ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ยายวัย 81 สุดเอือมสามีวัยดึก หลงสาวรุ่นราวคราวลูกหัวปรักหัวปรำ ฉกของในบ้าน-ร้านค้ารอบข้างเอาไปเปย์สาว ล่าสุดขโมยเงินร้านค้าอื่น 3 พันบาท ถูกเจ้าของร้านจับได้คาหนังคาเขา-แจ้งตำรวจ ด้านภรรรยาเตรียมแจ้งความเอาเรื่อง เพราะขโมยของ-ทำร้ายเป็นประจำ

  • หน้าหลัก
  • โปรโมชัน
  • ค้นหาสาขา
  • เกี่ยวกับเรา

แนะนำ ฉลาดโอน


ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

แชร์ความรู้

ความเห็นจากผู้ใช้งาน

ประโยชน์มากๆเลยค่ะ สามารถเช็คบัญชีก่อนโอนเงินซื้อของได้

โดนโกงเงินไป มาปรึกษาและแจ้งรายชื่อไว้กับทางฉลาดโอน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ

ดีนะ ที่มาเช็คคนบัญชีกับฉลาดโอนก่อน ไม่งั้นต้องเสียเงินไปฟรีแน่ๆ ขอบคุณฉลาดโอนมากๆ ค่ะ

ความเห็นจากประชาชน

28-10-2566

นางสาว ศรีจันทร์

กรอกข้อมูลแจ้งคนโกงสะดวกมากเลยค่ะ สนับสนุนเว็บไซต์ฉลาดโอนค่ะ


คำถามที่พบบ่อย

ตรวจสอบรายชื่อก่อนโอนต้องทำอย่างไร

  • 1. เลือกเมนู ตรวจสอบข้อมูลผู้รับโอน
  • 2. กรอกข้อมูลผู้ขายลงไป เช่น เลขบัญชีธนาคาร หรือเบอร์พร้อมเพย์ หรือกรอกชื่อ-นามสกุล แล้วกดตรวจสอบ
  • 3. หากมีประวัติการโกง ระบบจะแสดงข้อมูลการโกง

แจ้งคนโกงต้องทำอย่างไร

  • 1. เลือกเมนู "แจ้งคนโกง"
  • 2. กรอกหมายเลขโทรศัพท์ของท่านเพื่อเข้าสู่ระบบ และ ยืนยันตัวตน
  • 3. กรอกข้อมูลคนโกงที่ต้องการแจ้ง

ให้ทีมงานฉลาดโอนช่วยรวบหลักฐานต้องทำอย่างไร

  • 1. ให้ทำการแอดไลน์ @chaladohn
  • 2. ทำการแจ้งรายละเอียดต่างๆให้กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำและปรึกษาเพื่อเตรียมเอกสารในการดำเนินคดีออนไลน์

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส


พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

27 กันยายน 2023

คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนที่ 14 หลังจากในช่วงแรกของการประชุมมีมติเลื่อนการแต่งตั้งไปก่อน ด้านโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงว่าการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยชื่อของ ผบ.ตร. คนใหม่

สื่อในไทยหลายสำนักรายงานตรงกันว่า การประชุม ก.ตร. ในวันนี้ (27 ก.ย.) ที่ประชุม ก.ตร.มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ หลังจากในช่วงแรก ที่ประชุม ก.ตร. ได้เลื่อนการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ยาวไปถึงเดือน ต.ค. โดยได้แต่งตั้ง พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. อาวุโสลำดับที่ 1 รักษาการ ผบ.ตร. ไปก่อน

แต่ต่อมา ที่ประชุม ก.ตร. ต้องการเดินหน้า เลือก ผบ.ตร.คนใหม่ โดยรายงานข่าวระบุว่า "อยากให้จบ" ก่อนให้แคนดิแดต ผบ.ตร. ออกไปนอกห้อง หลังจากนั้นจึงมีการลงมติ โดยผลออกมาว่า ก.ตร. มีมติเสียงข้างมากแต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เป็น ผบ.ตร.

อย่างไรก็ตาม ในการแถลงข่าวของ พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 17.15 น. ระบุว่า ที่ประชุม ก.ตร. ได้พิจารณารายชื่อ ผบ.ตร. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ และขอให้รอการดำเนินการตามขั้นตอนทางธุรการก่อน

พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นหนึ่งเดียวที่ลงมติ "ไม่เห็นชอบ" พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร.คนต่อไป ซึ่งต่อมาเขาอธิบายถึงการตัดสินใจในโพสต์เฟซบุ๊กส่วนบุคคลว่า

“การคัดเลือกแต่งตั้ง ผบ.ตร.ไม่เป็นหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้” เขากล่าว

"ผมขอยืนยันว่า ได้แสดงความคิดเห็นด้วยบริสุทธิ์ใจใช้วิจารณญาณและดุลพินิจ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลใด เพื่อประโยชน์ขององค์กรตำรวจและประเทศชาติบ้านเมือง

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ที่มาของภาพ, Aek Angsananont

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เป็นรอง ผบ.ตร. ที่มีลำดับอาวุโสลำดับที่ 4 จากรอง ผบ.ตร. ที่เป็นแคนดิเดตทั้ง 4 คน ในวาระการแต่งตั้งประจำปี 2566

การประชุม ก.ตร. ในวันนี้ (27 ก.ย.) เลื่อนมาจากครั้งก่อนหน้าเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนก่อน ยังเป็นประธาน ก.ตร. อยู่ โดยในวันนี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางมาเป็นประธานการประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2566 เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งนายกฯ พร้อมตรวจแถวกองเกียรติยศ ก่อนเข้าร่วมการประชุม

การประชุม ก.ตร. มีขึ้น ภายหลังเหตุบุกตรวจค้นบ้านพักของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. หนึ่งในผู้เข้าชิงตำแหน่ง ผบ.ตร. พร้อมจับกุมนายตำรวจลูกน้องอีก 8 ราย กล่าวหาว่าพัวพันกับเว็บพนันออนไลน์ เมื่อวันที่ 25 ก.ย.

ทั้งนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งเป็น ก.ตร.โดยตำแหน่ง ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

สำหรับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นผู้บังคับการ "กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ" คนแรก ซึ่งยกฐานะจากหน่วยคอมมานโดในเดือน ต.ค. 2561 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในปี 2563 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ใช้เวลา 5 ปี ขยับขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของข้าราชตำรวจในปี 2566 โดยที่การขึ้นสู่ตำแหน่งของเขาในช่วงหนึ่ง ได้รับการ "ยกเว้นหลักเกณฑ์" จาก ก.ตร. อย่างต่อเนื่อง

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ที่มาของภาพ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คำบรรยายภาพ,

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.คลัง ตรวจแถวกองเกียรติยศ ก่อนร่วมประชุม ก.ตร.

การพิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร. เป็นอำนาจของ ก.ตร. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมดำรงตำแหน่ง พร้อมด้วยกรรมการข้าราชการตำรวจที่เป็นโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เปิดให้ตำรวจตั้งแต่ระดับรองผู้กำกับการขึ้นไปเลือกตั้งเข้ามา

เกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งนายตำรวจขึ้นเป็น ผบ.ตร. เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ซึ่งผู้ที่จะมาเป็น ผบ.ตร. ต้องเป็นข้าราชการตำรวจยศ "พลตำรวจเอก" ที่ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) และพิจารณาโดยดูจากความอาวุโสและความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวนหรืองานป้องกันปราบปราม

สำหรับ "แคนดิเดต ผบ.ตร." ในปีนี้ ได้แก่ รอง ผบ.ตร. 4 คน เรียงตามลำดับอาวุโส ได้ดังนี้

1. พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2567

2. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2574

3. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2569

4. พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2567

ก่อนหน้านี้ รอง ผบ.ตร. ทั้ง 4 คน ต้องส่งผลการปฏิบัติงานและวิสัยทัศน์ เป็นเอกสารไม่เกิน 4 แผ่น ถึงนายกฯ เพื่อประกอบการพิจารณาภายในวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา

บีบีซีไทย รวบรวมประวัติและผลงานคร่าว ๆ ของ นายตำรวจทั้ง 4 คน

"เส้นทางความเร็วสูง" ของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล

ในบรรดา 4 แคนดิเดต ที่ชิงตำแหน่ง ผบ.ตร. คนที่ 14 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ถือว่ามีลำดับอาวุโสท้ายสุด และนับว่ามีเส้นทางแตกต่างจากนายตำรวจรายอื่น เพราะ "ไร้รุ่น" เนื่องจากไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.)

แคนดิเดต ผบ.ตร. ผู้นี้ ซึ่งผ่านการดำรงตำแหน่งผู้บังคับการหน่วยคอมมานโด มาจนถึงผู้บัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) คือ น้องชายของ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ หรือ "พี่ต่อ" ชื่อที่เขามักเรียกแทนตัวเองต่อสื่อและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นคนเมืองเพชร เรียนจบมัธยมปลายที่โรงเรียนโยธินบูรณะ และจบปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบมาได้เข้าทำงานที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เป็นเวลากว่า 7 ปี ก่อนลาออกเพื่อเริ่มต้นเส้นทางวงการสีกากี

เขาสมัครเป็นตำรวจจากการเข้าอบรมในหลักสูตร "ผู้มีคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์" เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สายสอบสวน (กอต. 4) ในปลายปี 2540

4 ปีเศษจาก ผู้กำกับการ ถึง ผบช.ก.

หลังจากจบหลักสูตร กอต. ต่อศักดิ์ ได้รับการบรรจุเป็นรองสารวัตร สังกัดกองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ 191 ในปี 2541 ด้วยวัย 33 ปีเศษ ซึ่งถือว่าเริ่มต้นเป็นตำรวจด้วยอายุที่มากพอสมควร

ความน่าสนใจในเส้นทางตำรวจของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ คือการขึ้นสู่ตำแหน่งของเขาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้รับการ "ยกเว้นหลักเกณฑ์" จาก ก.ตร. อย่างต่อเนื่อง ระหว่างปี 2561-2562 ตั้งแต่ตำแหน่งรองผู้บังคับการกองปราบปราม

ต่อมาในเดือน ต.ค. 2561 เมื่อหน่วยคอมมานโด ได้รับการยกฐานะเป็น "กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ" ต่อศักดิ์ได้ขึ้นเป็นผู้บังคับการคนแรก ซึ่งในเวลาต่อมาหน่วยนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ” ในปัจจุบัน โดยเป็นหน่วยที่อยู่ภายใต้ บช.ก.

ในการขยับตำแหน่งขึ้นเป็นผู้บังคับการในครั้งนั้น ได้รับการยกเว้นจาก ก.ตร. ทั้งที่หลักเกณฑ์วางไว้ว่าต้องเป็นรองผู้บังคับการไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ในเดือน ต.ค. 2562 เขาได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์อีกครั้งเพื่อขึ้นชั้นเป็นรอง ผบช.ก. โดยเป็นผู้บังคับการอาวุโสน้อยสุดจากรองผู้บังคับการทั้งหมดกว่า 400 นาย ไม่ต้องรอครบหลักเกณฑ์ 2 ปีตามกฏ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้ง

หลังจากนั้นราว 1 ปี ในเดือน ก.ย. 2563 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบช.ก. พร้อมเลื่อนยศให้เป็น พล.ต.ท. โดยการแต่งตั้งครบหลักเกณฑ์ แต่หากนับอาวุโส พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ (ยศในขณะนั้น) ก็อยู่ในลำดับสุดท้ายคือ 121

การเว้นหลักเกณฑ์แต่ละครั้งที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ใช้เวลาเพียง 4 ปีกับ 3 เดือนเศษ ในการเลื่อนตำแหน่งจากผู้กำกับการ ยศ พ.ต.อ. มาจนถึงตำแหน่ง ผบช.ก. ยศ พล.ต.ท. ขณะที่คนขึ้นเป็นผู้กำกับการในวาระเดียวกันกับเขา ยังคงนั่งเป็นผู้กำกับการเหมือนเดิมทุกคน

เส้นทางหลังจากการเป็น ผบช.ก. เขาขยับขึ้นเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. ในปี 2564 พร้อมกับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล (ยศในขณะนั้น) ก่อนขึ้นเป็น รอง ผบ.ตร. พร้อมกันอีกครั้งในปี 2565

  • ต่อศักดิ์ สุขวิมล: ผู้บัญชาการ ตร. สอบสวนกลางคนใหม่ กับคติ "ทำงานในตำแหน่งที่เราได้รับให้ดีที่สุด"
  • ตั๋วช้าง: พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล โยน ตร. ชี้แจงกรณีรังสิมันต์กล่าวพาดพิงในสภา

ข้อครหา "ตั๋วช้าง"

ในปี 2564 ระหว่างที่เป็น ผบช.ก. ชื่อของ ต่อศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็น พล.ต.ท. ถูกพาดพิงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา

นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) พาดพิงถึงเขาระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าปล่อยปละละเลยให้เกิดความไม่เป็นธรรมและการแทรกแซงจากบุคคลภายนอกในการแต่งตั้งและโอนย้ายตำรวจ อีกทั้งการให้กลุ่มบุคคลภายนอกมีอำนาจสั่งการ ผบ.ตร. ในการโอนย้ายตำรวจ

นายรังสิมันต์ ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติในการแต่งตั้งและเลื่อนขั้นที่เขาเรียกว่า "ตั๋ว" ในแวดวงสีกากี โดยยกตัวอย่างชื่อของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ และ พล.ต.ต. "จ." ซึ่งแม้นายรังสิมันต์จะเอ่ยเพียงชื่อย่อ แต่ชาร์ตที่นำมาแสดงกลางสภาปรากฏชื่อ พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก.

ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลสรุปว่า "ตั๋ว" ในการแต่งตั้งตำรวจมีทั้งที่มาจาก ผบ.ตร. หรือ "ตั๋ว ผบ.ตร." "ตั๋ว พล.อ. ประยุทธ์" "ตั๋ว พล.อ. ประวิตร" และ "ตั๋วช้าง" ซึ่งอย่างหลังเขาหมายถึงเอกสารขอสนับสนุนการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งนายตำรวจ 20 นาย ที่ลงนามโดยบุคคลภายนอกซึ่งทำงานใกล้ชิดเบื้องสูง

"แมว 9 ชีวิต" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล

สุรเชษฐ์ เป็นคน จ.สงขลา เป็นบุตรของนายดาบตำรวจไสว และนางสุมิตรา หักพาล พ่อของเขาเป็น ผบ. หมู่อยู่หน่วยพลาธิการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 เขาเคยเล่าให้สื่อฟังว่า พ่อของเขาขับรถให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 มากว่า 20 คน รวมถึง พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์ (พ่อของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร)

สุรเชษฐ์ เข้าสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 31 ก่อนเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 47 เป็นผู้หมวดหนุ่มในวัย 23 ปีเศษ โดยเริ่มต้นชีวิตราชการเหมือนนายตำรวจใหม่ทุกคน เป็นพนักงานสอบสวนในนครบาล 2 ปี

เส้นทางตำรวจของเขา เริ่มที่ตำแหน่งสารวัตรที่กองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โยกย้ายขยับตำแหน่งไปยังหลายหน่วย

สุรเชษฐ์ เคยเป็นนายเวรนายตำรวจราชสำนักประจำ ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผู้กำกับการอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้กำกับการ สภ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บ้านเกิด และขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ที่มาของภาพ, THAI NEWS PIX

คำบรรยายภาพ,

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต และเป็น ก.ตร.โดยตำแหน่ง ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

เงาตามติด "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ"

หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 สุรเชษฐ์ ขยับจากรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ขึ้นรักษาการตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานงานนายกรัฐมนตรี

หลังจากนั้น เขาก็ได้กลายเป็นเงาติดตาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นับเป็นจุดที่ทำให้เขาก้าวกระโดดมาเป็นคนมีชื่อเสียงระดับประเทศ

ภายในเวลา 2 เดือนเศษ สุรเชษฐ์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ในเดือน ต.ค. 2558 สร้างผลงานและชื่อเสียงอยู่ที่กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวเพียง 1 ปี ก็ย้ายกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อีกครั้ง หลังจากที่เคยสังกัดอยู่ช่วงสั้น ๆ

กลับมาครั้งนี้ เขาขึ้นชั้นเป็นผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ 191 อันเลื่องชื่อ และสร้างผลงานด้านการอำนวยการสืบสวนจับกุมได้อย่างโดดเด่นแม้จะอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่ถึง 1 ปี จาก 1 ต.ค. 2559-6 ก.ย. 2560 ก่อนที่จะขึ้นรั้งตำแหน่งรักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว หลังมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่

แม้ไม่ได้เป็นผู้บัญชาการหน่วยคนแรก แต่สุรเชษฐ์ก็ได้ครองตำแหน่งที่นายตำรวจหลายคนหมายปอง เมื่อได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ.ประวิตร ให้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เมื่อปี 2561

ช่วงเวลาการเป็นผู้บัญชาการ ตม.นี้เอง ที่ชื่อของ สุรเชษฐ์ โด่งดังต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการมีบทบาทสำคัญในกรณีสาวชาวอังกฤษที่อ้างถูกขืนใจบนเกาะเต่า และกรณีเรือฟินิกซ์ล่มที่ภูเก็ต เมื่อปี 2561 และคดีหญิงซาอุดิอาระเบียวัย 18 ปี ถูกกักตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2562

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ที่มาของภาพ, GETTY IMAGES

"ฟ้าผ่า" ที่ สวนพลู

ช่วงเวลาหอมหวาน ในตำแหน่งผู้บัญชาการ ตม. ก็แสนสั้น 6 เดือนกับอีกไม่กี่วัน ในวันที่ 5 เม.ย. 2562 สุรเชษฐ์ ก็โดนคำสั่งของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ขณะนั้น สั่งย้ายเขาไปประจำ ตร.โดยให้ขาดตำแหน่งเดิม

ไม่กี่วันต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ก็ใช้อำนาจตามมาตรา 44 โอนเขาไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษ ประจำปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และถูกขึ้นบัญชีบุคคลต้องได้รับการตรวจสอบจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ช่วงเวลานี้มีคำร่ำลือเกิดขึ้นมากมายกับตัวเขา เพราะบัญชีสื่อออนไลน์ที่เคยเคลื่อนไหวถูกปิดไปจนสิ้น บ้านพักและเซฟเฮาส์ส่วนตัวหลายแห่งถูกค้น เงินสดหลายร้อยล้านถูกอายัดไปตรวจสอบ หนักไปถึงขั้น ความผิดพลาดครั้งนี้ อาจหนักถึงขั้นถูกไล่ออกจากราชการ หนักไปกว่านั้น "อาจถึงตาย" แต่ทุกอย่างก็ไม่หนักถึงปานนั้น

สุรเชษฐ์ ใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในชีวิตข้าราชการพลเรือนไปถึง 2 ปีเต็ม หลังจากนั้น จึงมีคำสั่งนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โอนให้เขากลับไปเป็นที่ปรึกษา สบ 9 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เทียบผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่เปิดเป็นตำแหน่งเฉพาะตัวให้สุรเชษฐ์ หลังเขายื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ ที่ออกคำสั่งโยกย้าย แม้ศาลปกครองจะยกฟ้อง เพราะฟ้องผิดขั้นตอนที่กฎหมายปกครองกำหนดไว้ก็ตาม

ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ (ยศขณะนั้น) กลับมาผงาดอีกครั้งในตำแหน่งหลักผู้ช่วย ผบ.ตร. และขยับขึ้นเป็น รอง ผบ.ตร. ในปี 2565 ในช่วง 2 ปีนี้ เขาสร้างผลงานคดีค้ามนุษย์หลายคดี ซึ่งรวมทั้งปฏิบัติการทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ ปราบเงินกู้นอกระบบ ทลายเครือข่ายทุนจีนสีเทา ก่อนขึ้นแท่นเป็นแคนดิเดตชิง ผบ.ตร. ในปีนี้ ซึ่งเขาอยู่ในลำดับอาวุโส ลำดับที่ 2 และยังเหลืออายุราชการอีก 7 ปี

แต่เพียงไม่กี่วันก่อนเคาะเลือก ผบ.ตร. คนใหม่ ก็เกิดเหตุการณ์ตำรวจคอมมานโดพร้อมด้วยหน่วยปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเข้าบุกค้นบ้านของเขา และแจ้งจับลูกน้องอีก 8 นาย กล่าวหาพัวพันกับผู้ต้องหาพนันออนไลน์รายหนึ่ง

เส้นทางสู่ ผบ.ตร. ของเขาจึงยากเกินคาดเดาว่าจะออกมาเป็นเช่นไร

ตวรจสอบบ ตรการอน ม ต บ ตรย เมะพล ส

ที่มาของภาพ, HANDOUT

คำบรรยายภาพ,

ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมหน่วยคอมมานโด นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบ้านของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ และบ้านที่ซื้อไว้ให้ลูกน้องพัก รวม 5 หลัง ในหมู่บ้านซอยวิภาวดี 60 หลังสโมสรตำรวจ เมื่อ 25 ก.ย. 2566

การชิงเก้าอี้ ผบ.ตร.สมัยที่ 2 ของ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์

การชิงเก้าอี้ ผบ.ตร. ในครั้งนี้ นับเป็นการเข้าชิงตำแหน่งสูงสุดของนายตำรวจเป็นครั้งที่ 2 ของ พล.ต.อ.รอย หลังจากไม่ประสบความสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว มาในครั้งนี้ พล.ต.อ.รอย มีลำดับอาวุโสอันดับแรกในบรรดาแคนดิเดตทั้ง 4 คน

พล.ต.อ.รอย เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 24 และนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 40 ประวัติการศึกษา จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท MPA จากสหรัฐอเมริกา จบหลักสูตรหลักเอฟบีไอ จากสหรัฐอเมริกา หลักสูตรสืบสวนจากสหรัฐอเมริกา-ออสเตรเลีย

เขาเริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งรองสารวัตร กองบังคับการปราบปราม ที่กองตำรวจสันติบาล 1

ในการขยับขึ้นสู่ยศนายพล เว็บไซต์ผู้จัดการรายงานว่า เขาติดยศ พล.ต.ต. ในตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 3 (ผบก.ตม.3) ก่อนโยกย้ายเป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว หลังจากนั้นก็ย้ายไปทำงานในอีกหลายส่วน ก่อนในเวลาต่อมาจะได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ในปี 2558 นับว่าเป็นนายตำรวจระดับผู้บัญชาการที่อายุน้อยและน่าจับตาในเวลานั้น

ผลงานที่สร้างชื่อให้กับ พล.ต.อ.รอย หากย้อนไปในสมัยเป็นผู้กำกับการตำรวจทางหลวง เขาได้ร่วมแก้ปัญหาเหตุการณ์บุกยึดสถานทูตเมียนมา และเหตุจับตัวประกันที่โรงพยาบาลราชบุรี ช่วงดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผบ.ตร. ระหว่างปี 2561-2564 รับผิดชอบงานหลัก 4 ด้าน ทั้งสืบสวนสอบสวน ป้องกันปราบปราม กฎหมายและคดี และงานบริหารงบประมาณของ ตร. โดยมีคดีที่โด่งดังที่คุมได้แก่ คดีบ่อนพนันภาคตะวันออก ได้รับมอบหมายให้ดูแลตำรวจภูธรภาค 2 หลังจากมีนายตำรวจพัวพันกับกิจกรรมสีเทาดังกล่าว

เมื่อขึ้นเป็น รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.รอย รับผิดชอบงานด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ ควบคู่กับการเป็นหัวหน้าศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและความมั่นคง, ศูนย์บริหารงานจราจรและ ศูนย์บังคับและต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)

ภารกิจล่าสุดที่ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ที่เพิ่งพ้นตำแหน่ง คือ การกวาดล้างอาชญากรรมในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป 14 พ.ค. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากสื่อหลายแห่งว่า พล.ต.อ.รอย อาจถูกโยกไปนั่งตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อทดแทนการไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผบ.ตร. ในครั้งนี้

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้ท้าชิงอาวุโสลำดับ 3

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เป็นชาว จ.ราชบุรี และนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 25 และจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 41 โดยจะครบวาระเกษียณอายุราชการ ในปี 2569

นอกจากเป็นรอง ผบ.ตร.แล้ว เขายังเป็นหัวหน้าศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ศปปง.ตร.) และศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.)

ไทยพีบีเอสรายงานว่า ผลงานล่าสุดเขาได้รับมอบหมายให้ตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนปรับปรุงแก้ไขระเบียบคำสั่งกฎ ก.ตร และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรับบุคคลเข้ามาเป็นตำรวจสัญญาบัตร การบรรจุ แต่งตั้ง ครองยศ รวมถึงการเข้าเรียนหลักสูตร กอส. หลักสูตรการอบรมบุคคลภายใน (ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน) เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอน.) ให้สอดคล้องสถานการณ์ ปัจจุบัน และสอดรับกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565

ก.ตร. ประกอบไปด้วยใครบ้าง

นอกจากตัวนายกรัฐมนตรีที่นั่งเป็นประธาน ก.ตร. ยังประกอบไปด้วย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

นอกจากนี้ ยังมีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ กรรมการที่เคยเป็นข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป และพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจเกิน 1 ปี จำนวน 3 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒ์ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจอีก 3 คน วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี เพียงวาระเดียว ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็คือ ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับรอง ผกก. หรือ เทียบเท่าขึ้นไปกว่า 13,000 คน