หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

แบบคำร้องค่ารักษาพยาบาล

Show

คำร้องหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล (สำหรับกรุงเทพมหานคร)

ใบเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กรณีนำใบเสร็จมาเบิก (สำหรับกรุงเทพมหานคร)

ใบเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล (กรณีผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ถึงแก่กรรม) สำหรับกรุงเทพมหานคร

คำร้องหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล (สำหรับส่วนภูมิภาค)

คำร้องกรณีใบเสร็จรับเงินสูญหาย (สำหรับกรุงเทพมหานคร)

ใบเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กรณีนำใบเสร็จมาเบิก (สำหรับส่วนภูมิภาค)

ใบเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล (กรณีผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ถึงแก่กรรม) สำหรับส่วนภูมิภาค

คำร้องกรณีใบเสร็จรับเงินสูญหาย (สำหรับกส่วนภูมิภาค)

ทะเบียนประจำตัวในการเบิกค่าักษาพยาบาลของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา

และไม่ใช่ “พวกสู่รู้สู่เห็น” ตามที่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร แซะแสบๆ เสียด้วย ในเมื่อเป็น “ข่าวใหญ่ระดับแผ่นดินไหว ผบ.เหล่าทัพ ไปเขาใหญ่ด่วนเมื่อคืน วันนี้อาจจะมีแถลงการณ์อะไรที่เป็นทางการสับฉบับ อย่าเพิ่งลืออะไรกัน”

@SAHINOP จับความเอามาแจ้ง คำพูดออกรายการ เจาะลึกทั่วไทย ของ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ซึ่งถูกลบคลิปรายการออกไปจากยูทู้ปเสียแล้ว เช่นกันกับโพสต์ของ จุลเจิม ยุคล ที่บอก “ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

พ้นจาก อุบัติเหตุ และโรคภัยทั้งปวง เทอญ” คำในอัญประกาศเดี่ยวข้างต้นบ่งว่าเกิดอะไรขึ้นที่เขาใหญ่ ระหว่างที่เป็นข่าวลือหึ่มเมื่อวาน แล้ว “สื่อยังไม่กล้าลงข่าว” แต่ @ATIKIT14 เอามาเล่าหลังจากฟังรายการ #ยามไทม์​ ตอนเที่ยงคืน

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

“อาจารย์พิชญ์​ พูดเบาๆ...เดี๋ยวก็ออกข่าว...ลูกศิษย์​เเก่เป็นทหารเยอะมาก” ทว่ารายงานทั้งด่วน ‘breaking’ และเพิ่มเติม ‘update’ จาก Andrew MacGregor Marshall โดยมี Somsak Jeamteerasakul เก็บไปทำซ้ำเผยแพร่ ก็ละเอียดพอจับความได้

ว่า กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา หรือที่เรียกกันติดปากว่า องค์ภาทรงประสบอุบัติเหตุระหว่างทรงงานออกกำลังกายกับสุนัขทรงเลี้ยง พระองค์เสด็จฯ เขาใหญ่เพื่อร่วมการแข่งขัน TWD2022 สุนัขใช้งาน ชิงถ้วยในหลวงฯ

โดยที่มีสุนัข ๑๕ ตัวจากกองร้อย Von der 908 ในเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ร่วมแข่งขัน ช่วงวันที่ ๑๐-๑๘ ธันวานี้ อันทำให้ @l2anee เม้นต์ไว้บนหน้าทวิตเตอร์ของ @WassanaNanuam ว่า “ถ้าไม่ได้มาพระราชทานรางวัล เดาว่าข่าวลือคือจริง”

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

ยังมีโพสต์ที่ลบไปของรอยัลลิสต์อีกราย อัษฎางค์ ยมนาค บอกว่าได้คุยกับ “แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ๑๐๐% คือทรงป่วยจริง” ใช่ เพราะ รยล.คึกคักที่โรงพยาบาลจุฬา ตามที่แอนดรูว์ให้รายละเอียดไว้ ว่ามีการนำองค์ภามาจากปากช่องกลางดึก

แต่ที่แอนดรูว์เล่าไว้จนทำให้ เอ็ดดี้ เนื้อเต้นก่นว่า “สองคนนักบั่นทอนสถาบันฯ ปล่อยข่าว...ขนาดผู้หลักผู้ใหญ่บางท่านอยู่ใกล้ชิดยังไม่ทราบ มีหนอนที่คอยสอดแนมส่งข่าวจากภายในวัง ต้องหาตัวและจับตัวออกมาให้ได้” ก็ตรงเรื่องที่ว่า

“การตรวจหาสาเหตุแห่งพระอาการ ทำให้ต้องกังวลว่าจะไม่ทรงทุเลา แต่พระองค์คงจะได้รับการสวมเครื่อง อีซีเอ็มโอ ไว้เป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน” ซึ่งตีความกันว่ามีพระอาการเช่นเดียวกับสมเด็จพระอัยยิกา และพระมารดา

ข้อความที่แอนดรูว์เขียนในย่อหน้าสุดท้ายของโพสต์ อัพเดท ล่าสุดเป็นเรื่องกินใจเหล่ารอยัลลิสต์ไม่น้อย เมื่อเขาเม้าท์มอยว่า พระอาการป่วยขององค์ภาจะส่งผลกระทบต่อราชสำนักมากทีเดียว

ในเมื่อเป็นที่คาดหวังกันว่าพระองค์จะทรงได้สืบราชสันตติวงศ์ หรือไม่ก็จะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ (พี่เลี้ยง) เมื่อเจ้าฟ้าทิปังกรขึ้นครองราชย์

(https://secretsiam.news/.../whos-next-an-analysis-of-thai และ https://m.facebook.com/story.php?story_100001454030105) 

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน


อากงจุน ผู้ก่อตั้งฮาตาริ ติดอันดับเศรษฐีใจบุญแห่งเอเชียของ Forbes

14 ธ.ค. 2565
ไทยรัฐออนไลน์

ฟอร์บส์ประกาศชื่อมหาเศรษฐกิจใจบุญแห่งเอเชียประจำปี 2022 โดยมี อากงจุน ผู้ก่อตั้งบริษัท ฮาตาริ เป็นตัวแทน 1 เดียวของไทยติดโผด้วย

นิตยสาร ฟอร์บส์ (Forbes) ประกาศรายชื่อ ‘วีรบุรุษผู้ใจบุญแห่งเอเชีย’ (heroes of philanthropy) ประจำปี 2022 ซึ่งเป็นครั้งที่ 16 ออกมาแล้ว เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2565 โดยพวกเขาได้คัดเลือกมหาเศรษฐีใจบุญ 15 คน ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้อุทิศตนในด้านต่างๆ เช่นการศึกษาและสิ่งแวดล้อม

สำหรับการจัดอันดับในปีนี้ มีมหาเศรษฐีคนใหม่ได้รับเลือกเข้ามาติดโผถึง 9 คน รวมถึง ‘อากงจุน’ หรือนายจุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ฮาตาริ เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวจากประเทศไทย

ฟอร์บส์ระบุว่า อากงจุน เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ฮาตาริ อิเล็กทรอนิก หนึ่งในผู้ผลิตพัดลมชั้นนำของประเทศไทย มีรายได้กว่า 6.3 พันล้านบาทเมื่อปีก่อน โดยเขากับครอบครัวบริจาคทรัพย์สินจำนวน 900 ล้านบาท (24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี ซึ่งระดมทุนให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี และบริการด้านสุขภาพเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ทรัพย์สิน 160 ล้านบาทถูกมอบให้แก่โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี, 300 ล้านบาทมอบให้แก่ศูนย์เรียนรู้เพื่อการแพทย์ และ 440 ล้านบาทสนับสนุนการสร้างอาคารโรงพยาบาลใหม่และศูนย์พัฒนานวัตกรรมการแพทย์ ฟอร์บส์ยังรายงานอ้างคำพูดของอากงจุนที่เคยให้สัมภาษณ์แก่สื่อไทยตอนที่บริจาคทรัพย์สินดังกล่าวด้วยว่า “ลูกของผมมีอาชีพและเงินของพวกเขาเอง ผมต้องการบริจาคเงินนี้กลับคืนสู่คนไข้ทั่วไป”

ขณะที่ทางมูลนิธิฯ ได้ออกมาขอบคุณและยังเผยอีกว่า อากงจุนและครอบครัว บริจาคเงินสมทบทุนโครงการต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน เป็นยอดเงินบริจาครวมกว่า 1,317,397,000 บาทแล้ว

ทั้งนี้ เศรษฐกิจรายอื่นๆ ที่ติดโผในปีนี้รวมถึงนายรอนนี และเจอรัลด์ ชาน พี่น้องมหาเศรษฐีชาวฮ่องกง ซึ่งบริจาคทรัพย์สิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เพื่อสร้างโรงเรียนใหม่

นางเมลานี เพอร์กินส์ กับนายคลิฟฟ์ โอเบรคต์ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Canva ในออสเตรเลีย ซึ่งให้คำมั่นว่าจะบริจาคหุ้นเกือบทั้งหมดของพวกเขา ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการกุศล

นักธุรกิจใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างนายฮิโรชิ มิคิตานิ ผู้ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซ Rakuten ก็บริจาคเงินจำนวนมหาศาลให้แก่การกุศล ขณะที่นาย โกตัม อาดานิ ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย ก็สัญญาในวันคล้ายวันเกิดของเขาเมื่อเดือนมิถุนายนว่า จะบริจาคทรัพย์สิน 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โครงการด้านสุขภาพ, การศึกษา และการพัฒนาทักษะ

ที่มา : Forbes

Thailand
JOON WANAVIT
Founder, Hatari Electric
Age: 85

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน


In July, Joon Wanavit, the founder of Hatari Electric, one of Thailand’s leading fan manufacturers, and his family donated 900 million baht ($24 million) to Ramathibodi Foundation, which raises funds for Ramathibodi Hospital and its public healthcare services. Of the total, 160 million baht was earmarked for the hospital’s nursing school, 300 million baht for a medical learning center, and 440 million baht for a new hospital building and medical innovation center.

According to a Thai news report, the low-profile entrepreneur was quoted as saying at the time, “My children have their own careers and money. I want to donate this money back to general public patients.” Joon started with a small fan repair shop before moving into contract manufacturing for Japanese brands and eventually launching Hatari Electric’s own top-selling brand of fans. The privately held company posted 6.3 billion baht in revenue last year.

สลด pic.twitter.com/qcPCaq1y34

— kovitw (@kovitw1) December 14, 2022

 

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

คาดว่าจีนจะจัดส่งเรือดำน้ำให้ไทยลำแรกในปี 2567-2568


เรือดำน้ำในฝันทัพเรือไทยที่ส่อเป็นจีนแท้ 100% กับหลากงบสนับสนุน รวมเฉียด 5 หมื่นล้าน


14 ธันวาคม 2022

บีบีซีไทย


พรรคก้าวไกลชี้ กองทัพเรือส่งสัญญาณ พิจารณาใช้เครื่องยนต์จีนสำหรับเรือดำนำ 3 ลำ หลังจีนหาเครื่องยนต์อื่นทดแทนเครื่องยนต์จากเยอรมนีไม่ได้ พร้อมตั้งคำถามงบประมาณมหาศาลแต่สเปกไม่ตรงสัญญา เป็นเหตุผลควรประวิงเวลาให้ “รัฐบาลใหม่” มาเจรจาต่อหรือไม่

เมื่อ 15 ก.ย. ซึ่งเป็นเส้นตายการพิจารณาสเปกเครื่องยนต์เรือดำน้ำที่ยืดเวลาออกมาแล้วรอบหนึ่ง ท้ายสุดยังไม่ได้ข้อสรุป และแน่ชัดว่าเรือดำน้ำที่ไทยซื้อจากจีนจะไม่ได้ใช้เครื่องยนต์เยอรมนี ตามที่ระบุในสัญญา

ตอนนี้ ประเด็นที่สื่อมวลชนและสังคมเฝ้าติดตาม คือ การที่จีนเสนอเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนพัฒนาและผลิตเอง ให้กองทัพเรือไทยแทน เพื่อใช้สำหรับเรือดำน้ำชั้น Yuan Class รุ่น S26T ลำแรกจากจำนวน 3 ลำที่ไทยสั่งซื้อจากจีน หลังจีนไม่สามารถจัดหาเครื่องยนต์ทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมนีได้

นับแต่เมื่อวานนี้ (13 ธ.ค.) ถึงวันนี้ (14 ธ.ค.) ตัวแทนของฝั่งจีน คือ ผู้ช่วยทูตทหารจีน และตัวแทนบริษัท CSOC และกองทัพเรือไทย กำลังเจรจาถึงการพิจารณาสเปกเครื่องยนต์จีน เพื่อทดแทนเครื่องยนต์เยอรมนี

ในห้วงเวลาของการเจรจานี้ นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ออกมาตั้งคำถามว่า กองทัพเรือกำลังฟอกขาว สร้างความชอบธรรมการใช้เครื่องยนต์จีนหรือไม่ หลังเพจเฟซบุ๊ก “ฐานทัพเรือกรุงเทพฯ” ซึ่งเป็นเพจลูกของกองทัพเรือไทย ได้เผยแพร่อินโฟกราฟิก และลงบทความเชิงอธิบายการทำงานของเครื่องยนต์ที่กำลังเป็นปัญหาว่า ไม่ได้เป็นเครื่องยนต์ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนใบจักรของเรือดำน้ำ เป็นเพียงเครื่องยนต์เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าเท่านั้น

“เป็นความพยายามอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขสัญญาและยอมรับเครื่องยนต์ดีเซล CHD 620 ที่ผลิตจากจีน แทนเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันใช่หรือไม่” นายพิจารณ์ ตั้งคำถาม

“ถ้าหากในการเจรจาวันที่ 13-14 ธ.ค. นี้กองทัพเรือยอมแก้ไขสัญญาไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่ได้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล CHD 620 ของจีนในเรือดำน้ำ เพราะที่ผ่านมาแม้แต่ประเทศจีนเองยังไม่ได้ใช้เองเลย”

"เหมือนเราตั้งใจซื้อรถยนต์ที่ระบุในสัญญาว่า เครื่องยนต์เยอรมนี แต่เอาเข้าจริง กลับบอกว่าจะใช้เครื่องยนต์จีน แล้วเราจะยังซื้ออยู่ไหม" รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุเชิงตั้งคำถาม

บีบีซีไทยตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวในเพจเฟซบุ๊ก “ฐานเรือกรุงเทพ” ที่โพสต์เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบัน โพสต์ดังกล่าวได้ถูกลบไปแล้ว

กองทัพเรืออธิบายบทบาทเครื่องยนต์

โพสต์ต้นทางของประเด็นที่พรรคก้าวไกลถกถามว่า กองทัพเรือกำลังสร้างความชอบธรรมการใช้เครื่องยนต์จีนหรือไม่ มีเนื้อหาว่า “ทหารเรือรู้หรือไม่ ? เรือดำน้ำที่ ทร. สั่งซื้อนั้น ทุกครั้งที่ใบจักรหมุน หมุนด้วยพลังงานไฟฟ้า เรือดำน้ำแบบดีเซล-ไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี ไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเพลาใบจักรให้หมุน”

โพสต์ระบุเนื้อหาเชิงเทคนิกการทำงานของเครื่องยนต์ส่วนต่าง ๆ และเรือดำน้ำ ประกอบอินโฟกราฟิก เพื่อแสดงให้เห็นว่า เครื่องยนต์ดีเซลที่กำลังเป็นประเด็นนั้น เป็นเครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการชาร์จแบตเตอรี สำหรับใช้ในเรือดำน้ำเท่านั้น ไม่ใช่เครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อนใบจักรเรือดำน้ำโดยตรง


หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน


นายพิจารณ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เจาะลึกทั่วไทย อินไซต์ไทยแลนด์” ว่า ข้อมูลที่กองทัพเรือเผยแพร่ออกมา เป็นความพยายามอธิบายกับสังคมแบบเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งดูย้อนแย้งกับพฤติการณ์ของกองทัพเรือตามปกติที่ “เปิดเผยข้อมูลน้อยมาก เพราะอ้างเหตุผลความมมั่นคง”

“เราเห็นความพยายามอธิบายสังคมว่าเครื่องยนต์นี้ไม่ได้ขับเคลื่อนเรือดำน้ำ แต่ไปขับเคลื่อนเครื่องปั่นไฟแล้วเก็บประจุในแบตเตอรี เพื่อนำไปสู่การยอมรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตในประเทศจีนหรือไม่ ยอมรับเครื่องยนต์ที่จะใส่ในเรือดำน้ำที่แม่แต่จีนเองก็ไม่เคยใช้” นายพิจารณ์ ตั้งคำถาม

“เราจะเป็นหนูทดลองหรือเปล่า”

กองทัพเรือ เลื่อนแล้วเลื่อนอีก

พล.ร.อ. เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเรือดำน้ำ เคยยืนยันเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ซึ่งเป็นเส้นตายแรกเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำว่า หากครบกำหนดครั้งที่ 2 คือ 15 ก.ย. แล้ว หากพิจารณาสเปกเครื่องยนต์ทดแทนแล้วไม่ผ่านตามเกณฑ์ ก็จะไม่ขยายเวลาไประยะที่ 3 แล้ว


แต่ท้ายสุด เมื่อถึงวันที่ 15 ก.ย. กองทัพเรือก็ยังไม่ได้ข้อสรุป โดย พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวถึงความคืบหน้า การแก้ปัญหาเรือดำน้ำขาดเครื่องยนต์ว่า ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2565 จะมีการประชุมระหว่างกองทัพเรือไทย ผู้ช่วยทูตทหารจีน และ ตัวแทนบริษัท CSOC


หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

พล.ร.อ. ลือชัย รุดดิษฐ์ เซ็นสัญญากับจีน

“เราจะดูว่าเขามีข้อมูลอะไรมานำเสนอ ซึ่งเราต้องการความชัดเจนว่า โครงการเรือดำน้ำจะขยายเวลาออกไปถึงเมื่อไหร่ เพราะต้องเตรียมในเรื่องงบประมาณมารองรับ มิเช่นนั้นจะตั้งงบประมาณไปทำโครงการอื่นไม่ได้ ก็เป็นเรื่องสำคัญ”

ส่วนการส่งมอบเรือดำน้ำนั้น เดิมต้องส่งมอบกลางปี 2566 แต่กองทัพเรือระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้โครงการล่าช้า จึงขยับการส่งมอบเป็นกลางปี 2567 ทั้งนี้ จากปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ผบ.ทร. ระบุว่า อาจล่าช้าไปอีก เกินปี 2567

รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เชื่อว่า การที่กองทัพเรือและจีนเลื่อนเส้นตายไปต่อเนื่อง เป็นการ “ประวิงเวลา” เพื่อดูว่าจะตัดสินใจใช้เครื่องยนต์จีนแทนของเยอรมนีหรือไม่ พร้อมตั้งคำถามว่า “คนที่อยากได้เรือดำน้ำจากจีน อาจไม่ใช่กองทัพเรือ แต่เป็นคนในรัฐบาล”

ดังนั้น จุดยืนของพรรคก้าวไกลต่อประเด็นเรือดำน้ำ จึงเสนอว่า ควรประวิงเวลาออกไปอีก แล้วให้รัฐบาลใหม่เข้ามาเจรจากับฝ่ายจีนต่อ เพราะเวลานี้ “เขารู้ไพ่เราหมดแล้ว ดีที่สุดคือต้องเปลี่ยนคนเจรจา”


หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

โพสต์ตั้งคำถามของพรรคก้าวไกล

งบบานปลาย ?

รัฐบาลไทยไม่เพียงเดินหน้าจัดซื้อเรือดำน้ำจีน 3 ลำ แต่ยังของบประมาณเพิ่มเติม เพื่อจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบก เพื่อเป็นเรือพี่เลี้ยงให้กับเรือดำน้ำ รวมถึงของบประมาณก่อสร้างอู่ต่อเรือ และท่าเทียบเรือดำน้ำอีกด้วย โดยมีรายละเอียดตามการรายงานของสำนักข่าวอิศรา และข้อมูลที่กองทัพเรือแถลง ดังนี้
  • เรือดำน้ำ 3 ลำ – 36,000 ล้านบาท
  • เรือยกพลขึ้นบก LPD “เรือหลวงช้าง” (เรือพี่เลี้ยงให้เรือดำน้ำ) – 6,100 ล้านบาท
  • ระบบอำนวยการรบให้ “เรือหลวงช้าง” – 1,000 ล้านบาท
  • ท่าจอดเรือดำน้ำและอาคารสนับสนุน ระยะที่ 1 – 900 ล้านบาท
  • ท่าจอดเรือดำน้ำ ระยะที่ 2 – 950 ล้านบาท
  • โรงซ่อมบำรุง – 995 ล้านบาท
  • คลังเก็บตอร์ปิโด และทุ่นระเบิดสนับสนุน – 130 ล้านบาท
  • อาคารทดสอบ และคลังอาวุธปล่อยนำวิถี – 138 ล้านบาท
  • แผนที่เรือดำน้ำ และระบบแสดงข้อมูลข่าวสารกองทางอุทกศาสตร์ระยะที่ 1+2 – 265.12 ล้านบาท
  • เรือลากจูงขนาดกลาง – 366.50 ล้านบาท
  • อาคารพักข้าราชการ – 294 ล้านบาท
  • ระบบสื่อสารควบคุมบังคับบัญชาเรือดำน้ำ – 300 ล้านบาท
*ขอบคุณข้อมูลสำนักข่าวอิศรา

ย้อนรอยคว้า S26T

ก่อนที่กองทัพเรือจะตกลงสั่งซื้อเรือดำน้ำ S26T จากจีน มีแรงต้านจากคนในกองทัพเรืออยู่ไม่น้อย เพราะภาพจำในอดีตเกี่ยวกับอาวุธที่ผลิตจากจีน มีปัญหาทั้งเรื่องอะไหล่ การซ่อมบำรุง อย่างรถถัง T-69 ที่สุดท้ายต้องเอาไปทิ้งทะเลเป็นแนวปะการัง

และเมื่อมาถึงเรือดำน้ำที่จะต้องใช้ปฏิบัติการใต้ทะเลลึก เรื่องความปลอดภัยจึงเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจากกำลังพลต้องแบกรับความเสี่ยง แต่เมื่อพิจารณาแนวทางโครงการที่จีนยอมให้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเข้าไปประกบระหว่างต่อเรือได้ กองทัพเรือจึงฟันธงเลือกเรือดำน้ำจีน

จากประสบการณ์ในอดีตที่กองทัพเคยถูกตัดงบประมาณ ทำให้รู้ว่าการได้เรือดำน้ำจีน "ยังดีกว่าไม่ได้" และในเวลาที่ตัวเลือกอื่นที่มี ทั้งราคา และเงื่อนไขโครงการที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่มาจากการก่อรัฐประหาร ทำให้กองทัพเรือเอื้อมไปไม่ถึง
  • ก.พ. 2558 - รมว. กลาโหม ของจีนในขณะนั้น พร้อมคณะ เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหาร
  • 28 เม.ย. 2558 - ประเด็นการซื้อเรือดำน้ำ ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ยกเลิกการชะลอโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำซึ่งเป็นมติ ครม. เดิม เมื่อปี 2555 และเห็นชอบในหลักการให้กองทัพเรือศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
  • ก.ค. 2559 - กระทรวงกลาโหมอนุมัติความต้องการซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ มาเป็นของกองทัพเรือ
  • 21 มี.ค. 2560 - พล.อ. ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ยอมรับถึงข้อตกลงการซื้อเรือดำน้ำแบบซื้อ 2 แถม 1 ตามข้อเสนอของจีน
  • 27 มี.ค.2560 - พล.อ. ประวิตร ขยายความว่าวงเงินจัดหาเรือดำน้ำอยู่ 3.6 หมื่นล้านบาท ไม่ว่าจะซื้อ 2 แถม 1 หรือไม่
  • 18 เม.ย. 2560 - ครม. อนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน จำนวน 1 ลำ ในวงเงิน 13,500 ล้าน บาท กำหนดส่งมอบในปี 2566 และมีแผนการจัดซื้อ อีก 2 ลำ รวมเป็นเงิน 36,000 ล้านบาท ในเวลา 11 ปี
  • 1 พ.ค. 2560 - พล.ร.อ. ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ (ยศขณะนั้น) และประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้แทน ผบ.ทร. ไปลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยแถลงข่าวบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร์ ยืนยันเรือดำน้ำจีนทั้งคุ้มค่า มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ
  • 7 ต.ค. 2562 - กองทัพเรือเสนอของบประมาณรายจ่าย ปี 2563 เพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำ ลำที่ 2 และ 3 ในวงเงิน 22,500 ล้านบาท
  • พ.ค. 2563 - ไทยเผชิญวิกฤตโควิด-19 รัฐบาลจึงขอให้แต่ละหน่วยงาน โอนงบประมาณปี 2563 กลับคืนมา เพื่อนำเงินไปแก้ปัญหาโควิด-19
  • 21 ส.ค. 2563 คณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจและทุนหมุนเวียนในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ร่วมกันพิจารณาเรื่องที่กองทัพเรือ ขอซื้อเรือดำน้ำจากจีน 2 ลำ เป็นเงิน 22,500 ล้านบาท โดยลงมติเห็นชอบทำให้การซื้อเรือดำน้ำผ่านการอนุมัติ
  • 24 ส.ค. 2563 - กองทัพเรือ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวยืนยันว่าเป็นโครงการจีทูจี และบริษัท CSOC คือผู้ได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงานของรัฐบาลด้านการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและส่งออกอาวุธ (SASTIND) เป็นผู้แทนรัฐบาลมาลงนามในสัญญากับไทย ส่วนเรือดำน้ำที่ซื้อไปแล้ว 1 ลำ เป็นเงิน 13,500 ล้านบาทนั้น กองทัพเรือ ทยอยชำระเงินให้จีนระหว่าง ปี 2560 - 2566


หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน


ประกาศกระทรวงดีอี ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องลบเนื้อหาผิดกฎหมายภายใน 24 ชั่วโมง ตัดขั้นตอนการโต้แย้ง

24 พ.ย. 2565 

โดย iLaw

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ออกประกาศฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 เกี่ยวกับการนำข้อมูล "ออก" จากระบบคอมพิวเตอร์ คุมโลกออนไลน์เข้มงวดกว่าฉบับเก่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรวมถึงโซเชียลมีเดีย ต้องลบข้อมูลที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ออกจากระบบ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังบุคคลทั่วไปร้องเรียน

นอกจากนี้ ประกาศฉบับใหม่ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของกระทรวงดีอีออกคำสั่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ลบข้อมูลออก โดยแบ่งเป็นความผิดตามมาตรา 14 (1) ต้องลบออกภายใน 7 วัน ความผิดตามมาตรา 14 (2) และ (3) ต้องลบออกภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนความผิดตามมาตรา 14 (4) ต้องลบออกภายใน 3 วัน แต่หากเป็นภาพลามกเด็ก ต้องลบออกภายใน 24 ชั่วโมง

26 ตุลาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงดีอี เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 (ประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ) โดยประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ ฉบับนี้ออกมาใช้แทนประกาศฉบับปี 2560 ประกาศฉบับใหม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนการแจ้งเตือนโดยบุคคลทั่วไป การนำข้อมูลออกจากระบบโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ดีอี และแนวทางการดำเนินคดีโดยเจ้าหน้าที่ดีอี ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการแจ้งเตือน (notice and take down)

ประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ กำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือนคล้ายกับประกาศปี 2560 คือ เจ้าของเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต้องจัดทำแบบฟอร์มสำหรับการแจ้งเตือน โดยต้องจัดทำนโยบายการระงับการทำให้แพร่หลายและนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ (notice & take down policy) หรือหนังสือแจ้งเตือน (take down notice) เป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะทำในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้

1) ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย หรือตัวแทน
2) แบบฟอร์มร้องเรียน (complaint form) เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและบุคคลทั่วไปใช้แบบฟอร์มดังกล่าวในการร้องเรียน ซึ่งแบบฟอร์มจะต้องระบุ

  • รายละเอียด ดังต่อไปนี้รายละเอียด ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้ร้องเรียน และลายมือชื่อของผู้ร้องเรียนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
  • รายละเอียดการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • ที่อยู่ในการติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออื่นๆ
  • รายละเอียดของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่น
  • คำรับรองว่าข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริง

วิธีการแจ้งให้ลบข้อมูลโดยบุคคลทั่วไป

ประกาศฉบับนี้แตกต่างจากประกาศปี 2560 เนื่องจากเพิ่มเงื่อนไขให้บุคคลทั่วไปสามารถดำเนินการแจ้งให้ผู้ให้บริการลบข้อมูลได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใช้บริการของแพลตฟอร์มนั้นๆ เช่น หาก "ใครก็ตาม" พบเห็นข้อมูลที่เข้าใจว่าผิดมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในทวิตเตอร์ (Twitter) คนทั่วไปก็สามารถแจ้งให้ทวิตเตอร์ลบข้อมูลนั้นได้ แม้จะไม่มีบัญชี (account) กับทวิตเตอร์ก็ตาม

ทั้งนี้ ถ้าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือบุคคลทั่วไปพบเห็นว่าผู้ให้บริการหรือโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อความที่ผิดมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือบุคคลทั่วไปดำเนินการดังนี้
ลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือบุคคลอื่น พร้อมกับยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำผิดตามมาตรา 14 และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กรอกแบบฟอร์มร้องเรียน พร้อมแนบสำเนาใบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเอกสารหลักฐานอื่นๆ ส่งให้ผู้ให้บริการ

วิธีการระงับหรือลบข้อมูลตามที่บุคคลทั่วไปร้องเรียน

หลังจากที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้รับแบบฟอร์มร้องเรียน และเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผู้ใช้บริการหรือบุคคลทั่วไป ให้ดำเนินการดังนี้
  • ลบหรือแก้ไขไม่ให้ข้อความผิดกฎหมายนั้นแพร่หลายต่อไปโดยทันที
  • จัดทำสำเนาข้อร้องเรียน และรายละเอียดข้อร้องเรียนส่งให้กับผู้ใช้บริการหรือคนที่เกี่ยวข้อง
  • ให้ระงับการแพร่หลายของข้อมูลโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นสิ้นสุดลง ให้ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยทันที ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง นับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน

ไม่เปิดช่องให้โต้แย้งการลบข้อมูล

ตามประกาศปี 2560 เจ้าของข้อมูลที่ถูกลบออกจากระบบคอมพิวเตอร์สามารถโต้แย้งข้อร้องเรียนได้ โดยการแจ้งความต่อตำรวจและแจ้งรายละเอียดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ให้บริการใช้ดุลพินิจยกเลิกการระงับข้อมูลที่ได้รับแจ้ง อย่างไรก็ตาม ประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ ฉบับใหม่ ไม่เปิดช่องให้มีการโต้แย้งดังกล่าวได้อีก ดังนั้น เมื่อบุคคลทั่วไปแจ้งข้อร้องเรียนให้ลบข้อมูล ผู้ให้บริการต้องลบข้อมูลเท่านั้น แม้ว่าเจ้าของข้อมูลจะไม่เห็นด้วยการลบข้อมูลออกจากระบบ ก็ไม่มีช่องทางตามประกาศฉบับนี้ให้โต้แย้ง เพื่อขอให้ผู้ให้บริการนำข้อมูลกลับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้อีก

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน


การระงับหรือลบข้อมูลโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ดีอี

อีกหนึ่งจุดสำคัญของประกาศฉบับใหม่ คือ การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ดีอีออกคำสั่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อระงับการทำให้แพร่หลายและนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ออกจากระบบได้

หลังจากที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้รับคำสั่งของเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

  • ลบหรือแก้ไขไม่ให้ข้อความผิดกฎหมายนั้นแพร่หลายต่อไปโดยทันที
  • จัดทำสำเนาข้อร้องเรียน และรายละเอียดข้อร้องเรียนส่งให้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือคนที่เกี่ยวข้อง
ให้ระงับการแพร่หลายของข้อมูลโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาที่ระบุดังต่อไปนี้

1) ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือน ตามมาตรา 14 (1) ต้องระงับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน

2) ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จที่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามมาตรา 14 (2) และ (3) ต้องดำเนินการภาย 24 ชั่วโมง

3) ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลที่มีลักษณะลามก ตามมาตรา 14 (4) ต้องดำเนินการภายใน 3 วัน แต่หากเป็นการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารเด็กซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 287/1 และมาตรา 287/2 ของประมวลกฎหมายอาญา ต้องดำเนินการภาย 24 ชั่วโมง

ข้อ 9 ของประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ ระบุว่า หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตฝ่าฝืนไม่ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ซึ่งผู้ให้บริการจะมีความผิดตามมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ซึ่งการที่ประกาศกำหนดข้อสันนิษฐานความผิดอาญาเช่นนี้ กลายเป็นการเขียนกฎหมายโดยให้ "สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด" ทำให้เกิดประเด็นว่า ประกาศนี้อาจจะขัดกับ “หลักให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์” (presumption of innocence) ซึ่งรับรองไว้ในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ เนื่องจากการเขียนกฎหมายในลักษณะนี้อาจทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียที่ "ลบ" เนื้อหาไม่ทันภายในกำหนดเวลาจะกลายเป็นคนมีความผิดทันที และเป็นฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกับหลักทั่วไปในคดีอาญาที่โจทก์ต้องมีภาระการพิสูจน์และนำสืบความรับผิดทางอาญาของจำเลยให้ศาลเห็น

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของเจ้าหน้าที่ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง โดยให้ยื่นต่อปลัดกระทรวงดีอีหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงดีอีมอบหมาย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง หรือนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงคำสั่ง แล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้องพิจารณาอุทธรณ์และแจ้งผลให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

แนวทางการดำเนินคดี

ตามประกาศเรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือนฯ หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้รับคำสั่งของเจ้าหน้าที่แล้วเพิกเฉยไม่ลบข้อมูลออกจากระบบภายในระยะเวลาที่กำหนด และไม่ได้ดำเนินการอุทธรณ์คำสั่ง เจ้าหน้าที่ดีอีจะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับให้บริการอินเทอร์เน็ตในฐานร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 และมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากนั้นจะสรุปความเห็นทางกฎหมายส่งให้พนักงานสอบสวน รวมถึงประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย หรือดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

นอกจากนี้ ถ้าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ดีอีอาจประสานกับ กสทช. หรือหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการระงับใบอนุญาต หรือดำเนินการอื่นใดตามสมควร

ทั้งนี้ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

ไฟล์แนบ

ประกาศกระทรวง เรื่องขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพรห่ลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์.pdf    232.17 KB

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
กระทรวงดีอีออกประกาศชัด ผู้ให้บริการต้องลบข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงภายใน 24 ชั่วโมง
เปรียบเทียบกฎหมายการแจ้งให้ลบเนื้อหา อเมริกาใช้เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ไทยเน้นใช้เรื่องความมั่นคง

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

ความย่ามใจของนายทุนและเจ้าสัวไทยนั้นไม่มีที่สิ้นสุด แม้นว่าชาวบ้านเดี๋ยวนี้ไม่ยอมเป็น ไทยเฉย กันแล้ว แต่ก็ยังทำอะไรไม่ค่อยได้ เพราะคนที่เฉยเก่งกลับเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ไม่ว่าตำรวจ ฝ่ายปกครอง หรือหน่วยงานเกี่ยวข้องความเป็นอยู่ประชาชน

ที่เกาะหลีเป๊ะ ชาวเลซึ่งบุกเบิกพื้นที่ อยู่อาศัยกันมาหลายชั่วคนก่อนจะเป็นเกาะท่องเที่ยวขึ้นชื่อ กำลังได้รับความเดือดร้อนหนักจากนายทุนเจ้าของโรงแรมริมหาด สร้างรั้วเหล็กกั้นเส้นทางเดินของชาวบ้านที่ใช้ติดต่อกันมานับร้อยปี

“เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ มีนายทุนรายหนึ่ง ปิดทางสาธารณะประโยชน์ของชุมชน คือทางเข้า-ออกไปโรงเรียน ทางเข้า-ออกไปอนามัย ทางลงทะเลเพื่อประกอบอาชีพประมงและการท่องเที่ยว” เพจ ชมรมชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะฟ้องสังคม

“ชาวบ้านรวมตัวกันออกมาร่วมคัดค้านการปิดเส้นทางเป็นวันที่เจ็ด แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานราชการไหนเข้ามาแก้ไขปัญหาได้” เมื่อก่อนก็เคยมีการยื่นตรวจสอบเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งก่อให้เกิดการ “เบียดขับชาวเลออกไปจากพื้นที่” แล้วครั้งหนึ่ง

“ผ่านไปหลายปีเรื่องก็ยังเงียบหายไป หรือมีใครอยู่เบื้องหลัง” เพจชาวเลถาม “เนื่องจากการออกเอกสารสิทธิทับบ้านพวกเรา ๑๐๐ กว่าครอบครัว (ราวพันกว่าคน) ทับสุสาน ทับร่องน้ำธรรมชาติ ทับทางเดินสาธารณะแบบนี้ดูท่ามีเงื่อนงำ”

จะว่าพวกชาวเลอยู่ไกลโพ้น ตกเป็นเหยื่อการเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย แต่ความละโมภของนายทุนไม่มีที่สิ้นสุดอย่างที่ว่า แม้แต่ในเรื่องที่เป็นเทคโนโลยี่สมัยใหม่ การสื่อสารโทรคมนาคมถ่ายทอดฟุตบอลโลกจากคาตาร์ จนบัดนี้ใกล้จะชิงชนะเลิศกันแล้ว ยังจอดำหลายสถานี

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

เป็นที่รู้กันว่า การกีฬาแห่งประเทศไทยเอาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดมูลค่า ๑,๒๐๐ ล้าน ที่ กสทช.ช่วยออกให้ ๖๐๐ ล้าน ไปขายให้บริษัททรูของเจ้าสัวซีพีแค่ ๓๐๐ ล้าน แล้วปล่อยให้ทรูบล็อคสัญญาน ไม่ยอมให้ ไอพีทีวีพ่วงสัญญานไปแพร่ภาพ

เมื่อเกิดการร้องแรกแหกกระเฌอกันขึ้นมา ผู้ว่า กกท.แจ้งว่าให้ไอพีทีวีถ่ายทอดได้ตั้งแต่รอบควอเตอร์ เซไมไฟนอล จนถึงชิงชนะเลิศ วันนี้ฝรั่งเศสแข่งกับมอร็อคโค ใครชนะจะเข้าไปชิงกับอาร์เจนติน่าที่รออยู่ จอไอพีทีวีก็ยังดำอยู่

เพราะอะไร เพราะ กกท.บอกว่าไอพีทีวีไหน ใครจะถ่ายทอดต้องจ่ายมา ๒๒ ล้าน ข่าวสด @KhaosodOnline รายงานว่า “แต่ไม่ระบุว่าเก็บไปให้ใคร ขณะที่ยังมีคำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาห้ามไอพีทีวีถ่ายทอดสดอยู่ ทำให้คนไทยที่อยากดูต้องผิดหวัง”

หนังสือรับรองสิทธิ ค่า รักษา พยาบาล ครู เอกชน

และ ทรู อีกนั่นแหละที่กำลังเตรียมรับทรัพย์ขนานใหญ่ยิ่งไปกว่าเก่า เมื่อ ข่าวหุ้น แจ้งว่า หลังควบรวมกับดีแท็ค “รอลุ้นกำหนดวันแลกหุ้นบริษัทใหม่เร็วๆ นี้ เชื่อว่าจะได้ลูกค้าบริษัทใหม่ ๕๑.๘๕ ล้านเลขหมาย รายได้ทะลุ ๒.๒๘ ล้านล้านบาท”