วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัวอย่าง

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัวอย่าง

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

. บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจได้ผู้กระทำก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย     การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเราจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ และยังเป็นการขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย     ในขณะที่มนุษย์ใช้ความคิดย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วยอัตโนมัติ ภาษาจึงเปรียบประดุจเงาของความคิดตลอดเวลา ถ้าผู้ใดมีความสามารถในการคิดอย่างจำกัด ความสามารถในการใช้ภาษาก็จะถูกจำกัดไปด้วย แต่ถ้าผู้ใดมีความสามารถสูงในการคิด ความสามารถในการใช้ภาษาก็จะสูงตามไปด้วย

๒. วิธีคิด

 ๑.  วิธีคิดวิเคราะห์

การวิเคราะห์  คือ  การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า  แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

           ตัวอย่าง

                       เภสัชกรวิเคราะห์สมุนไพรเพื่อหาฤทธิ์ของตัวยาต่างๆ ที่อยู่ในสมุนไพร

                       นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

                       นักวรรณคดีวิเคราะห์บทกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์  มีดังนี้

๑. กำหนดขอบเขตหรือนิยามให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์อะไร

                       ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร

                       ๓. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

                       ๔. ใช้หลักความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็นกรณีๆ ไป

                       ๕. สรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ให้เป็นระเบียบชัดเจน

๒.  วิธีคิดสังเคราะห์

การสังเคราะห์ คือ  การรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำหรับจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          ตัวอย่าง

                      การสังเคราะห์ประโยค  ต้องมีความรู้เรื่อง ถ้อยคำ ความหมายและน้ำหนักกของคำ โครงสร้างของประโยค

                      การเรียบเรียง  เช่น  เรียงความ จดหมาย บทความ แถลงการณ์ ต้องมีความรู้ด้านภาษา  พื้นฐานของผู้อ่านและผู้ฟัง  ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ

                      เภสัชกรสังเคราะห์ยา หรือวิตามิน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารต่างๆ และต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือสำหรับสังเคราะห์ด้วย

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงสังเคราะห์มีดังนี้

๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน

                      ๒. หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์

                      ๓. ทำความเข้าใจส่วนต่างๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์ให้ถ่องแท้

                      ๔. ใช้หลักความรู้ในข้อที่ ๒ ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์

                      ๕. ทบทวนว่าผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับความมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด

๓.  วิธีคิดประเมินค่า

   การประเมินค่า  คือ  การใช้ดุลยพินิจพิจารณาแล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจเป็น วัตถุ ผลงาน การกระทำ หรือกิจกรรม    ก็ได้ ในการตัดสินคุณค่าอาจบ่งชี้ว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เป็นคุณหรือโทษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ คุ้มหรือไม่คุ้ม

           โดยทั่วไป ก่อนจะประเมินค่าจำเป็นต้องมีเกณฑ์มาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่เราประเมิน บางทีในการประเมินค่า เราอาจประเมินโดยการพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นตามความเหมาะสมก็ได้

ขั้นตอนของวิธีคิดประเมินค่า  มีดังนี้

๑. ทำความเข้าใจสิ่งที่เราจะประเมินให้ชัดเจน กล่าวคือวิเคราะห์สิ่งที่จะประเมิน นั่นเอง

                      ๒. พิจารณาว่าจะใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสินคุณค่าของสิ่งที่จะประเมิน

                      ๓. ถ้าจะประเมินค่าโดยไม่ใช้เกณฑ์ อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นซึ่งมีความสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันก็ได้

๔. วิธีคิดแก้ปัญหา

   ปัญหา คือ สภาพการณ์ที่ทำความยุ่งยากให้แก่มนุษย์  บุคคลที่รู้จักแก้ปัญหาย่อมเป็นผู้ที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้

หลักในการคิดแก้ปัญหา

๑. ประเภทของปัญหา จำแนกเป็น ๓ ประเภทกว้างๆ คือ

        ปัญหาเฉพาะบุคคล

        ปัญหาเฉพาะกลุ่ม

        ปัญหาสาธารณะ  หรือปัญหาสังคม

    ๒. สาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา สาเหตุของปัญหาอาจมีเพียงประการเดียวหรือหลายประการ  ก็ได้ นอกจากนี้ปัญหาทุกปัญหาจะเกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป หลักสำคัญในการแก้ปัญหาข้อหนึ่งคือ ต้องจับสาเหตุสำคัญให้ได้และรู้สภาพแวดล้อมของปัญหานั้นด้วย

    ๓. เป้าหมายในการแก้ปัญหา คือ กรปลอดพ้นอย่างถาวรจากสภาพที่ไม่พึงประสงค์

    ๔. การเลือกวิถีทางแก้ปัญหา

        วิถึทางแก้ปัญหา หมายถึง วิธีการใดๆ ก็ตามที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยปกติแล้วเราจะเลือกวิถีทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุดหรือไม่มีอุปสรรคเลย อยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติได้ ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมา และให้ความมั่นใจได้มากที่สุดว่าจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

สรุป

หลักการสำคัญในการคิดเพื่อแก้ปัญหามีดังนี้

    ๑. ทำความเข้าใจลักษณะของปัญหาและวางขอบเขตของปัญหา

    ๒. พิจารณาสาเหตุของปัญหา

    ๓. วางเป้าหมายในการแก้ปัญหา

    ๔. คิดวิถีทางต่างๆในการแก้ปัญหา

    ๕. เลือกวิถีทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

(เนื้อหาจาก http://thaigoodview.com/node/122550)

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัวอย่าง

วิเคราะห์ สังเคราะห์ คืออะไร

๒. วิธีคิดเชิงสังเคราะห์ คาว่า วิเคราะห์กับคา สังเคราะห์ มีความหมายที่แสดงถึง กระบวนการคนละทางกัน การวิเคราะห์มีความหมายว่า แยกออกพิจารณา โดยมีจุดหมาย ปลายทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ส่วนการสังเคราะห์มีความหมายไปทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมี จุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น สาหรับขั้นตอนวิธีคิดเชิงสังเคราะห์ จะต้อง ...

วิธีคิดคืออะไร

วิธีคิด (Mindset) คือ ความสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ ให้กับตัวเอง และ องค์กรไปสู่เป้าหมาย ! “คุณต้องการอะไรสูงสุดในชีวิตนี้ ที่เกิดมามีเพียง ชีวิตเดียว” ? ( You only live one ) ต้องการความมั่งคั่ง ร่ำรวย ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ คุณกำลังคิดว่า “เงิน” เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก

วิธีคิดเชิงวิเคราะห์คือข้อใด

การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก ในการที่บุคคลใดจะ ...

การสังเคราะห์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การคิดสังเคราะห์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ - การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามต้องการ - การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวคิดใหม่ ถ้าเราสามารถคิดสังเคราะห์ได้ดี จะทำให้พัฒนาความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม