ใบ กำกับ ภาษี ขาย ที่ ถูก ต้อง

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • Blog

  • กฏหมาย/ภาษี

  • องค์ประกอบของใบกำกับภาษีขายแบบเต็มรูปแบบ

ธุรกิจที่ต้องออกเอกสารใบกำกับภาษี ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารอย่างถูกต้องเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของสรรพกร โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบนั้นจะต้องมีรายการต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสาร ดังต่อไปนี้

ใบ กำกับ ภาษี ขาย ที่ ถูก ต้อง

(ตัวอย่างเอกสารใบกำกับภาษีขายมาตรฐานจากโปรแกรม myCRM)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ต้องปรากฏอย่างชัดเจน

2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขาย และสำนักงานของผู้ขาย (ถ้ามี)

4. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ และสำนักงานของผู้ซื้อ (ถ้ามี)

5. เลขที่ เล่มที่(ถ้ามี) ของใบกำกับ

6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

7. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และราคาของสินค้าหรือบริการ

8. จำนวนภาษีมูลคาเพิ่มโดยให้แยกออกจากราคาสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง

  • 15May 19
  • 1

การออกใบกำกับภาษีต้องมีสาระสำคัญอย่างไร จึงจะถือว่าถูกต้อง


ใบ กำกับ ภาษี ขาย ที่ ถูก ต้อง

Tags : SmartbizAccounting Tax สรรพากร

การขายสินค้าหรือการให้บริการ หลักฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นใบรับที่แสดงการรับชำระเงินหากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องมีใบกำกับภาษีมาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากใบเสร็จรับเงิน ลักษณะของใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีจะต้องมีสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะถือว่าถูกต้อง สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้ใบกำกับภาษีกับใบเสร็จรับเงินในฉบับเดียวกันก็ได้

ทั้งนี้ นิยามคำว่า “ใบรับ” ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า

(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ

(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว

บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ

สาระสำคัญและกฎหมายของใบกำกับภาษีและใบรับ สรุปได้ดังนี้

รายการสาระสำคัญกฎหมายอ้างอิง ตามประมวลรัษฎากร
ใบรับ

(ตัวอย่างใบรับ)

1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ

2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ

3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ

5. จำนวนเงินที่รับ

6. ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป

มาตรา 105 ทวิ
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/4
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจด ทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว

6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/6
ใบเพิ่มหนี้

(ตัวอย่างใบเพิ่มหนี้)

1. คำว่า “ใบเพิ่มหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ และในกรณีตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/9
ใบลดหนี้ 1. คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ฟรี โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

Credit : www.rd.go.th