บันทึกของชาวต่างชาติ ตัวอย่าง

คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

บันทึกของชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในดินแดนประเทศไทยสมัยต่างๆ มีทั้งที่เป็น นักการทูต พ่อค้า ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม การดำรงชีวิต เป็นต้น ทำให้เราได้ทราบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้นกว่สเดิม บันทึกที่สำคัญของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา เช่น พงษาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับฟาน ฟลีต หรือวัน วลิต พ่อค้าชาวฮอลัดดา


คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

หนังสือที่ชาวต่างชาติบันทึกเกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแต่ในอดีตนั้น จัดเป็นสิ่งพิมพ์ที่หายากประเภทหนึ่ง เพราะเป็นหลักฐานสำคัญขั้นต้นที่ทำให้เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศสยามในอดีต โดยผ่านข้อเขียน ของชาวต่างชาติเหล่านั้น ประเทศสยามมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ มาช้านานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุ ธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าชาวโปรตุเกสเป็นฝรั่งพวกแรกที่เข้ามาในประเทศสยาม

คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

เมื่อศึกษาหนังสือประวัติศาสตร์ไทย มักจะพบว่ามีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทยอยู่หลายเรื่องที่ผู้ศึกษาต้องการรู้ในรายละเอียด แต่หาคำตอบได้ค่อนข้างยากว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีหลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย และไม่สมบูรณ์ครบถ้วนเหมือนกับบางชาติ เช่น ประเทศจีน ซึ่งมีหลักฐานและข้อมูลที่สมบูรณ์สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้มาก

การที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยมีน้อย อาจเป็นเพราะคนไทยไม่นิยมการจดบันทึกและหลักฐานที่มีอยู่ก็อาจถูกทำลายไปเพราะสงคราม หรือเกิดความเสียหายเพราะอากาศร้อนชื้น หรือขาดการเก็บรักษาที่ดีทำให้หลักฐานชำรุดสูญหายได้

อย่างไรก็ตาม แม้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีอยู่ไม่มาก แต่เราก็สามารถใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ มาช่วยในการทำการศึกษาค้นคว้าได้ เช่น หลักฐานของชาวต่างชาติที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้ รวมทั้งหลักฐานประเภทโบรณสถาน โบราณวัตถุ ภาพถ่าย หรือหลักฐานทางโบราณคดี เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประวัติศาสตร์ไทยมีความสำคัญและทรงคุณค่าแก่การศึกษาต่อไป

1.ลักษณะของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนวัสดุที่คงทน เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้น โดยสามารถแบ่งออกเป็นศิลา จารึก พระราชพงศาวดาร ตำนาน หนังสือราชการ เอกสารส่วนบุคคล บันทึกของชาวต่างชาติ จดหมายเหตุ เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวพอสังเขป ดังนี้

(1) จารึกหรือจาร มีอยู่หลายลักษณะ ที่สลักเป็นตัวอักษรลงบนแผ่นหรือแท่งหิน เรียกว่า ศิลาจารึกจารึกลงบนแผ่นทองคำเรียกว่า จารึกลานทองที่จารึกลงบนแผ่นเงินเรียกว่า จารึกลานเงินที่จารลงบนใบลานเรียกว่า หนังสือใบลานและยังมีการพบจารึกที่ฐานพระพุทธรูปอีกด้วย

จากจารึกที่มีอยู่หลายลักษณะนั้น จารึกบนแท่งหินหรือศิลาจารึกมีความคงทนมากที่สุด อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไป ศิลาจารึกย่อมมีการแตกหรือบิ่น ตัวอักษรชำรุดและลบเลือนไปตามกาลเวลา จึงทำให้ข้อมูลบางส่วนขาดหายไป แต่ถือว่าศิลาจารึกมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจากทำขึ้นในช่วงเวลานั้นโดยผู้เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับเรื่องนั้นโดยตรง

(2) พระราชพงศาวดาร เป็นการจดบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ โดยเขียนลงบนสมุดไทย หรือกระดาษของไทยที่ใช้กันในสมัยก่อน การเขียนพระราชพงศาวดารเริ่มขึ้นในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชพงศาวดารที่มีอยู่ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประดิษฐ์อักษรนิติ์ หรือเรียกกันสั้นๆว่า ฉบับหลวงประเสริฐฯซึ่งถือเป็นพระราชพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุดที่มีเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับบริติชมิวเซียม ซึ่งตั้งชื่อตามสถานที่พบ คือ บริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เพราะมีพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏอยู่ เนื่องจากทรงร่วมชำระด้วย เป็นต้น และอีกส่วนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น

(3) ตำนาน หมายถึง การเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของบุคคล โบราณสถาน โบราณวัตถุในอดีตที่สืบทอดต่อกันมา โดยการบอกเล่า จดจำ และมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในภายหลัง สำหรับเรื่องราวที่เล่ามีทั้งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น ตำนานมูลศาสนา สังคีติยวงศ์รัตนพิมพวงศ์ (ตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคนิทาน (ตำนานพระพุทธสิหิงค์) หรือเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานเมืองเงินยาง เชียงแสน ำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) หรือเกี่ยวกับนิทาน ความเชื่อ ซึ่งอาจมีเค้าความจริงทางประวัติศาสตร์อยู่บ้าง โดยอาจเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ วีรบุรุษ บ้านเมือง สถานที่ในแต่ละยุคสมัยเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เรื่องพระร่วง ท้าวแสนปม เป็นต้น

ตำนานจัดว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์น้อย เพราะไม่ทราบว่าใครแต่ง หรือแต่งขึ้นเมื่อใด และมีหลักฐานอ้างอิงอย่างไร รวมทั้งความไม่แน่นอนชัดเจนของตัวบุคคล เวลา และสถานที่ที่กล่าวถึง นอกจานี้ การเล่าต่อๆกันมาอาจมีการแต่งเติมในภายหลัง ซึ่งอาจทำให้เรื่องที่เล่าในแต่ละครั้งเปลี่ยนแปลงไปได้

(4) เอกสารส่วนบุคล เป็นบันทึกส่วนตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ ถือว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีประโยชน์มาก เอกสารส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และบันทึกของคณะราษฎรหลายท่านที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้น

(5) หนังสือราชการ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการด้านการจัดการปกครองที่ทางรัฐมีต่อส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หนังสือราชการมีอยู่หลายลักษณะ เช่น หมายรับสั่ง หนังสือสั่งราชการ รายงานการประชุมต่างๆ พระบรมราโชวาท เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ เพราะเป็นบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง

หนังสือราชการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นของสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้งสิ้น ส่วนหนังสือราชการที่มีมาแต่ครั้งโบราณได้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว โดยหนังสือราชการที่เป็นสมุดไทยที่ยังหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันจะเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ส่วนหนังสือราชการที่เป็นสมุดฝรั่ง โดยเฉพาะตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา เก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

(6) บันทึกของชาวต่างชาติ เป็นเอกสารของชาวต่างชาติที่เขียนหรือบันทึกเกี่ยวกับเมืองไทย อาจอยู่ในรูปของบันทึกประจำวัน การเล่าเรื่อง หรือจดหมายเหตุ ซึ่งนับว่ามีคุณค่ามากในทางประวัติศาสตร์ โดยบางเรื่องอาจให้ข้อมูลนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว หรือบางเรื่องอาจเป็นการเสริมข้อมูลที่ไทยมีอยู่ เช่น บันทึกของชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นบันทึกของจีน โปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น รายงานของพ่อค้า นักการทูต นักผจญภัย หมอสอนศาสนา ซึ่งให้ประโยชน์เป็นอย่างมากเกี่ยวกับอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น จดหมายเหตุลาลูแบร์ของซิมองค์ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เล่าเรื่องกรุงสยามของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น จัดว่าเป็นตัวอย่างหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่ถือว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และใช้ศึกษาค้นคว้านอกเหนือจากหลักฐานของไทยที่มีอยู่