เฉลย หนังสือ พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล

    หนังสือ "พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล รหัสวิชา 30204-2001" เล่มนี้ เหมาะสำหรับนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือผู้ที่มีความสนใจ เนื้อหาของหนังสือมี 9 บท ประกอบด้วย ธุรกิจดิจิทัล นวัตกรรมสำหรับธุรกิจดิจิทัล ระบบการทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัลโมบาย ความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมดิจิทัล กฎหมายและจริยธรรมการทำธุรกรรมดิจิทัล หลักการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัลและอาชีพออนไลน์ และกรณีศึกษา รวมทั้งมีแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในสถานการณ์ต่าง ๆ มีทักษะการคิด แก้ปัญหา และบูรณาการกับการทำงานตามสาขาอาชีพต่าง ๆ ต่อไป

1.ความหมายของธุรกิจความ หมายของธุรกิจ ธรุกิจ คือ กิจกรรมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการโดยการ จัดสรรทรัพยากรหรือปัจจัยที่มีอยู่มาเปลี่ยนสภาพอย่างมีระบบจนกระทั่งได้เป็น สินค้าหรือบริการแล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาจำหน่ายซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเพื่อนำไป สู่ผลกำไรหรือสิ่งตอบแทนตามจุดประสงค์ของผู้ประกอบการ

2.รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ 1. ธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว(Single or Sole Proprietor) เป็นกิจการแบบมีผู้ประกอบการเพียงคนเดียวทั้งการตัดสินใจและการบริหาร ด้านต่าง ๆ เป็นสิทธิขาดของผู้ประกอบการเพียงคนเดียวธุรกิจประเภทนี้ส่วน มากเป็นธุรกิจส่วนตัวที่มีขนาดเล็กใช้เงินทุนในการดำเนินการไม่มาก ขอบเขต การดำเนินการหรือการบริหารเรียบง่ายไม่ซับซ้อนขั้นตอนการทำงานไม่เยอะ และส่วนมากจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้า 2. ห้างห้นุส่วน (Partnership) กิจการหรือองค์การทางธุรกิจที่มีผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินการมากกว่าสอง คนขึ้นไปโดยทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินธุรกิจและมีการแบ่ง ผลกำไรออกเป็นสัดส่วนตามที่ตกลงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ,ห้างหุ้นส่วนจำกัด

2.รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ(ต่อ) 3. บรษิ ัทจำกัด (Limited Company) องค์การธุรกิจหรือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปลงทุนร่วมกันทำกิจกรรมหรือ ประกอบกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากการประกอบการนั้นๆ มาแบ่ง กัน บริษัทจำกัดนั้นจะมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นโดยมูลค่าแต่ละหุ้นนั้นเท่ากันผู้ลงทุน สำหรับบริษัทจำกัดจะเรียกว่า ผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นจะรับผิดเพียงเฉพาะจำนวน ไม่เกินจำนวนเงินที่ถือหุ้นอยู่ 4. สหกรณ์ (Co – Operative Society) องค์การธุรกิจที่มีกลุ่มบุคคล ซึ่งมีอาชีพความสนใจหรือความต้องการเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันมารวมตัวกันท าหน้าที่ในการประกอบธุรกิจ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เป็นต้น

2.รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ(ต่อ) 5. รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) องค์การธุรกิจหรือหน่วยงานที่รัฐได้จัดตั้งขึ้นโดยมีเงินทุนทั้งหมดเป็น ของรัฐ หรือรัฐมีทุนร่วมกันอยู่ด้วยมากกว่า 50% องค์การรัฐวิสาหกิจนั้น ต้องมีการบริหารให้ได้กำไรและคืนกำไรให้แก่รัฐ เช่น การประปา นครหลวงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น

3.ประเภทของธุรกิจ 1.ธรกุ ิจแบบซื้อมาขายไป กิจการที่ซื้อขายสินค้าซึ่งมีทั้งการขายส่งและขายปลีกโดยที่ไม่ใช่ผู้ผลิต มี รายได้หลัก คือ เงินหรือก าไรที่ได้จากการขายสินค้า มีค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนของสินค้าและค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ 2.กิจการผลิต กิจการผลิตที่มีโรงงานส าหรับผลิตสินค้า หรือกิจการพวกอุตสาหกรรม มีราย ได้หลักจากก าไรที่ได้จากการขายสินค้า มีค่าใช้จ่าย คือ ค่าต้นทุนในการซื้อ วัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต 3.กิจการให้บริการ เช่น บริการจองตั๋วเครื่องบิน หรือธนาคารกิจการประเภทนี้มีรายได้มาจากค่า ธรรมเนียม หรือค่าบริการส่วนค่าใช้จ่าย คือ ค่าจ้างพนักงานหรือเงินเดือน พนักงานค่าวัสดุสิ้นเปลือง หรือค่าเช่า

4.ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ คน เงิน วัสดุ วิธีปฏิบัติงาน ขวัญและกำลังใจ การจัดการ man money Material Method Morale Management 5.หน้าที่ในการจัดการองค์กรธุรกิจ 1.การวางแผน 2.การจัดองค์กร 3.การอำนวยการ 4.ด้านการควบคุม

6.ลักษณะของธุรกิจทั่วไปของธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล เป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยพัฒนาพัฒนาและดำเนินการใน การประกอบธุรกิจมีรูปแบบการสื่อสารที่รวดเร็วโดยการนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเข้าสู่ คอมพิวเตอร์ทันทีโดยไม่หยุดพัก จึงสามารถทำงานได้ทันทีแตกต่างจากรูปแบบของ ธุรกิจ แบบเดิม ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน คือ จดหมายโทรสาร และโทรศัพท์ 7.การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มาจากแนวคิด“ประเทศไทยยุค 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0” (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทยหรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เข้ามาบริ หารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน”

8.ความหมายและแนวคิดธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีต่าง ๆเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างและพัฒนาธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ในการเลือกสินค้าหรือบริการ ต่าง ๆ และเพื่อเพิ่มผลกำไรหรือยอดขายให้กับธุรกิจ เช่น การนำแอปพลิเคชันมาช่วยให้ผู้ บริโภคเข้าถึงสินค้าหรือบริการได้ง่ายมากขึ้น เช่น การทำโฆษณาผ่านเว็บไซต์หรือสื่อ สังคมออนไลน์

9.ความสำคัญของธุรกิจดิจิทัล ความสำคัญของธุรกิจดิจิทัล คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือรูปแบบของธุรกิจหรือการ ประกอบการที่เป็นอยู่แบบเดิม หรือ อยู่ในรูปแบบออฟไลน์(Offline) ให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ (Online Platform)และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information Communication Technology: ICT) ในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวสู่ดิจิทัล เพื่อให้เกิดความ ทันสมัยและเหมาะสมกับยุคสมัยที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น 10.ธุรกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลง คำว่า Digital Disruption หรอื การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทลั หลายคน เข้าใจคำ คำนี้ว่าเป็นแรงโจมตี เป็นภัยร้ายแรงต่อธุรกิจ แต่พวกเขาเข้าใจผิด เพราะการปลี่ยน แปลงนี้ คือการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและโมเดลทางธุรกิจ แบบใหม่มาประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและโมเดลต่าง ๆ

หน่วยที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจดิจิทัล

1.โครงสร้างพื้นฐานระบบอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สาย โครงสร้างพื้นฐานระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สายจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ช่องทางทำธุรกรรมดิจิทัล เทคโนโลยีการสื่อสาร ต่าง ๆโดยมีรายละเอียดดังนี้ ช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสนามใกล้(Near Field Communication: NFC) ช่องทางการทำธุรกรรมดิจิทัล โดยใช้โมไบล์เบราว์เซอร์และแอปพลิเคชัน

2.มิดเดิลแวร์ของระบบอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สาย โมบายมิดเดิลแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำการเชื่อมต่อการใช้งานระหว่างระบบปฏิบัติการหรือเชื่อม แอป พลิเคชันที่แตกต่างกัน คือเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานคั่นระหว่างระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ ไร้สายประเภทต่าง ๆ และแอปพลิเคชันหรือโมบายแอปพลิเคชันที่ติดตั้งอยู่บน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ ไร้สายเหล่านั้น สามารถเชื่อมต่อประสาน (Interface) เข้ากับ อุปกรณ์ที่มีระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันที่ ต่างกันได้เพื่อให้การใช้งานสามารถใช้งานต่อไปได้ อย่างอัตโนมัติ

3.โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ เครือข่ายเคลื่อนที่ไร้สาย โครงสร้างพื้นที่การเชื่อมต่อเครือข่ายเคลื่อนที่ไร้สาย มีหลากหลายเทคโนโลยีได้แก่ เทคโนโลยีระบุ ตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ เทคโนโลยีบลูทูธ เทคโนโลยีบีคอน เทคโนโลยีไวไฟ เทคโนโลยีซิกบี และเทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีรายละเอียดดังนี เทคโนโลยีระบุตวัตนด้วยคลื่นวิทยุหรืออาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID) เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบีคอน (Beacon Technology) เทคโนโลยีไวไฟ (Wi-Fi) เทคโนโลยีซิกบี (ZigBee) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่

4.การประมวลผลบนโทรศัพท์และ การประมวผลบนอุปกรณ์สวมใส่ 4.1 การประมวลผลบนโทรศัพท์(Mobile Computing) คือโทรศัพท์มือถือที่มีลักษณะการ ทำงาน เหมือนคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา 4.2 การประมวผลบนอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Computing) คือ อุปกรณ์สวมใส่ที่มีลักษณะ การทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีที่ช่วยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาซึ่ง สามารถควบคุมโดยผู้ใช้งานและมีความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถป้อนคำสั่งและดำเนินการ ชุดคำสั่งที่ป้อนไว้และผู้ใช้งานสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้

5.การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) การประมรลผลวบบคลารด์(Cloud Computing) เป็นลักษณะของการท างานของผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้ กับผู้ต้องการใช้งานนั้นการประมวลผลแบบคลาวด์เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและ บริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิซ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จ าเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิค สำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น 5.1 ประเภทของการประมรลผลวบบคลารด์(Cloud Computing) 1) คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) 2) คลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) 3) คลาวด์แบบผสม (Hybrid Cloud)

5.การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) (ต่อ) 5.2 การบริการบนระบบการประมวลผลแบบคลาวด์(Cloud Computing) สามารถแบ่งรูป แบบ ของชั้น ได้แก่ การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS) การให้บริการ แพลตฟอร์ม หรือ Platform as a Service (PaaS) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS) ซึ่ง เป็นการบริการหลัก และยังมีบริการระบบจัดเก็บ ข้อมูล หรือ data Storage as a Service (dSaaS) บริการร่วม รวมล าดับความเชื่อมโยง หรือ Composite Service (CaaS)

6.ข้อมูลเกินนับ (Big Data) ข้อมูลเกินนับ (Big Data) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในปจัจุบัน เน่ืองจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ท่ี สนับสนุนการเก็บข้อมูล การใช้งานของข้อมูล และการประมวลผล พึ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน และมีความ สำคัญในการ ทำธุรกิจ เนื่องจาก Big Data เป็นการใช้ข้อมลู มาเป็นแหล่งวัตถุดบิในการวเิคราะห์หา แนวทางการแก้ปัญ หาเชิงลึกในแต่ละองค์กรจะมีผลลัพธ์และแนวทางต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกับที่ไหน เพราะจะ มีการใช้โมเดลที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละที่เท่านั้น 6.1 คุณลักษณะของ ข้อมูลเกินนับ (Big Data) ซึ่งประกอบไปด้วยก็คือ ขนาดของข้อมูล (Volume) ความเร็ว (Velocity) ความหลากหลาย (Variety) ความถูกต้อง (Veracity) คุณค่า (Value) และ ความแปรผันได้ (Variability)

6.ข้อมูลเกินนับ (Big Data) (ต่อ) 6.2 หลักการและการวางกลยุทธ์ของข้อมูลเกินนับ จะมี3 ค าที่เกี่ยวข้องกัน คือ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และ การวิเคราะห์ (Analytics) ซึ่งมีความสัมพันธ์ในหลักการและการ วางกลยุทธ์ของ ข้อมูลเกินนับ

6.ข้อมูลเกินนับ (Big Data) (ต่อ) 6.3 การเปลี่ยนข้อมูลเป็นสินทรัพยเ์ชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ เป็นความท้าทายส าหรับผู้บริหารหรือ เจ้าของธุรกิจในเรื่องของข้อมูลเกินนับ ก็คือการเปลี่ยน ข้อมูล เป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ของธุรกิจก็คือ ผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจจะต้องระบุความต้องการให้ได้ว่า ต้องการสร้างคุณค่าอะไรต่อธุรกิจ จาก ข้อมูล ที่เกิดขึ้นโดยข้อมูลของธุรกิจแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ข้อมูลประเภทกระบวนการของธุรกิจ ข้อมูลของสินค้าและบริการที่เกิดการนำเสนอคุณค่าของธุรกิจต่อลูกค้า ข้อมูลของลูกค้า

6.ข้อมูลเกินนับ (Big Data) (ต่อ) 6.4 การสร้างคุณค่าให้ธุรกิจด้วยการทา ยุทธศาสตร์ข้อมูล (Data Strategy) ขององค์กร โดย การเริ่มต้นตั้งแต่การเก็บรวมข้อมูลจากแหล่งใดบ้างอาทเิช่น การเก็บข้อมลูจากแหล่งภายในบริษัท จากฝ่ายต่าง ๆ หรือเอกสารเป็นต้น และจากภายนอกองค์กร เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาทำการวิเคราะห์ด้วย 6.5 Big Data และการทำ Digital Transformation สำหรับธุรกิจเมื่อมีผู้สนใจเช้าไปดูสินค้าใน เว็บไซต์ของ Amazon จะมีเห็นได้ว่ามีคำแนะนำต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ซื้อพิจารณาในการตัดสินใจซื้อสินค้า และยังมี คำวิจารณ์จากลูกค้าด้วย และนำข้อมูลนั้นมาช่วยจัดลำดับสินค้า มีการเปรียบเทียบตัวสินค้า ในลักษณะที่สินค้าที่ ใกล้เคียงกัน

7.อินเทอรเ์น็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Thing) เครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่น ๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึก และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทำให้วัตถุสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูก ควบคุมได้จาก ระยะไกลผ่านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถผสานโลก กายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์ ได้แนบแน่นมากขึ้น ผลที่ตามมาคือประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

หน่วยที่ 3 นวัตกรรมสำหรับ ธุรกิจดิจิทัล

1.ความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรม (Innovation) คือ ระบบในธรรมชาติที่นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดโดยใช้ทักษะประสบการณ์ และความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อพัฒนากระบวนการการบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ขึ้นมาให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

2.องค์ประกอบของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 1. มีความใหม่ นวัตกรรมตามความหมายก็คือสิ่งที่สร้างจากแนวคิดใหม่ ซึ่งอาจจะต้องแปลกไป กว่าผลิตภัณฑ์อื่น หรือมีความสามารถมากกว่า 2. มีองค์ความรู้หรือความคิดเปลี่ยนแปลง นวัตกรรมจะต้องมีองค์ความรู้ที่เกิดจากความคิดที่ ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น ประหยัดมากขึ้น เป็นต้น 3. มีประโยชน์ นวัตกรรมนั้น ๆ จะต้องมีประโยชน์ที่สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน มีประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคมโดยทั่วไป 4. มีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ ผู้ค้นคิดนวัตกรรม สามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ทั้งในเชิง ของการนำไปใช้งานหรือต่อยอดทางธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้

3.นวัตกรรมกับธุรกิจดิจิทัล เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการหรือกระบวนการรูปแบบใหม่ อาศัยข้อมูลข่าวสารและ การดำเนินการทางด้านเทคโนโลยีโดยมีเครื่องมือ(Tools) หรือแอปพลิเคชันโปรแกรม (Application Program) เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ จัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์ พยากรณ์ ข้อมูล เพื่อช่วยให้การดำเนินธุรกิจหรือการค้าของตนเองได้เปรียบเชิงการแข่งขัน สร้างผลกำไร และสนองตอบต่อความต้องการให้กับลูกค้าเป็นหลัก

4.ประเภทของนวัตกรรม 1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) 2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) 5.ข้อควรคำนึงถึงของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล 1. นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลเป็นค่าใช้จ่าย 2. ตลาดผู้บริโภคไม่พึงประสงค์ 3. พนักงานวิกฤต

6.นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและสำคัญมากที่สุดสำหรับหน่วยงาน บริษัทหรือองค์ที่ ต้องการความโดดเด่นจากการแข่งขันและการดำรงอยู่ได้ของหน่วยงานบริษัทหรือ องค์กรของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ไม่แน่นอน ซึ่งจำเป็นจะต้องยึดหลักเพื่อ สร้างนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลจากสิ่งต่อไปนี้

6.นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล(ต่อ) 6.1 แนวคิด 4 มิติ(The 4-Dimensional Concept) 1.Who ใครคือลูกค้าเป้าหมาย 2.What สิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้าและพันธมิตรที่มีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่า 3.How หน่วยงาน บริษัท หรือองค์กรสร้างหรือส่งมอบผลประโยชน์อย่างไร 4.How หน่วยงานบริษัทหรือองค์กรจะทำเงินอย่างไร 6.2 รูปแบบธุรกิจ 1.การกำหนดกลุ่มลูกค้า(Customer segments) 2.การเสนอคุณค่า(Value propositions) 3.ช่องทางการจัดจำหน่าย(Channels) 4.การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า(Customer relations) 5.การกำหนดแหล่งที่มาของรายได้(Sources of income) 6.ทรัพยากรที่สำคัญ(Key resources) 7.กิจกรรมหลัก(Key Activities) 8.พันธมิตรที่สำคัญ(Key partnerships) 9.โครงสร้างต้นทุน(Cost structure)

หน่วยที่ 4 ธุรกรรมในธุรกิจ ดิจิทัล

1. ความหมายธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล การทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล หมายถึง การดำเนินการต่าง ๆ ในเรื่องของ การเงินหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เช่น สมาร์คโฟน Mobile App หรือ E-wallet ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์

2.ความสำคัญของระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล ระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลมีความส าคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำ ธุรกิจนั้นมีความมั่นคงขึ้นเพราะได้อำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรม ทางการเงินเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และนำมาซึ่ง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรมผู้บริโภค และเศรษฐกิจโลก

3.ปรเภทของระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล Mobile Banking คือ ตัวช่วยส าคัญแห่งยุคดิจิทัลที่เข้ามาอำนวยความ สะดวกให้การทeธุรกรรมทางการเงินเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา และนำมาซึ่งความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรม ผู้บริโภคและเศรษฐกิจโลก

4.ธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการในธุรกิจดิจิทัล การซื้อขายสินค้าและบริการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญของธุรกิจและเป็น ธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลด้วยซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าธุรกิจ โดยทำการแยก ธุรกิจดิจิทัลตามแพลตฟอร์มเป็นกลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มโมเดลการแลกเปลี่ยนหรือ Marketplace เช่น Grab Airbnb เป็นต้น กลุ่มโฆษณา เช่น YouTube Instagram Facebook กลุ่มค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการ เช่น PayPal AliPay กลุ่มระบบเก็บค่าสมาชิก (Subscription) เช่น Netflix iflix HOOQ VIU กลุ่มฟรีเมียม (Freemium) เช่น Spotify Joox กลุ่มโมเดลทางระบบนิเวศ เช่น แพลตฟอร์มของ iOS และ Android

5.การชำระเงินออนไลน์ การโอนเงิน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallet) พร้อมเพย์ บริการชำระบิลเข้ามธนาคาร (Cross-bank Bill Payment) Mobile Payment

หน่วยที่ 5 สื่อสังคมออนไลน์ กับธุรกิจดิจิทัล

1.ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ กับธรุกิจดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Online) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า สื่อสังคม (Social Media) ในสอง คำนี้จะมีความหมายเดียวกันซึ่งมีผู้ให้ความหมายสื่อสังคมออนไลน์ไว้มากมาย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) ให้ความหมาย สื่อสังคมหมายถึงการ สื่อสารของมนุษย์ได้รับการพัฒนาให้สื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็วอันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้าน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถ มีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ธุรกิจดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาธุรกิจที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ

2.คุณลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ คุณลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี Web 2.0 เนื้อหาในสื่อสังคม ออนไลน์ ผู้ใช้สร้างข้อมูลส่วนตัวที่เป็นตัวแทนของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ช่วยสร้าง สังคม ออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.สื่อสังคมออนไลน์เป็นอินเทอร์เน็ตแอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีตัง้แต่ Web 2.0 ขึ้นไป 2.เนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ถูกสร้างโดยผู้ใช้งานสื่อสังคม 3.ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัวที่เป็นตัวแทนของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์หรือ แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์นั้น 4.สื่อสังคมออนไลน์ช่วยในการสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์

3.ความแตกต่างของสื่อสังคม ออนไลน์กับสื่อประเภทอื่น 1.การกระจายตัวของเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นแบบไวรัล (Viral) 2. การที่เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์สามารถถูกเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 3.ปริมาณเนื้อหาบนสื่อสงัคมออนไลน์ที่มีจา นวนมาก และคณุ ภาพของสื่อสังคม ออนไลน์มี ความแตกต่างกัน 4.การที่เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์สามารถถูกดัดแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา

4.ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้มีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการ สื่อสารต่าง ๆ อาทิ การไลฟ์(live) รายการต่าง ๆ มีการปรับปรุงด้านความปลอดภัย โดยการใช้ โพรโตคอล https แทน http เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ประเภทของสื่อสังคม ออนไลน์สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้ 1.เครือข่ายสังคม (Social networking site) 2. ไมโครบล็อก (Mico-blog) เป็ นเว็ปไซต์ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลหรือข้อความสั้น 3.เว็บไซต์ที่ให้บริการแบ่งปันสื่อออนไลน์(Video and photo sharing website) 4.บล็อกส่วนบุคคลและองค์กร (Personaland corporate blogs) 5.บล็อกที่มีสื่อสิ่งพิมพเ์ป็นเจ้าของเว็บไซต์(Blogs hosted by media outlet) 6.วิกิและพื้นที่สาธารณะของกลุ่ม (Wikis and online collaborative space) 7.กลุ่มหรือพื้นที่แสดงความคิดเห็น (Forums, discussion board and group) 8.เกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นหลายคน (Online multiplayer gaming platform) 9.ข้อความสั้น (Instant messaging) 10.การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด (Geo-Spatial tagging)

5.หน้าที่ของสื่อสังคมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ทำหน้าที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้มุ่งหวังหรือกลุ่มเป้า หมายหลาย ๆ องค์กรหรือหน่วยงานเห็นโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.การระบุตัวตน (Identity) 2. การสนทนา (Conversations) 3.การแบ่งปันข้อมูล (Sharing) 4.การมีตัวตน (presence) 5. ความสัมพันธ์ (Relationships) 6. ชื่อเสียง (Reputation) 7.การสร้างกลุ่มใน Facebook 8.เกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นหลายคน (Online multiplayer gaming platform) 9.ข้อความสั้น (Instant messaging) 10.การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด (Geo-Spatial tagging)

6.ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ ในธรุกิจดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์นั้นมีผลต่อธุรกิจมีทั้งผลดีและผลเสียต่อผู้บริโภค และผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ให้บริการ โดยมีรายละเอียดดังน 1.การเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรการบริโภค 2.การเปลี่ยนของประเภทข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ 3. การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค 4.บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินของผู้บริโภค

หน่วยที่ 6 ธุรกิจดิจิทัลโมไบล์

1.ความหมายของธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ ธุรกิจดิจิทัลโมไบล์(Digital Mobile Business) เป็นการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลต่าง ๆ และอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการพกพาเข้ามาพัฒนาธุรกิจเพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค

2.คุณลักษณะและความส าคัญของ แพลตฟอร์มระบบธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ สามารถสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ ที่เรียกว่าการบูรณาการในแนวตั้ง (Vertical integration) สามารถสร้างตลาดหลายด้าน (Multi-sided markets) สามารถสร้างการผูกขาดของธุรกิจ สามารถสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ง่าย สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันระบบการให้บริการได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถรองรับโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับบริการธุรกิจดิจิทัลจากหลากหลายผู้ให้บริการ หรือนักพัฒนาแอปพลิเคชันทั่วไปได้ สามารถรองรับเทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สามารถคงรักษาข้อมูลธุรกรรมสำคัญต่าง ๆ ไว้ได้

3.โครงสร้างของระบบธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ กลุ่มผู้ใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้ 1. โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายเคลื่อนที่ไร้สาย 2. มิดเดิลแวร์ของระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สาย 3. โครงสร้างพื้นฐานระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สาย 4. แอปพลิเคชันธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ กลุ่มพัฒนาระบบและองค์กรธุรกิจ มีรายละเอียดดังนี้ 1.การให้บริการธุรกรรมต่าง ๆ 2.การให้ข้อมูลและเนื้อหาต่าง ๆ 3. การพัฒนาแอปพลิเคชัน

4.แอปพลิเคชันของกลุ่มธุรกิจดิจิทัล โมไบล์(ต่อ) 4.4 กลุ่มธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร เป็นกลุ่มผู้ใช้งานจะเป็นทุกกลุ่ม องค์กรแอปพลิเคชันที่ให้บริการจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากร เช่นแอปพลิเคชัน EasyWork-Company& HR systemapp เป็นต้น 4.5 กลุ่มธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ด้านการบันเทิง กลุ่มผู้ใช้งานคืออุตสาหกรรมความบันเทิง แอปพลิเคชันที่ให้บริการ คือ การดาวน์โหลดการรับชมดนตรีวิดีโอ เกมออนไลน์ เช่น ยูทูป (Youtube) เน็ตฟลิกซ์(Netflix) อาร์โอวี (ROV) หรือไอฟลิกซ์(iflix) เป็นต้น 4.6 กลุ่มธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ด้านสุขภาพ กลุ่มผู้ใช้งานจะเป็นโรงพยาบาลและศูนย์รับดูแลผู้สูง อายุผู้ป่วย เป็นต้น แอปพลิเคชันที่ให้บริการจะเป็นการเข้าถึงประวัติการรักษาของคนไข้การ ติดตามเฝ้าระวังเช่น Samsung Health ของ Samsung ElectronicCo.,LTD และ MorChana หมอชนะ ของ DigitalGovernment Development Agency Thailand เป็นต้น