สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย

1. สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร

สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่อาจช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารที่ไม่มีความเสถียรทางโมเลกุล ที่รู้จักในนามของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะไปทำปฏิกิริยาและทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเสถียร และอาจช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ที่เกิดจากสารเหล่านี้ สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแครอทีน ไลโคพีนวิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ เป็นต้น

2. สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันมะเร็งได้หรือไม่

ผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการณ์ ซึ่งมีหลักฐานจากกระบวนทางสารเคมี การเพาะเชื้อเซลล์ และการทดลองในสัตว์ บ่งชี้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจช่วยป้องกันการก่อตัวของโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลจากการทดลองที่แน่ชัด ในช่วงหลายปีนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน

3. การทดลองก่อนหน้านี้ได้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

มีการศึกษาที่ค่อนข้างใหญ่ 5 การศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในช่วง 1990 ที่สามารถให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีต่อโรคมะเร็ง ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของเบต้าแครอทีน และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในประชาการแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าประโยชน์ของสารเบตาแครอทีนจะได้ผลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากร บทสรุป ของแต่ละการศึกษามีดังต่อไปนี้

- การศึกษาแรกที่ใหญ่ที่สุดคือของ Chinese Cancer Prevention Study ในปี 1993 การศึกษานี้ต้องการศึกษาผลของการใช้เบต้าแครอทีน วิตามินอี และสารเซเลเนียมร่วมกันในหญิงและชายสุขภาพดีชาวจีนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารการศึกษาสรุปว่าการใช้สารต้านอนุมูลอิสระร่วมกันสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ

- ปี 1994 มีการศึกษาของกลุ่ม Alpha-Tocopheral (vitamin E)/Beta-Carotene Cancer Prevention Study (ATBC) พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นในชายชาวฟินแลนด์ที่สูบบุหรี่ที่ได้รับเบต้าแครอทีนส่วนรายที่ได้รับวิตามินอีพบว่า ไม่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด

- การศึกษาของ Beta-Carotene and Retinol (vitamin A) Efficacy Trial (CARET) ในปี 1994 พบว่ามีโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นในกลุ่มที่ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ

- การศึกษาของ Physicians’ Health Study I (PHS) ในปี 1996 พบว่าการได้รับเบต้าแครอทีน และยาแอสไพริน โดยคำสั่งแพทย์ไม่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง

- การศึกษาของ Women’s Health Study (WHS) ในปี 1999 ได้ศึกษาผลของการใช้วิตามินอี และเบต้าแครอทีน ในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปพบว่าเบต้าแครอทีนไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือโทษในคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่วนการศึกษาถึงผลของวิตามินอีนั้น จะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป

4. มีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระน้อยเกินไปหรือไม่

มีการศึกษา 3 การศึกษาที่ยังคงทำการทดลองเพื่อดูผลของสารต้านอนุมูลอิสระต่อการเกิดโรคมะเร็ง จุดประสงค์ของแต่ละการศึกษามีดังต่อไปนี้

- การศึกษาของ Women’s Health Study (WHS) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิตามินอีในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในหญิงชาวอเมริกันสุขภาพแข็งแรงที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป การศึกษานี้ตั้งเป้าหมายที่จะทำการศึกษาตั้งแต่ปี 1992 ถึงเดือนสิงหาคม ปี 2004 ในสตรีอเมริกา 39,876 รายที่อายุมากกว่า 45 ปี พบว่าวิตามินอี ไม่ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งและไม่ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง (JAMA 2005; 294:56-65)

- การศึกษาของ Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปอโตริโก้ และแคนาดา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารซีลีเนียมและ/หรือ วิตามินอีว่าสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในชายอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปได้หรือไม่ การศึกษานี้ศึกษาผู้ป่วย 35,533 คน พบว่าสารซีลีเนียมและ/หรือวิตามินอีไม่สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ (JAMA 2009; 301:39-51)

- การศึกษาของ Physicians’ Health Study II (PHS II) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิตามินอี วิตามินซีและวิตามินรวมต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งโดยรวม การศึกษานี้ตั้ง เป้าหมายที่จะทำการศึกษาตั้งแต่ปี 1997 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2007 ในแพทย์ชาย 14,641 ราย ที่อายุมากกว่า 50 ปี พบว่าทั้งวิตามินอีและซีไม่สามารถป้องกัน โรคมะเร็งต่อมลูกหมากและอุบัติการณ์ของมะเร็ง โดยรวมได้ (JAMA 2009; 301:52-62)

5. สถาบันมะเร็งแห่งชาติมีการศึกษาผลของเบต้าแครอทีนต่อการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่

เนื่องจากการศึกษาของ ATBC และ CARET ที่พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นในกลุ่มคนที่ได้รับเบต้าแครอทีนแต่จากการศึกษาของ PHS และ WHS กลับพบว่าเบต้าแครอทีนไม่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นสถาบันมะเร็งแห่งชาติจะติดตามกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาดังกล่าว และพิจารณาดูผลกระทบระยะยาวของการใช้เบต้าแครอทีน ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะนำมาตีพิมพ์ใน ATBC, CARET และ Chinese Cancer Prevention Study

6. สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างไร

สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเสถียร และไม่เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เนื่องจากสารอนุมูลอิสระมีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่าสารประเภทอื่น ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเซลล์ได้ง่ายกว่าการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งควันบุหรี่และรังสีเป็นตัวกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระ โดยพบว่าอยู่ในรูปของออกซิเจนมากที่สุด โมเลกุลออกซิเจนที่ไม่มีความเป็นกลางทางไฟฟ้าจะไปแย่งจับอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของสารอื่นทำให้เกิดเป็นสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ และถ้าเกิดปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมความผิดปกติที่เกิดขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมาได้ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจะทำให้โมเลกุลสารต่างๆ มีความเป็นกลางทางไฟฟ้าและป้องกันไม่ให้สารอนุมูลอิสระไปแย่งจับอิเล็กตรอนจากสารอื่น

7. สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในอาหารประเภทใด

สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผัก ผลไม้ ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา

- เบต้าแครอทีนพบมากในผักและผลไม้ที่มีสีส้ม เช่น มะเขือเทศ แครอท น้ำเต้า แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงนอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบสีเขียวบางประเภท เช่น ผักขม กะหล่ำปลี

- ลูทีน ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น พบได้มากในผักใบสีเขียว เช่น ผักขม กะหล่ำปลี

- ไลโคพีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในมะเขือเทศ แตงโม มะละกอ องุ่น ส้ม ฝรั่ง

- สารซีลีเนียม ไม่ได้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆพบได้พืชที่ปลูกลงดิน เช่น ข้าว นอกจากนี้ยังพบได้ในเนื้อสัตว์และขนมปัง

- วิตามินเอ พบได้มากในตับ มัน แครอท นม ไข่แดง เนยแข็ง

- วิตามินซี พบได้มากในผักผลไม้หลายประเภท ธัญพืช เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เนื้อวัว เป็ด ไก่ และปลา

- วิตามินอี พบได้ในถั่วอัลมอนต์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง มะม่วง ผักบล็อกโคลี

Antioxidant ดีไหม

7 ประโยชน์สำคัญของ “สารต้านอนุมูลอิสระ” 1. ชะลอวัย ชะลอกระบวนการที่ทำให้เข้าสู่วัยชรา (แก่ช้า) 2. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง 3. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อม 4. ลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย 5. ป้องกัน และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด 6. ป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ 7. เป็นเกราะ ...

สารอนุมูลอิสระ (free radical) มีผลต่อร่างกายอย่างไร

อนุมูลอิสระ (Free Radical) เป็นของเสียที่เกิดจากการสันดาปในร่างกายหรือจะเรียกได้ว่า อนุมูลอิสระ (Free Radical) เป็นสนิมของเซลล์ในร่างกายเราหากร่างกายมีอนุมูลอิสระเยอะเกินไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา คือ การอักเสบโดยเฉพาะกับระบบหัวใจและหลอดเลือดอาจเกิดปัญหาเส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจขาดเลือด อัลไซเมอร์ในระบบอื่นอาจจะทำให้ ...

สารต้านอนุมูลอิสระ เอาไปทำอะไร

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คืออะไร ? สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือ สารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (Free Radical) เช่น การเกิดออกซิเดชันของลิพิด (Lipid Oxidation)

ต่อต้านอนุมูลอิสระคืออะไร

สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผัก ผลไม้ ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา - เบต้าแครอทีนพบมากในผักและผลไม้ที่มีสีส้ม เช่น มะเขือเทศ แครอท น้ำเต้า แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงนอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบสีเขียวบางประเภท เช่น ผักขม กะหล่ำปลี