ถ า เขาไม ม ใครแล ว จะท งเราไปทำไม

แต่ไม่ว่าจะอ่านไปกี่ร้อยคำคม ดูวิดีโอของไลฟ์โค้ชไปกี่สิบหน หรือจะโดนเพื่อนห้ามแล้วห้ามอีก (เพราะไปทำให้เพื่อนเป็นหมาไม่รู้กี่รอบ) บางคนก็ดื้อด้านที่จะทำตามหัวใจมากกว่าสมอง และจบที่การทักไปหาเขาว่า “แกเป็นไงบ้าง สบายดีหรือเปล่าไอ้ต้าววววงื้ออออ”

ตัดใจไม่ลง และคงไม่ลืม

แทนที่จะไปเริ่มต้นความรักครั้งใหม่กับคนใหม่ ทำไมบางคนถึงยังปักใจอยู่กับความสัมพันธ์ที่เพิ่งจบลง ชนิดที่ว่ายังไงก็ต้องเป็นคนนี้แหละ ไม่อยากให้เป็นใครอื่นแล้ว

เหตุผลทั่วไปง่ายๆ ก็น่าจะเป็นเพราะลึกๆ เราอาจจะเต็มไปด้วย ‘ความเสียดาย’ ที่ในช่วงเวลานั้น เรามีโอกาสได้ทำอะไรดีๆ เพื่อกันและกันมากมาย แต่สุดท้ายก็ลืม ละเลย ไม่เคยได้ทำจนกระทั่งความสัมพันธ์สิ้นสุดลง เราจึงอยากมีโอกาสนั้นอีกครั้ง เพื่อชดเชยความรู้สึกผิดที่อยู่ในจิตใจ

“ที่บอกเลิกวันนั้น รู้ไหมฉันเสียใจ

ขอได้ไหม ขอเริ่มต้นใหม่

เพราะฉันไม่พร้อมรักใครนอกจากเธอ”

เนื้อเพลง อยากเริ่มต้นใหม่กับคนเดิม – อิ้งค์ วรันธร

(แปะเฉยๆ เผื่อมีคนอิน)

ถ า เขาไม ม ใครแล ว จะท งเราไปทำไม

แต่นอกเหนือไปจากความเสียดาย เหตุผลทางจิตวิทยาก็ทำให้เราเข้าใจความยึดติดนี้มากขึ้น เพราะการที่เราอยากกลับไปคบกับคนเดิม จริงๆ แล้วเป็นเพราะเรารู้สึก ‘ปลอดภัย’ กับอะไรที่เรา ‘คุ้นเคย’ (familiarity) อยู่แล้ว เรารู้ดีว่าแฟนเก่าชอบกินอะไร ชอบหนังเรื่องไหน ชอบไปเที่ยวที่ไหน ซึ่งยิ่งมันมีความเข้ากันได้บางอย่าง (ต้องมีแน่ล่ะ ไม่งั้นคงไม่ได้คบกันตั้งแต่แรก) ก็จะยิ่งทำให้เราไม่อยากเริ่มต้นใหม่กับคนอื่น เพราะการเริ่มต้นศึกษาคนใหม่ มักจะพบกับ ‘ความเสี่ยง’ ที่จะเจอความเข้ากันไม่ได้ เช่น เขาอาจจะไม่อินกับเรื่องที่เราอิน เขาอาจจะไม่ตลกในเรื่องที่เราตลก หรือเขาไม่พร้อมที่จะใช้เงินไปในเรื่องเดียวกันกับที่เราใช้ และเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก็ทำให้การใช้ชีวิตคู่อยู่ยากแล้วล่ะ

หรือที่นักจิตบำบัดคนหนึ่ง ทอม บรูเอตต์ (Tom Bruett) กล่าวไว้ว่า “ที่เป็นแบบนี้เพราะคนส่วนใหญ่จะกังวลกับความเปลี่ยนแปลง และ ‘ปีศาจที่คุณรู้จักดีอยู่แล้ว น่ากลัวน้อยกว่าปีศาจที่คุณยังไม่รู้จัก’ แม้ความสัมพันธ์ครั้งนั้นจะจบลงแย่แค่ไหนก็ตาม แต่มันก็ยังมีความสบายใจซ่อนอยู่ในนั้น”

“ปีศาจที่คุณรู้จักดีอยู่แล้ว น่ากลัวน้อยกว่าปีศาจที่คุณยังไม่รู้จัก”

อีกเหตุผล ก็คงจะเป็น ‘ความโดดเดี่ยว’ หลังเลิกราที่หลายคนไม่อยากเผชิญ งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากมหาวิทยาลัยยูทาห์และมหาวิทยาลัยโตรอนโต พบว่า 49 เปอร์เซนต์ของคนที่ตัดสินใจยุติความสัมพันธ์ จริงๆ พวกเขาไม่มั่นใจหรอกว่าควรทำแบบนั้นดีหรือเปล่า โดยงานวิจัยนี้ศึกษาโดยวิธีสอบถามผู้คน ถึงเหตุผลที่พวกเขาเลือกที่จะอยู่ต่อหรือไปจากคนรัก ซึ่ง 66 เปอร์เซนต์ เผยว่า เหตุผลที่ทำให้พวกเขาอยู่ต่อนั่นก็เพราะความใกล้ชิดและการพึ่งพาอาศัยกันกับคู่ของตน ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส ที่พบว่าคู่รักเกือบครึ่งหนึ่งที่ศึกษา จะตัดสินใจคบหากันอีกครั้ง เพราะอย่างน้อยการกลับไปคบกับแฟนเก่า พวกเขาก็ไม่ได้อยู่คนเดียว

“บางคนกลับไปคบกับแฟนเก่า เพราะพวกเขากลัวการอยู่คนเดียว ซึ่งเหตุผลนี้เกิดจากความต้องการหลีกเลี่ยงสภาวะบางอย่าง ทำให้ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งอาจไม่ยั่งยืนตลอดไป” นักจิตวิทยาคลินิก โจชัวร์ คลาปาว (Joshua Klapow) กล่าว ซึ่งบางครั้งความเหงา ความโดดเดี่ยว และความว่างเปล่าก็ทำให้เราเหมารวมไปว่า “ฉัน/เขาเปลี่ยนไปแล้วนะ” และพร้อมจะกลับมาคบกันเหมือนเดิมแล้ว แต่นั่นไม่ใช่เลย สุดท้ายก็ไม่มีใครเปลี่ยนไป เพราะไม่มีช่วงเวลาทิ้งห่างให้ทบทวนตัวเอง และเราเรียกความสัมพันธ์แบบรักๆ เลิกๆ นี้ว่า on-and-off-relationship

เหตุผลทางจิตวิทยาของการกลับมาคบกับแฟนเก่านั้นมีอีกมากมายและน่าสนใจทีเดียว เพราะนอกจากมีงานวิจัยหลายชิ้นแล้ว ยังมีรายการโทรทัศน์ของออสเตรเลียที่นำเสนอเรื่องราวของคนที่อยากกลับไปคบกับแฟนเก่า หรือ ‘Back With the Ex’ ที่ฉายบน Netflix ซึ่งเราจะได้ติดตามเรื่องราวความรักของคู่รัก 4 คู่ ที่พยายามจะทำให้ความรักไปของพวกเขาไปต่อได้อีกครั้ง โดยตลอด 7 ตอนนั้น เราจะได้เห็นการกลับมาและการเดตกันอีกครั้งของพวกเขา ที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจว่าจะกลับมาคบกันอีกครั้งได้มั้ยในตอนจบ

แต่ไม่ว่าตอนจบของทั้งคู่จะลงเอยอย่างไร การที่พวกเขาเลือกที่จะพยายามกับความสัมพันธ์นี้อีกครั้ง เป็นเพราะพวกเขามีความหวังเล็กๆ ว่ามันจะกลับมาเวิร์ก และคิดในเชิงปลอบใจตัวเองว่า “ตอนที่เคยมีช่วงเวลาที่ดี มันก็ดีจริงๆ นะ”

ถ า เขาไม ม ใครแล ว จะท งเราไปทำไม

ก่อนกลับไปหาเขา อยากให้เรากลับมาคุยกับตัวเองก่อน

ความทรงจำเก่าๆ นั้นก็หอมหวานดีแหละ แต่ขอเบรกเอาไว้นิดนึง เราลืมอะไรไปหรือเปล่าว่า การที่เขาคนนั้นกลายเป็นแฟนเก่า ก็เพราะเหตุผลบางอย่างที่ทำให้เราทั้งคู่ไปกันไม่รอด จริงมั้ย?

เพราะฉะนั้น ก่อนกลับมาคบกันอีกครั้ง อยากให้นึกย้อนกลับไปให้หนักๆ หนักพอกับที่นึกอยากกลับไปคบกับเขาว่า อะไรกันแน่ที่ทำให้ความสัมพันธ์ครั้งนี้พังลงไปตั้งแต่แรก ซึ่งปกติคู่รักมักจะเลิกรากันด้วยเหตุผลไม่กี่อย่าง เช่น ปัญหาสุขภาพจิต ความผิดปกติทางอารมณ์ ปัญหาทางการเงิน หรือความเข้ากันได้ของการใช้ชีวิต ลองทบทวนดูดีๆ ว่าที่เลิกราไปตั้งแต่แรกนั้น เกิดจากประการไหนกันแน่?

เมื่อนึกออกแล้ว ถามตัวเองว่าเราพอจะให้อภัยเขาได้หรือไม่? สมมติว่าเป็นพฤติกรรมจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ ทะเลาะกันเรื่องไม่ปิดฝายาสีฟัน ทะเลาะกันเรื่องอารมณ์ร้อนเวลาขับรถ ทะเลาะกันเรื่องชอบพูดจาไม่เข้าหู ถามตัวเองว่าเราพอจะปรับให้กันได้มั้ย? แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมร้ายแรงอย่างการนอกใจหรือทำร้ายร่างกาย การกลับไปอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะพฤติกรรมเหล่านั้น เหมือนเป็น red flag ให้เราต้องรีบเอาตัวเองออกมาตั้งนานแล้ว

หากเรามองความผิดพลาดในอดีตเป็นเหมือน ‘คู่มือ’ ในการเปลี่ยนแปลงอนาคต มันก็จะช่วยนำเราไปสู่ตอนจบของหนังสือในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งได้ และถามตัวเองบ่อยๆ ว่า การกลับมาคบกันครั้งนี้จะมีอะไรแตกต่างไปจากเดิมหรือเปล่า? เราและเขามีมุมมองในชีวิตที่ดูจะไปกันรอดแล้วหรือยัง? หลังจากเลิกราไป เราได้เรียนรู้อะไรในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ้าง?

เพราะการที่จะกลับมาคบกันอีกครั้งให้เวิร์ก แน่นอนว่าปัจจัยหลักย่อมมาเกิดจาก ‘การเปลี่ยนแปลง’ บางอย่าง ซึ่งในขณะที่คบกัน เราอาจไม่รู้หรอกว่านั่นคือปัญหา หรือเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากตัวเราเอง แต่พอเลิกกันไปแล้ว เมื่อได้ลองออกมายืนมองเรื่องนี้อีกครั้งในมุมที่กว้างขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น มีสติขึ้น เราอาจจะได้เรียนรู้ว่าเราควรแก้ไขจุดไหนบ้าง แล้วถ้าเรารู้และยินดีที่จะปรับปรุงตรงนั้นได้ การกลับมาคบกับแฟนเก่าก็ไม่ใช่การตัดสินใจที่โง่เขลาหรอก

แต่ยังไงก็อย่าลืมว่า เราคนเดียวไม่สามารถเปลี่ยนตอนจบได้ทั้งหมด สังเกตหรือถามอีกฝ่ายด้วยว่าเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจริงๆ เหมือนกับเราหรือยัง เพราะไม่เช่นนั้น มันก็จะกลายเป็น endless cycle ที่มีแต่เราคนเดียวที่เจ็บปวดกับเรื่องนี้