ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ pantip

ก่อนรู้ว่าท้องมีใครปวดท้องหน่วงๆบ้างคะ

กระทู้คำถาม

สังคมคุณแม่ ตั้งครรภ์

วันนี้คือวันที่ 11 หลังไข่ตกค่ะ วันนี้มีอาการปวดท้องหน่วงๆเหมือนปวดตอนประจำเดือนจะมา

(มีปวดหน่วงๆไปช่วงวันที่ 7-8 หลังไข่ตกไปแล้ว และก็หายไปจนวันนี้)

แต่สงสัยว่า ปกติ เราจะปวดก่อนมีประจำเดือนแค่วันเดียว เป็นแบบนี้ตลอด แต่คราวนี้ปวดก่อนหลายวัน

มีใครก่อนรู้ว่าท้องมีอาการแบบนี้บ้างคะ

อุณเราค่ะ พรุ่งนี้เช้าว่าจะลองตรวจตั้งครรภ์ดู (เราเป็นคนอุณต่ำ เคยวัดสูงสุด ได้ 36.4 )

ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ pantip

0

0

ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ pantip

สุขอยู่ที่เรา

มีใครท้องอ่อนแบบนี้ ละชอบปวดท้องน้อยไหมคะ ปวดแบบมีเมนส์ คือไม่ได้ปวดหนักขนาดกินยา แต่ปวดเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะตื่นนอนจะถ่วงๆเมื่อยตัวด้วย ไม่มีเลือดสีแดงออกนะคะ แต่กากยาเหน็บที่หลุดออกมาบางทีก็สีคล้ำๆน้ำตาลๆค่ะ

เราก็เลยหยิบที่เทสปัสสาวะมาเทส ก็ยังขึ้น2ขีดชัด ชัดกว่าวันแรกๆที่ไปตรวจเลือด หมอนัดอีกทีวันพุธนี้ค่ะ การที่2ขีดยังชัดมันเกี่ยวไหมว่า น้องยังโอเคอยู่อะค่ะ กังวลจัง

ขอบคุณมากค่ะ

0

ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ pantip

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

สอบถามอาการตั้งครรภ์อ่อนๆค่ะ

ตอนตั้งครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์กว่าๆ เกือบ 5 สัปดาห์ ปวดแบบหน่วงๆเหมือนมีประจำเดือนค่ะ เลยไปฝากครรภ์ คุณหมอซาวน์หน้าท้อง
บอกว่าไม่เห็นตัวเด็ก ตกใจมากเลย แต่คุณหมอบอกว่า อายุครรภ์ยังน้อย อย่ากังวล รอครบ 8 สัปดาห์แล้วมาหาหมอใหม่
ส่วนเรื่องอาการปวดอ่ะ อย่าเครียด ถ้ามีเลือดออกเมื่อไร หรือน้ำหนักลด ค่อยรีบมาหาคุณหมอ

หลังจากนั้นก็ปวดซ้าย ปวดขวา และท้องน้อย บีบๆ เป็นๆหายๆค่ะ แต่ประมาณคืนก่อนหลับอยู่ ปวดแบบจี๊ดๆๆ จนรู้สึกตัวว่าปวดมาก ปวดแปบนึงไม่นาน รีบตื่นเข้าห้องน้ำเลยค่ะ นึกว่าเลือดไหล แต่โชคดีค่ะไม่มีเลือด เลยไปหลับต่อ เช้ามา อาการปวดต่างๆหายค่ะ ตอนนี้ไม่ปวดมาแล้วเกือบสองวัน ถามว่าอาการแบบนี้ปกติดีรึเปล่าค่ะ กังวลมากเลยค่ะ ท้องแรกด้วยค่ะ


ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

ทำไมช่วง ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย บ่อยจนกลายเป็นเรื่องกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่ ในช่วงแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน คุณแม่บางท่านอาจเพิ่งทราบว่า ตั้งท้อง ซึ่งจะมีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยคล้ายคนมีประจำเดือน ไม่ต้องตกใจค่ะ นั่นคือสัญญาณว่า ตัวอ่อนกำลังฝังตัวเองเข้าไปในผนังมดลูกเพื่อรอการเจริญเติบโตแล้ว

ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย บ่อยมาก ควรทำอย่างไร
โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดท้องน้อย จะเกิดกับผู้หญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เช่น 1-3 เดือน ช่วงไตรมาสแรกนั่นเอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่จะปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นกับพฤติกรรมของคุณแม่ค่ะ บางคนยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จึงใช้ชีวิตประจำวันหนักๆ แบบที่เคยทำ เช่น เดินเร็ว ออกกำลังกายหนัก ชอบวิ่ง หรือเคลื่อนไหวเร็วๆ อย่างขึ้นลงบันได ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ปวดท้องมากขึ้น ไม่ว่าจะปวดบริเวณซ้ายหรือขวา คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จึงเป็นกังวล หลังจากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้ว จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรามาดูกันว่า หากปวดบ่อยๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง

 - ก่อนอื่นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรหยุดกิจกรรมหนักๆ ทุกอย่าง หากยังปวดท้องน้อยอยู่ ให้นั่งพัก หรือนอนสบายๆ จนรู้สึกร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น
 - หากปวดท้องน้อยตอนกลางคืน แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอนจากที่เคยนอนหงาย มานอนตะแคง โดยหาหมอนข้าง ก่ายหมอนไว้ หรือเปลี่ยนจากที่เคยนอนตะแคง มานอนหงาย สบายๆ ดูค่ะ
 - เวลาที่คุณแม่นั่งทำงาน หาหมอนขนาดเหมาะๆ สักใบหนุนหลังเอาไหว หรือเวลานั่งพักบนโซฟา ก็ให้เอาหมอนหนุนหลังล่างเอาไว้ค่ะ
 - ก่อนนอน แนะนำให้คุณแม่แช่น้ำอุ่น ใส่น้ำมันหอมระเหยที่ชอบ จะช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความเหนื่อยล้าทางร่างกาย
 - แม้จะห้ามเดินไว ออกกำลังกายหนักๆ แต่คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบาๆ ได้ และควรทำเป็นประจำ เพราะวิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยของแม่ท้องอ่อนๆ ได้ เช่น ลองการเดินเบา เล่นโยคะ ซึ่งอย่างหลังจะช่วยเรื่องการกำหนดลมหายใจด้วยค่ะ
 - เวลานั่งว่างๆ ลองเอามือกดหน้าท้องเบาๆ คล้ายๆ การนวด และลูบให้รู้สึกอุ่นท้องคอยสังเกตอาการว่า ปวดมากแค่ไหน หากปวดติดต่อกันเป็นสัปดาห์จนทนไม่ไหว พร้อมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเสี่ยงภาวะแท้งคุกคาม แนะนำให้คุณแม่ไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ pantip

อาการปวดท้องน้อย เสี่ยงต่อภาวะใดบ้าง

ช่วงเวลาท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย ดูเหมือนเป็นโรคปกติ แต่จริงๆ แล้ว คุณแม่อาจกำลังเสี่ยงอยู่กับโรคแทรกซ้อน หรือสัญญาณของภาวะอื่นๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นได้ เช่น

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกาย
ทั้งนี้คุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย อาจมีสาเหตุมาจากเกิดติดเชื้อในกระเพาะอาหารโดยไม่รู้ตัว มาจากอาหารการกินหรือบาดแผลในลำไส้ ซึ่งในบางกรณี เป็นอาการปวดจากโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือหากมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ร่วมด้วย ก็อาจมาจากสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ใช่แพ้ท้องแล้วค่ะ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน

2. เสี่ยงต่อภาวะตั้งท้องนอกมดลูก
เป็นภาวะที่ไม่อยากให้เกิดกับคุณแม่ท่านใดเลยค่ะ การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้น ทำร้ายจิตใจคุณแม่หลายท่านมานักต่อนัก มีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของตัวอ่อน ที่เข้าไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก หรือบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งการไปฝังตัวตรงนั้น ทารกหรือตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญเติบโตแล้วฝ่อไปในที่สุด นอกจากจะสูญเสียทารกไปแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อแม่ท้องอีกด้วย

3. ปวดท้องน้อย บ่อยๆ อาจเกิดภาวะแท้งคุกคาม
การแท้งบุตรอีกหนึ่งประเภทที่น่าเศร้าคือ ภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ในช่วงไตรมาสแรก ยิ่งท้องอ่อน ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงแท้งคุกคามสูงในช่วง 3 เดือนแรก นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีสิทธิ์แท้งคุกคามถึง 15 % คือ คนที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นเสี่ยงแท้งคุกคามถึง 30% เรียกว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ นอกจากอาการปวดท้องน้อยแล้ว ยังสามารถเกิดภาวะรกลอกตัวบนผนังมดลูกอีกด้วย

สาเหตุรกลอกตัวบนผนังมดลูกเกิดจาก  

- ทารกน้อยมีการพัฒนาร่างกายอย่างผิดปกติ หมายถึงอวัยวะไม่สมบูรณ์นั่นเอง
 - คุณแม่ตั้งครรภ์มีเนื้องอกในมดลูก
 - ผู้หญิงที่มีพังผืดในมดลูกหนา บริเวณโพรงและปากมดลูกขณะตั้งครรภ์
 - ผู้หญิงที่เคยผ่านการแท้งบ่อยๆ จนต้องทำการขูดมดลูกมาก่อน จนมดลูกบาง
 - คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เป็นโรคหัดเยอรมัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสต่างๆ
 - คุณแม่เคยใช้ยาเสพติดประเภทรุนแรงมาก่อน เช่น โคเคน
 - คุณแม่ที่ติดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรเลิกเสียก่อนตั้งครรภ์
 - ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรงดการดื่มคาเฟอีน พยายามลดจนไม่ดื่มเลย
 - คุณแม่สูบบุหรี่หรือรับสารนิโคตินจากคนรอบข้าง
 - คุณแม่ที่มีความกังวลสูง มีภาวะของโรคซึมเศร้า และเครียดจนเกินไป

นอกจากนี้ภาวะแท้งลูก ไม่ว่าจะท้องนอกมดลูก หรือ แท้งคุกคามสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อยๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงกับสภาพ -ใหม่ ดังนั้น ควรระวังเรื่องความกระทบกระเทือนต่างๆ ไม่ว่าจะการเดิน การขึ้นลงบันได อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุแท้งลูกได้ อีกทั้งเรื่องฮอร์โมนเพศก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ เพราะหากขาดแล้วจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบอบบาง อ่อนแอ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวและเจริญเติบโตได้

https://th.theasianparent.com/abdominal-pain-during-pregnancy