การวิเคราะห์ผลงาน ทัศน ศิลป์ ม. 3

การวิเคราะห์ผลงาน ทัศน ศิลป์ ม. 3

การวิเคราะห์งานศิลปะ

ความหมายของการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์


Georgia O'Keeffe 's
Black Iris III - 1926 -

          การวิเคราะห์กับการวิจารณ์ มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเป็นส่วนหนึ่ง ของกันและกัน บางครั้งอาจเรียกรวมกันว่า การวิเคราะห์ วิจารณ์ ต่อไปนี้ เป็นความหมายของ การวิเคราะห์และ การวิจารณ์ทัศนศิลป์จากเอกสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- การวิเคราะห์ คือการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง หรือเป็นการ รายงานเกี่ยวกับความคิด ของคนใดคนหนึ่ง
- การวิจารณ์ คือ การกระทำของการแสดงออกที่ไม่เห็นด้วย เกี่ยวกับ บางสี่งบางอย่างหรือบางคน
- การวิเคราะห์ คือการสำรวจตรวจสอบอย่างจริงจัง และการตัดสินเกี่ยวกับ บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับความคิดของใครคนใดคนหนึ่ง
- การวิเคราะห์ศิลปะ คือการอรรถาอธิบาย การตีความ และการประเมินค่า เกี่ยวกับ ผลงานทางศิลปะ
- การวิเคราะห์วิจารณ์ศิลปะ คือกระบวนการเกี่ยวกับการตัดสินเชิงคุณภาพ ของ ผลงานและ การสร้างงานศิลปะ
- การวิจารณ์ศิลปะ ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ แต่ก็แตกต่างจาก สุนทรียศาสตร์ เพราะจุดมุ่งหมายของการวิจารณ์ก็เพื่อตัด สินงานศิลปะ ในขณะที่ สุนทรียศาสตร์ เน้นไปที่การประเมิน คุณค่าเกี่ยวกับงานศิลปะ แต่ข้อแตกต่างนี่ ก็ไม่ได่มีความขัดแย้งกัน ประการใด

          - การวิเคราะห์และการวิจารณ์ศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็น ต่อผลงาน ศิลปะอย่างมีหลักการ โดยการใช้ความรู้ องค์ประกอบ ศิลปะ เป็นฐาน เพื่อค้นหา ค่าทางสุนทรียภาพในผลงานศิลปะนั้น ๆ


Van Gogh Sunflowers, 1888

จุดประสงค์ของการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์
          การวิเคราห์ศิลปะ มีจุดประสงค์ไม่ได้มุ่งที่ความสุข และความพอใจของ ผู้วิจารณ์แต่เพียงผู้เดียว แต่เป็นการ แลกเปลี่ยน ความรู้สึก กับคนอื่น ที่ได้สัมผัสกับชิ้นเดียวกัน เป็นการ ค้นหาคุณค่า สิ่ิงที่เป็นความงาม และเป็นการอธิบาย หรือตัดสิน คุณค่า หรือระดับของ ผลงานนั้น ว่าดี หรือ มีข้อบกพร่องอย่างไร โดยอ้างอิงกับหลักวิชาการ ทางด้านศิลปะ ผนวกกับความรู้ ประสบการณ์ด้านศิลปะ ของผู้วิจารณ์ ซึ่งในแต่ละคน จะมีระดับ ไม่เท่ากัน และไมใช้หลักในการตัดสินว่าอะไรดีกว่า หรือดีที่สุด

วิธีการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์
          ก่อนการศึกษาวิเคราะห์ทัศนศิลป์ ควรศึกษาแนวคิด และทฤษฎีการแสดงออก ทางทัศนศิลป ที่ศิลปินนำมาสร้างงาน ศิลปะ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้ดังนี้ 

1. ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory)
          
เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริงตาม ที่ตาเห็น จากสิ่งที่มี ในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสองแบบรวมกัน โดยผู้ชม งานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่า เป็นภาพอะไรจาก ประสบการณ์ทางการเห็น

การวิเคราะห์ผลงาน ทัศน ศิลป์ ม. 3

Jean-Augus Dominique Ingres’s 
The Bather of Valpincon


Paul Cezanne's
Self Portrait


Matisse’s Nude

2. ทฤษฎีนิยมรูปทรง (Formalism Theory)

          เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ส่วนประกอบมูล ฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง มาใช้โดยตรง และอาจจะเป็นการลด ตัดทอน สิ่งที่เป็นจริง ในธรรมชาติ มาสร้างขึ้นใหม่ โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น พอจะสามารถ ระบุได้ว่าเป็นภาพอะไร


Pablo Picasso’s 
Glass and Bottle of Suze, 1912


Malevich, Kasimir. Suprematist Painting 
(ซ้าย) Composition,1919 (ขวา) Aeroplane Flying. 1915.

3. ทฤษฎีนิยมอารมณ์ (Emotionalism Theory)
          เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะโดยเน้นการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกและ อารมณ์เป็นสำคัญ ผลงาน ที่ปรากฎออกมาจะมีลักษณะ ที่ไม่สามารถ ระบุได้ว่า เหมือน หรือเป็นภาพอะไร เป็นลักษณะนามธรรม (Abstract)


Alexander Calder’s Redisdominant,1972


(ซ้าย) Arshile Gorky’s Soft Night,1947 
(ขวา) Composition ‘s Jackson Pollock

4. ทฤษฎีนิยมจินตนาการ (Immaginalism Theory)
          
เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ความคิดหรือ จินตนาการ บางทีเรียกผลงานชนิดนี้ว่า แบบอุดมคติ (Idealism) ส่วนใหญ่จะเป็น แนวประเพณี ของชาติใด ชาติหนึ้ง เช่น ศิลปะไทย ศิลปะจีน ญี่บุ่น เป็นต้น ซึ่งผู้วิจารณ์ศิลปะในแนวนี้จะต้องเข้าใจประเพณี วัฒนธรรมของชาตินั้น เป็นอย่างดีด้วย

ศิลปกรรมแบบอุดมคติหรือ จินตนาการ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ทัศนศิลป์

           ขั้นตอนการวิเคราะห์ แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การพรรณา (Description)
          การพรรณา เป็นขั้นตอนของการบรรยายโดยละเอียด เกี่ยวกับผลงาน ที่นำมาวิเคราะห์นั้น ตั้งแต่รายละเอียดอื่น ๆ ประกอบ เช่น ชื่อผลงาน ชื่อศิลปินผู้สร้าง ความเป็นมา และลักษณะเทคนิคของผลงาน จนกระทั่งถึง รายละเอียดของ ผลงานที่ปรากฎ ทั้งหมด ตามที่มองเห็นในทันทีทันใด เช่น เห็นเส้น ในลักษณะใด สีใด หรือรูปร่างแบบใด เป็นต้น โดยยังไม่แสดง ความคิดเห็น และใช้หลักการทางศิลปะใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบเสมือน การเล่าเรื่องให้ผู้ฟังให้มองเห็นภาพรวมของผลงาน ชิ้นนั้นก่อน

          ภาพ Christ of Saint John of the Cross โดย Salvador Dali ; 1951  ผลงานของศิลปินในลัทธิ เหนือจริง (Sur-Realism) เป็นจิตรกรรมที่เน้นมิติ ความตื้น ลึก ดัวยทัศนียภาพเชิง บรรยากาศ (Atmosphere Perspective) ทำให้ดูมีระยะใกล้ ไกล เหมือนกับ บรรยากาศ ตามจริงดังที่ตาเห็นที่สุด ที่น่าสนใจก็คือภาพคนที่ปรากฎ มีการใช้ทัศนียภาพที่เรียกว่าแบบย่นระยะ (Forshortening Perspective) ที่ให้ความรู้สึกเหมือนว่าผู้ชม กำลังเผชิญหน้าตรง ๆ กับร่างคนด้านศีรษะ แล้วมองผ่านลำตัว ไปสู่ค้านล่างคือส่วนเท้า ซึ่งขนานกับไม้กางเขน เป็นการสร้างมิติลวงตา อีกแบบหนึ่งประกอบกับการใช้น้ำหนักของสี ที่ตัดกันระหว่างพื้นหลัง (Background) กับพื้นหน้า (Foreground) ทำให้รูปคนกับ ไม้กางเขนลอยเด่นออกมา

2. การวิเคราะห์ (Analysis)
          
การวิเคราะห์ขั้นนี้ ผู้วิเคราะห์ จะเชื่อมโยงสัมพันธ์ สิ่งที่ได้สำรวจไว้ในขั้นแรก เป็นการค้นหาคุณค่า ความสมบูรณ์ ในการ ในงานศิลปะนั้น โดยอ้างอิง ทฤษฎีศิลปะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งข้อมูลไปยังขั้นตอนการตีความ และตัดสิน ต่อไป โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์ จากความสัมพันธ์ ของคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติด้านส่วนประกอบการรับรู้ (Elemental Proporties)
           หมายถึงการวิเคราะห์ความหมายของ คุณสมบัติ ส่วนประกอบ ขั้นมูลฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง สี พื้นผิว พื้นผิว เป็นต้น

คุณสมบัติด้านโครงสร้าง (Structural Proporties)
           หมายถึง คุณสมบัติจากหลักการและองค์ประกอบของศิลปะ เช่น ความสมดุล เอกภาพ การประสาน จุดเด่น เป็นต้น โดยผู้วิเคราะห์ จะต้องสามารถ ผูกโยงเข้ากับคุณสมบัติส่วนประกอบการรับรู้ หรือ ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ


Paul Klee's 
Unstable Equilibrium


ภาพ Starry Night โดย Vincent Van Gogh ; 1889 มีการใช้ส่วนประกอบมูลฐาน คือ เส้น รูปร่าง น้ำหนัก สี มาจัดโครงสร้าง เป็นองค์ประกอบ ที่มีความสมดุล แบบสองข้างไม่เท่ากัน และมีจังหวะความเคลื่อนไหว ที่ลื่นไหล สั่นพริ้ว ภายใต้บรรยากาศที่กลม กลืนมีคุณสมบัติด้านเทคนิควิธีการโดยใช้ รอยแปรงตวัดเป็นเส้นที่รุนแรง ทำให้เกิดพื้นผิวที่หยาบอันเป็นบุคลิคที่เด่นชัด ของศิลปินผู้นี้.


Torso in Space, by Alexander Archipenko,
1936

คุณสมบัติด้านเทคนิควิธีการ(Technical Proporties)

          หมายถึงคุณสมบัติด้านเทคนิควิธีการ ในการสร้าง งานศิลปะชิ้นนั้น เช่นรอยของการตวัดแปรง การพ่น การสลัด ในงานจิตรกรรม และเทคนิคการทำพื้นผิวหยาบ ละเอียด ในงานประติมากรรม เป็นต้น

คุณสมบัติด้านเนื้อหา (Content Proporties)

          หมายถึงคุณสมบัติด้านเนื้อหาหรือความบันดาลใจ ในการสร้างงานศิลปะนั้น เช่น การสะท้อนภาพสังคมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Daumier 's 3 rd. class carriage

คุณสมบัติด้านความรู้สึก (Expressional Proporties)

          หมายถึงคุณสมบัติด้านความรู้สึก สะเทือนใจ ที่มีต่อ งานศิลปะนั้น เช่น ความสดชื่นอิ่มเอิบ หรือความเศร้าสลด เป็นต้น


HenriMatisse,
Madame Matisse


คุณสมบัติด้านเนื้อหาและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ภายใน งานศิลปะที่จะต้องนำมา วิเคราะห์ร่วมกับคุณสมบัติด้านอื่น 
(Red and Blue Circus, by Marc Chagall,1973

3. การตีความ (Interpretation)

          เป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายในงานศิลปะนั้น โดยพิจารณา ความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ จากขั้นตอนการพรรณา และ การวิเคราะห์ เอามาตีความว่ามีความหมายอย่างไร ให้อารมณ์ สะเทือนใจอย่างไร ฯลฯ ผู้วิเคราะห์ อาจจะตั้งสมมุติฐาน หรือแสดง ความคิดเห็น ในความรู้สึก หรือ ความหมาย ของผลงานศิลปะชิ้นนั้นที่มีต่อตน ความหมายของศิลปะในที่นี้ หมายถึงความหมาย ที่มีต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยทั่ว ๆ ไป ในขั้นตอนนี้ผู้วิเคราะห์อาจหา ข้อสัณนิษฐานที่เกี่ยวกับ ความคิด หรือหลักการที่ สามารถช่วยยืนยันว่า ทำไมผลงาน ศิลปะนั้น มีผลต่อความคิดเห็นของตนเช่นนั้น

Edvard Munch's
The Scream, 1893..


Conceptual art หรือ Land Art โดย Christo and Jeanne Claude' s
Running Fence, 1972. 
Sculpture--Environmental or Site

4. การการประเมินหรือการตัดสิน (Evaluation or Judgment)

          เป็นขั้นตอนของการตัดสินงานศิลปะนั้น ดี หรือมีความ บกพร่องอย่างไร การประเมินหรือการตัดสิน เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ที่ต้องมีการพิจารณา ตรวจสอบ ถึงเจตนาและผลที่เกิดขึ้น ของงานศิลปะชิ้นนั้น อาจจะเปรียบเทียบ กับงานศิลปะชิ้นอื่น ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน การที่จะ ประเมิน หรือตัดสินผลงานศิลปะอย่างมีสุนทรียภาพนั้น จะต้องมีเหตุผลและ ใช้หลักเกณฑ์ อย่างยุติธรรมและมีคุณธรรม


Wassily Kandinsky's Komposition X

          ทฤษฏีศิลปะวิเคราะห์ (Critical Theory) ดังกล่าว มุ่งจะสร้างหลักการ วิเคราะห์ ตีความ และประเมินผลงานศิลปะ โดยเฉพาะทัศนศิลป์ จุดมุ่งหมายหลัก ของทฤษฎีนี้ก็คือ ให้เกิดความเข้าใจ (Understanding) และความชื่นชม (Delight) ในศิลปะ อธิบาย ความหมายของความเข้าใจ ก็คือ บุคคลที่ได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจต่องานศิลปะ จะสามารถอ่าน ข้อมูลต่าง ๆ ทางศิลปะออก และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นกุญแจ ที่จะไขไปสู่ การวิเคราะห์และการตัดสินงานศิลปะ ข้อมูลในที่นี้ก็คือ ข้อมูลด้านคุณภาพของ ผลงานศิลปะ มิใช่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดี ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับความเก่าแก่ หรือความมีค่า เชิงโบราณวัตถุ ของศิลปะชิ้นนั้น ส่วนความชื่นชมในศิลปะนั้น เมื่อบุคคลบังเกิด ความเข้าใจในศิลปะชิ้นนั้นแล้ว ย่อมจะบังเกิดความพึงพอใจ ชื่นชม ในผลงานศิลปะ ชิ้นนั้นด้วย 
          และจากขั้นตอนการวิเคราะห์ศิลปะ ตามแนวทฤษฎี ดังกล่าวมาแล้ว แนวทางนี้ เป็นเพียง แนวทางกว้าง ๆ เท่านั้น ซึ่งในบางกรณี อาจไม่สามารถ ทำครบทุกขั้นตอนก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานศิลปะ แต่ละชิ้นงาน แต่ที่สำคัญที่สุด ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ ทางศิลปะ ของผู้วิจารณ์ เป็นสำคัญ.

Turner 's Approach to Venice (1844)

ที่มา - http://watkadarin.com/E-(new)1/02studio2classrm/unit5/chapt5.2art%20crtic/art%20crtcal.htm