ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

กฎหมายควบคุมอาคาร สิ่งต้องรู้ก่อนการสร้างโรงงาน โกดัง คลังสินค้า อาคารต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

ความหมายของกฎหมายควบคุมอาคาร คืออะไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? มีหลักเกณฑ์และการปฏิบัติอย่างไร? ตาม KACHA ไปดูกัน!

กฎหมายควบคุมอาคาร คืออะไร?

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

กฎหมายควบคุมอาคาร คือ กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย สำหรับผู้ใช้อาคาร ไม่ว่าจะเป็น ความสูง ระยะห่าง การออกแบบอาคาร และระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบการระบายอากาศ ฯลฯ การจัดการด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ ฯลฯ ช่วยควบคุมการก่อสร้าง บ้านเมืองโดยรวมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

“อาคาร” หมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ รวมถึง อัฒจันทร์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน รวมถึง เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อ ทางระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง ประตู ที่สร้างติดหรือใกล้เคียงกับพื้นที่สาธารณะหรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย

ทำไมต้องมีกฎหมายควบคุมอาคาร?

เมื่อเมืองขยายตัว อาคารก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดอาคารสูงใหญ่ โรงแรม ศูนย์การค้า ซึ่งเป็นอาคารสาธารณะที่มีคนเป็นจำนวนมากเข้าไปใช้ในแต่ละวัน ดังนั้น ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ความปลอดภัยของผู้ใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่มีการควบคุม จะไม่มีความปลอดภัย ไม่สวยงาม ไม่เป็นระเบียบ ไม่ถูกสุขลักษณะ เสี่ยงต่ออันตราย เช่น ตึกถล่ม ไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนในเมืองส่วนรวม

การบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร

อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ ทั้งการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ตรงที่ใดก็ตามจะเป็นในเขตควบคุมอาคารหรือ นอกเขตควบคุมอาคาร ต้อง “ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” ในทุกกรณี

กฎหมายควบคุมอาคาร บังคับใช้ทั่วประเทศไหม?

ไม่ กฎหมายควบคุมอาคาร บังคับใช้ในพื้นที่ที่มีความเจริญ มีการก่อสร้างอาคารค่อนข้างหนาแน่น หากท้องที่ใดต้องการควบคุมการก่อสร้างให้มีความสวยงามเป็นระเบียบ มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย จะต้องประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องที่นั้น หรือประกาศเป็นเขตผังเมืองรวม ตามกฎหมายว่าด้วยผังเมืองก่อนจึงจะมีผลบังคับใช้

อาคารประเภทใดบ้างที่ต้องควบคุม?

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

  1. อาคารสูง ตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
  2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป
  3. อาคารชุมชุมคน พื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป หรือชุมนุมคน ได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
  4. โรงมหรสพ
  5. โรงแรม จำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
  6. สถานบริการ พื้นที่ตั้งแต่ 200 ตร.ม. ขึ้นไป
  7. อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม พื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป
  8. อาคารโรงงาน สูงมากกว่า 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป
  9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้น สำหรับติดหรือตั้งป้าย ที่สูงจากพื้นดิน ตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม. ขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตร.ม. ขึ้นไป
    หากเป็นอาคารที่ต้องควบคุม เมื่อก่อสร้างเสร็จ ยังไม่สามารถเปิดใช้อาคารได้ จะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบก่อนว่า อาคารนั้นได้ก่อสร้าง”ถูกต้องตามแปลน” และ “ระบบความปลอดภัย” ตามที่ได้รับอนุญาต

กฎหมายควบคุมอาคาร มีอะไรบ้าง?

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

2. กฎกระทรวง

กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่กําหนดรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ตามที่พระราชบัญญัติ แบ่งออกเป็น 3 หมวดโดยสรุป คือ เรื่องขั้นตอน รายละเอียดต่างในการปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม บริเวณห้ามก่อสร้าง ฯลฯ อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่ต่าง ๆ เป็นต้น

  • การออกแบบโครงสร้าง
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2549)
  • อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2537)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2564)
  • ลักษณะอาคาร ส่วนต่างๆ ของอาคาร ที่ว่างภายนอก แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคาร
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2546)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2550)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2563)
  • ระบบป้องกันอัคคีภัย, ห้องน้ำและห้องส้วม, ระบบการจัดแสงสว่างและระบายอากาศ, ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองกรณีฉุกเฉิน
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551)
  • ประเภทของอาคารที่ต้องมีที่จอดรถ จำนวนที่จอดรถ
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2555)
  • กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารฯ
    • สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
    • สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
  • การรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
    • การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
  • ระบบการระบายน้ำ, การกำจัดขยะฯ
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)
    • กฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541)

3. ข้อบัญญัติท้องถิ่น

ข้อบัญญัติท้องถิ่น คือ กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดเฉพาะท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เทศบัญญัติในเขตเทศบาลต่าง ๆ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเน้นเฉพาะข้อกำหนดงานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โดยแต่ละท้องถิ่นจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวเอง

???? (ดูกฎหมายควบคุมอาคารทั้งหมด คลิก)????

ตัวอย่างกฎหมายควบคุมโรงงานและคลังสินค้า

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

ยกตัวอย่าง กฎกระทรวง ฉบับที 55 (พ.ศ. 2543) ที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน ดังนี้

โรงงาน = อาคารหรือส่วนหนึงส่วนใดของอาคารทีใช้เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

  • วัสดุของอาคาร

เสา คาน พื้น บันได และผนังของโรงงานที่มีความสูงตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป ต้องทำด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ

  • พื้นที่ภายในอาคาร

ช่องทางเดินในโรงงาน ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร อาคารโรงงานทีใช้ในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีระยะดิ่งไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

  • บันไดของอาคาร

บันไดของหอพัก สำนักงาน อาคารสาธารณะ อาคาร พาณิชย์ โรงงาน และอาคารพิเศษ สำหรับที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร แต่สำหรับบันไดของอาคารดังกล่าวที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถ้าความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อยสองบันได และแต่ละบันไดต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร

  • ที่ว่างภายนอกอาคาร

โรงงานที่ไม่ได้ใช้เป็นที่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

ยกตัวอย่าง กฎกระทรวง ฉบับที 55 (พ.ศ. 2543) ที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า ดังนี้

คลังสินค้า = อาคารหรือส่วนหนึงส่วนใดของอาคารทีใช้เป็นทีสําหรับเก็บสินค้าหรือสิงของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม

  • พื้นที่ภายในอาคาร : ห้องหรือส่วนของคลังสินค้าทีใช้ในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีระยะดิ่งไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร
  • ที่ว่างภายนอกอาคาร
    • คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่าง ห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
    • คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคาร นั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร *ยกเว้นอาคารคลังสินค้าที่อยู่ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย*
  • แนวอาคารและระยะร่นต่าง ๆ ของอาคาร : อาคารคลังสินค้าที่สูงเกินสองชั้นหรือเกิน 8 ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร
  • ถนนสาธารณะความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ
    • ถนนสาธารณะความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
    • ถนนสาธารณะความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะ

ขั้นตอนการขออนุญาตทำได้อย่างไร?

ถ าอบต.ย งไม ม เขตควบค มอาคารแล วม โรงงานสร างจะทำอย างไร

การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ต้องยื่นขออนุญาตต่อ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” ต้องยื่นคําขอตามแบบฟอร์มที่กฎหมายกําหนด

เอกสารประกอบการขออนุญาต

  1. แบบฟอร์มคําขออนุญาต
  2. แบบแปลน แผนผังบริเวณ และรายการประกอบแบบแปลน จํานวน 5 ชุด
  3. รายการคํานวณ 1 ชุด (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
  4. สําเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ (กรณีที่เป็นอาคารควบคุมตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ)
  5. สําเนาโฉนดที่ดิน / น.ส. 3 / ส.ค.
  6. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีที่เจ้าของอาคารไม่ ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
  7. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีที่อาคารก่อสร้าง ชิดเขตที่ดิน น้อยกว่า 50 เซนติเมตร) หรือใช้ผนังร่วมกัน
  8. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนเจ้าของอาคาร (หรือหนังสือมอบอํานาจ กรณีที่ตัวแทนเจ้าของอาคารเป็นผู้ขออนุญาต)
  9. สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอํานาจลงชื่อแทน นิติบุคคลผู้ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน
  10. หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทน ซึ่งเป็นผู้ดําเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็น ผู้ขออนุญาต)
  11. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

????(ดาวน์โหลดเอกสารการขออนุญาตทั้งหมด คลิก)????

การพิจารณาของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

หากผู้ยื่นขออนุญาตมีแบบแปลนและเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจสอบ พิจารณา ออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาต(พร้อมเหตุผล) ภายใน 45 วัน

  • กรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาต สามารถขยายเวลาออกไปได้ ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 45 วัน
  • หากแบบแปลนยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จะต้องมีคําสั่งแก้ไข พร้อมกําหนดเวลาแก้ไข ให้ผู้ยื่นขออนุญาตได้ทราบและปฏิบัติโดยเร็ว
  • เมื่อผู้ยื่นแก้ไขแบบแปลนเรียบร้อย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขออนุญาต ภายใน 30 วัน
    หากเจ้าของอาคารมีความจำเป็นที่ต้องสร้างอาคารเร่งด่วน สามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่ต้องรอใบอนุญาตได้ด้วยการยื่นแบบฟอร์มและเอกสาร แต่ผู้ออกแบบอาคารต้องมีวุฒิวิศวกรและวุฒิสถาปนิก พร้อมแจ้งวันเริ่มต้น-สิ้นสุดการดำเนินการ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบรับแจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน เจ้าของอาคารสามารถดำเนินการได้ทันที หากดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถูกต้อง เจ้าของอาคารต้องแก้ไข รื้อถอน ในส่วนที่ไม่ถูกต้องทันที

จบไปแล้วกับ กฎหมายควบคุมอาคารที่ต้องรู้ก่อนสร้างโรงงาน โกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ ให้เจ้าของอาคาร ผู้รับเหมา หรือผู้อ่านนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ควรศึกษากฎหมายให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนนำไปใช้ในชีวิตจริง เพื่อที่จะก่อสร้าง รื้อถอน หรือดัดแปลงอาคารได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวลขณะดำเนินงาน เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ตลอดจนความปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามของบ้านเมือง