การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ปัจจัยของร้านขายของชำ

  • ที่ตั้ง
    เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ ประเภทนี้ เพราะควรตั้งอยู่ในแหล่งที่ผู้คน พลุกพล่าน และไม่ควรมีคู่แข่งในบริเวณใกล้ เคียงกันมากเกินไป

  • สภาพร้าน
    ควรจัดแต่งหน้าร้านให้ดูสะอาด ไฟสว่าง เห็นสินค้าได้ชัด จัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบ และให้ลูกค้าหาของได้ง่าย

  • สินค้า
    เราควรสำรวจความต้องการของลูกค้า ว่าต้องการสินค้าประเภทใด ยี่ห้อใด และ ทดลองซื้อสินค้าเข้าร้านมาในปริมาณน้อยๆ ก่อน สินค้าใดขายดีก็จึงเพิ่มปริมาณการซื้อ เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย สำหรับผู้ที่เปิดร้าน มานานก็ต้องหมั่นติดตามว่าแนวโน้มความ ต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปหรือไม่ นอกจากนี้ เราอาจจะนำสินค้าที่ร้านคู่แข่งไม่มีมาขาย ในร้านของเราก็ได้เช่น อาหารสด, เครื่องแกง หรือขนมหวาน (แต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของ การเน่าเสียได้ง่ายด้วยเช่นกัน)

  • แหล่งซื้อสินค้า
    ควรหาแหล่งซื้อสินค้าที่ต้นทุนต่ำ เช่น ห้างขายส่ง (แม็คโคร) หรือผู้กระจายสินค้า คนกลาง

  • เงินลงทุนเริ่มแรก
    ธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง โดยเฉพาะค่าซื้อสินค้าทั้งหมดเข้าร้านในช่วง เริ่มเปิดกิจการ เพราะมักจะต้องซื้อเป็นเงินสด

  • ระบบการบริหารจัดการร้าน
    การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะ ช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อได้ ควรมีระบบคลังสินค้าและระบบบัญชีที่เหมาะ- สมกับขนาดธุรกิจ ระบบคลังสินค้าที่ดีจะช่วย ให้เรารู้ว่าเราจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และในปริมาณเท่าใด ส่วนระบบบัญชีที่ดีจะ ช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้กำไรหรือขาดทุนเท่าใด ทั้งนี้เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้ รับนิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส (Easy POS) เอ็กซ์เพรส พีโอเอส(Express POS) เป็นต้น

  • ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
    เสน่ห์อย่างหนึ่งของร้านขายของชำ คือ เจ้าของร้านขายของชำจะรู้จักลูกค้าประจำ มากกว่า ในขณะที่พนักงานของร้านสะดวก ซื้อมักไม่สนใจลูกค้า ดังนั้นเราจึงควรหมั่น พูดคุยผูกมิตรกับลูกค้าเพื่อสร้างความสนิทสนม เป็นสร้างฐานลูกค้าประจำในระยะยาวด้วย

เมื่อจะเริ่มเปิดร้าน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

สำหรับร้านขายของชำที่มีการจำหน่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องขออนุญาต ต่อกรมสรรพสามิตเพื่อจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ด้วย

เตรียมเปิดร้านโชว์ห่วยกันอย่างไร

ในขั้นตอนการเตรียมเปิดร้านขายของชำ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษี ดังต่อ- ไปนี้

การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ เปิดร้านขายของชำ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็นผู้ประ- กอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐาน ในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
    > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประ-กอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

  • ภาษีศุลกากร หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
    > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น
    > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ ละประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย

    การจ้างลูกจ้าง
    ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

    การจัดหาสถานที่ตั้ง
    สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

เมื่อเริ่มเปิดร้่านขายของชำ

เมื่อเริ่มเปิดร้านขายของชำและเริ่มมี รายได้แล้ว ก็ต้องมีการเสียภาษีเกิดขึ้น ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น แบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบรายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*

• ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า