บทที่ 1 โครงงานน้ำยาเช็ดกระจก

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงานเรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกไร้สารเคมี  มีเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.น้ำยาเช็ดกระจก

       1.1  น้ำยาทำความสะอาดสารพัดประโยชน์และน้ำยาเช็ดกระจกหลายยี่ห้อมีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แอมโมเนียมีฤทธิ์เป็นด่างและสามารถกัดกร่อน มีสูตรเคมีคือ NH3 ซึ่งปกติจะอยู่ในสถานะก๊าซไม่มีสีที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว แต่เมื่อละลายน้ำจะอยู่ในรูปสารละลายของแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) อย่างไรก็ตามแอมโมเนียสามารถระเหยออกมาเป็นก๊าซและอาจเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจและดวงตาได้ โดยทั่วไปความเข้มข้นของแอมโมเนียในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 5 – 10 % น้ำหนักต่อปริมาตร(คณาจารย์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร 2558)

      1.2ประโยชน์ของน้ำยาเช็ดกระจก

   ทำให้กระจกใสสะอาด ไม่มีคราบสกปรกติดอยู่บนกระจก

2.ส่วนผสมมที่ใช้ในการทำน้ำยาเช็ดกระจกไร้สารเคมี

2.1 มะกรูด

     2.1.1    มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

     2.1.2 สรรพคุณ

             น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้

     2.1.3    ประโยชน์ของมะกรูด

-ช่วยเจริญอาหาร

-น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล

-ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

-ช่วยแก้อาการหน้ามืด

-ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง

-ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี

-กรดอ่อนๆของมะกรูดช่วยยับยั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อได้

-ไล่แมลงได้

-กำจัดกลิ่นอับได้

2.2ข่า

2.2.1    ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

2.2.2สรรพคุณ

ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง[4] ข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน

     2.2.3  ประโยชน์

-ช่วยให้เจริญอาหาร

-ช่วยยับยั้งการจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

-น้ำมันหอมระเหยของข่ามีประโยชน์มากต่อระบบการเดินหายใจ

-ช่วยรักษากากเกลื้อน

-ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

2.3เกลือ

     2.3.1    เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง

     2.3.2  ประโยชน์ของเกลือ

-ช่วยถนอมอาหารได้

2.4เบคกิ้งโซดา

     2.4   โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง

     2.4.1   ประโยชน์

-ช่วยลดอาการของลมพิษได้

-หากถูกแมลงกัดต่อยให้ใช้เบคกิ้งโซดาได้

-ช่วยลดอาการผิวไหม้แดด

-ช่วยแก้ฮ่องกงฟุต

-ใช้แทนสคับผิวได้

-ระงับกลิ่นอับต่างๆได้

3.  โครงงานที่เกี่ยวข้อง

         Kattarin jutipolg 2558 ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก และนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ และยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากอัญชันและมะกรูดใช้อัญชันสีม่วงพันธุ์กลีบชั้นเดียวและพันธุ์กลีบซ้อน และกระจกที่ใช้เป็นกระจกเงาและกระจกใสที่มีความสกปรกตามปกติผลของการทำโครงงานคือ น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดสามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้ และลดสารพิษตกค้าง