Active Digital Footprint คือ

เคยลองพิมพ์ชื่อของตัวเองแล้วพิมพ์ลงใน Google ไหม? เชื่อว่าหลายๆ คนเวลาเห็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองผ่านเว็บค้นหาต่างๆ ก็น่าจะตกใจกันพอสมสมควรว่า จริงๆ แล้ว Google รู้จักและมีข้อมูลของเรามากกว่าที่คิด

 

ไม่ใช่แค่ข้อมูลของเราที่ปรากฎใน Search Engine หากแต่ว่าทุกวันนี้เว็บไซต์หรือบริการต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้เก็บข้อมูล ‘พฤติกรรม’ ของพวกเราไว้แทบจะทุกวินาทีที่เรากดนิ้วเคาะลงคีย์บอร์ด หรือการคลิ๊ก กดไลก์สเตตัสของเพื่อนบางคน มันก็ถูกเก็บและนำไประบุตัวตนต่อไปในอนาคตได้เช่นกัน

หลายปีมานี้คอนเซ็ปต์ว่าด้วย ‘Digital Footprint’ ได้เริ่มรับการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในหมู่คนทำงานแวดวงสื่อสารมวลชน ตลอดจนคนที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ หลายๆ คนกำลังชวนให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจถึงเรื่องนี้และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ ‘ความเป็นส่วนตัว’ ของเราบนโลกอินเทอร์เน็ต

 

Digital Footprint คืออะไร?

ถ้าอธิบายกันแบบเข้าใจง่ายๆ มันก็แปลตรงตัวได้เลยคือ ‘รอยเท้าของเราบนโลกดิจิทัล’ หรือหากจะลงรายละเอียดกันอีกนิดได้ว่า Digital Footprint คือ ข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือผู้ท่องโลกออนไลน์อย่างๆ ได้ทิ้งข้อมูลเอาไว้บนโลกดิจิทัล ซึ่งสามารถถูกติดตามและถูกนำไปใช้ได้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ รวมถึงอินสตาแกรม ตลอดจนการใช้บริการเว็บไซต์

อธิบายให้ง่ายขึ้นอีกนิดก็คงจะได้ว่า มันคือพฤติกรรมต่างๆ ที่เราเคยทำไว้ในโลกดิจิทัลนั่นเอง และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นรอยเท้าหรือ Foot print มันก็แปลว่า สามารถถูกติดตามและค้นหาได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม

ตัวอย่างที่เราทิ้งเอาไว้ในโลกออนไลน์ ไม่ได้มีเพียงแค่สเตตัสบนเฟซบุ๊ก หรือข้อความในทวิตเตอร์ หากยังมีข้อมูลที่ลึกมากไปกว่านั้น ทั้งจำนวนการคลิ๊ก หรือการค้นหาสิ่งต่างๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต

 

เว็บไซต์ Techterms แบ่ง Digital Footprint เป็น 2 แบบ

1) Passive Digital Footprint : ข้อมูลที่เราทิ้งร่องรอยไว้แบบที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้รู้ตัว เช่น IP Address หรือ Search History ต่างๆ ที่เราถูกจัดเก็บเอาไว้

2) Active Digital Footprint : ข้อมูลที่เราตั้งใจเปิดเผยโดยที่รู้ตัว เช่น อีเมล์ต่างๆ หรือสิ่งที่เราตั้งใจโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย

ทั้งนี้ สเตตัสที่เราตั้ง ข้อความที่เราทวีต หรือรูปที่เราแชร์ลงอินสตาแกรม เหล่านี้ล้วนสร้าง Digital Footprint ได้อย่างชัดเจน ยิ่งมีเยอะมาก ร่องรอยก็เยอะตามไปด้วย

 

Active Digital Footprint คือ

 

เคยมีการทดลองชื่อว่า Footprints Project จัดทำโดย Stanford University  และ Princeton University เมื่อปี 2016 ที่นำข้อมูลการท่องเว็บไซต์ของกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ จนสามารถระบุตัวตนผู้ใช้งานได้ถูกต้องทั้งหมด 240 คนจาก 300 คน หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้วิธีการที่นักวิจัยทำ คือลักษณะที่ใกล้เคียงกับเครื่องมือต่างๆ ที่นักการตลาดออนไลน์หรือเอเจนซี่ด้านการตลาดมีในมืออยู่แล้ว

ตัวอย่างนี้สะท้อนได้ว่า ร่องรอยดิจิทัลของเราไม่ใช่แค่ไม่ได้หายไป หากยังถูกนำไปใช้ได้อยู่เกือบตลอดเวลาด้วยเหมือนกัน

 

ยิ่งทิ้งรอยเท้าไว้มาก ยิ่งระบุตัวตนได้ชัดเจน

ข้อสรุปหนึ่งที่เกิดขึ้นการศึกษาเรื่อง Digital Footprint ก็คือ ยิ่งเราทิ้งข้อมูลไว้เยอะมากแค่ไหน ตัวตนเราก็จะถูก (คนที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นไป) ระบุตัวตนเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ลองนึกถึงภาพนักการตลาดที่พยายามยิงโฆษณามาหาเราผ่านเฟซบุ๊ก นักการตลาดที่รู้ว่าตอนนี้เรากำลังอินกับเรื่องอะไร หรือกำลังสนใจประเด็นไหนเป็นพิเศษ ทั้งที่เราไม่เคยบอกกล่าวใครเลยว่าเราชอบสิ่งเหล่านั้น

เคยมีบทความที่เปรียบเทียบว่า ชีวิตในโลกออนไลน์ของพวกเราก็เหมือนกับการเดินเท้าเปล่าบนชายหาด ยิ่งเดินในระยะทางยาวเท่าไหร่ ร่องรอยที่จะเรียกตามตัวตนของเราก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

ในแง่ของสังคมและการเมืองแล้ว ที่ผ่านมาก็มีหลายๆ กรณีที่ร่องรอยในอดีตของแต่ละคน ที่เคยทิ้งไว้ในอดีต ก็ได้กลายเป็นประเด็นให้กับตัวเขาในยุคปัจจุบัน

ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ และกลายเป็นกระแสที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง ในระดับนานาชาติ คือกรณีของ James Gunn ผู้กำกับหนังเรื่อง Guardians of the Galaxy ที่ถูกดิสนีย์สั่งปลดเพราะมีการค้นพบว่า เขาเคยทวีตข้อความที่ไม่เหมาะสมในเรื่องทางเพศ

จากกรณีของ Gunn และหลายๆ คนในโลกอินเทอร์เน็ต น่าจะบอกกับพวกเราว่า สิ่งที่เราอาจจะต้องรู้ตัวอยู่เสมอ คือเมื่อข้อมูลเหล่านี้มันปรากฎบนโลกออนไลน์แล้ว มันก็ยากจะลบทิ้งให้หายไป และอดีตในโลกออนไลน์ มันอาจตามไล่ล่าเราได้มากกว่าที่คิด

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.  (2562). การพัฒนาพลเมือง MILD จุดเน้นตามช่วงวัย. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/ชุดความรู้สำหรับครู/ความรู้/การพัฒนาพลเมือง-midl-จุดเน้นตามช่วงวัย.

ความโกลาหลที่เกิดขึ้นจากประกาศรัฐบาลสั่งให้ครูอาจารย์และนักเรียนย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในโลกออนไลน์ นอกจากจะเป็นแรงกระตุ้นให้ครูอาจารย์ทั่วประเทศได้เรียนรู้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์มากมายในชั่วข้ามคืนและทำให้ฝ่ายสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายต้องทำงานหนักมาตลอดตั้งแต่เกิดวิกฤตแล้วนั้น ผลพลอยได้ของมันคือการสร้างรอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint) บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภาคการศึกษาในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในบ้านเรา

บทความเกี่ยวกับ Digital Footprint อื่นๆ

Digital Footprint แปลเป็นไทยตรงๆ เลยก็คือ "รอยเท้าดิจิทัล" (บางแห่งอาจจะเรียกว่า "ร่องรอยดิจิทัล") ซึ่งมันเป็นข้อมูลที่เราสร้างไว้บนอินเทอร์เน็ต มีอยู่สองประเภท คือ รอยเท้าที่เกิดขึ้นโดยเจตนา และ รอยเท้าที่ไม่ได้ตั้งใจฝากเอาไว้

  • Active Digital Footprint (รอยเท้าที่เกิดขึ้นโดยเจตนา) เช่น การใช้งานอีเมล, การเข้าไปพูดคุยในเว็บบอร์ด หรือการโพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย
  • Passive Digital Footprint (รอยเท้าที่ไม่ได้ตั้งใจฝากเอาไว้) หรือร่องรอยข้อมูลที่เราฝากเอาไว้ในที่ต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น หมายเลข IP Address ของเราที่อาจจะมาจากประวัติการค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิน, ข้อมูลระบุพิกัดภูมิศาสตร์ (Geolocation) รวมถึงสถิติการเข้าชม (Hits) เว็บไซต์

รอยเท้าที่เราเหยียบย่ำไปในโลกออนไลน์มีผลกับเราตั้งแต่สมัครงานเลยครับ ทางสมาคมการจัดการงานบุคคลฯ เคยรายงานว่าฝ่ายบุคคลเกินครึ่ง "ส่อง" ผู้สมัครจากสื่อโซเชียลอยู่แล้วเพราะเป็นด่านแรกที่จะเรียนรู้ถึงทัศนคติ วิธีคิด การดำเนินชีวิตของคน ๆ หนึ่งได้ง่ายและเร็วที่สุด

ด้วยลักษณะของข้อมูล รอยเท้าดิจิทัลที่สามารถบ่งบอกพฤติกรรมและรสนิยมของผู้ใช้ นี่เองทำให้มันกลายเป็นขุมทรัพย์ที่ว่ากันว่ามีค่ายิ่งกว่าน้ำมัน เมื่อนำข้อมูลที่รวบรวมจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโซเชียลมีเดีย, พันทิป และเว็บต่าง ๆ นานาที่สามารถเข้าถึงได้ เอามาพัฒนาเป็นโมเดลข้อมูลเชิงลึกเพื่อเป็นโปรไฟล์ลูกค้าหลายมิติ มันจะกลายขุมทรัพย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นช่องทางใหม่ให้แบรนด์ต่าง ๆ ได้เสิร์ฟโฆษณาไปถึงหน้าจอกลุ่มลูกค้าได้อย่างไม่จบไม่สิ้น สร้างกำไรมหาศาลให้เอเจนซีโฆษณา (และเจ้าของข้อมูลตัวจริงอย่างกูเกิลและเฟซบุ๊ก)

ในขณะที่รอยเท้าดิจิทัลสร้างปรากฏการณ์ให้กับภาคธุรกิจมากมาย ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนก็ชูธงเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ผู้ใช้งาน เช่น ครูอาจารย์, นักเรียน หรือผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมการใช้เรียนรู้และการประเมินผลได้ โดยความสามารถนี้เรียกกันว่าการวิเคราะห์การเรียนรู้ (Learning Analytics) 

ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ก็แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มสำนักพิมพ์ที่ขยายธุรกิจมาเพื่อสร้างสื่อดิจิทัล เช่น McGraw Hill, Cengage หรือ Wiley ทุกเจ้าที่ว่ามามี Content ของตัวเองและมีระบบการเรียนรู้พร้อมความสามารถในการวิเคราะห์การเรียนให้อยู่แล้ว อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้พัฒนาระบบการจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems หรือ LMS) เช่น Blackboard, Edmodo, Moodle, Google Classroom และผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Microsoft Teams ที่กำลังพลิกวิกฤตเป็นโอกาสก็ได้จับมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์, วิจัย และนวัตกรรมไปเรียบร้อยแล้ว

หน้าที่หลักของระบบ LMS คือช่วยบริหารข้อมูลต่าง ๆ ในชั้นเรียนออนไลน์ เช่น การประกาศข่าว, จัดเก็บไฟล์เอกสารการสอน, จัดทำแบบทดสอบ, สร้างกล่องรับการบ้าน และระบบ LMS ส่วนใหญ่ ก็มี Learning Analytics ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้เช่นกัน

ระบบ Learning Analytics ที่พ่วงมากับระบบการเรียนการสอนเหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียน ครูอาจารย์และนักบริหารการศึกษาตอบโจทย์การเรียนรู้ได้ในหลายระดับ ที่ใกล้ตัวที่สุดคือระดับนักเรียน เช่น ระบบ Connect ของ McGraw Hill มีอีบุ๊กพร้อมแบบฝึกหัดที่ช่วยผู้เรียนเข้าใจทบทวนเนื้อหาตามความถนัด เป็น AI ที่เรียนรู้การทำแบบทดสอบบทเรียนและคอยรายงานว่าเนื้อหาส่วนไหนที่ผู้เรียนยังอ่อนอยู่ และผู้สอนก็สามารถดูภาพรวมของเด็กในชั้นว่าเนื้อหาส่วนไหนที่ผู้เรียนยังไม่ค่อยเข้าใจเพื่อจะได้ช่วยเน้นย้ำให้ถูกจุด

สำหรับตัว LMS ทุกเจ้าก็โฆษณาความสามารถในการหา ข้อมูลเชิงลึก หรือ Insights ของผู้เรียนจะแตกต่างกันที่ความ “ลึก” ในการล้วงข้อมูลนั่นละครับ ที่เบสิกมาก ๆ คือการรายงานกิจกรรมการเรียนให้ผู้สอนทราบเป็น Active Digital Footprint เช่น นักเรียนส่งงานตรงเวลาหรือเปล่า คะแนนการทดสอบออนไลน์มีสถิติเป็นอย่างไร มีคนผ่านกี่คน ข้อมูลเหล่านี้เข้ามาช่วยลดภาระในการจัดการห้องเรียนได้พอสมควรเลย นั่นหมายถึงครูผู้สอนจะมีเวลาช่วยเหลือผู้เรียนมากขึ้นเช่นกัน 

ตัวอย่างข้อมูลการมีส่วนร่วมกับการสนทนาในวิชาจาก Microsoft Teams with Class Insights

Active Digital Footprint คือ

ภาพจาก : https://thebnp.org/2020/05/14/teams-use-insights-to-get-data-on-student-engagement/

ข้อมูลที่ลึกกว่าการรายงานกิจกรรมการเรียนรู้เป็นข้อมูลประเภท Passive Digital Footprint ซึ่งในระบบ LMS ยอมให้เข้าถึงได้ ทำให้เราทราบถึงหมายเลข IP Address ของผู้เรียน เรารู้พฤติกรรมผู้ใช้ทั้งครูและนักเรียนว่าเข้ามาใช้เวลาในระบบมากแค่ไหน ดูเนื้อหาส่วนใดบ้าง ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานแบบนี้ยังสามารถติดตามดูว่าเด็กคนไหนมีแววว่าจะเรียนไม่รอด (At Risk) ด้วยครับ 


ตัวอย่างรายงาน Insights report ของ Moodle 3.8

การเข้าถึงข้อมูลในระดับนี้เป็นประโยชน์ต่อนักบริหารการศึกษาด้วย โดยเฉพาะในบ้านเราที่ยังมีความกังวลถ้าย้ายห้องเรียนไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตแล้วเราจะตรวจสอบการทำงานของครูอาจารย์ได้อย่างไร รายงานเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารเห็นภาพรวมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบได้ ลดภาระในการทำงานลงเหลือเพียงตรวจสอบความผิดปกติ เช่น บางวิชาที่มีการใช้งานน้อยกว่าค่าเฉลี่ย หรือมีการเข้าใช้งานเนื้อหาไม่ครบทุกกิจกรรม เป็นต้น

ในภาคการศึกษานั้น การใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรยังถือว่าตามหลังภาคธุรกิจอยู่มากครับ ปัจจัยหนึ่งคือความพร้อมของบุคลากรเอง อย่างที่เราเห็นความวุ่นวายในการย้ายห้องเรียนมาสอนออนไลน์ในปัจจุบันและเสียงบ่นของผู้เรียน นโยบายเกี่ยวกับการใช้งานระบบการเรียนรู้ต่าง ๆ ก็ยังไม่มีออกมาอย่างชัดเจน ครูอาจารย์ในหลายหน่วยงานก็เลือกใช้ระบบที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบัน ไม่ได้ใช้บัญชีผู้ใช้ทางการของหน่วยงาน ทำให้ไม่สามารถตามเก็บรอยเท้าดิจิทัลได้

ในช่วงนี้สถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่ง ก็ล้มลุกคลุกฝุ่นกัน แต่วันที่ฝุ่นจางและมหาวิทยาลัยไหนตั้งตัวได้ วางแผนเก็บข้อมูลรอยเท้าดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ก็จะสามารถดึงข้อมูลทะเบียน, ข้อมูลนักศึกษา และการใช้งานในระบบการเรียนรู้เข้ามาไว้เป็นคลังข้อมูล (Data Warehouse หรือ Data Mart) มันจะกลายเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่ายิ่งกว่าน้ำมันแน่ 

เดิมทีข้อมูลของสถาบันการศึกษานั้นพอจะใช้คาดคะเนความสำเร็จของผู้เรียนได้ตั้งแต่แรกเข้า เช่น การถามผลการเรียนในระดับมัธยมและภูมิหลังของนักเรียน (จบโรงเรียนรัฐ, เอกชน หรืออินเตอร์) ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับไหน (จบประถม, มัธยม หรืออุดมศึกษา) แต่เมื่อเด็กได้เริ่มต้นเรียนกับเราแล้ว เราสามารถนำบันทึกรอยเท้าดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก เด็กที่มีภูมิหลังไม่แข็งแรงนักอาจจะต้องคอยติดตามดูกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าปกติ แต่งตั้งที่ปรึกษาแบบพิเศษเพื่อติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนแบบใกล้ชิดโดยการให้เข้าถึงข้อมูล Insights Report ในวิชาต่าง ๆ อาจมีการให้ทำกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น

Digital footprint มีอะไรบ้าง

Digital Footprint คือ ข้อมูลการใช้งานทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตที่คุณได้เคยทิ้งไว้ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น การโพสต์สิ่งต่าง ๆ การซื้อสินค้าออนไลน์ การใช้งานแอปพลิเคชัน รวมทั้งประวัติในการค้นหาต่าง ๆ จำนวนการคลิก และเวลาที่คุณใช้บนเว็บไซต์ ข้อมูลรายละเอียดและทุกพฤติกรรมการใช้งาน ...

Digital footprint มีข้อดีอะไรบ้าง

รอยเท้าดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเป็นพื้นที่เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นใคร มีความคิดความชอบ แนวทางในการใช้ชีวิตแบบไหน นายจ้างอาจใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ หรือถ้าเจอคนถูกใจก็เป็นพื้นที่ “ส่อง” ก่อนทำความรู้จักกันได้

Digital Footprints ส่งผลกระทบต่อชีวิตของนักเรียนอย่างไรบ้าง

แล้ว Digtital Footprint ส่งผลต่อเรายังไง แต่ข้อเสียมันก็เยอะทีเดียว เพราะมีผลการศึกษาพบว่าหลายครั้งรอยเท้านี้มันชัดเจนจนสามารถระบุตัวตนเราได้เลย ซึ่งมันอาจนำไปสู่การใช้ข้อมูลในทางไม่ชอบ หรือใกล้ตัวมากๆเช่นเราเคยโพสต์อะไรไว้ มันอาจกลับมาทำร้ายเราในภายหลัง หรือมันอาจจะถูกนำข้อมูลไปเปิดเผยจนเราได้รับความเสียหายได้