หนังสือรับรองการเสียชีวิต จากอําเภอ

สอบถามเรื่อง การขอหนังสือรับรองการตาย

ผมอยู่ จ.สมุทรสาคร แม่ผมเสียชีวิตแล้ว และทำประกันสังคม ม.39 ไว้ ผมไปติดต่อประกันสังคม ทางประกันสังคมเรียกเอกสารดังนี้
1 เอกสารของน้องสาว(แม่ผมมีลูก 2 คน คือผมกับ น้องสาว)
2 เอกสารของยาย (ยายผมตายแล้ว ผมมีสำเนาใบมรณบัตร)
3 เอกสารของตา(ตาผมตายแล้ว หาหลักฐานไม่ได้)
ผมไปขอคัดมรณบัตรตาที่อำเภอเมืองสมุทรสาครไม่พบ  ปลัดออกใบ ทร31 ให้ไปติดต่อขอรับหนังสือรับรองการตาย ที่อีกแผนก  ผมก็เอา ทร.31ไปยื่น จนท.ถามว่าตายเมื่อไหร่ ที่ไหน ผมบอกไม่รู้ ตายก่อนผมเกิดอีก เขาบอกให้เอาลูกผู้ตาย 1 คน กับใครก็ได้ที่รู้เห็นการตายมาเซ็นชื่อรับรอง ลูกๆ ตาของผมอยู่ ตจว. ทั้งนั้น ผมเลยโทรถามลุง(ลุงอยู่กาญฯ) ลุงบอกตาตายอยู่ที่กุมภวาปี (T T) ไม่เป็นไรขอให้ลุงกับน้าที่อยู่กำแพงเพชร มาเซ็นให้ก็ได้   วันหลังเข้าไปติดต่ออีกครั้งกับ จนท.คนเดิม เขาก็ถามอีกว่าตายที่ไหน ก็บอกว่าตายที่กุมภวาปี เขาบอกว่าให้ไปขอ ทร.31 ที่กุมภวาปี แล้วเอาพยานมาเซ็นรับรองที่สมุทรสาคร อยากถามว่าผมต้องไปกุมภวาปีเองเลยเหรอ เคยถามเพื่อนที่ทำงานเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ที่ยโสธร เพื่อนบอกว่าให้อำเภอเมืองสมุทรสาครทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ตรวจสอบได้ ถ้าต้องไปที่กุมภวาปีเองผมของหนังสือรับรองฯ ที่กุมภวาปีได้เลยไหมหรือต้องให้ลูกตาไปขอเอง ขอบคุณล่วงหน้าครับ

การตาย

  • หนังสือรับรองการเสียชีวิต จากอําเภอ

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนราษฎร

การแจ้งตาย

หลักเกณฑ์
เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย

    * (1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ
    * (2) คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้ กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียน กลางอาจขยาย เวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพหากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

      1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
      2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
      3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง

ขั้นตอนการติดต่อ

      1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
      2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย
      3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้ง
       - การแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่อื่นหากยังมิได้แจ้งการตาย แต่มีการย้ายศพ ไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวแล้วแต่กรณีจะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ศพอยู่ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้ โดยผู้แจ้งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยายบุคคลไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้
       - ในกรณีไม่หนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสายพันธุกรรม มีตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้เป็นหลักฐานประกอบการการแจ้งแทนได้