ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

การบริหารและงานควบคุมการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป้นกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ สามารถรองรับการให้บริการซ่อมบำรุงอย่างเต็มรูปแบบเพียงพอสำหรับอากาศยานขนาดใหญ่ จำนวน 3 ลำพร้อมกัน กลุ่มอาคารประกอบด้วยอาคารหลัก จำนวน 9 อาคาร ประกอบด้วย โรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ, อาคารที่ทำการสำนักงาน, อาคารเก้บวัสดุ, อาคารโรงซ่อม และอาคารสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน และลานจอดรถ โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนตารางเมตร รายละเอียดของแต่ละอาคารมีดังนี้

1. อาคารโรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่ (Hangar) เป็นอาคารชั้นเดียว โครงหลังคาเหล็กช่วงยาว 270 เมตร

2. อาคาร Administration สูง 3 ชั้น ซึ่งรวมส่วนโรงอาหารหอประชุมไว้ด้วยกัน มีพื้นที่ก่อสร้างชั้นละประมาณ 9,000 ตารางเมตร รวม 3 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 27,000 ตารางเมตร

3. อาคาร Annex สูง 2 ชั้น อยู่ติดด้านหลังอาคาร Hangar ขนาดกว้าง 270 เมตร ลึก 27 เมตร มีพื้นที่ก่อสร้าง รวมั้ทง 2 ชั้น ประมาณ 14,500 ตารางเมตร

4. อาคาร Ground Support Shop สูง 2 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 114 เมตร ลึก 50 เมตร มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 5,000 เมตร

5. อาคาร Computerized Store & Store สูง 1 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 108 เมตร ลึก 81 เมตร มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 6,000 ตารางเมตร

6. อาคาร Workshop สูง 1 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 114 เมตร ลึก 48 เมตร มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 5,500 ตารางเมตร

7. อาคาร Chemical Storage, Dead File Oxygen Refill รวมอยู่ในอาคารเดียวกัน สูง 1 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 120 เมตร ลึก 20 เมตร

8. อาคาร Garage & Scrap สูง 1 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 70 เมตร ลึก 10 เมตร

9. อาคาร Warehouse สูง 1 ชั้น ขนาดอาคารกว้าง 40 เมตร ลึก 10 เมตร

ถามเรื่องช่างการบินไทยครับ

กระทู้คำถาม

มนุษย์เงินเดือน ทรัพยากรบุคคล

รบกวนพี่ๆหน่อยครับ
คือว่าผมกำลังเรียนวิศวะอยู่ครับ เเล้วทีนี้อยากจะทำงานในฝ่ายช่างการบินไทยครับ
1.หลายปีที่ผ่านมาทางการบินไทยเปิดรับมีรับวิศวะไหมครับ  ปีละประมาณกี่คนครับ  ค่าตอบเเทนประมาณเท่าไรครับ(รวมโอที)
2.สมมติว่าถ้าอยากทำงานเป็นช่างซ่อมเครื่องบิน  เค้าจะรับวุฒิวิศวะเข้าไปทำงานเป็น  "ช่าง"  ในสังกัดต่างๆไหมครับหรือว่ารับเเต่ ปวส.  
3.ที่ผ่านมามีคนจบวิศวะ  เเต่สมัครเป็นช่างซ่อมเครื่องบินไหม (ที่ไม่ใช่ตำแหน่งวิศวะนะครับ) เเละมีเยอะไหมครับเเต่ละปี

ขอบพระคุณครับ

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย
ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย
ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

0

0

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

สมาชิกหมายเลข 782452

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

17 ธ.ค. 2564 เวลา 9:50 น. 3.1k

การบินไทย ยกเครื่องฝ่ายช่าง รุกปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุน-เจรจาสัญญาซ่อมบำรุงเครื่องบินลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทร่วม 1 หมื่นล้านบาท เดินหน้าหารายได้เพิ่มทั้งการประกอบเครื่องยนต์อากาศยาน อัพเกรดศูนย์ซ่อมสนามบินสุวรรณภูมิ เพิ่มไลน์การซ่อม ขยายฐานลูกค้าสายการบินอื่น

ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย มีการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการซ่อมบำรุงอากาศยานให้กลับมาแข่งขันได้อีกครั้ง  ทำให้วันนี้ฝ่ายช่างจึงพลิกมาเป็นจุดแข็งของการบินไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ส่วนเรื่องการลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทได้แล้วร่วม 1 หมื่นล้านบาท ยังมองไปถึงการเพิ่มรายได้ที่จะเกิดขึ้นด้วย

นายเชิดพันธ์ โชติคุณ ประธานเจ้าหน้าที่สายช่าง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  ฝ่ายช่างมีการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนการซ่อมบำรุงอากาศยาน และปรับวิธีการบริหารจัดการใหม่ ทำให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและแข่งขันได้ โดยได้ดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ซึ่งช่วยบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้แล้วร่วม 1 หมื่นล้านบาทและต้องทำต่อเนื่อง ได้แก่

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

1.การเจรจาสัญญาบริการซ่อมเครื่องยนต์อากาศยานต่างๆ เพื่อลดค่าซ่อมบำรุง ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายให้การบินไทยได้กว่า 7 พันล้านบาท การเจรจากับทางโรลส์-รอยซ์ จากกรณีเครื่องยนต์เทรนท์ 900 และ เทรนท์ 1000 ขัดข้องเมื่อหลายปีก่อน ทำให้การบินไทยได้รับชดใช้ค่าเสียหาย 98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 พันล้านบาท) ในรูปแบบของใบลดหนี้ เพื่อนำมาลดค่าซ่อมบำรุงอีกที

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

2.บริหารจัดการสัญญาการใช้เครื่องบินให้มีการปฏิบัติการให้ต้นทุนอยู่ในระดับปฏิบัติการบินที่เหมาะสมที่สุดตามสัญญาที่กำหนดไว้ซึ่งสัดส่วนการซ่อมบำรุงในอดีตจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.7-1.9 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ตอนนี้ไม่เกิน 6 พันล้านบาทต่อปี

3.การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ซึ่งก่อนโควิดฝ่ายช่างมีพนักงาน 3,100 คน ตอนนี้เหลือ 1,700 คน ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

ขณะเดียวกันยังมีการปรับโครงสร้างหน่วยงาน, การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ การทำงานต้องข้ามสายงาน หนุนคนไปทำงานในจุดต่างๆ ปรับมายด์เซ็ทร่วมมือร่วมใจกันทำงาน เพื่อเพิ่มผลผลิต ภายใต้การทำงานให้เร็วขึ้น เพราะต้องดูแลเครื่องบินทั้งหมดในฝูงบินกว่า 100 ลำ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลให้เครื่องบินจำนวน 54 ลำที่การบินไทยยังคงไว้ให้บริการอยู่ 

ก่อนโควิดฝ่ายช่างมีรายได้จากซ่อมบำรุงอากาศยานให้ลูกค้าภายนอกอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสุวรรณภูมิ อยู่ที่ราว 1,200 ล้านบาท ศูนย์ซ่อมดอนเมืองและอู่ตะเภาอยู่ที่ราว 800 ล้านบาท

ช่างซ่อมเครื่องบิน การบินไทย

ดังนั้นเพื่อขยายการรองรับลูกค้าได้เพิ่มขึ้นการบินไทยก็มีแผนจะอัพเกรดศูนย์ซ่อมที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับบริการซ่อมบำรุงอากาศที่ไม่ใช่แค่การซ่อมในระดับลานจอด หรือ Line maintenance เท่านั้น แต่จะอัพเกรดให้สามารถให้บริการการซ่อมบำรุงได้เหมือนที่ดอนเมือง ส่วนการลงทุนศูนย์ซ่อมที่อู่ตะเภา ครม.ยังให้สิทธิ์การบินไทยในการเข้าไปลงทุนอยู่ การบินไทยจะต้องศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อให้คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูพิจารณา ซึ่งยังมีเวลาในการตัดสินใจ นายเชิดพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย