การ เข้าถึง ความงามของดนตรีไทย

             การรับรู้สิ่งต่าง ๆของมนุษย์ทำได้ด้วยการใช้ประสาทการรับรู้ในด้านต่าง ๆ ความไพเราะของดนตรีก็เช่นกัน เรารับรู้ความไพเราะได้โดยการใช้ประสาทการรับรู้ด้านการได้ยินหรือที่เรียกว่า โสตประสาท เมื่อประสาทส่วนนี้ได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ แล้ว จะส่งต่อไปยังสมองและจิตใจต่อไป ทำให้เราเกิดความรู้สึกหรืออารมณ์คล้อยตามสิ่งนั้นดนตรีก็เช่นกันเมื่อโสตประสาทการได้ยินได้รับรู้เสียงต่าง ๆ แล้วก็จะส่งต่อไปยังสมองและจิตใจ เพื่อแยกแยะและเปรียบเทียบกับประสาท ที่เคยได้รับรู้มา ก็จะตัดสินได้ว่าดนตรีที่ฟังนั้นมีความไพเราะหรือไม่

ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดออกมาเป็ยนทำนองและอารมณ์ของเพลงที่ดำเนินไปตามจินตนาการของนักประพันธ์เพลง ดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์ในการปรุงแต่งชีวิตให้มีความสุข เป็นสื่อเสริมแต่งให้กิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษย์ให้มีตความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ดนตรีไทยเป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของคนไทย  มีคุณค่าและความงามที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย  ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิถีชีวิตไทย  มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบัน  ขณะเดียวกันก็ีบทบาทในการช่วยสะท้อนค่านิยมและความเชื่อของผู้คนในสังคมไว้ในงานดนตรีอีกด้วย



คุณค่าและความงามของดนตรีไทย

          มนุษย์ได้สร้างสรรค์ดนตรีขึ้นจากภูมิปัญญาและจินตนาการ  เพื่อนำมาปรุงแต่งความสมบูรณ์ในจิตใจ  ซึ่งมีผลต่อร่างกาย อารมณ์ และสังคม  ดังนั้น ดนตรีจึงมีคุณค่าและความงามทั้งในระดับบุคคล กลุ่มชน รวมไปถึงระดับประเทศ 

         ดนตรีไทยเป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ คุณค่า และความงามของดนตรีไทยสามารถพิจารณาได้จากบทเพลงที่นักประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้น มีท่วงทำนองตามโครงสร้างของระบบเสียงเนื้อร้องที่ร้อยเรียงกันอย่างสละสลวย  มีนักดนตรีทำหน้าที่ถ่ายทอดบทเพลง  โดยใช้ระบบวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลาย มีวิธีขับร้องที่กลมกลืนกัน  และมีเครื่องดนตรีซึ่งมีรูปแบบเฉพาะสวยงามได้สัดส่วน 

      คุณค่าและความงามที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย

     คุณค่าและความสวยงามของดนตรีไทยปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย ดังนี้

              1) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับพระราชพิธี ดนตรีที่เกี่ยวกับพระราชพิธี เช่น วงปี่พาทย์ ใช้บรรเลงในงานที่พระมหากษัตริย์เสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวงกลองแขก ใช้บรรเลงในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่นเดียวกับการแห่เรือที่มีศิลปินเห่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วงขับไม้ใช้บรรเลงในพระราชพิธีขึ้นพระอู่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา การประโคมวงปี่พาทย์นางหงส์ในงานพระเมรุ เป็นต้น

                2) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่เป็นมูลฐานให้เกิดประเพณีต่างๆ  ของไทยมาตั้งแต่อดีต คือศาสนาพราหมณ์และพระพุธศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่มีบทบาทในงานพระราชพิธี สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุธศาสนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคลนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

                 3) คุณค่าและความงามของดนตรีไทที่เกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไป กิจกรรมทั่วไป เช่น งานมงคลสมรส งานฉลองความสำเร็จของบุคคล เป็นต้น หรือเมื่อมีการจัดเลี้ยงต่างๆ นิยมจัดให้มีวงดนตรีไทยมาบรรเลง เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย เป็นต้น สำหรับงานมงงคลสมรสที่มีการแห่ขันหมาก นิยมใช้วงกลองยาวและวงแตรวงบรรเลงนำ


     คุณค่าและตามงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย

        คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย จำแนกได้ 2 ด้าน คือ

                   1) ด้านรูปธรรม เครื่องดนตรีไทยมีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า เครื่องดนตรีเหล่านี้ครูดนตรีในอดีตได้ใช้หลักการในการเลือกเครื่องดนตรีให้มีความสอดคล้องกันเพื่อประสมเป็นวงดนตรี

                    2) ด้านนามธรรม รสของเพลงที่เป็นผลมาจากทำนองเพลงไทย ที่เกิดจการบรรเลง จนก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกว่าเพลงนั้นมีความเสนาะ ไพเราะ สนุกสนาน เพลิดเพลินอารมณ์ โศกเศร้า


       การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทย

     การเข้าถึงสุนทรียรสในดนตรีไทย ย่อมทำให้พบคุณค่าและความงามของดนตรีไทย สิ่งนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกผูกพัน  การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทยสามารถทำได้ดังนี้

                     1) การศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวและเนื้อหาสาระต่างๆ ของดนตรีไทย 

                     2) การฟังเพลงไทยด้วยความตั้งใจ




ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้

    

                           


                                    ดนตรีไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรมมที่มีความหมายและความสำคัญของคนไทย หลักการของดนตรีไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับดนตรีของทุกชาติในโลกคือ เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของนักดนตรี  ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม  ตั้งแต่ในระดับส่วนบุคคล ระดับสังคมขนาดย่อยที่สุดไปจนใหญ่ที่สุด  คือ ในระดับโลก



         1) ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ 

   การพัฒนามนุษย์มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการพัฒนาทางกายภาพ ในวงการแพทย์ได้แนะนำให้มนุษย์รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ เพื่อนำไปสู่สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าของชีวิต



2) ดนตรีไทยกับการผ่อนคลาย

    เพลงไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ 3 ประการ คือ เพลงเพื่อพิธีกรรม เพลงเพื่อประกอบการแสดงและเพลงที่ใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป เพลงไทยจึงมีแนวเพลงที่ดำเนินไปอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ


          3) ดนตรีกับการบำบัดรักษา

    การเจ็บป่วยของมนุษย์ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ อาการเจ็บป่วยทางกาย และอาการเจ็บป่วยทางใจ สำหรับในส่วนของดนตรี  สามารถนำมาบำบัดผู่ป่วยที่เรียกว่า "ดนตรีบำบัด " ซึ่งใช้บำบัดทั้งทางกายและจิตใจ 



         4) ดนตรีกับการศึกษา

     ในหลายสังคมและวัฒนธรรมถือว่าดนตรีเป็นวิชาของชนชั้นสูงและนักปราชญ์ราชบัณฑิตดนตรีบางประเภทได้รับการพัฒนาไปตามภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางดนตรี เช่น ดนตรีจีน ดนตรีกรีก ดนตรีอินเดีย เป็นต้น


                   

การ เข้าถึง ความงามของดนตรีไทย
        
การ เข้าถึง ความงามของดนตรีไทย


          5) ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

      การโฆษณา หมายถึง การป่าวประกาศ การบอกกล่าว การเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ เช่น การโฆษณาสินค้า เป็นต้น ส่วนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้รับรู้และเข้าใจถูกต้องตรงกัน การใช้ดนตรีในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของไทยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า  " ตีฆ้องร้องป่าว "


                                           

การ เข้าถึง ความงามของดนตรีไทย
                      
การ เข้าถึง ความงามของดนตรีไทย

     

          6) ดนตรีกับธุรกิจ

การประกอบอาชีพดนตรีในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่ที่ศิลปินผู้สร้างผลงานการประพันธ์เพลงแต่ยังรวมไปถึงการเป็นนักดนตรี นักร้อง วาทยกรที่ทำหน้าที่อำนวยการให้จังหวะวงดนตรี ผู้เรียบเรียงเพลงหรือผู้รับจ้างบรรเลงดนตรีในรูปของคณะดนตรี ดังที่ปรากฏในงานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลองต่างๆ



อ้างอิง  https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-1-khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-dntri-thiy/dntri-thiy-kab-kar-prayukt-chi