Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ประกาศผลประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรี ซึ่งผู้ชนะคือ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ในพื้นที่สนามบินสุวรรณ ระยะเวลา 10 ปี 6 เดือน โดย ทอท.ระบุว่าผู้ชนะเสนอผลตอบแทนสูงกว่าที่ ทอท.เคยได้รับอยู่เดิม และสูงกว่าที่ ทอท.คาดหมาย

วันที่ 10 มิถุนายน 2562 ทอท.ประกาศผลคะแนนรวมสูงสุดของผู้ยื่นข้อเสนองานประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต, เชียงใหม่ และหาดใหญ่ คือบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด

และเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562 นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับสิทธิในสัมปทาน 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาสัมปทานกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.),สัญญาสัมปทานกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ทสภ. และสัญญาสัมปทานกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต,เชียงใหม่ และหาดใหญ่

สำหรับผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับสิทธิในสัมปทานทั้ง 3 สัญญามีรายละเอียดดังนี้ เริ่มจากผลการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ทสภ. กำหนดอายุสัญญา 10 ปี 6 เดือน ระหว่างวันที่ 28 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2574 มีรายละเอียดดังนี้

อันดับ 1 บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิที่คะแนนสูงสุด คือ 94.30 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 15,419,000,000 บาท อันดับ 2 กิจการร่วมค้าการบินกรุงเทพ ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) คือ 83.10 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 8,516,653,333 บาท อันดับ 3 บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED คือ 78.85 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 7,255,000,000 บาท

  • ทอท.ประกาศผลคะแนน – ซองราคา “คิง เพาเวอร์” จ่ายค่าตอบแทนปีแรก 2.35 หมื่นล้าน

เป็นที่ทราบว่ากลุ่มคิงเพาเวอร์ได้ใช้พื้นที่ของ ทอท.ในการทำธุรกิจดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินสุวรรณภูมิมาตั้งแต่ปี 2548 โดยที่ ทอท.ขณะนั้นไม่ได้เปิดประมูลใหม่ แต่เป็นการขอต่อสัญญาต่อเนื่อง จากการย้ายสนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมคำอ้างว่าเวลาเหลือ 1 ปี 9 เดือนอาจจะไม่ทันการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเดือนกันยายน 2548 จึงทำสัญญา 10 ปีจนถึงปี 2558 จากนั้นได้รับการต่อสัญญาอีก 2 ครั้ง โดยอ้างว่าความไม่สงบทางการเมืองทำให้นักท่องเที่ยวหายไป ได้รับการขยายสัญญาจนสิ้นสุดปี 2563 รวมเวลา 14 ปี

หากรวมสัมปทานรอบนี้อีก 10 ปี 6 เดือนนั่นหมายถึงกลุ่มคิงเพาเวอร์ได้สัมปทานรวม 24 ปี 6 เดือน จนเป็นที่มาของตั้งคำถามคำว่า “ผูกขาด” หรือไม่ แต่ไม่ใช่ “ผูกขาด” ในนิยามของทอท. ที่ระบุว่า ได้เปิดทอท.เปิดเสรี “Pick up Counter” แล้ว เท่ากับเปิดเสรีธุรกิจดิวตี้ฟรี

  • ข้อเท็จจริง “คิงเพาเวอร์-ทอท.” ขอต่อสัญญาปี 2547 ทำดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ เพียงรายเดียว

ต่อจากตอนที่แล้ว “คำถามที่นายกรัฐมนตรี – ทอท.ไม่ตอบ (ตอน 6) : ทวง 14,290 ล้านคืนรัฐ เหตุปรับค่าสัมปทาน “Pick up Counter” จาก 15% ทำไมเก็บแค่ 3%?” เป็นอีกเรื่องที่ยังไม่ได้คำตอบจากนายกรัฐมนตรี รวมทั้งผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลคือกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.”

ประเด็นที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ คือ กรณี ทอท.ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยว่า การที่ ทอท. อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดียว เปิดให้บริการจุดส่งมอบสินค้าภายในสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือ ปิดกั้นเสรีทางการค้า จึงมีข้อเสนอแนะให้ ทอท. จัดหาพื้นที่ทำจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะ (Public Pick up Counter) เพื่อให้ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีในเมืองรายอื่นใช้ส่งมอบสินค้าปลอดอากรร่วมกัน ผลปรากฎว่าทอท.ไม่สามารถปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินได้ เนื่องจากบริษัท คิง เพาเวอร์สุวรรณภูมิ ในฐานะผู้รับสัมปทานพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่น เข้ามาประกอบกิจการส่งมอบสินค้าปลอดอากร

นับตั้งแต่สถาปนาผู้ตรวจการแผ่นดินขึ้นมา เพื่อถ่วงดุลอำนาจในการตรวจสอบ กรณีนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เดินมาจนมาถึงสุดซอย! แต่เรื่องก็ยังไม่คืบหน้าใดๆ

โดยในช่วงปลายปี 2561 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำรายงานกรณีทอท.ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ตามขั้นตอนและกระบวนการที่บัญญัติไว้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560ครบถ้วนทุกกระบวนการแล้ว ปรากฏว่าเรื่องนี้เงียบหายไป โดยที่ไม่มีคำตอบว่าได้มีการดำเนินการต่อ อย่างไร?

  • “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ส่งหนังสือถึงนายกฯ เสนอครม. ชี้ขาด กรณี AOT ไม่เปิดจุดส่งมอบสินค้าดิวตี้ฟรี ตามคำวินิจฉัย

ความเป็นมาของเรื่องนี้ เริ่มต้นช่วงปลายปี 2557 บริษัท ล็อตเต้ ดิวตี้ ฟรี (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท เซ็นทรัล ดิวตี้ ฟรี ช็อปส์ จำกัด ยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากร ขอเปิดกิจการร้านค้าปลอดอากรในเมือง

เจ้าหน้าที่ศุลกากร บอกให้ผู้ยื่นคำร้อง ต้องระบุพื้นที่ในการจัดตั้งจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Pick-up Counter) ในสนามบินนานาชาติด้วย

Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561
นางรวิฐา พงศ์นุชิต นายกสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย

บริษัท ล็อตเต้ ฯ จึงทำหนังสือไปถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อขอเช่าพื้นที่เปิดจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร ท่าอากาศยานดอนเมืองอ้างพื้นที่แออัดมาก จึงตอบปฏิเสธ ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่ตอบกลับ จึงมาร้องเรียนนางรวิฐา พงศ์นุชิต นายกสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย

ช่วงปี 2558 สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย จึงเดินสายชี้แจงหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงการคลัง , กระทรวงคมนาคม , กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่ประเทศชาติจะเปิดจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรในเมืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากร ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันเสรี

ปรากฏเรื่องนี้ไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด วันที่ 25 เมษายน 2559 สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย จึงไปยื่นหนังสือถึงนายศรีวราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกระบวนการขออนุญาตเปิดจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจบางรายหรือไม่ รวมทั้งขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้เวลาไต่สวนข้อเท็จจริงเกือบ 1 ปี วันที่ 27 มีนาคม 2560 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แจ้งผลการวินิจฉัยต่อสมาคมการค้าร้นค้าปลอดอากรว่า “กรณี ทอท. อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดียว เปิดให้บริการจุดส่งมอบสินค้าภายในสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือ เป็นการปิดกั้นเสรีทางการค้า เนื่องจากจุดส่งมอบสินค้าเป็นการให้บริการประชาชนที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลอดอากรในเมือง (ขาออก) การให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวเปิดจุดส่งมอบสินค้า ถือเป็นการไม่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน , จำกัดสิทธิผู้ประกอบการรายอื่นในการทำธุรกิจร้านค้าปลอดอากร และไม่เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ถือว่า ทอท. ปฏิบัติ หรือละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา 13 (1) (ข) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 32 วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เสนอแนะให้ ทอท. จัดหาและกำหนดจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะให้ผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลอดอากรในเมืองรายอื่น เพื่อใช้ส่งมอบสินค้า และขอให้ ทอท. รายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินทราบภายใน 60 วัน”

Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561

Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561

Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561

Aot ประกาศรายช อผ ม ส ทธ สอบ 2561

ช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคม 2560 สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี 4 ครั้ง ขอให้พิจารณาสั่งการ ทอท.จัดหาพื้นที่ทำจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร ตามคำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน วันที่ 12 ตุลาคม 2560 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพิ่งจะส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคม และทอท. พิจารณา แต่ก็ไม่ผลคืบหน้าแต่ประการใด

วันที่ 15 ธันวาคม 2560 ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นชอบ ให้จัดทำรายงานเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นวาระเร่งด่วน ตามาตรา 12 , มาตรา 33 วรรค 2 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ 2552หลังจากที่ได้รับแจ้งจากทอท.ไม่สามารถปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินได้

หลังผู้ตรวจการแผ่นดินทำรายงานเรื่องร้องเรียนไปถึงสนช.แล้ว ปรากฎเรื่องเงียบหาย วันที่ 26 มกราคม 2561 สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย จึงไปยื่นหนังสือถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ขณะนั้น ขอให้ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ นำเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งให้ที่ประชุมสนช.พิจารณา เป็นวาระเร่งด่วน

วันที่ 26 มีนาคม 2561 สนช.ส่งเรื่องคืนผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายฉบับใหม่

  • “ผู้ตรวจการแผ่นดิน”จี้ AOT เปิด “จุดส่งมอบสินค้า” ให้ทางเลือก “ใน-นอก” พื้นที่สัมปทานดิวตี้ฟรีภายใน 30 วัน

ผู้ตรวจการแผ่นดินนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ผู้ตรวจการแผ่นดิน เชิญกระทรวงการคลัง , กระทรวงคมนาคม และทอท. มาประชุม โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นควรให้ทอท. ให้พิจารณาดำเนินการ 2 ทางเลือก คือ 1. ให้ ทอท. จัดหาพื้นที่นอกสัญญาโครงการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อทำจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะแก่ผู้ประกอบการรายอื่น สามารถประกอบกิจการได้ หรือ 2. ให้ ทอท. ประสานกับบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด (คู่สัญญา) จัดหาพื้นที่เปิดให้บริการจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากรแก่ผู้ประกอบการรายอื่นได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้เวลาทอท.พิจารณาภายใน 30 วัน

วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ทอท.ทำหนังสือแจ้งผู้ตรวจการแผ่นดินว่าได้ดำเนินการตามข้อที่ 2 โดยทอท.ได้ทำหนังสือถึงบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ขอความร่วมมือ จัดหาพื้นที่เปิดจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากรให้ผู้ประกอบการรายอื่นใช้ร่วมกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

  • “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ส่งหนังสือถึงนายกฯ เสนอครม. ชี้ขาด กรณี AOT ไม่เปิดจุดส่งมอบสินค้าดิวตี้ฟรี ตามคำวินิจฉัย

วันที่ 4 ธันวาคม 2561 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหนังสือถึงสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทยว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับแจ้งจากทอท. ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่น เปิดจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากรได้ เนื่องจากบริษัท คิง เพาเวอร์ ฯ เป็นผู้ได้รับสิทธิในสัมปทานพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินสุวรรณภูมิแต่เพียงรายเดียว จึงย่อมเป็นสิทธิโดยชอบของบริษัทที่จะบริหารจัดการใด ๆ ภายใต้สิทธิ และข้อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ตามกำหนดไว้ในสัญญา หากให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาเปิดบริการจุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร อาจส่งผลกระทบโดยตรงกับประมาณการต่างๆ ตามที่บริษัทได้ยื่นเสนอค่าตอบแทนให้แก่ ทอท. ซึ่งไม่เป็นธรรมกับบริษัท และเป็นการละเมิดเงื่อนไขสัญญา หากมีการดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดสัญญา หรือข้อตกลงดังกล่าว ขอสงวนสิทธิในการดำเนินการตามกฎหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงการใช้สิทธิทางศาล เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิโดยชอบของบริษัท”

ขณะที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่า กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนะให้ ทอท. ประสานกับบริษัท คิง เพาเวอร์ ฯ เปิดให้บริการจุดส่งมอบสินค้าแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถดำเนินธุรกิจนี้ได้ ส่วนบริษัท คิง เพาเวอร์ ฯ ก็จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียม และค่าบริการจากผู้ประกอบการรายอื่น เป็นผลดีกับบริษัทและผู้ประกอบการรายอื่น มิได้เกิดผลกระทบหรือละเมิดเงื่อนไขสัญญาตามที่บริษัทได้กล่าวอ้าง

ส่วน ทอท. ก็จะมีรายได้จากผลประกอบกิจการดังกล่าว และเป็นการส่งเสริมภาคธุรกิจไทยให้เข้มแข็ง ป้องกันการผูกขาดธุรกิจสินค้าปลอดอากร เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

การที่ ทอท. ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินได้โดยไม่มีเหตุผลอันควร จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจหาข้อยุติได้ ตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 34 กำหนดให้นำความในมาตรา 33 วรรค 2 ที่ระบุว่า “ในกรณีที่ไม่อาจหาข้อยุติได้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรมาใช้บังคับโดยอนุโลม”

ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรแล้ว แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบจากนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับคณะกรรมการทอท.ที่ “คน” กระทรวงการคลังนั่งเป็นประธานกรรมการ(นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง)และเป็นกรรมการ(นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร) ได้ดำเนินการตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยหรือไม่ อย่างไร?