ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ

“อิทธิบาท 4”  อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงาน หากสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทั้ง 4 ข้อได้ ผลสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ

1.ฉันทะ | การมีใจรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า  Where there is the will, there is the way.  ที่ใดมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่นั่นย่อมมีหนทางเสมอ

การสร้างฉันทะ เราต้องเลือกที่จะศรัทธาบางอย่าง ที่สำคัญคือต้องหมั่นตรวจสอบศรัทธานั้น ว่าดีต่อตัวเองและต่อผู้อื่นหรือไม่  หากดีทั้งสองอย่างจึงมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ การทำงานด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาที่ดี ย่อมเกิดผลสำเร็จที่ดีทั้งต่อตนเอง และสังคม

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ

2.วิริยะ | ความเพียร ความมุ่งมั่นทุ่มเท 

หมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูง ที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง หากเราไม่มีความเพียร อาจอนุมานได้ว่าเรามีฉันทะหลอกๆ หรือศรัทธาหลอกๆ ทั้งโกหกตัวเองและหลอกผู้อื่น

วิริยะนี้มาคู่กับความอดทนอดกลั้น เป็นความรู้สึกไม่ย่อท้อต่อปัญหาและมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำใจ และเตือนใจ ความวิริยะอุสาหะ จึงเป็นวิถีทางของบุคคลที่กล้าท้าทายต่ออุปสรรคทั้งปวง เพื่อเป้าหมายคือ ความสำเร็จนั่นเอง

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ

3.จิตตะ | ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ

เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม คำนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะสังคมซับซ้อน มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้บางคนไม่รู้จะทำอะไรก่อน ไม่สามารถมีจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ผลคือ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง ทำผิดๆ ถูกๆ อยู่อย่างนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความรับผิดชอบ เมื่อกระทำการสิ่งใดด้วยจิตจดจ่อแล้ว ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย จึงเรียกว่าเป็นผลสำเร็จดีงามตามแบบอย่างของคุณธรรม ตามหลักศาสนาและจริยธรรมของสังคม

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ

4.วิมังสา | การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา

สิ่งที่ทำอันเกิดจากการมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ จะต้องมีกระบวนการสุดท้ายคือ การทบทวนตัวเอง และองค์กร ว่าสิ่งที่ได้คิดได้ทำเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่น เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

การสรุปบทเรียนนั้น คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า สรุปเมื่องานเดินทางมาได้ครึ่งทางหรือสิ้นสุดการทำงาน หรือการทำแผนงานรายไตรมาส คือทุก 3 เดือน แต่จริงๆ แล้วการสรุปบทเรียนควรจะทำให้อย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นการพูดคุยกันหลังเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมทุกครั้ง หรือหลังเลิกงานแต่ละวัน หรือใช้วิธีการแบบไม่เป็นทางการ เพื่อสรุปบทเรียนของแต่ละคนให้ได้มากที่สุด

ดังนั้น “อิทธิบาท 4” จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันเป็นโลกที่ฉาบฉวยและวุ่นวาย ทำให้เราต้องฝึกฝนตนเอง เพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อกำเนิดการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาองค์กรตลอดจนประเทศชาติให้เจิญก้าวหน้า

ดังนั้น “อิทธิบาท 4” จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน เพราะหากทำได้ตามกระบวนความแล้ว สังคมความรู้ ชุมชนความรู้ และปัจเจกชนความรู้ คงอยู่ไม่ไกลเกินฝัน ประการสำคัญ “อิทธิบาท 4” ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวจากหลักธรรมข้ออื่นๆอันเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงถึงกัน เพียงแต่อธิบายคนละบทบาทเท่านั้น สิ่งสำคัญ เราได้ใคร่ครวญในเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงใด เพราะ ในโลกปัจจุบัน โลกที่สั่งสม อวิชชามามากจนเกินล้น จึงกลายเป็นโลกที่ฉาบฉวยและวุ่นวายสูงสุด นั่นแปลว่าเราต้องฝึกฝนตนเองหลายเท่าตัวเพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อกำเกิดการพัฒนาที่จุดเริ่มต้นของตนเองอย่างแท้จริง

ถ้าเราพัฒนาคนถูกต้องอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ มนุษย์ไม่แปลกแยกจากความจริงของธรรมชาติตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ทุกอย่างก็สอดคล้องไปกันได้หมด ไม่มีอะไรเสียหาย เมื่อเราวางฐานได้ดีแล้ว เราก็ใช้หลักการต่างๆ ในการทำงาน บนพื้นฐานที่ถูกต้องนั้น เมื่อพื้นฐานถูกต้องแล้ว เราจะเอาธรรมะอะไรมาใช้ตอนนี้ก็เดินหน้าไปด้วยดี เช่นเอาหลักอิทธิบาทมาใช้

แทบทุกท่านรู้จัก “อิทธิบาท คือ หลักแห่งความสำเร็จ” หลายท่านท่องขึ้นใจเลย อิทธิบาทมี ๔ ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

อิทธิบาท แปลว่า ทางแห่งความสำเร็จ

๑. ฉันทะ แปลว่า ความรักความพอใจ จะทำอะไรก็ทำด้วยความรักความพอใจ จะรักพอใจได้อย่างไร? โดยทั่วไปก็ต้องชอบหรือเห็นประโยชน์เห็นคุณค่าของงานนั้น จึงจะรักจะพอใจงานนั้น แต่ถ้าจะตอบให้ตรงที่สุดและง่ายๆ สั้นๆ ก็คือ ถ้าคนไม่แปลกแยกจากธรรมชาติ ถ้าเขาต้องการผลตามกฎธรรมชาติแท้จริง เขาจะรักงานทันที นี่คือฉันทะซึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ว่ามาเมื่อกี้ เช่น คนทำสวนรักงานทำสวน เพราะเขาต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ถ้าหมออยากให้คนไข้หายป่วยหรืออยากให้เขามีสุขภาพดี หมอก็รักงานรักษาคนไข้ทันที

ถ้าพูดกันให้ถึงแก่น ฉันทะไม่ใช่แค่รักงานเท่านั้น เพราะฉันทะ แปลว่าอยากทำให้มันดี เพราะฉะนั้นจึงมีความหมายว่าเมื่อจะทำอะไรก็จะต้องทำให้มันดีที่สุด ให้มันเรียบร้อยสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อต้องการผลตามกฎธรรมชาติจริงๆ ก็จะสร้างฉันทะนี้ได้

๒. วิริยะ แปลว่า ความเพียร และความเพียรก็แปลว่า ความแกล้วกล้า วิริยะ ตัวนี้ มาจาก วีระ นั่นเอง แปลว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้า หมายความว่า ใจสู้ เจองานแล้วไม่ถอย แล้วทำอย่างไรจะเจองานไม่ถอย ก็ต้องมีจิตสำนึกในการฝึกตน พอเจองานบอกว่า ยิ่งยากยิ่งได้มาก เจอปัญหาก็เป็นเวทีพัฒนาปัญญา อย่างที่ว่ามาแล้ว จะไปถอยอะไรล่ะ มีแต่เดินหน้า ดังนั้น วิริยะก็มาสิ

จะมาพูดกันให้มีฉันทะ วิริยะ พูดแทบตายก็ไม่ค่อยมีกัน แต่ถ้าไปสร้างที่ฐานละก็ได้เลย คือจุดจิตสำนึกในการฝึกตน แล้ววิริยะก็มา เรียกว่าใจสู้ มองเห็นงานเป็นสิ่งท้าทาย

คนเรามีลักษณะนิสัยต่างกัน บางคนมี ฉันทะ พอใจรักงาน บางทีก็มาง่ายๆ เพียงพูดให้เห็นประโยชน์ของงานว่าดีอย่างไร ก็เกิดความพอใจ รัก แต่บางคน พูดอย่างไรก็ไม่เอา ต้องพูดให้เห็นงานเป็นเรื่องท้าทาย ถ้าให้งานนั้นเป็นสิ่งท้าทายความสามารถ คนแบบนี้จะสู้ เอาไม่ถอย จนทำได้สำเร็จ คนอย่างนี้เรียกว่าเป็นคนแบบวิริยะ ต้องใช้วิธีทำให้รู้สึกว่า งานนั้นเป็นสิ่งท้าทาย เป็นอันว่า วิริยะ แปลว่า ใจสู้ เมื่อทำจะไม่ถอย

๓. จิตตะ แปลว่า ใจจดจ่อ ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่ อุทิศตัวต่องาน เนื่องจากเห็นความสำคัญของมัน เมื่อคนเห็นความสำคัญของอะไร เช่น ความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต เขาจะเอาจริงเอาจังขึ้นมาทันที

สาระของอิทธิบาทนั้นอยู่ที่ไหน จึงทำให้เกิดความสำเร็จ ก็คือจิตแน่วแน่เกิดสมาธิขึ้นมานั่นเอง ในข้อที่ ๑ เมื่อเราพอใจหรือชอบงานอะไร ในเวลาทำงานนั้นใจเราจะแน่วแน่เป็นสมาธิ ในข้อที่ ๒ เวลาใจสู้จะเอากับงานอะไร เห็นงานอะไรท้าทาย ใจเราก็จะแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น คือ มีสมาธิ ทีนี้ในข้อที่ ๓ เราทำให้เห็นความสำคัญของเรื่องนั้น หรืองานนั้น เช่น ทำให้เห็นว่าถ้าไม่ทำมันจะมีผลคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของเรา ยกตัวอย่างง่ายๆ คนที่กู้ระเบิดจะมีใจแน่วแน่ จดจ่อเลยทีเดียว เพราะอะไร เพราะว่ามันคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต มีความสำคัญต่อชีวิตของเขา เขาจึงต้องเอาใจใส่มากจนถึงขั้นใจจดจ่อเลยทีเดียว ฉะนั้นวิธีสร้างจิตตะก็คือ ทำให้เห็นความสำคัญของงานนั้นต่อชีวิต ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ ต่อโลก อย่างกับจะกู้ระเบิดเลย พอจะกู้ระเบิดเท่านั้นแหละไม่มีหรอกที่ใจจะฟุ้งซ่านไปไหน ใจจะแน่วแน่อยู่กับงานกู้ระเบิดแน่นอน

๔. วิมังสา แปลว่า ทดลอง หรือทดสอบ คนบางคนอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลอง ชอบคิดสืบสวนว่า ทำอย่างนี้จะเป็นอย่างไร ทำอย่างนั้นจะเกิดผลอย่างไร อย่างนี้ต้องใช้วิมังสา คือ ทำการพิสูจน์ทดลอง คอยตรวจตราหาทางแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ ซึ่งต้องใช้ปัญญา เมื่อเอามาใช้ในการทำงานทั่วไป ก็พูดง่ายๆ ต่อกันกับข้อ ๑-๒-๓ ว่างานที่จะทำให้สำเร็จนั้น ต้อง

๑. รักงาน

๒. สู้งาน

๓. ใส่ใจงาน

๔. ทำงานด้วยปัญญา

ที่ว่าทำงานด้วยปัญญา หมายความว่า จะเอาแค่ รักงาน สู้งาน ใส่ใจงาน แต่ไม่ทำงานด้วยปัญญา ก็ไม่แน่ อาจจะไม่สำเร็จ หรืออาจจะเสียไปเลย เหมือนสุครีพเสียทีกุมภกัณฑ์ เพราะฉะนั้นจะต้องทำงานด้วยปัญญาด้วย

นี้คือหลักอิทธิบาท ๔ ข้อ แต่ผู้บริหารจะต้องรู้ตระหนักว่า คนแต่ละคนมีลักษณะนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนต้องปลอบด้วยฉันทะ บางคนต้องปลุกหรือยุด้วยวิริยะ บางคนต้องขู่หรือรุกด้วยจิตตะ บางคนต้องแหย่ด้วยวิมังสา แต่ถ้าได้พร้อมทั้ง ๔ ข้อ ก็จะเดินรุดหน้าเต็มที่ อิทธิบาท ๔ นี้เข้ามารับช่วงต่อ หรือเดินหน้าขึ้นไปจากฐานที่ต้องสร้างมาก่อนอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ขอพูดทบทวนอิทธิบาท ๔ หรือสูตรแห่งความสำเร็จนี้ใหม่ ให้ได้ความหมายลึกลงไปถึงหลักมากยิ่งขึ้นว่า

หลักธรรมอิทธิบาท 4 มีอะไรบ้าง

อิทธิบาท 4″ เป็นแนวทางการเรียน การทำงาน ให้ประสบความสำเร็จที่พระพุทธองค์ได้ทรงสดับไว้อย่างแยบคลาย อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งใครๆก็ท่องได้ จำได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติได้ครบกระบวนความทั้ง 4 ข้อ อันเป็น 4 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องหนุนเสริมกัน จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ด้วยว่ามันเป็น ...

ธรรมเครื่องให้สําเร็จความประสงค์คืออะไรมีอะไรบ้าง

1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่ 2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน 3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน 4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

หลักธรรมแห่งความสําเร็จมีชื่อว่าอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการ มี 4 ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา