จบโลจิสติกส์ ทํางานอะไรได้บ้าง

เรียนโลจิสติกส์ จบมาทำงานอะไร ?    เพื่อนๆหลายคนคงสงสัยและมีความถามนี้เกิดขึ้นในสมอง ว่าเอ้...เรียนโลจิสติกส์จบมาทำงานอะไรได้บ้าง? เรียนโลจิสติกส์ทำงานอะไรดี? เรียนโลจิสติกส์ทำงานอันนี้ได้มั้ย? อันนู้นได้มั้ย? วันนี้เรามีคำตอบ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});    ·     ระดับปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ  ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง   ·     ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผน  วัตถุดิบ การผลิต  หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst,  Material Planner, Operations Analyst,  Procurement Manager, Supply Chain Analyst, Business Process Analyst, Operations Manager (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});     ·     ธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ    ·     รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง    กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});     ·     นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

Show

เรียนโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จบโลจิสติกส์ทํางานอะไร ?

เตรียมตัวทำงานโลจิสติกส์ฉบับคนทำงาน ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป!

  • ได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง วุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. หรือปริญญาตรี จบสาขาอาชีพโลจิสติกส์ หรือเรียกว่าสาขาสาขาการจัดการโลจิสติกส์ อาจจะจบสาขาอื่นๆ ก็สามารถทำงานได้ ขึ้นอยู่ความสามารถ และความขยัน อดทน รับผิดชอบเป็นอย่างดีมาก
  • มีความรู้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น Microsoft Office โดยเฉพาะ excel ทุกเวอร์ชัน เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะใช้ excel ต้องเรียนรู้ในสูตรต่างๆ เพราะจะใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ อาทิ ยอดคงเหลือ ยอดขาย ยอดการผลิต ยอดการสั่งซื้อ เป็นต้น และมีความสามารถในการอินเตอร์เน็ตได้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะมีการส่งเอกสารผ่านระบบอีเมล์ (e-mail) ในการส่งข้อมูล หรือการโต้ตอบกัน
  • มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษเบื้องต้น อาทิ ในการสนทนา โต้ตอบ เป็นต้น *บางบริษัทอาจจะใช้เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว!
  • มีสามารถขับรถได้ทั้งรถยนต์ หรือรถกะบะได้ เพราะอาจจะมีขนส่งสินค้าระหว่างบริษัท กับคลังสินค้า หรือส่งให้กับลูกค้า และรู้จักเส้นทางในสถานที่ต่างๆ หรือเส้นทางลัด
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานด้าน logistics และ supply chain *ศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการงานเพิ่มเติม
  • รู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้งาน ข้อปฏิบัติ ข้อห้ามในการใช้อุปกรณ์นั้นๆ
  • มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ถึงดีมาก และเป็นคนรอบคอบ ในกรณีทำงานพวกเอกสารที่มีตัวเลขที่เกี่ยวข้อง เพราะทำให้เกิดความเสียหาย และเสียเวลาที่ต้องมานั่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้ระบบของการทำงานเสียหายหมด อาทิ ใส่ยอดคงเหลือของสินค้าในคลังสินค้าไม่ตรงกับสินค้าที่เหลืออยู่จริง ทำให้อาจจะมีการวางแผนการผลิต หรือสั่งซื้อที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น
  • เวลาทำงานโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่จะทำงานวันจันทร์ – วันเสาร์ (เต็มวันหรือครึ่งวัน) หรือบ้างทีทำงานเป็นกะ หรือสลับวันทำงานและวันหยุดกัน น้อยมากที่จะทำงานแค่วันจันทร์ – วันศุกร์
  • รับความกดดันทั้งหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา และงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างสูง เพราะการทำงานสาย ต้องแข่งขันกับเวลา เพราะมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า หรือความเชื่อมั่นในการใช้บริการ
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีถึงมากที่สุดทั้งในกลุ่มของสายงานที่ปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีความจำเป็นอย่างมากที่สุด!
  • และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเจอโลกของการทำงาน ที่ไม่เหมือนกับตอนเรียนโลจิสติกส์ (logistics) ในตำราหนังสือแน่นอน!

ขอบเขตการทำงานตำแหน่งงานสายด้านโลจิสติกส์ ขอแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนแรกคือประจำ Office ผู้ชายหรือผู้หญิงสามารถทำได้หมด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงทำมากกว่าผู้ชาย เพราะทำงานหลักๆ จะเป็นเอกสารส่วนใหญ่ เช่น ทำรายงานสรุปยอดสินค้าคงเหลือ เป็นต้น ลักษณะงานจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง และมีความละเอียดค่อนข้างมาก เพราะเอกสารที่ทำออกมานั้น มีผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย
  • ส่วนที่สองคือ Warehouse หรือคลังสินค้า จะทำงานลักษณะลุยๆ ถึกๆ และพร้อมกับปัญหาต่างๆ ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นแต่ละวัน เช่น สินค้ามาไม่ครบตามจำนวน สินค้าชำรุดไม่พร้อมส่งสินค้า หรือสินค้าไม่มาที่นัดหมายไว้ เป็นต้น ส่วนใหญ่และหลายที่จะรับเฉพาะผู้ชายเท่านั้น! ยกเว้นบ้างทีที่อาจจะรับผู้หญิงเข้าทำงาน

ขอให้โชคดีได้งานโลจิสติกส์ที่คาดหวังไว้!

Related Posts

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทํางานอะไร

จบที่นี่ทำงานอะไร – ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ – ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก, ทางทะเล หรือทางอากาศ

ตําแหน่งงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

มัดรวม!.
นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ ... .
ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ... .
ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ... .
ฝ่ายจัดซื้อ ... .
ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ.

ประโยชน์ของการจัดการโลจิสติกส์คืออะไร

การจัดการโลจิสติกส์แบบเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้บริษัทได้ในระยะยาว และประโยชน์จากความคุ้มค่าในการขนส่งแต่ละครั้ง ตัวอย่างเช่น การขนส่งครั้งหนึ่งมีต้นทุน 100 บาทไม่ว่าจะส่งสินค้ากี่ชิ้นก็ตาม เพราะฉะนั้นถ้าเราจะให้การขนส่งครั้งนี้คุ้มที่สุดต้องมีสินค้าที่จะขนส่งหลายชิ้น

โลจิสติกส์ ต้องเก่งอะไร

ตอบ : สาขาวิชาด้านโลจิสติกส์ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องการขนส่งเท่านั้น จะเรียนในเรื่องกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจ