ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง

เกณฑ์ในการประเมินผลงานดนตรี หมายถึง หลักที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินผลงานการแสดงทางดนตรีว่ามีคุณภาพ หรือคุณค่าอย่างไร
การประเมินผลงานดนตรีมีเกณฑ์ ดังนี้
1. คุณภาพของผลงานทางดนตรี พิจารณาจากองค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง ดังนี้
1.พิจารณาทางด้านเสียง เครื่องดนตรีที่ใช้ต้องเหมาะสมกับเสียงขับร้อง คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงเป็นไปตามอารมณ์เพลง
2.พิจารณาทางด้านจังหวะ จังหวะเพลงแบบใดมีความสอดคล้องกับทำนองเพลงหรือไม่ เครื่องดนตรีเล่นได้ตามจังหวะหรือไม่
3.พิจารณาทางด้านทำนองเพลง เพลงที่ฟังมีเครื่องดนตรีดำเนินทำนองอะไรบ้าง สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจจังหวะของทำนองเพลงหรือไม่
4.พิจารณาทางด้านการประสานเสียง เสียงประสานเสียงมีความสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งการประสานเสียงของเครื่องดนตรีกับการประสานเสียง
5.พิจารณาทางด้านรูปแบบ รูปแบบของเพลงมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันหรือไม่
6.พิจารณาลักษณะการนำเสนอ ผู้ขับร้องสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สัมพันธ์กับเสียงดนตรี ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจดนตรีมากขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็นการบรรเลงดนตรี พิจารณาเทคนิคการนำเสนอ
7.พิจารณาอารมณ์ในการร้อง การถ่ายทอดเพลงผ่านสีหน้า ท่าทางสัมพันธ์กับความหมายของเพลงหรือไม่

2.คุณค่าของผลงานทางดนตรี ดนตรีมีคุณค่าต่อสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้
1.คุณค่าของผลงานดนตรีต่อสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสภาพของคนในสังคม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจและอารมณ์ของคนในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และงานประเพณีต่างๆ ให้มีความสนุกสนานรื่นเริง
– ดนตรีทำให้เกิดความสามัคคีในสังคม
2.คุณค่าของผลงานดนตรีต่อวัฒนธรรม
– ดนตรีเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มีความสำคัญต่อชาติและคนในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นๆ
– ดนตรีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของชาติ กล่าวคือ ดนตรีสามารถบ่งบอกถึงพิธีกรรมทางศาสนา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มคนของท้องถิ่นนั้นๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

การบรรเลงเครื่องดนตรี

ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง

     เครื่องดนตรีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบการบรรเลง หรือขับร้องบทเพลงต่าง ๆ ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น การเล่นหรือการบรรเลงเครื่องดนตรีสามารถบรรเลงได้ 2 รูปแบบ คือ การบรรเลงเดี่ยวและการบรรเลงหมู่ ซึ่งต้องอาศัยหลักการบรรเลงดนตรีและองค์ประกอบทางดนตรี ดังนี้
     1.  หลักการบรรเลงดนตรี การบรรเลงดนตรีให้มีความไพเราะนั้นควรใช้หลักการโดยทั่วไป ดังนี้
          1.  เล่นให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองของเพลง
          2.  ปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีให้มีความกลมกลืนสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเป็นวง
          3.  ปฏิบัติตามสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายทางดนตรีได้ถูกต้อง
          4.  ใช้หรือเล่นเครื่องดนตรีให้ถูกวิธีตามลักษณะเครื่องดนตรีชนิดนั้น
     2.  องค์ประกอบทางดนตรี ในการบรรเลงเครื่องดนตรี ผู้เล่นจะต้องรับรู้และเข้าใจองค์ประกอบทางด้านดนตรีด้วย เพื่อสามารถนำไปใช้ในการบรรเลงดนตรีได้ถูกต้อง ซึ่งองค์ประกอบทางดนตรี มีดังนี้
           จังหวะ คือ อัตราความช้า-เร็วของบทเพลง ซึ่งมีสัญลักษณ์กำหนดไว้ในโน้ตเพลง
            ทำนอง คือ แนวระดับเสียงของเพลงซึ่งมีทั้งเสียงสูง-ต่ำ นำมาเรียบเรียงให้อยู่ในแนวระดับที่ต้องการ
            การประสานเสียง คือ การขับร้องและบรรเลงดนตรีพร้อม ๆ กัน หรือการขับร้องเป็นหมู่คณะโดยเสียงที่ได้จะต้องสอดคล้องกลมกลืนกัน
            รูปแบบของบทเพลง คือ โครงสร้างของเพลงซึ่งจะกำหนดวรรคตอนเนื้อเพลง การซ้ำและการเปลี่ยนทำนองเพลง เป็นต้น

การใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรี
     เครื่องดนตรีแต่ละชนิดถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการบรรเลงให้มีความแตกต่างกัน โดยมีวิธีเล่นตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีชนิดนั้น ซึ่งผู้เล่นควรเล่นให้ถูกต้องตามวิธีเล่น นอกจากนี้ ผู้เล่นจะต้องรู้จักวิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรีที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อรักษาและสามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
     1.  การใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ
          เครื่องดนตรีประเภทนี้ ใช้บรรเลงประกอบจังหวะ ซึ่งมีวิธีการเล่นหลายวิธี ดังนี้
          1.  การตีกระทบกันเอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยวิธีนี้ มีหลายวิธี เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
          2.  การใช้ไม้นวมตี เครื่องดนตรีที่ใช้วิธีการบรรเลงนี้ ส่วนมากเป็นเครื่องดนตรี เช่น โหม่ง ฆ้อง เป็นต้น
          3.  การตีด้วยมือ การบรรเลงดนตรีด้วยวิธีการนี้ ใช้กับเครื่องดนตรีประเภทขึงด้วยหนัง เช่น กลองยาว โทน รำมาะนา เป็นต้น
          4.  การใช้ไม้เฉพาะตี ไม้ตีเฉพาะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรเลงเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น กลองชุด กลองแตร็ก เป็นต้น
     2.  การเก็บและดูแลรักษาเครื่องดนตรี
          1.  หลังจากใช้งานแล้ว ควรทำความสะอาดเครื่องดนตรีด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ล้างทำความสะอาด ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ด เป็นต้น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามลักษณะของเครื่องดนตรี
          2.  เครื่องดนตรีที่มีกล่องใส่เฉพาะ ควรเก็บใส่กล่องก่อนนำไปเก็บ
          3.  การเก็บเครื่องดนตรีไว้ในตู้ ควรเก็บเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไว้ด้านล่าง
          4.  การเก็บเครื่องดนตรี ควรแยกประเภทเก็บ เพื่อสะดวกในการค้นหาและนำมาใช้ในครั้งต่อไป

ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง
ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง
ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง
ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง

ความถูกต้องในการบรรเลงและขับร้อง
 


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.