ออกอากาศทั้งวิทยุและโทรทัศน์หลังจากที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ คสช. ระงับการออกอากาศสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการ แต่จากการเฝ้าระวังกลับพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิด กม.ในสถานีวิทยุหลักทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด A.M. และ F.M. สำนักงาน กสทช. ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบและพบว่าผิดกฎหมายจริง 4 สถานีในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ สถานีวิทยุทหารอากาศ 20 สถานีวิทยุ สวพ.ขอนแก่น สถานีวิทยุเบสท์เรดิโอ และสถานีวิทยุสุขภาพดีมีสุข สำนักงาน กสทช. จะส่งหนังสือให้ระงับโฆษณาดังกล่าวหากฝ่าฝืนจะปรับวันละ 20,000 บาท และกระทำผิดซ้ำจะส่งผลต่อการพิจารณาต่อใบอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีวิทยุทดลองประกอบกิจการที่ได้สิทธิออกอากาศแล้วขณะนี้ 2,000 กว่าแห่ง ขอให้ระมัดระวังในการนำเสนอเนื้อหา หากกระทำผิดการโฆษณาอาหารและยาจะส่งผลต่อการพักใช้ใบอนุญาตได้

“ขณะนี้ทราบว่าเครือข่ายผู้บริโภคกำลังติดตามเฝ้าระวังการนำเสนอเนื้อหาในสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี หลังจากที่ได้รับอนุญาตออกอากาศแล้วว่ามีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และจะส่งข้อมูลเพื่อให้สำนักงาน กสทช. ด้วยในครั้งถัดไป” นางสาวสุภิญญากล่าว

 

นายพชร แกล้วกล้า ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค 10 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี เพชรบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด พะเยา ลำปาง สุราษฏร์ธานี สงขลา และสตูล ได้ร่วมกับ กสทช. ในการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปีตั้งแต่ มิถุนายน 2557 ถึง พฤษภาคม 2558 ภายใต้สามยุทธศาสตร์หลักคือการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการและภาคีอื่น ๆ ในการจัดการปัญหาและการสร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภค เท่าทันสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

นายพชร กล่าวต่อว่า การแถลงข่าวในวันนี้เป็นการนำเสนอผลการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อวิทยุซึ่งได้มีการเฝ้าระวังในช่วงที่ คสช. เข้ามาควบคุมการกระจายเสียงคือระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง กันยายน 2557 ว่า ได้มีการเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา และเครื่องสำอางในช่วงเวลาดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 1 สัปดาห์ ทางสื่อวิทยุจำนวน 33 คลื่นใน 10 จังหวัด แบ่งเป็นคลื่นหลัก จำนวน 31 คลื่น และคลื่นวิทยุออนไลน์จำนวน 2 คลื่น ซึ่งใน 31 คลื่น เป็นคลื่น FM ๒๗ คลื่น และ คลื่น AM 4 คลื่น ทั้งนี้ พบว่า 29 คลื่น (ร้อยละ 88) มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดย พบผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้นจำนวน 103 รายการ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 54 รายการ ผลิตภัณฑ์ยา 35 รายการ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 13 รายการ และโฆษณาสถานพยาบาลจำนวน 1 รายการ

 

น.ส.สิรินนา เพชรรัตน์ ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสุราษฏร์ธานี กล่าวว่า หากแบ่งตามการกระจายตัวของการโฆษณา 3 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น จะได้แก่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอายแคร์ซอฟท์เจล (5 จังหวัด) กาแฟลิลลี่พลัส (4 จังหวัด) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเบญจไท, น้ำเห็ดสกัดมัชรูมพลัส, น้ำมันจมูกข้าวผสมน้ำมันรำข้าวตรายูนิไรซ์, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรีราล่า, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวีเอ็มพลัส, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลูทีนพลัส และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนัตโตะทู (๓ จังหวัด) ซึ่งโดยสรุปรวมนั้น ทั้ง 54 รายการของผลิตภัณฑ์อาหารที่พบสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะของการโฆษณาได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มบำรุงร่างกาย-รักษาโรคเฉพาะ-รักษาสารพัดโรคซึ่งมีจำนวน 35 รายการ กลุ่มเสริมความงามจำนวน 15 รายการ กลุ่มเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 4 รายการ

 

น.ส.สิรินนา กล่าวต่อว่าทางด้านผลิตภัณฑ์ยาเมื่อจัดกลุ่มตามการกระจายตัวของจังหวัดที่พบ 3 อันดับแรกนั้นจะได้แก่ วีกิ๊ฟ สมุนไพรชนิดน้ำและแคปซูลผสมว่านรากสามสิบ กับ กาโน 500 (6 จังหวัด), ป๊อก 109 กับ ยาน้ำสตรีฟลอร่าพลัส (5 จังหวัด), และยาระบายมะขามแขกตราลิลลี่ กับ ทวิน ยาสมุนไพรเขากวางอ่อน (4 จังหวัด) โดยที่ทั้ง 35 รายการของยาที่พบนี้ สามารถแบ่งกลุ่มตามเนื้อหาการโฆษณาได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มยาอันตรายที่ห้ามโฆษณา จำนวน ๓ รายการ กลุ่มยาที่โฆษณาเรื่องเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ รวมถึงความสวย-ความงาม จำนวน 10 รายการ กลุ่มโฆษณารักษาครอบจักรวาล จำนวน ๗ รายการ และ กลุ่มยาที่มีการโฆษณาลด แลก แจก แถม และชิงโชค เพื่อการขาย และส่งเสริมให้มีการใช้ยาเกินความจำเป็น จำนวน 15 รายการ

 

น.ส.สิรินนา กล่าวสรุปว่าจากการเฝ้าระวัง ทางเครือข่ายได้ประสานกับ กสทช. และ อย. โดยส่งผลการเฝ้าระวังไปยังทั้งสองหน่วยงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับผู้บริโภคเนื้อหาโฆษณาทั้งหลายที่พบนี้สามารถก่อปัญหาให้กับสุขภาพของผู้บริโภคได้ เช่น โฆษณาว่ารักษาสารพัดโรค ทำให้ผู้บริโภคที่เป็นโรคเรื้อรังหลงเชื่อ และหยุดการบริโภคยาของตน ซึ่งในอดีตก็มีกรณีร้องเรียนที่ผู้บริโภคเสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มายังเครือข่าย

 

นางสาวศิริวรรณ อำนวยสินสิริ ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า เครือข่ายผู้บริโภคจึงได้ริเริ่มแนวทางใหม่ ๆ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในระดับจังหวัดและภาค เช่น จ.ลำปางที่ได้ร่วมกับ สสจ. และ กสทช.เขต ๓ (ลำปาง) ในการเชิญผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและนักจัดรายการประจำคลื่นต่าง ๆ มาประชุมหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการจัดการปัญหา จนนำไปสู่การรวมตัวกันของนักจัดรายการและเจ้าของคลื่นธุรกิจกว่า 16 สถานี โดยมีข้อตกลงร่วมกันที่จะไม่โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาจะต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันจาก สสจ. ว่าได้รับอนุญาตในการโฆษณาหรือไม่ ก่อนการโฆษณาในสถานีของตน และศูนย์ฯ ลำปางได้ตรวจสอบการโฆษณาอีกครั้ง พบว่าทั้ง 16 สถานี ยังไม่พบการโฆษณาที่เกินจริง

 

ด้านจังหวัดเพชรบุรีที่ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ “จังหวัดจัดการตนเองด้านการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเกินจริงทางสื่อชุมชน” จนสามารถผลักดันให้เกิดเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ (เพชรบุรีโมเดล) ระหว่าง กสทช. กับเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดเพชรบุรี ภายใต้เจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคเท่าทันการโฆษณาเกินจริงทางสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ การจัดการเฝ้าระวัง การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ต่างๆ ให้กับผู้บริโภค บนฐานการมีส่วนร่วมโดยความมุ่งมั่นร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายด้วยความรับผิดชอบและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนนำมาซึ่งการอาสาตนของนักจัดรายการในการสนับสนุนและเป็นผู้ร้องเรียน

 

หรือแม้แต่ของจังหวัดกาญจนบุรีที่ไปชวนผู้ประกอบการจับเข่าคุยด้วยตนเองโดยมี สคบ. จังหวัด และ อย. ร่วมพูดคุยนำมาซึ่งการรวมตัวกันของสื่อวิทยุในพื้นที่เพื่อการคัดกรองเนื้อหาก่อนการออกอากาศ กล่าวโดยสรุปในหลายจังหวัดก็มีทิศทางที่ดี โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกจังหวัดสะท้อนตรงกันคือการที่ยังขาดความรู้กฎหมายการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงนำมาซึ่งโอกาสในการทำงานร่วมกันผ่านการจัดฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการและนักจัดรายการ การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังร่วมกัน รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือแบบสามประสานระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการ และภาคประชาสังคมในการจัดการปัญหานี้ต่อไป ซึ่งก็หวังว่าแนวทางนี้จะไปได้ดีภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. และ อย. อันนำมาซึ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่ลดลงโดยผู้ประกอบการเป็นผู้ช่วยทางตรงในการคัดกรองเนื้อหากันเองก่อนการออกอากาศ

 

นายนิรัตน์ เตียสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ อย.เองอยู่ระหว่างการปรับปรุง พรบ.อาหาร ให้เพิ่มค่าปรับเป็นหนึ่งแสนบาท และได้ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทำโครงการเฝ้าระวัง 1 อำเภอ ๑ สถานีวิทยุชุมชน แต่ในความเป็นจริงบางจังหวัดก็เฝ้าทุกสถานีซึ่งมีวิธีการให้ความรู้กับผู้ประกอบการก่อน ซึ่งผู้ประกอบการบางคนก็รู้และไม่รู้ว่าผิดไม่ผิด

“ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็จะมีสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยคอยควบคุมดูแลกันเอง แต่ก็ยังมีนักโฆษณาที่ไม่ได้อยู่ในสมาคมทำให้สมาคมไม่สามารถควบคุมได้”
จากเวทีความร่วมมือผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ได้มีการจัดทำข้อเสนอดังนี้

1. ให้เครือข่ายเฝ้าระวังส่งข้อมูลที่ตรวจพบส่งให้สถานีวิทยุเพื่อตรวจสอบโฆษณา ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องให้นำโฆษณาออกจากรายการ

2. ให้สถานีวิทยุกวดขันตรวจสอบใบอนุญาตโฆษณา หากไม่มีใบอนุญาตไม่ให้มีการโฆษณาในสถานีวิทยุนั้นๆ

3. สร้างความร่วมมือสามฝ่ายในระดับจังหวัดในการกำกับกันเอง

4. ให้เร่งพัฒนาระบบคอลเซ็นเตอร์ / จุดรับเรื่อง /แอพพลิเคชั่น ในการให้ข้อมูลความรู้ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่าย

5. จัดเวทีระดับชาติ สร้างความร่วมมือกับสถานีวิทยุ

6. ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มมาตรการบทลงโท

 

นอกจากนี้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และปรับปรุงพระราชบัญญัติยา ให้มีหมวดที่ว่าด้วยการจัดการโฆษณาและส่งเสริมการขายโดยยกระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายแห่งชาติด้านยา

ลักษณะของสื่อโฆษณาที่อวดอ้างเกินจริง คืออะไร

ใช้ภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า สิ่งที่ไม่เคยมีความจำเป็นหลายอย่างในชีวิต กลายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นขึ้นมา โฆษณาด้วยลักษณะท่าทาง ใช้เทคนิคการโฆษณาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการโดยไม่ใช้คำพูด เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย

ลักษณะของสื่อโฆษณามีอะไรบ้าง

สื่อโฆษณา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการน าข้อมูลข่าวสารหรือ ข้อความโฆษณาไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเชิญชวนให้ ซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากผู้โฆษณา ประเภทของ สื่อโฆษณา 6.สื่อประเภท อื่นๆ 1.สื่อโทรทัศน์ 2.สื่อวิทยุ 5.สื่อใน โรงภาพยนต์ 4.สื่อโฆษณา กลางแจ้ง 3.สื่อสิ่งพิมพ์

โฆษณาที่ไม่น่าเชื่อถือมีอะไรบ้าง

การโฆษณายาที่มีการรับรองคุณภาพ โดยบุคคลอื่น เช่น บุคคลที่มีชื่อเสียง บุคลากรทางการแพทย์ สถาบันวิชาการ หรืออ้างงานวิจัย สถิติที่ไม่น่าเชื่อถือ โฆษณาที่มีการแถม หรือออกสลากรางวัล ซื้อเป็นของฝาก โฆษณาโดยไม่สุภาพ ร้องรำทำเพลง แสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นการโฆษณายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ภัยจากโฆษณามีอะไรบ้าง

Advertisement. เสียเงินโดยใช่เหตุ เมื่อซื้อสินค้ามาใช้นอกจากจะไม่ได้ผลตามที่โฆษณาแล้ว การโฆษณาเกินจริงยังทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินโดยใช่เหตุ เพราะการโฆษณาเกินจริงเป็นการชวนเชื่อให้หลงไปกับสินค้านั้นๆ ดังนั้น หากผู้บริโภคไม่ยั้งคิดก็จะต้องพลาดท่าจ่ายาเงินให้กับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน