พรบ กําหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

  • ล็อกอิน ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

  • - ควรมีความยาวอย่างน้อย 8 - 16
  • - ตัวอักษร (a-z, A-Z) และ ตัวเลข (0-9)
  • - เครื่องหมายหรืออักขระพิเศษ (!@#$%^&*()_+|~-=\`{}[]:";'<>?,./)
  • aaa
  • บันทึกข้อมูล ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

  • ยืนยันข้อมูล ยกเลิก
  • หมายเหตุ : ระบบจะทำการจัดส่งข้อมูลไปยังอีเมล์ของท่าน

  • ใช่... ฉันต้องการออกจากระบบ ยกเลิก


  • ส่งแบบสอบถาม ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

ผู้ส่งข้อความวันที่ส่งข้อความข้อความaction

ภาพประกอบจาก https://www.sbsgroup.com.sg/blog/register-cleaning-company-in-singapore-to-rejoice-entrepreneurship/

ความผิดเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท ในทางอาญา
โดยทั่วไปการศึกษาเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท มักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องทางแพ่งตามวิชาที่ศึกษามา แต่ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้นได้กำหนดโทษทางอาญาไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วน บริษัท ฯ
โปรดดูฉบับเต็มได้ที่

http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A139/%A139-20-9998-update.htm

โดยมาตราที่สำคัญที่น่าสนใจคือ มาตรา 42  ที่บัญญัติว่า  
        “   บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้

(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ

(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่างของการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวได้แก่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16263/2556
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2539 มาตรา 42 กำหนดผู้รับผิดไว้คือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานซึ่งหมายความรวมถึงบุคคลผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในกิจการงานที่ตนต้องรับผิดชอบ มิได้หมายถึงเฉพาะเพียงแต่ผู้แทนของนิติบุคคล ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายยานยนต์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการบำรุงรักษาซ่อมแซมรถยนต์ จัดเตรียมสัญญาซื้อขาย จัดทำสัญญาเช่าพร้อมเอกสารประกอบ รวมทั้งทำหลักฐานการตรวจสภาพและการรับมอบรถ งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงเป็นงานส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้เสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว
การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันอาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ หากลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาแตกต่างกัน ต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน การที่จำเลยที่ 2 ลงแบบฟอร์มกับบันทึกข้อมูลรถยนต์ใหม่ลงในแฟ้มข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และการทำสัญญาเช่า เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน


            ผู้ถือหุ้นที่ถูกกรรมการเปลี่ยนแปลงสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยพลการเล่นงานกรรมการกลับ ด้วยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯ มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญาฐานยักยอกทรัพย์ มาตรา 352 ซึ่งเป็นคดีอาญามีโทษจำคุก

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20038/2556

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 ซึ่งในเบื้องต้น เห็นว่า บทกฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ
(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เห็นได้ว่า ลักษณะการกระทำอันเป็นความผิดดังกล่าวได้แก่ การกระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำการตามที่บัญญัติไว้ใน (1) หรือ (2) ที่เป็นการกระทำต่อบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อันจะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นถูกทำลาย สูญหาย ขาดไป หรือมีข้อมูลไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ทั้งนี้โดยผู้กระทำได้กระทำการดังกล่าวโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นนั้นขาดประโยชน์อันควรได้ด้วย แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวนั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำการทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอนหรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันตามมาตรา 42 (1) และในส่วนการกระทำหรือยินยอมให้กระทำตามมาตรา 42 (2) ที่ตามกฎหมายบทมาตรานี้ต้องกระทำต่อบัญชีหรือเอกสารโดยการลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารดังกล่าวโดยเจตนาเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ที่จะเป็นเหตุให้ต้องขาดประโยชน์นั้น โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้แสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขาดประโยชน์อันควรได้จากหุ้นเท่านั้น ทั้งที่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติว่า การแสดงเอกสารอันเป็นเท็จเช่นนี้เป็นความผิดแต่อย่างใด โดยโจทก์กลับไม่บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ที่ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้มีการลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นดังกล่าว โดยจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ดังนี้ แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จตามฟ้อง การกระทำเช่นนั้นก็ไม่เป็นความผิดที่จะลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 แต่อย่างใด ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองอีกต่อไป เพราะถึงวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ โจทก์ฟ้องกรรมการที่ทำการเปลี่ยนแปลงสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) โดยเอาชื่อโจทก์ออกและเอาชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนโจทก์ ทั้งที่โจทก์ไม่ได้โอนขายหุ้นให้บุคคลอื่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯ มาตรา 42 แต่ปรากฏว่าศาลยกฟ้อง ด้วยเหตุว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชัด ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดดังกล่าว

ที่มา. https://www.facebook.com/Fpmbusinessadvisor/posts/673992549438311/


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2540
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมไม่จัดให้มีหลักประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสารหรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(1)

สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน และสมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของธนาคารโจทก์ร่วม เป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วมมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขาซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบ จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วยการที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัลและไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)