นักธรณีวิทยา เป็นนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์

drilling engineer, drilling engineering, geologist, petroleum geologist, นักธรณี, นักธรณีปิโตรเลียม, วิศวกรรมหลุมเจาะ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Geologist vs Drilling Engineer คู่รักอภิมหาอมตะนิรันดร์กาล – คิดอะไรไม่ออก ชวนคุยเรื่องคลาสิคของวงการเราดีกว่า

ออกตัวก่อนว่า ผมคุยให้ฟังจากมุมมองของวิศวกรหลุมเจาะที่พยายายามเข้าใจเพื่อนร่วมอาชีพ(อันเป็นที่รัก) และ พยายามจะให้ความไม่ยุติธรรม เอ๊ย ยุติธรรมอย่างที่สุด 555 🙂

Geologist vs Drilling Engineer

คู่รักอภิมหาอมตะนิรันดร์กาล

นักธรณีปิโตรเลียม (Petroleum Geologist)

โดยศาสตร์ของวิชาชีพนั้น ธรณีวิทยาได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

Please leave this field empty

Name (ชื่อเล่นก็ได้ครับ) *

Email (อีเมล์) *

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

Check your inbox or spam folder to confirm your subscription.

ในความเข้าใจของผมธรณีวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยจิตนาการของมนุษย์เป็นส่วนผสมค่อนข้างสูงในการศึกษาหาข้อสรุป

เพราะเป็นการมองลึกเข้าไปในอดีตที่มองไม่เห็นทั้งในเชิงเวลา และ เชิงความลึกของชั้นหิน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เห็นในปัจจุบัน

จะเห็นว่าธรณีวิทยาแอบมีความเป็นอาชญวิทยา นิติวิทยา (Forensic Science) และ นักสืบ เจือๆปนอยู่พอสมควร

กล่าวคือ ใช้หลักฐานที่เห็นในปัจจุบัน + สมมติฐานจากจินตนาการ ประสบการณ์ + วิทยาศาสตร์ แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต

อาจจะต่างกับนักสืบนิดเดียวตรง “เส้นระยะเวลา” นักสืบ หรือ นิติวิทยากร สืบย้อนกันในหลักไม่กี่สิบปี แต่นักธรณีวิทยาสืบย้อน และ สรุปเรื่องราวในหลักหลายสิบถึงหลายร้อยล้านปีที่ผ่านมาแล้ว

อาจจะกล่าวได้ว่า ธรณีวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาหนึ่ง

ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างจากวิทยาศาสตร์ดั่งเดิมอย่าง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ที่สังเกตุ ตั้งสมมุติฐาน และ ทดสอบสมมติฐานจากสิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วนำไปสู่บทสรุปที่เป็นทฤษฎีที่ใช้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต

แต่ธรณีวิทยา จะเน้นไปที่การอธิบายปัจจุบัน(ที่มองไม่เห็นใต้ธรณี) อันเนื่องมาจากอดีต ด้วยหลักฐานที่เห็นได้วัดได้ในปัจจุบัน

ด้วยเหตุทั้งหมดที่ผมร่ายยาวมา ทำให้เกิดสิ่งที่ผมเห็นได้เป็นประจำเวลามีนักธรณีปิโตรเลียมเก่งๆหลายคนศึกษาข้อมูลเดียวกัน แต่ได้ข้อสรุปที่ต่างกัน (บางทีก็ต่างกันแบบฟ้ากับเหว)

ซึ่งทำให้ขัดใจนักนิยมวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์คำตอบเดียวแบบผมเป็นยิ่ง 555 🙂

แต่นั้นแหละ เพื่อนๆนักธรณีมักจะอธิบายปรากฏการณ์ข้อสรุปที่แตกต่างจากข้อมูลชุดเดียวกันว่าเป็นความงดงามทางวิชาการ

ซึ่งผมก็ยอมรับว่าจริงในระดับหนึ่งในทุกๆศาสตร์ แต่ก็ไม่ควรจะเยอะ และ บ่อยมาก โดยเฉพาะถ้าเรากำลังคุยกันในบริบทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำมาใช้งานจริง

(ไม่นับพวก วิทยาศาสตร์ทฤษฎีที่มีความเห็นแย้งกันเยอะมาก แต่ไม่ได้เอามาใช้งานจริง คือ เถียงกันบนกระดาษนั่นแหละ แต่ถ้าเมื่อไรต้องเอามาใช้งานจริง ไม่ควรจะมีบทสรุปที่แตกต่างกันถ้าใช้ข้อมูลฐานเดียวกัน)

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอย่างที่เกริ่นในตอนต้น ธรณีศาสตร์นอกจากจะอาศัยการสังเกตุแบบวิทยาศาสตร์ทั่วไปแล้วยังอาศัยจินตนาการเป็นส่วนผสมค่อนข้างเยอะ

ไอสไตน์สนับสนุนนักธรณีนะครับ เพราะตะแกบอกว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ 555 🙂

ที่ผมต้องอธิบายละเอียดตรงนี้ก็เพราะธรรมชาติของศาสตร์มีส่วนอย่างมากในการอธิบายลักษณะของทัศนคติ แนวคิด ของคนที่ทำงานโดยใช้ศาสตร์นั้นๆ

ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ นักธรณีจะมองโลกในแง่ดี ชอบมีข้อมูลเยอะๆ และ โอบกอดความไม่แน่นอนของบทสรุปแล้วหลับได้อย่างฝันดี

เพราะเมื่อบทสรุปได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ใช่อย่างที่เคยสรุปไว้ ก็สามารถยกเหตุผล และ ความไม่แน่นอนของสมมุติฐานที่เก็บไว้ในลิ้นชักออกมาอธิบายได้

ซึ่งผมมองว่าไม่ได้เป้นข้อเสีย หรือ ผิดอะไร ก็อย่างที่บอกครับ ศาสตร์มันเป็นอย่างนั้นผู้ที่ศึกษามาทำงานก็ต้องมีลักษณะนั้นๆ (เหมือนคนจบโรงเรียนทหารก็จะมี “ลักษณะท่าทาง พฤติกรรม และ ความคิด” แบบทหารๆ)

เป้าหมายของนักธรณีปิโตรเลียมก็คือหาแหล่งกักเก็บที่มีศักยภาพที่จะมีปิโตรเลียมให้ได้เยอะที่สุด

วิศวกรหลุมเจาะ

ผมแบ่งงานวิศวกรทุกสาขาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ออกแบบ ลงมือสร้าง ซ่อมแซม และ รื้อถอน

วิศวกรหลุมเจาะ ก็คือวิศวกรก่อสร้างประเภทหนึ่งที่ทำทั้ง 4 กลุ่มงาน

โดยเราจะรับโจทย์มาว่าจะสร้างอะไร เพื่ออะไร เช่น สร้างบ้านเอื้ออาทรให้รากหญ้าที่โดนบังคับให้มาอยู่ หรือ สร้างบ้านเดี่ยว 30 ล้านให้เศรษฐีมาเลือกซื้อ(หรือไม่ซื้อ)

คนที่ให้โจทย์วิศวกรหลุมเจาะมาก็คือนักธรณี ขุดตรงไหน ขุดไปถึงไหน ต้องผ่านตรงไหน ห้ามผ่านตรงไหน ลึกไปเท่าไร ขุดไปทำไม ฯลฯ

เป้าหลักที่บอกว่าวิศวกรหลุมเจาะประสบความสำเร็จ คือ …

  • ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย ชื่อเสียงทรัพย์สินบริษัทฯเจ้านายไม่เสียหายไหม้เป็นจุล สิ่งแวดล้อม และ สังคมของพื้นที่ๆที่เราขุดไม่เสียหาย ไม่เดือดร้อน
  • ตอบโจทย์ที่นักธรณีให้มา และ
  • ใช้เงิน และ เวลา ตามเป้าที่กำหนดไว้

เพราะวิศวกรรม คือ วิศวกรรม เราอยู่ในโลกความเป็นจริงที่จับต้องได้ เช่น ซื้อของมาใช้ก่อสร้าง 100 บาท เอาไปใช้ 80 บาท ทิ้ง 20 บาท แปลว่า ประสิทธิ์ภาพเชิงการใช้เงินให้คุ้มคือ 80%

เหมือนกับวิศวกรที่สร้างถนนเข้าไปในป่าที่ยังไม่ได้สำรวจ หรือ ส่งจรวดไปในอวกาศที่ยังไม่มีใครไปถึง กล่าวคือ ทุก 1 เมตร ที่เราขุดลึกลงไป มาพร้อมค่าใช้จ่าย และ ความเสี่ยง

There Ain’t No Such Thing as a Free Lunch

TANSTAAFL

นักธรณีวิทยา เป็นนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ

ถึงเราจะแปลกๆจากกันแต่เราก็รักกันดี๊ดี

เหมือนกับหลายๆวงการอาชีพการงานที่คนหนึ่งตั้งโจทย์ให้อีกคนหนึ่งทำ โดยที่คนตั้งโจทย์กับคนทำมีเป้าหมายที่บ่งชี้ความสำเร็จไม่เหมือนกัน

“ลึกอีกนิดนะพี่นก ขออีกหน่อยนะพี่นก เอาตรงนี้นะ ห้ามหลุดขอบนี้นะค่ะ พี่นกกกกก”

ประโยคแบบนี้วิศวกรหลุมเจาะเราจะได้ยินออดอ้อนมาจากสาวๆ(และหนุ่มๆ)น้องๆนักธรณีเป็นประจำ

ถ้าอยู่ในงบเวลา งบเงิน และ งบความเสี่ยง พี่นกก็จัดให้อยู่แล้ว ทนเสียงออดอ้อนได้ไม่นานหรอกวิศวกรใจอ่อนอย่างผม

เรื่องเงินเรื่องเวลายังพอคุยกันได้ แต่ถ้าปริ่มๆจะเสี่ยง ก็ต้องมาคุยกันล่ะ

เรื่องความเสี่ยงนี้เรายอมกันไม่ได้ ถึงขั้นหมดอนาคต ติดคุกติดตารางกันง่ายๆ (ดูอย่างตึกถล่มที่โคราชนั่นเป็นไง วิศวกรยังติดคุกเลย)

เพื่อให้การทำงานมีความราบรื่นมีสามัคคีธรรม

ขุดไปตามงบตามเวลาไม่เสี่ยง ได้หลุมมา แต่ไม่เจออะไร ผลิตได้มาจิ๊ดเดียวเท่าเยี่ยวแมว ขุดไปทำไม

กับ

ขุดต่ออีก 2 เมตร เสียไป 3 ล้าน ผลิตได้เพิ่มเท่าฉี่หนู หรือ ไม่เจอแมวอะไร จะเอาอีก 2 เมตรไปทำพรือ

เรามักจะได้ยินอะไรทำนองๆ 2 ประโยคข้างบนนี้เสมอเวลานักธรณี และ วิศวกรหลุมเจาะมานั่งคุยกัน (ไม่ต่างกับเวลานักการตลาดคุย กับ ทีมโรงงานผลิต หรือ นักบัญชี 555)

นักธรณี(เหมือนกักการตลาด) มีความหวังในอนาคตอยู่เสมอ แต่ วิศวกรหลุมเจาะจ่ายเงินค่าขุดหลุมวันนี้ในโลกความเป็นจริง และ โดนด่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ

ไม่มีใครผิด ถูกทั้งคู่

เพื่อให้เกิดความราบรื่นมีสามัคคีกันในการทำงาน ฝ่ายบิหารจัดการจำเป็นต้องประดิศฐ์ตัวชี้วัดร่วมกันที่เป็นธรรม

ตัวชี้วัดที่ว่านั่นหลายบ.ก็ออกแบบคิดค้นมาแตกต่างกัน ขึ้นกับขอบเขตความรับผิดชอบงานของนักธรณี และ วิศวกรหลุมเจาะของบ.นั้นที่แม้หลักๆจะเหมือนกันกับบ.ทั่วๆไป แต่ก็มีบางประเด็นที่ปลีกย่อย

ดังนั้นตัวชี้วัดจะต้องสะท้อนความปลีกย่อยนั้นๆ ไม่ใช่ว่าชะโงกไปก๊อปปี้บ.ข้างๆมาแล้วโมเมเอามาใช้ โดยไม่ดูว่า คนของเรากับของเขา ขอบเขตความรับผิดชอบไม่เหมือนกัน

สูตรพื้นฐานของตัวชี้วัด คือ

ผลได้/รายจ่าย

ทุกๆชิ้นของผลได้ ต้องแบกรับทุกบาทของค่าใช้จ่าย

ยกตัวอย่าง เช่น …

ถ้านักธรณีบ.เรามีความรับผิดชอบแค่หา(และพิสูจน์)ปริมาณ OGIP (Oil Gas In Place คือ นับเท่าที่อยู่ใต้ดิน) “ผลได้” ในสมการตัวชี้วัดก็ความเป็น OGIP ไม่ใช่ Production ที่ผลิตออกมาได้

เพราะปิโตรเลียมที่ผลิตได้นั้นมันขึ้นกับตัวแปลอื่นที่นักธรณีไปทำอะไรไม่ได้ เช่น Recovery Factor (RF) และ เทคนิคการผลิต (Production technology) เป็นต้น

ส่วนฝั่งเราวิศวกรหลุมเจาะ ที่ต้องรับผิดชอบก็คือ ค่าหลุม (เวลาเป็นส่วนหนึ่งของค่าหลุมแล้ว) และ ความปลอดภัยต่อทุกภาคส่วน

ดังนั้นตัวชี้วัดที่สนามฉันท์ (ตามตัวอย่างนี้) คือ

ความปลอดภัย และ OGIP/ค่าหลุม

คราวนี้ล่ะ …

ถ้าน้องๆนักธรณีจะขอต่ออีก 10 เมตร เผื่อจะเจอ OGIP ที่น้องๆคาดหวัง พี่นกก็จะบอกว่า อีก 10 เมตร เนี้ย (สมมุติ)เมตรล่ะ 5 หมื่นเหรียญนะ ยิ่งลึกต้นทุนส่วนเพิ่มต่อเมตร (incremental unit cost) ยิ่งมาก เพราะเจาะช้าหินแข็ง บลาๆ

10 เมตร ก็อีก 5 แสนเหรียญ โอเคป่ะ

หรือ น้องอยากได้ตัวอย่างของไหล ขอเอาเครื่องมือลงไปเก็บ ใช้เวลา 6 ชั่วโมง พี่นกก็จะบอกว่า ค่าโสหุ้ยแท่นเจาะ (spread cost) ชม.ล่ะ แสนเหรียญ 6 ชม. ก็ 6 แสนเหรียญนะ … โอป่ะ …

ถ้าเจอ OGIP หรือ ตัวอย่างที่เก็บได้ คุ้ม 5 หรือ 6 แสน ป่ะ

ถ้าไม่เจอ หวืดนะจ๊ะคนสวย หรือ ตัวอย่างของไหลที่เก็บขึ้นมาก็ไม่ได้ช่วยให้ไปหา OGIP เพิ่ม

คุยกับพี่ๆหัวหน้าน้อง หรือ ยังก่อนมาขอพี่เพิ่ม 10 เมตร หรือ ขอเก็บตัวอย่างอีก 6 ชม. เดี๋ยวจะเสีย KPI (Key Performance Index) กันทั้งคู่

ในขณะเดียวกัน ต่างฝ่ายก็ต้องต่างดูปัจจัยของฝ่ายตัวเองอย่างถี่ถ้วน

ไม่ใช่ว่าพอเป็นดัชนีร่วมแล้วผลักภาระไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง

เช่น วิศวกรหลุมเจาะ ใช้ของแพง หรือ เทคนิคที่แพง(กว่าที่ควร ไม่พยายามหาวิธีต่อราคา หรือ ทางเลือกอื่นที่ได้ผลเหมือนกันแต่ถูกเงินกว่า) หรือ นักธรณี คิดไม่รอบคอบ ใช้เทคนิคหรือซอฟแวร์ที่ไม่มีความละเอียดแม่นยำที่พอเพียง (แต่ทำงานง่ายดี) กับงาน ทำให้ไม่มีความแม่นยำเป็นวิทยาศาสตร์ที่พอเพียง

เราต้องมีความเป็นมืออาชีพ (Trust Respect and Integrity) ในศาสตร์ของเราในระดับหนึ่งทีเดียวที่จะมาใช้ดัชนีร่วม เพราะส่วนหนึ่งของดัชนีร่วม อีกฝ่ายเขาไม่มีความรู้ความสามารถที่จะมาตรวจสอบเราได้ แต่เขาก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน

สรุป คือ ม. 33 เรารักกัน

เอ๊ย ไม่เกี่ยว สรุป คือ

เรารักกันดีครับ จะจิกกัดกันบ้างในงานในวงเหล้าก็พอหอมปากหอมคอ จะทุบโต๊ะปึงปังปั้นปึ่งบ้างก็เพื่อผลงานของทุกฝ่ายที่จะให้ได้ออกมาดีที่สุด