ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต 10 ข้อ

ถามคำถาม

วิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าบุตรของคุณทำอะไรในโลกออนไลน์บ้างคือการถาม ไม่ว่าคุณจะถามผู้ปกครองคนอื่นๆ เพื่อนที่มีความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต หรือบุตรของคุณเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของพวกเขา การถามคำถามที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าบุตรของคุณทำอะไรในโลกออนไลน์ เพื่อที่คุณจะได้มั่นใจว่าพวกเขามีการตัดสินใจออนไลน์ที่ถูกต้อง

คำถามสำหรับถามบุตรของคุณ

  • ดูเว็บไซต์อะไรบ้าง
  • ทำอะไรในเว็บไซต์เหล่านั้นบ้าง
  • ทำไมจึงไปที่เว็บไซต์นั้น
  • ใช้เวลากับเว็บไซต์นั้นนานเท่าใด
  • ต้องลงทะเบียนด้วยหรือไม่
  • เว็บไซต์ต้องการให้ระบุข้อมูลใดบ้าง
  • ให้ข้อมูลอะไรกับเว็บไซต์บ้าง

ข้อตกลงการใช้อินเทอร์เน็ตฉบับพิมพ์

คำแนะนำ 6 ข้อเกี่ยวกับความปลอดภัยฉบับพิมพ์

ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับบุตรของคุณ นี่เป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้ว่าบุตรของคุณมีปฏิสัมพันธ์แบบใดและกับใครเมื่อออนไลน์

พูดคุย

เมื่อคุณรู้ว่าบุตรของคุณใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรและพวกเขาเข้าถึงอะไรได้บ้าง คุณก็สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติและกฎได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่สามารถเข้าชมได้หรือสิ่งที่สามารถทำได้เมื่อออนไลน์ ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องสื่อสารกฎนั้นกับบุตรของคุณอย่างชัดเจน

พูดคุยกับบุตรของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและสิ่งที่ควรทำในสถานการณ์ต่างๆ เป็นประจำ กระตุ้นให้บุตรของคุณถามคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญ การเข้าใจถึงความเสี่ยงที่บุตรของคุณเผชิญอยู่ และการพูดคุยกับบุตรของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงเหล่านี้เป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างการตัดสินใจและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของพวกเขา

กฎด้านความปลอดภัย

แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะมอบโอกาสที่ยอดเยี่ยมในด้านความบันเทิง การศึกษา การเชื่อมต่อ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ใครก็ตามที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตควรมีความเข้าใจในความปลอดภัยออนไลน์ขั้นพื้นฐาน การสอนพื้นฐานเหล่านี้ให้กับบุตรของคุณถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

  1. ไม่บอก ID บัญชีและรหัสผ่านเมื่อเพื่อนหรือคนแปลกหน้าถาม ไม่ว่าออนไลน์หรือออฟไลน์
  2. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น วันเกิด งานอดิเรก บ้านเกิด หรือโรงเรียนในชื่อผู้ใช้ของตน
  3. ไม่บอกข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเองหรือผู้อื่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น การส่งอีเมลหรือการแชท
  4. ไม่แชร์ภาพถ่ายของตนเอง ครอบครัว หรือบ้านกับผู้คนที่พบในโลกออนไลน์
  5. ไม่เปิดและลบอีเมลที่ส่งมาจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก
  6. ไม่ตอบกลับหากได้รับข้อความออนไลน์ที่หยาบคายหรือเป็นการข่มขู่ ล็อกออฟและรายงานกิจกรรมให้ผู้ปกครองทราบ
  7. ไม่มีสิ่งใดที่เขียนลงในเว็บแล้วจะเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง ให้ใช้ความระมัดระวังกับสิ่งที่เขียนและบุคคลที่เขียนถึง
  8. อย่านัดพบกับ “เพื่อน” ออนไลน์ในความเป็นจริง
  9. เมื่อไม่แน่ใจ: ขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครองเสมอ หากไม่แน่ใจ ให้ล็อกออฟ

การกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ต

เช่นเดียวกับที่เด็กมีโอกาสพบกับการกลั่นแกล้งหรือพฤติกรรมก้าวร้าวจากนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน พวกเขาก็อาจถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ได้เช่นกัน “นักเลงคีย์บอร์ด” เหล่านี้อาจส่งข้อความหรือรูปภาพที่มุ่งร้ายและโหดร้ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อรังควาน ทำให้อับอาย ทำให้ขายหน้า และข่มขู่เป้าหมายของตน การกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่นๆ อาจรวมถึงการแฮครหัสผ่าน การขโมยอัตลักษณ์ และการแบล็คเมล เด็กจำนวนมากมีโอกาสเท่ากันที่จะกลายเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ แม้ว่าบางคนจะไม่เปิดเผยตัว นักเลงคีย์บอร์ดก็มักจะเป็นเด็กคนอื่นที่เด็กรู้จักจากโรงเรียน ค่าย กลุ่มชุมชน หรือละแวกบ้าน

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพูดคุยกับเด็กอย่างเปิดอกเกี่ยวกับวิธีรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ต หากบุตรของคุณเผชิญกับการกลั่นแกล้งผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้จำไว้ว่าผู้ที่กลั่นแกล้งต้องการเห็นปฏิกิริยาตอบโต้จากเป้าหมายของตน เด็กควรหลีกเลี่ยงการยกระดับสถานการณ์ด้วยการไม่ตอบสนองต่อผู้ที่กลั่นแกล้ง ผู้ปกครองควรแจ้งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นหากปัญหายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้บันทึกข้อความทั้งหมด รวมถึงวันที่และเวลาด้วย

แหล่งข้อมูล

เด็กที่มีอายุแค่สองปีอาจปฏิสัมพันธ์กับอินเทอร์เน็ตได้ระหว่างที่นั่งอยู่บนตักของพ่อแม่ แต่เมื่อโตขึ้น พวกเขาอาจเริ่มท่องโลกออนไลน์ด้วยตัวเอง โดยอยู่ภายใต้การสนับสนุนและการชี้แนะเท่าที่คุณจะมอบให้พวกเขาได้ ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองว่าจะกำหนดมาตรการควบคุมใดบ้าง และจะผ่อนปรนลงเมื่อใดหากเด็กเติบโตขึ้นและสามารถตัดสินใจได้อย่างมีวุฒิภาวะแล้ว ต่อไปนี้เป็นแหล่งข้อมูลจำนวนหนึ่งที่คุณสามารถใช้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรได้

  • เว็บไซต์จำนวนมากมีคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง อ่านดูเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจในแนวทางด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่บุตรของคุณเข้าชม
  • บางเว็บไซต์มีทางเลือกในการควบคุมโดยผู้ปกครอง ให้ใช้ประโยชน์จากการควบคุมโดยผู้ปกครองเพื่อกำหนดสิ่งที่บุตรของคุณสามารถเข้าถึงได้
  • เบราวเซอร์ส่วนใหญ่มีการตั้งค่าที่สามารถบล็อกเว็บไซต์หรือโดเมนทั้งหมดได้ ให้ใช้การควบคุมเหล่านี้เพื่อเลือกเว็บไซต์ที่เด็กสามารถหรือไม่สามารถเข้าชมได้ไว้ล่วงหน้า
  • ซอฟต์แวร์การวิจัยจำนวนหนึ่งสามารถสอดส่องการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กได้
  • ให้อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ที่บุตรของคุณเข้าชมบ่อยๆ เพื่อให้ทราบว่ามีการเก็บข้อมูลประเภทใดเกี่ยวกับบุตรของคุณ และมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้อย่างไรบ้าง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต 10 ข้อ

10 ข้อควรระวังในเครือข่ายสังคมออนไลน์


ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้ผู้ขายได้ประชาสัมพันธ์สินค้าง่ายขึ้น ผู้ซื้อก็มีโอกาสเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น
การแสดงออกทางความคิด และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการรับรู้ข้อมูลจากผู้อื่น ก็สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ในข้อดีมักมีข้อเสียการที่เราเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วก็อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ อีกทั้งมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียความเป็นส่วนตัวไปได้อีกด้วย เป็นการดีที่เราจะได้ป้องกันตัวและระวังภัยต่างๆ ไว้ก่อนล่วงหน้า


 

  1. คิดให้รอบคอบก่อนโพสต์ข้อมูล

อย่าลืมว่าข้อมูลต่างๆ ที่คุณโพสต์จะเปิดเผยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโพสต์ข้อมูลที่สุ่มเสี่ยงก็อาจจะส่งผลร้ายต่อตัวเราเองได้ ฉะนั้นก่อนโพสต์ทุกครั้งต้องคิดให้รอบคอบ
 

  1. ใช้ความระมัดระวังในการคลิกลิงก์ต่างๆ

หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์แปลกปลอมที่มากับการแชร์หรือข้อความ หรือมาจากคนที่ไม่รู้จัก หรือแม้แต่เพื่อนซึ่งใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดูแปลกไปจากปกติ เพราะอาจเป็นลิงก์ที่นำไปสู่ไวรัสหรือช่องทางขโมยข้อมูลของเหล่าแฮกเกอร์
 

  1. พิมพ์ที่อยู่ URL ของเว็บไซด์โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นๆ โดยตรง

การใช้งานบนเบราว์เซอร์ให้หลีกเลี่ยงการเข้าเครือข่ายทางสังคมผ่านทางคลิกลิงก์จากผลแสดงการค้นหา หรือจากอีเมล เพราะอาจเป็น URL ปลอมที่นำเราไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาบัญชีผู้ใช้และ Password ได้ เช่น www.facebook.com อาจมี URL หลอกเป็น www.faeebook.com เป็นต้น
 

  1. คัดกรองคนที่ขอเป็นเพื่อน

หลีกเลี่ยงการตอบรับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เพราะผู้ไม่หวังดีอาจแฝงมากับคนที่ขอเข้ามาเป็นเพื่อนเรา และหากพบคนที่เป็นเพื่อนซึ่งเราไม่รู้จักและน่าสงสัยก็ควรลบออกไป
 

  1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ผู้ให้บริการแต่ละรายจะกำหนดการตั้งค่าส่วนตัวไว้เพื่อไม่ให้ข้อมูล หรือสิ่งที่เราทำ หลุดออกไปยังคนที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เราควรตั้งค่าให้เพื่อนเท่านั้นที่เห็นกิจกรรมของเรา และหลีกเลี่ยงการตั้งค่าสิ่งที่เราทำให้เป็นสาธารณะ หรือคนทั่วไปเห็นได้
 

  1. ไม่แสดงข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ

ไม่ควรโพสต์บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเครดิตลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบข้อความ หรือรูปภาพ เพราะแฮกเกอร์และผู้ไม่หวังดีสามารถแฝงตัวมากับกลุ่มเพื่อนที่เราอนุญาตให้เข้าชมได้
 

  1. เปิดใช้งาน Do Not Track

เพื่อป้องกันการติดตามและการเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้ไม่หวังดีที่ลักลอบเข้ามาขโมยข้อมูลด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเว็บเบราว์เซอร์ที่เปิดใช้งาน Do Not Track ได้แล้ว เช่น Internet Explorer 10
 

  1. ใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข่าวสาร

อย่ารีบปักใจเชื่อข้อมูลที่เผยแพร่เข้ามาในทันที รวมทั้งการกล่าวอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ เพราะอาจมีการสวมรอย หรือสมอ้างจากผู้ไม่หวังดีเพื่อสร้างข่าว หรือสร้างความเสื่อมเสียต่อแหล่งที่มานั้นได้
 

  1. ดูแลและควบคุมการใช้งานของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

สอนให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ข้อมูล และรู้จักเล่นอย่างถูกวิธี เพราะความรู้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีอยู่มากมาย และปัจจุบันครูอาจารย์ก็ทันสมัยจนแจ้งเรื่องต่างๆ แก่ลูกศิษย์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น Facebook หรือ Twitter กันแล้ว นอกจากนี้ อาจหาเครื่องมือในการควบคุมการใช้งานของบุตรหลายได้ เช่น โปรแกรม Windows Live Family Safety ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไมโครซอฟต์เปิดให้ใช้งานได้ฟรีๆ นอกจากจะใช้ควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้แล้ว ยังสามารถกำหนดช่วงเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ และป้องกันการใช้โปรแกรม หรือเล่นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้รับอนุญาตได้อีกด้วย
 

  1. ตระหนักว่ามันเป็นสังคมเสรี

แม้ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น แต่ทุกคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมก็สามารถเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้ และศาลก็อาจจะรับฟังคำร้องด้วย


เครือข่ายสังคมออนไลน์ถ้าหากเรารู้จักใช้อย่างระมัดระวังก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านต่างๆ และจะช่วยให้เราสามารถสนุกสนานกับสังคมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นการรอบคอบเสมอระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่ในโลกออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ครวมองข้าม

ที่มา: https://www.etda.or.th/content/social-network-security.html

 

Share this post :