Key คณ ตศาสตร ม.3 เพ มเต ม เล ม 2

หลังจากที่ผ่านคณิต ม.1 คณิต ม.2 มาแล้ว เนื้อหาของ คณิต ม.3 ก็จะมีความยากขึ้นตามระดับชั้น เเพราะเนื้อหาที่เรียนจะเป็นการปูพื้นฐานและนำไปต่อยอดในคณิตศาสตร์ ม.ปลาย แต่ละเทอมต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง เรื่องไหนเรียนก่อนเรียนหลัง ไปดูกันรายละเอียดที่พี่เตรียมมาเลย

เก็บทุกเนื้อหาไม่ให้พลาดด้วยคอร์สคณิต ม.3 !

น้องๆ ที่กำลังขึ้น ม.3 อยากเตรียมตัวล่วงหน้า หรือกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.3 อยากเรียนพิเศษเพื่อเสริมเกรด ห้ามพลาดเลย จะเลือกเรียนคอร์สแยกเทอม หรือจะเรียนทั้ง 2 เทอมเลยก็ได้ รับรองคะแนนปัง !

สมัครคอร์ส คลิกเลย

คณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1

เนื้อหาคณิต ม.3 เทอม 1 ประกอบด้วย

  • อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง
  • สมการกำลังสองตัวแปรเดียว
  • ความคล้าย
  • กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง
  • สถิติ (3)

บทที่ 1 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

เราคุ้นเคยกับการแก้สมการมามากแล้ว แต่อสมการกลับยังไม่เคยทำเลยว่า แล้วการแก้อสมการจะทำอย่างไร รวมถึงลักษณะคำตอบของอสมการที่แตกต่างไปจากคำตอบของสมการด้วย บทนี้นอกจากการแก้อสมการแล้ว ยังรวมถึงการฝึกเขียนอสมการจากโจทย์ปัญหาที่กำหนด ที่ต้องระวังเรื่องสัญลักษณ์ให้ดี เป็นบทที่ต้องมีความพิถีพิถันในการทำมาก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปนะ เราทำได้

บทที่ 2 การแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีดีกรีสูงกว่าสอง

จาก ม.2 เทอม 2 ที่เราเริ่มต้นแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองไปแล้ว ซึ่ง การเรียนคราวนี้เราจะเริ่มเพิ่มระดับไปที่พหุนามดีกรีที่สูงขึ้น โดยจะมีทั้งวิธีการและรูปแบบบางอย่างที่จะช่วยให้การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสูงขึ้นสามารถทำได้ เป็นอีกบทในคณิตศาสตร์ ม.ต้น ที่อาจจะมีตัวเลขและตัวแปรเยอะสักหน่อย แต่ฝึกทำบ่อยๆ จะคล่องมากทีเดียว

บทที่ 3 สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

น้องๆ ผ่านการแก้สมการกันมาแล้ว แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่ตัวแปรมีการยกกำลังสอง บทนี้จะอธิบายว่าแล้วจะใช้วิธีไหนในการแก้สมการ บอกใบ้ว่าการแยกตัวประกอบของพหุนามคือส่วนสำคัญในการทำบทนี้นะ เตรียมพร้อมมาให้ดี

บทที่ 4 ความคล้าย

เมื่อสามเหลี่ยมสองรูปมีลักษณะที่เหมือนกันมากๆ แต่ต่างกันที่ขนาดเล็กใหญ่ แม้สามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะไม่เท่ากันทุกประการ แต่ “ความคล้าย” ของสามเหลี่ยมสองรูปนี้ ก็มีสมบัติสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมและโจทย์เรขาคณิตอื่นๆ ในคณิตศาสตร์ ม.ต้น ได้ด้วย

บทที่ 5 กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง

ก่อนอื่น น้องๆ จะได้รู้จักว่าฟังก์ชันคืออะไร นำไปสู่ฟังก์ชันเชิงเส้น และฟังก์ชันกำลังสอง ซึ่งจะพูดถึงกราฟของฟังก์ชันเหล่านี้บนระบบพิกัดฉาก น้องๆ จะได้รู้จักกับหน้าตาของกราฟฟังก์ชันกำลังสอง และองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้หาค่าต่ำสุดหรือค่าสูงสุดของโจทย์คณิตศาสตร์ ม.ต้น บางข้อ

บทที่ 6 สถิติ (3)

สถิติส่วนสุดท้ายของคณิตศาสตร์ ม.ต้นว่าด้วยเรื่องของการนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภาพกล่อง ซึ่งเป็นแผนภาพที่อธิบายค่าทางสถิติหลายค่า น้องๆ จะได้รู้จักกับค่าใหม่ๆ ทางสถิติ เช่น ค่าวัดตำแหน่งของข้อมูล ค่านอกเกณฑ์ เป็นต้น

คลิปติว คณิต ม.3 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

คณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2

เนื้อหาคณิต ม.3 เทอม 2 ประกอบด้วย

  • ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
  • วงกลม
  • พีระมิด กรวย และทรงกลม
  • ความน่าจะเป็น
  • อัตราส่วนตรีโกณมิติ

บทที่ 1 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

หลังจากแก้สมการเชิงเส้นแล้ว รวมถึงสมการกำลังสองแล้ว แต่ครั้งนี้จะเป็นการแก้สมการที่มีตัวแปร 2 ตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งจะไม่ได้มีเพียงสมการเดียวในการหาคำตอบ อย่างไรก็ตาม บทนี้จะสนใจเพียงขั้นเริ่มต้น คือตัวแปรจะยังเป็นดีกรีหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เพียงพอที่จะแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ต้น ได้หลายเรื่อง

บทที่ 2 วงกลม

ในชั้นประถม น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง เส้นรอบวง และพื้นที่ของวงกลม รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ แต่ในคณิตศาสตร์ ม.ต้น จะพูดถึงทฤษฎีบทที่เกี่ยวข้องกับวงกลม ซึ่งจะมีองค์ประกอบใหม่ๆ เช่น คอร์ด เส้นสัมผัสวงกลม ส่วนโค้ง มุมในส่วนโค้ง มุมที่จุดศูนย์กลาง เป็นต้น เป็นอีกบทที่มีทฤษฎีบทมากมาย ท้าทายความสามารถของน้องๆ บทหนึ่งเลย

บทที่ 3 พีระมิด กรวย และทรงกลม

ภาคต่อจากปริซึมและทรงกระบอก ว่าด้วยรูปสามมิติประเภทที่เหลือที่มีความซับซ้อนมากกว่า 2 รูปเดิม อาจต้องใช้ความรู้บทอื่นๆ ของคณิตศาสตร์ ม.ต้น เข้ามาช่วยในการหาค่าพื้นที่ผิวและปริมาตร อย่างเช่น ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ซึ่งน้องๆ จะต้องทบทวนบทเก่าเกี่ยวกับเรขาคณิตมาบ้างนะ จะได้ต่อติด

บทที่ 4 ความน่าจะเป็น

โอกาสในการสุ่มหยิบลูกบอล โยนเหรียญ ทอดลูกเต๋า จะมากหรือน้อย บทนี้จะกล่าวถึงวิธีการในการหาโอกาสดังกล่าว รวมถึงวิธีการในการใช้หาจำนวนวิธีของผลลัพธ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการการสุ่มที่มีเงื่อนไขตามที่กำหนด และการหาจำนวนวิธีของผลลัพธ์เฉพาะที่อยากให้เกิดขึ้น

บทที่ 5 อัตราส่วนตรีโกณมิติ

บทสุดท้ายของคณิตศาสตร์ ม.ต้น ว่าด้วยอัตราส่วนความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มารู้จักกับชื่อของอัตราส่วนด้านต่างๆ (ใช่แล้ว อัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากมีชื่อเฉพาะตัวด้วย ไม่ธรรมดาใช่ไหมล่ะ !) มีค่าของอัตราส่วนของสามเหลี่ยมมุมฉากบางรูปที่น่าสนใจ รวมถึงการนำอัตราส่วนดังกล่าวไปแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เกี่ยวกับความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากด้วย

หลังอ่านบทความนี้จบ น้องๆ ก็รู้แล้วใช่มั้ยล้าว่าคณิตม.ต้น แต่ละชั้น ตั้งแต่ ม.1 ม.2 ถึง ม.3 ต้องเรียน คณิตศาสตร์ เรื่องอะไรกันบ้างสำหรับน้องๆ คนไหนที่กำลังจะเลื่อนชั้นก็สามารถดูเนื้อหาที่พี่เอามาฝากวันนี้ได้เลย จะได้เตรียมตัวกันถูกไงล้า ส่วนสรุปเนื้อหาแยกบท คณิต ม.ต้น พี่ก็จะเอามาฝากน้องๆ แน่นอน แต่จะมีเรื่องอะไรบ้าง ฝากรอติดตามกันด้วย _