Gsb pay merchant ม ค าใช จ ายไหม

Verified by Visa จะช่วยให้นักช้อปออนไลน์สามารถวางใจได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นระบบการยืนยันตัวตนที่ป้องกันโดยรหัสผ่านซึ่งออกแบบมาเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรเมื่อใช้บัตรวีซ่าทางออนไลน์

ด้วยการขอรหัสผ่านที่มีแต่ผู้ถือบัตรเท่านั้นที่ทราบ ทำให้ธนาคารสามารถยืนยันได้ว่าผู้ป้อนข้อมูลบัตรลงในเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ซนั้นเป็นผู้ถือบัตรตัวจริง รหัสผ่านดังกล่าวอาจเป็นรหัสที่คุณกำหนดขึ้นเองและจดจำไว้ หรืออาจจะเป็นรหัสที่ทางธนาคารส่งให้คุณทาง SMS เมื่อคุณกำลังจะชำระเงินออนไลน์ก็ได้ ระบบยืนยันตัวตนนี้จะช่วยป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงและทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการชำระเงินนี้วางใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานร่วมกับคุณลักษณะด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ให้บริการโดยวีซ่า

วิธีการทำงาน

Gsb pay merchant ม ค าใช จ ายไหม

ลงทะเบียน

คุณสามารถลงทะเบียนใช้งาน Verified by Visa โดยทำตามขั้นตอนง่าย ๆ เพียงไม่กี่นาทีผ่านทางธนาคารผู้ออกบัตรวีซ่าของคุณ เมื่อเปิดใช้งานแล้ว Verified by Visa จะปกป้องการทำธุรกรรมของคุณในร้านค้าออนไลน์ทุกแห่งที่เข้าร่วมบริการนี้ เมื่อคุณช้อปปิ้งออนไลน์กับผู้ค้าที่เข้าร่วมบริการ บัตรของคุณจะได้รับการจดจำโดยอัตโนมัติว่าบัตรนี้ได้รับการคุ้มครองโดย Verified by Visa

Gsb pay merchant ม ค าใช จ ายไหม

รหัสผ่านที่ใช้ครั้งเดียว

ระบบจะขอให้คุณยืนยันตัวตนในหน้าต่างการยืนยันผ่าน Verified by Visa ที่ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ โดยคุณต้องใส่รหัสผ่าน Verified by Visa หรือรหัสผ่านที่ใช้ครั้งเดียวที่คุณได้รับ

Gsb pay merchant ม ค าใช จ ายไหม

การตรวจสอบ

เมื่อคุณป้อนรหัส Verified by Visa คุณแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามปกติที่คุณทำในการดำเนินธุรกรรมจนเสร็จสิ้น ธนาคารผู้ออกบัตรของคุณจะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของคุณและธุรกรรมจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อการตรวจสอบเป็นผลสำเร็จ

บางธนาคารเปิดโอกาสให้ร้านค้า และบุคคลธรรมดา ที่มีบัญชีและผูกกับรหัสพร้อมเพย์กับธนาคาร สามารถขอรับคิวอาร์โค้ดเพื่อนำไปติดตั้งกับร้านค้า ให้ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เข้าบัญชีร้านค้าได้โดยตรง

อันที่จริงไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อค้าแม่ค้า ที่มีร้านค้าก็ได้ เพราะคิวอาร์โค้ดสามารถประยุกต์ใช้ได้กับอาชีพบริการที่ต้องรับเงินสดจากลูกค้า เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง โชเฟอร์รถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก แม่ค้าขายหมูปิ้ง ฯลฯ

ข้อดีของมันก็คือ ผู้ซื้อมีเงินสดในมือไม่พอ หรือเจ้าของร้านค้ามีเงินทอนไม่พอ ก็ใช้คิวอาร์โค้ดโอนเข้าบัญชีธนาคารได้ทันที

ไม่ต้องเสียเวลาหาเงินทอน และไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากระหว่างวัน

ด้วยความอยากรู้ว่าเวลาขอคิวอาร์โค้ดเป็นอย่างไร ง่ายหรือยุ่งยาก เลยไปขอรับพิมพ์คิวอาร์โค้ดกับธนาคารไทยพาณิชย์

มีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ ป้ายกรอบอะครีลิครูปการ์ตูนนางกวัก “แม่มณี” และแบบป้ายห้อยคอโลโก้ Prompt Pay

ทีแรกไปสาขาในศูนย์การค้าแห่งหนึ่งย่านมหาชัย ระหว่างฝากเงินก็ถามพนักงานว่า รับพิมพ์คิวอาร์โค้ดไหม

พนักงานก็ถามว่า “มีร้านค้าหรือเปล่า” เมื่อตอบว่า ออกร้านตามตลาดนัดนาน ๆ ครั้ง ก็ได้รับคำตอบว่า “เฉพาะคนที่มีหน้าร้านเท่านั้น”

อีกครั้งหนึ่ง ไปสาขาบางลำภู ระหว่างฝากเงินก็สอบถามพนักงานแบบเดียวกันนี่แหละ พนักงานก็บอกว่ามีสองแบบอย่างที่กล่าวข้างต้น

“ถ้าเป็นร้านค้าจะได้ป้ายแม่มณี แต่ถ้าบุคคลธรรมดา พวกวินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ จะได้เป็นป้ายห้อยคอ”

พนักงานสาขาบางลำภูให้ความร่วมมือดีมาก ขอชื่อและเบอร์มือถือที่ผูกพร้อมเพย์กับบัญชีไทยพาณิชย์ ถามว่าสะดวกมารับได้ตอนไหน เดี๋ยวจะจัดทำไว้ให้ เราบอกขอเป็นวันพรุ่งนี้ก็แล้วกัน

วันรุ่งขึ้น เรากลับไปที่สาขาบางลำภูอีกครั้ง ก็ได้รับป้ายห้อยคอ Prompt Pay พร้อมสายห้อยคอสีม่วง บนซองพสาสติกใสจะมีบัตรพลาสติกโลโก้ Prompt Pay กับสติกเกอร์ที่พิมพ์คิวอาร์โค้ดพร้อมกับชื่อและเบอร์มือถือของเรา

จากการทดสอบสแกนคิวอาร์โค้ดกับทุกแอปพลิเคชั่นพบว่าใช้ได้ทุกธนาคารที่รองรับ เพราะเป็นรูปแบบคิวอาร์โค้ดมาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด

จริง ๆ ทุกธนาคารช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงทำยอดร้านค้ารับคิวอาร์โค้ด เพราะยิ่งมีร้านค้าอยู่ในมือมากเท่าไหร่ แนวโน้มธุรกรรมสะพัดเข้าธนาคารก็จะมีมากขึ้น

แม้ทุกวันนี้ยังมองไม่เห็นอนาคต เพราะคนไทยยังนิยมใช้เงินสดกันอยู่ อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารออมสิน โฆษณาว่าคิวอาร์โค้ดของตัวเองนอกจากจะหักจากบัญชีธนาคาร (ที่ผูกกับแอปพลิเคชั่นธนาคาร) แล้ว ยังชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทุกธนาคาร โดยใช้แอปพลิเคชั่น GSB PAY ได้อีกด้วย

ด้วยความสงสัยว่าหลักการทำงานเป็นอย่างไร จึงโหลดแอปพลิเคชั่น GSB PAY (คนละตัวกับแอปพลิเคชั่น MyMo) มาทดสอบดู

พบว่าแอปพลิเคชั่นตัวนี้จะให้เราบันทึกข้อมูลบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตที่เราจะใช้กับคิวอาร์โค้ด

การเพิ่มข้อมูลบัตรนั้น พบว่าจะเป็นการใส่เลขที่บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต 16 หลัก เลขเดือน ปีที่หมดอายุบัตร รหัสรักษาความปลอดภัย 3 หลัก และชื่อผู้ถือบัตร

จากนั้นระบบจะเข้าสู่หน้า Verified by VISA โดยจะหักเงินจากบัตร 1 บาท ชื่อร้านค้า (Merchant) จะแสดงเป็น “PILOT GSB PGW” เมื่อหักเงินสำเร็จ ระบบก็จะเพิ่มข้อมูลบัตรในแอปพลิเคชั่นโดยอัตโนมัติ

เมื่อไปที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ GSB PAY เปิดแอปพลิเคชั่น เลื่อนแถบไปที่ข้อมูลบัตรที่เราต้องการชำระเงิน แล้วสแกนคิวอารโค้ด ทำตามขั้นตอน ระบบจะหักเงินจากบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตนั้น ๆ ทันที

ไม่ต้องหยิบบัตรจากกระเป๋าสตางค์ ไม่ต้องใช้บัตรตัวจริง ไม่ต้องใช้เครื่องรูดบัตร และไม่ต้องเซ็นสลิป

จากการทดสอบสแกนคิวอาร์โค้ด พบว่าใช้ได้เฉพาะร้านค้าที่สมัครบริการคิวอาร์โค้ด GSB PAY ของธนาคารออมสินเท่านั้น

เมื่อนำคิวอาร์โค้ดธนาคารอื่น ซึ่งเป็นข้อมูลเบอร์โทรศัพท์มือถือ พบว่าไม่สามารถใช้ได้

ถ้าสมมติว่าใช้ได้ บอกได้คำเดียวว่าความชิบหายจะบังเกิด เพราะมันเป็นช่องทางที่จะ “เล่นแร่แปรธาตุ” กับวงเงินบัตรเครดิต ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ (เวลาถอนเงินสดจากบัตรเครดิต เครือข่ายรับบัตรจึงต้องคิด 3% ทุกครั้ง)

แต่เข้าใจว่า การคัดเลือกร้านค้าคิวอาร์โค้ดของธนาคารออมสิน น่าจะสกรีนร้านค้าในระดับหนึ่ง เพราะถึงขนาดต้องมีรูปถ่ายร้านค้าไปด้วย และต้องรออนุมัติถึงจะส่งชุด Welcome Pack QR Code พร้อมคู่มือการใช้งานแก่ร้านค้า

อันที่จริงข้อดีของการทำระบบแบบนี้ก็คือ วิธีการชำระเงินจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเอาเงินปัจจุบันที่มีอยู่ในบัญชีมาใช้

แต่ยังรวมไปถึงเงินอนาคตอย่างบัตรเครดิต ก็สามารถเอามาใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดได้ด้วย

ถ้าเป็นลูกค้าบัตรเครดิตธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเล็ก ๆ จะแสดงข้อมูลบัตร เช่น วงเงินบัตร วงเงินที่ใช้ได้ ยอดหนี้คงเหลือ รายการที่ยังไม่เรียกเก็บ และรายการที่เรียกเก็บแล้วไว้ในบัตรเดียว

สิ่งที่น่ากังวลอย่างหนึ่งสำหรับ GSB PAY ก็คือ การบันทึกข้อมูลบัตรลงในแอปพลิเคชั่นจะมีความปลอดภัยแค่ไหน

เพราะเคยมีกรณีบริษัทหนึ่งที่ถูกเทคโอเวอร์ไปแล้ว ทำแอปพลิเคชั่น Mobile Credit Card แล้วถูกแฮกเกอรขโมยข้อมูลบัตรไป

อย่างไรก็ตาม การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดด้วยบัตรเครดิต เร็ว ๆ นี้จะมี บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี ออกมาให้บริการตามมา

ขณะนี้กำลังทดสอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย 50 ร้านค้าในกรุงเทพฯ พร้อมกันนี้ แอปพลิเคชั่น KTC Tab ได้เพิ่มเมนูชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดไปแล้ว เฉพาะผู้ถือบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า และมาสเตอร์การ์ดเท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้

การชำระเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ดยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย ที่ยังต้องพัฒนาเรียนรู้อีกมาก ตามวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทยเป็น “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) ลดการผลิตธนบัตรและเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในประเทศ

ธนาคารออมสินมีคิวอาร์โค้ดไหม

ออมสิน เปิดตัว “My Agent” รับฝาก-ถอนเงิน ด้วย QR Code บน MyMo ที่เซเว่นอีเลฟเว่น 24 ชั่วโมง

แอปออมสิน ใช้งานต่างประเทศได้ไหม

คุณสามารถใช้บริการ ออมสิน Internet Banking ได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต เฉพาะบริการด้านข้อมูลบัญชีเท่านั้น เช่น ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ เรียกดูสรุปรายการทางบัญชี ตรวจสอบรายการเดินบัญชี และตรวจสอบสถานะเช็ค

แอพออมสินสมัครเองได้ไหม

สำหรับการสมัครใช้บริการ MyMo ธนาคารได้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า ทั้งนี้เจ้าของบัญชีมีความจำเป็นต้องนำบัตรประชาชนและสมุดบัญชีติดต่อสมัครใช้บริการ MyMo ด้วยตนเองที่ธนาคารออมสินทุกสาขานะคะ ขอบคุณค่ะ

ผูกพร้อมเพย์ออมสิน ใช้อะไรบ้าง

เอกสารในการลงทะเบียน 1. สมุดบัญชี / เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน) 2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง 3. โทรศัพท์มือถือของเราที่ต้องการลงทะเบียน