การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

ผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลกต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการบูรณาการ IIoT นั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณาการหุ่นยนต์ระยะยาว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เดินหน้าด้วยการใช้หุ่นยนต์เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำเป็นกำลังสำคัญ

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

จากข้อมูลของ Allied Market Research อุตสาหกรรมหุ่นยนต์การผลิตยานยนต์นั้นมีมูลค่า 6.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019 และคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2027 เป็นผลจากความต้องการใช้งานหุน่ยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กลายเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นจากความต้องการด้านผลิตภาพและความรวดเร็ว

ในปี 2020 สภาพแวดล้อมนั้นบังคับให้เกิดโรงงานอัจฉริยะขึ้นอย่างมากมาย เป็นโรงงานที่มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึง การเติบโตของหุ่นยนต์ที่มีระบบ AI เข้ามาสนับสนุนและกระบวนการที่ถูกผลักดันด้วยข้อมูลต่าง ๆ จะส่งผลให้การปรับตัวใช้งานหุ่นยนต์ขยายวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากผลลัพธ์ที่ชัดเจนและความสะดวกในการบูรณาการระบบที่ง่ายดายขึ้น

ถ้าหากไม่ได้มองถึงปัญหาด้านงบการเงินแล้ว สิ่งที่ผู้คนกังวลใจมักจะเป็นประเด็นของความปลอดภัยแรงงานที่ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกับหุ่นยนต์ แม้ว่าหุ่นยนต์จะอยู่คู่กับอุตสาหกรรมยานยนต์มามากกว่า 70 ปีและมีมาตรการความปลอดภัยต่างๆ มาตลอดก็ตาม โดยปัจจุบันมาตรฐานความปลอดภัยของหุ่นยนต์นั้นมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นรวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีคุณลักษณะพิเศษด้วยเช่นกัน

ภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดของหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ ส่วนของแขนกล ซึ่งคาดว่าจะโต 23.5% CAGR ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ โดยส่วนงานที่คาดว่าจะมีการเติบโตมากที่สุดคาดการณ์ว่าจะเป็นส่วนการพ่นสียานยนต์โดยมีอัตราการเติบโตประมาณ 20.8% CAGR

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท (ยูอาร์) พร้อมหนุนผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย เปิดโอกาสใหม่   สำหรับการใช้โซลูชั่นหุ่นยนต์ในโรงงานผลิตรถยนต์ โคบอทได้ติดตั้งไปแล้ว 126,000 ตัวในทุกภาคส่วน ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดในโลก

ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เป็นหัวใจสำคัญในโมเดลไทยแลนด์ 4.0    ด้วยไทยแลนด์ 4.0 รัฐบาลได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจโดยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเพิ่มการลงทุนในภาคหุ่นยนต์ ในความเป็นจริงการผลิตยานยนต์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่เร่งการเติบโตของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จากข้อมูลของสถาบันยานยนต์ (TAI) คาดว่าการผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะมีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านคันในปี 2564 ด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการใช้งานหุ่นยนต์และประสิทธิภาพของมาตรการรับมือโควิด -19 คาดว่าภาคยานยนต์ในประเทศไทยจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในผู้ที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมากที่สุดและเป็นหนึ่งในผู้ใช้โคบอทที่แพร่หลายมากที่สุด "ปัจจุบันระบบอัตโนมัติแทรกซึมเข้าไปในเกือบทุกด้านของการผลิตรถยนต์ตั้งแต่ชิ้นส่วนและการผลิตชิ้นส่วนย่อยที่ซัพพลายเออร์ระดับที่ 1 และ 2 ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ออกจากสายการผลิตของโรงงานผลิต  โคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอท ได้เพิ่มการผลิตยานยนต์ เนื่องจากความยืดหยุ่น มีขนาดเล็ก ผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างรวดเร็วและประสิทธิภาพที่สม่ำเสมอ "  นายเจมส์ แมคคิว ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท ยูนิเวอร์ซัล  โรบอท กล่าว

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในปี 2564 ประเด็นปัญหาการผลิตยานยนต์ที่น่ากังวล ระหว่างผู้ผลิตรถยนต์และระบบอัตโนมัติมีมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ในปี 2562 ตามข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติพบว่า ที่โคบอทเติบโตมากกว่าหุ่นยนตอุตสาหกรรมแบบเดิม  นายแมคคิว  ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาในการผลิตยานยนต์ ซึ่งทำให้ความต้องการโคบอทเติบโตขึ้น

นายแมคคิว  กล่าวว่า การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นระบบอัตโนมัติมีมานานหลายทศวรรษ แต่มีงานในด้านการประกอบยังคง“ ขึ้นอยู่กับการใช้แรงงานคนเป็นอย่างมาก”  อาทิ การขันสกรู ซึ่งความยืดหยุ่นและขนาดเล็กของโคบอทของยูอาร์ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ การผลิตรถยนต์จำนวนมากมักเกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะหาพื้นที่เพิ่มอีก 100,000 ตารางเมตรเพื่อขยาย  "ประโยชน์อันงดงามอย่างหนึ่งของโคบอทคือ ความยืดหยุ่นสามารถติดตั้งในทิศทางใดก็ได้และสามารถติดตั้งร่วมกับมนุษย์ได้โดยไม่ต้องมีกรงนิรภัย (เมื่อประเมินความเสี่ยง)"

ในภาคส่วนที่มีการควบคุมสูง เช่น การผลิตยานยนต์ การตรวจสอบย้อนกลับเป็นสิ่งสำคัญ โคบอทยังช่วยผู้ผลิตในการควบคุมและติดตามกระบวนการผลิตที่สำคัญ เช่น แรงบิดที่แม่นยำที่ใช้กับสกรูเมื่อติดตั้งเข้ากับกุญแจรถ "เราเห็นว่าโคบอทของเราถูกนำไปใช้ในภาคยานยนต์เพื่อการตรวจสอบคุณภาพ การประกอบชิ้นส่วนขนาดเล็ก การจ่ายและการใช้งานขั้นสุดท้าย  โดยเป้าหมายของเราคือเพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถปรับใช้โคบอทของเราได้ในทุกส่วนของกระบวนการผลิต" นายแมคคิว กล่าวเพิ่มเติม 

 

ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของตลาดยานยนต์ บริษัท Beijing BAI Lear Automotive System Co. , Ltd. ซึ่งเป็นผู้ผลิตในประเทศจีนได้เห็นว่ากำลังการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพหมายถึงความล่าช้าในการผลิตน้อยที่สุดโดยมีระยะเวลาการปรับตัวที่สั้นที่สุดระหว่างคนงานและอุปกรณ์ใหม่ ด้วยความร่วมมือระหว่างยูนิเวอร์ซัล โรบอท และ  BAI Lear ได้ใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ด้วยการใช้งานโคบอทรุ่น 38 UR  ที่นำมาใช้สำหรับการขันสกรูที่เบาะรถยนต์ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การหยิบและวางชิ้นส่วนตลอดจนกระบวนการอื่น ๆ

การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตยานยนต์

 “ในฐานะองค์กรด้านการผลิต เราได้รับความต้องการที่มากขึ้นจากลูกค้าของเราทุกปี ดังนั้นเราจึงต้องปรับปรุงการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รับประกันการผลิตที่มั่นคง และปรับปรุงความสอดคล้องของการผลิต การแนะนำโคบอทของยูอาร์ได้ตอบสนองความต้องการข้างต้นในขณะที่ได้ปรับปรุงการผลิตในโรงงานและความยืดหยุ่นของบุคลากร” นายซอง เซียวหุ่ย ผู้จัดการทั่วไปของ BAI Lear กล่าว

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  สำหรับผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ภายในประเทศจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นความแม่นยำของประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามความยืดหยุ่นไม่ถือเป็นความสามารถหลักของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่อยู่ในกร งซึ่งมักจะทำงานเดียวเท่านั้น ดังนั้นการนำโคบอทมาใช้อาจเป็นแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวและส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2564

หุ่นยนต์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ที่น่าสนใจของ หุ่นยนต์บริการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นระบบและรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น นำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การนำมาใช้เสิร์ฟอาหาร ช่วยขนย้ายชิ้นงานหรือสินค้า และนำไปใช้งานทางด้านการแพทย์ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงาน.
1. หุ่นยนต์อเนกประสงค์.
2.หุ่นยนต์เชื่อม.
3.หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ.
4.หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย.
5.หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติก.

หุ่นยนต์มีอะไรบ้าง

1. ' เกรซ' หุ่นยนต์ พยาบาลดูแลผู้ป่วย.
หุ่นยนต์ขนาดเล็กรักษามะเร็ง.
3. หุ่นยนต์อัจฉริยะอิสระทางกายภาพช่วยยกของหนัก.
4. หุ่นยนต์บาสเกตบอลระบบ AI..
Atlas หุ่นยนต์มนุษย์สองเท้า.
6. หุ่นยนต์ใต้น้ำ.
7. หุ่นยนต์สัก 5G..
8. หุ่นยนต์เก็บเกี่ยวอัตโนมัติ.

Industrial Robots คืออะไร ประยุกต์ใช้ในด้านใด

a. หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ได้แก่ แขนกลที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแทน แรงงานมนุษย์ในงานการเคลื่อนย้ายสิ่งของ การเชื่อม การพ่นสีช่วยประกอบชิ้นส่วน ช่วยยกของ หนัก การทางานแบบซ้าไปซ้ามา เป็นต้น