ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

อำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗

Download

อำนาจหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งในสถานีตำรวจ

Download

อำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานสอบสวน

Download

...

อดีตนายตำรวจผู้เปิดโปงกระบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา ได้สัญชาติออสเตรเลียแล้ว หลังลี้ภัยนาน 7 ปี นับเป็นชะตาชีวิตที่หักเหของนายพลตำรวจตรีที่ไม่เคยคิดว่าต้องมาใช้ชีวิตวัยเกษียณนอกมาตุภูมิ

พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ในวัย 65 ปีที่ต้องทำงาน 50 ชม. ต่อสัปดาห์ กล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และนายตำรวจทั้งในปัจจุบันและอดีตอีกหลายคนว่าขาดความจริงใจในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ เขาเตรียมเขียนหนังสือเปิดโปงเบื้องหลังคดีดังหลายคดี

"รัฐบาลมีความจริงจังในการประกาศให้การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ หมายความว่า ทุก ๆ ท่าน ณ ที่นี้ จะต้องเร่งทำหน้าที่อย่างจริงจัง เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ เพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ใครที่ยังคิดจะเอาเปรียบและหาประโยชน์โดยมิชอบจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด และโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าไปพัวพันกับขบวนการค้ามนุษย์ หรือละเลยไม่ทำหน้าที่ ขอประกาศว่า บุคคลเหล่านี้ต้องไม่มีที่ยืนในสังคมไทยอีกต่อไป" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศต่อหน้าคณะรัฐบาล ตำรวจ ทหารและข้าราชการระดับสูงกว่า 500 คน เมื่อ 3 เม.ย. 2558

ในวันนั้น พล.ต.ต.ปวีณ ในฐานะรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา เป็นคนหนึ่งที่นั่งฟังคำประกาศดังกล่าว

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, AFP/Getty images

คำบรรยายภาพ,

ชาวโรฮิงญาบนเรือขนผู้อพยพที่ลอยลำอยู่ในทะเลอันดามันนอกฝั่งไทยเมื่อปี 2558

  • ลำดับเหตุการณ์คดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ที่ทำให้ พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ต้องลี้ภัย
  • ย้อนคำสัมภาษณ์ พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ เมื่อขอลี้ภัยในออสเตรเลีย
  • ค้ามนุษย์ : นายกฯ โต้อดีตหัวหน้าชุดจับคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาลี้ภัย ไม่ผิดก็กลับมา ไม่มีใครทำอะไรได้
  • พล.ท. มนัส คงแป้น จำเลยคนสำคัญคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาเสียชีวิตในเรือนจำ ส่วน พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ หัวหน้าชุดทำคดีขอลี้ภัย
  • ประวิตร บอก "ไทยดีที่สุดในเอเชีย" หลัง สหรัฐฯ ยกระดับสถานะต้านค้ามนุษย์

ยึดมั่นนโยบายนายกฯ

ผ่านไปกว่า 7 ปี เขาให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยผ่านแอปพลิเคชันซูม จากออสเตรเลียว่านโยบายที่ผู้นำประเทศมอบให้ในวันนั้นเป็นสิ่งที่เขายึดมั่นในการทำหน้าที่จนสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดซึ่งมีตั้งแต่นักการเมืองท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร และผู้มีส่วนร่วมคนสำคัญ พล.ท.มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (เสียชีวิตขณะรับโทษจำคุก) มาลงโทษได้ แต่ตัวเขาเองต้องเผชิญกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมทั้งการถูกปกปิดข้อมูลระหว่างทำคดี การสั่งย้ายเขาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การข่มขู่ให้เขาลาออกจากการเป็นตำรวจ จนเขาต้องลี้ภัยไปต่างประเทศเพื่อเอาชีวิตรอด ท้ายที่สุดแล้วกลับกลายเป็นเขาที่ไม่มีที่ยืนในไทย

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

(แฟ้มภาพ) การขุดค้นหาศพของชาวโรฮิงญา

"ผมไม่เคยเตรียมตัวมาก่อนว่าต้องมีชีวิตอยู่ในลักษณะแบบนี้ คิดว่าเมื่อรับราชการจนเกษียณ จะอยู่อย่างสมถะ อย่างสงบ แต่วันนี้ต้องมาอยู่ในที่ใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ต้องมาทำในเรื่องที่ไม่ถนัดเลย แต่จำเป็นในการดำรงชีวิต ซึ่งคือการพูดภาษาอังกฤษ จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ดีเท่าไหร่ แต่ต้องดิ้นรนต่อสู้ให้อยู่ได้"

อดีตนายตำรวจเคยทำงานหามรุ่งหามค่ำ ใช้โรงพักเป็นที่หลับนอนแทนบ้าน แต่นั่นเป็นการทำงานสืบสวนสอบสวนที่เขารักและมีความเชี่ยวชาญ วันนี้ พล.ต.ต.ปวีณ ในวัยเกษียณ ยังต้องทำงานหนักทั้งแบกหามและคุมเครื่องตัดกรอบรูป สัปดาห์ละ 50 ชั่วโมง เพื่อให้มีรายได้เพียงพอจ่ายค่าเช่าที่พัก และค่ากินอยู่ในออสเตรเลีย

"ตอนนี้ผมไม่ได้ทำงานติดกระดุมเบาะรถยนต์อย่างที่เห็นในสารคดีของสื่อต่างประเทศแล้ว เพราะเจ็บมือ มือชา หมอบอกถ้าไม่เปลี่ยนงาน ก็ต้องผ่าตัด เพราะใช้กล้ามเนื้อมือหลายชั่วโมงติดต่อทุกวัน"

"เงินสกปรก"

เขาเชื่อว่าหากเขาทำตัวเหมือน "ตำรวจคนอื่น ๆ" ก็คงจะมีเงินทองหลายสิบล้านบาท คงไม่ลำบากทั้งกายและใจเหมือนทุกวันนี้ อย่างไรก็ดี พล.ต.ต.ปวีณ ยอมรับว่าเขาเองก็ไม่ใช่ตำรวจที่ใสสะอาดหมดจด

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

คำบรรยายภาพ,

ปลายปี 2558 บีบีซีไทยสัมภาษณ์ พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และอดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ในช่วงที่เพิ่งเดินทางไปถึงออสเตรเลียไม่นาน

"ระบบสินบน เงินสกปรก เงินใต้โต๊ะ ที่เมืองไทย ผมเป็นตำรวจผมรู้ละเอียดลึกซึ้ง ผมเองก็ไม่ถึงกับสะอาดร้อยเปอร์เซ็นต์…ตอนที่เป็นผู้บังคับการจังหวัด ก็มีเงินส่วยส่งกันมาเป็นทอด ๆ แล้วผมรับเงินนี้ไหม ผมเอาเงินเหล่านี้มา มาย้อนให้เป็นเงินรางวัลกับตำรวจ เพื่อให้ตำรวจไปทำงานให้ประชาชน…ผมไม่ถึงขนาดตามน้ำ พยายามให้น้อยที่สุด ถ้าหากบอกว่าเราสะอาด ผมไม่ใช่ขนาดนั้น ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ ไม่งั้นคุณจะเป็นแกะดำ พยายามทำให้เราพออยู่ได้ ให้สังคมอยู่ได้ ไม่ใช่จะเอาเงินทองอย่างเดียว หรือกอบโกย"

เขายกตัวอย่างเรื่องของการต้องยอมปล่อยให้มีบ่อนการพนันในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ว่าหากหักด้ามพร้าด้วยเข่าด้วยการสั่งปิดบ่อนทุกแห่งในทันทีเขาจะไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งที่เขาทำได้จึงเป็นเพียงห้ามเพิ่มจำนวนบ่อน และหากที่ใดมีปัญหาต้องถูกปิด

เรื่องราวการทุจริตในแวดวงสีกากีมีมากมาย และเขามีข้อมูลล้นเหลือมากพอจนกำลังรวบรวมเขียนเป็นหนังสือ ซึ่งสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในไทยสนใจนำไปตีพิมพ์

"ผมจะเขียนให้รู้ว่าตำรวจมีกระบวนการหาเงินทองได้ทุกอย่าง คนที่คิดจะเอาก็คิดได้ทุกเรื่อง อย่างกรณีทุจริตก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งและแฟลตตำรวจมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาททั่วประเทศที่สร้างไม่เสร็จ แล้วจับใครไม่ได้สักคน ตำรวจทั่วประเทศเป็นแสน ๆ คนปล่อยให้เขามาปล้นบนถึงโรงพัก ผมรู้สึกสังเวชใจกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาก นี่คือการปล้นต่อหน้าประชาชนและตำรวจแท้ ๆ ยังมีอีกหลายคดีนับไม่หวาดไม่ไหว"

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, รัฐสภา

คำบรรยายภาพ,

พล.ต.ต. ปวีณ กล่าวยืนยันว่า สิ่งที่ ส.ส. พรรคก้าวไกลพูด "คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง" และ "รู้สึกได้รับความเป็นธรรมกลับมาครึ่งหนึ่ง"

คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเมื่อ 20 ก.ย. 2565 ยกฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวกรวม 6 คน ปิดฉากคดีทุจริต "ฮั้วก่อสร้างโรงพักและแฟลตตำรวจ 396 แห่ง" มูลค่ากว่า 5.8 พันล้านบาท (มูลค่าเฉพาะโรงพัก) หลังต่อสู้คดีมาเกือบ 10 ปี

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 6 คน ในความผิดฐานร่วมกันกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการในการจัดจ้างโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (โรงพัก) ทดเเทน และโครงการก่อสร้างอาคารที่พัก (แฟลต) จำนวน 396 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 5,848 ล้านบาท รวมมูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท

หลักฐานมัดมนัส

หลักฐานชิ้นสำคัญที่นำไปสู่การจับกุม พล.ท.มนัส ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาที่เป็นต้นเหตุทำให้เขาต้องระเห็จออกจากประเทศ ก็คือหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของ พล.ท.มนัส เอง ซึ่ง พล.ต.ต.ปวีณ เห็นว่าสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ร่วมกระบวนการ ซึ่งเขาเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่เหนือขึ้นไปจาก พล.ท.มนัส

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

พล.ท. มนัส คงแป้น เดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาเมื่อ 31 ต.ค. 2562

"พวกเขาทั้งกล้า และย่ามใจ คิดว่าไม่มีใครตรวจสอบได้ ขนาดโกงสร้างโรงพักยังจับไม่ได้เลย โรฮิงญาจะจับได้ไง"

ที่ผ่านมา พล.ต.ต.ปวีณ ได้เปิดเผยเรื่องราวของตัวเองต่อสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ขณะที่พรรคฝ่ายค้านนำข้อมูลการสืบสวนสอบสวนคดีโรฮิงญาที่เขาทำ ไปใช้ประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แต่ในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยครั้งนี้ อดีตหัวหน้าชุดที่ทำคดีโรฮิงญาเมื่อปี 2558 ระบุรายชื่อบุคคลอย่างน้อย 6 คน ที่เขาอ้างว่าไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และบุคคลที่คุกคามข่มขู่เขา

"ตราบใดที่ยังมีประยุทธ์ ประวิทย์ อนุพงษ์ จักรทิพย์ สุรเชษฐ์ ต่อศักดิ์ ยังอยู่ สิ่งที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติเรื่องค้ามนุษย์กับการกระทำมันย้อนแย้งกับสิ่งที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ จะไปเชื่ออะไรกับคำพูดของคนเหล่านี้ คนไทยน่าจะรู้ได้แล้วว่าคนเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน ความเป็นมนุษย์ หรือประโยชน์ประเทศชาติ สิ่งที่พวกเขาทำคือคงไว้แต่ประโยชน์และอำนาจของตัวเองเท่านั้น ไม่สนใจความเลวร้ายที่จะเกิดกับประเทศและสังคม" พล.ต.ต.ปวีณ บอกบีบีซีไทย โดยปฏิเสธจะใช้คำนำหน้าด้วยยศทหารและตำรวจของบุคคลข้างต้น ซึ่งได้แก่

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
  • พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
  • พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

บีบีซีไทยขอให้ พล.ต.ต.ปวีณ ขยายความข้อกล่าวหาของเขาต่อบุคคลทั้งหก เริ่มจาก พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร

อดีตนายตำรวจที่ต้องลี้ภัยอธิบายว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและผู้ควบคุมดูแลกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ส่วน พล.อ.ประวิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่คนทั้งสองไม่เคยสนับสนุนการทำงานของเขาในคดีโรฮิงญาที่รัฐบาลเองเป็นผู้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ แต่ขณะที่เขากำลังสืบสวนสอบสวนคดีกลับมีนายทหารระดับสูงของกองทัพไทย ได้โทรศัพท์แจ้งให้เขาหยุดดำเนินคดีกับ พล.ท.มนัส

"พวกเขาโทรมาบอกให้หยุดเพราะมนัส คงแป้น เป็นลูกน้องของประยุทธ์ ป้อม (พล.อ.ประวิตร) ป๊อก (พล.อ.อนุพงษ์) นี่แปลว่าอะไร คำพูดเหล่านี้มาจากปากของเจ้ากรมจเรทหารบก…ในขณะที่ผมทำงานกับอัยการสูงสุด ไม่ได้ทำเพียงลำพัง ไม่ใช่อยากจับใครก็จับ นั่นคือเรื่องที่ประยุทธ์ได้กระทำ"

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

พล.ท. มนัส คงแป้น (คนกลาง) อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ผู้ต้องหาคดีขบวนการค้ามนุษย์ เดินทางพร้อมด้วยนายทหารพระธรรมนูญ เข้ามอบตัวกับ ผบ.ตร. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2558

ก่อนหน้าที่ พล.ท.มนัส จะมอบตัวกับตำรวจ ในวันที่ 2 มิ.ย. 2558 พล.ต.ต.ปวีณ บอกว่ายังมีตำรวจอีกนายหนึ่ง คือ พ.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล (ยศขณะนั้น) ได้โทรศัพท์ไปหาเขา โดยแจ้งว่าเป็นนายตำรวจติดตาม พล.อ.ประวิตร แจ้งให้ทราบว่า พล.อ.ประวิตร สั่งการให้โทรมาแจ้งว่าขอให้ พล.ท.มนัส ซึ่งกำลังจะมอบตัวในวันรุ่งขึ้น ได้รับการประกันตัว

"เขาอ้างประวิทย์ที่เป็นรองนายกฯ และเป็นผู้อำนวยการของรัฐบาลในเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์โดยตรง ตรงนี้ผมตกใจมาก ในเมื่อผมจับผู้ต้องหาคนสำคัญได้ คุณกลับบอกให้ประกันตัว คุณจงใจช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือไม่"

พล.ต.ต.ปวีณ กล่าวว่าได้แจ้งให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทราบว่าไม่สามารถให้ประกันตัวได้ เพราะตำรวจไม่ได้ให้ผู้ต้องหาที่จับกุมมาแล้วก่อนหน้านั้น 60 กว่าคนประกันตัว เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายต่อสำนวนการสอบสวน และภาพลักษณ์ประเทศอย่างร้ายแรง

หลังจากพูดคุยกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ แล้ว พล.ต.ต.ปวีณ ได้ทำหนังสือแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบว่าได้รับแจ้งเรื่องคำขอดังกล่าวจาก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์

บีบีซีไทยสอบถามเรื่องนี้กับนายตำรวจที่ถูกพาดพิง ซึ่งปัจจุบันครองยศ พล.ต.อ. และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวกับบีบีซีไทยทางโทรศัพท์ ยืนยันว่าไม่เคยโทรศัพท์ไปหา พล.ต.ต.ปวีณ ไม่มีความจำเป็นที่เขาจะต้องช่วยเหลือ พล.ท.มนัส และหากพิจารณาจากการดำเนินคดีจะเห็นว่า พล.ท.มนัสก็ไม่ได้รับการประกันตัวทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นศาล และชั้นอัยการ

"ผมมองว่า พี่ปวีณ คิดไปเองรึเปล่าจึงพยายามเชื่อมโยงถึงรัฐบาล ถึง พล.อ.ประวิตร และนายกรัฐมนตรี"

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ระบุว่าคดีนี้เป็นคดีที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว และไม่มีทหารระดับสูงกว่า พล.ท.มนัส เข้าไปพัวพันกับการกระทำผิด ขณะที่ตำรวจที่ร่วมทำคดีต่างก็ประสบความสำเร็จและเติบโตในหน้าที่การงาน

คำบรรยายวิดีโอ,

คดีค้ามนุษย์ประวัติศาสตร์

พล.ต.ต.ปวีณ ยังยืนยันคำพูดเรื่องการพูดคุยโทรศัพท์กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ (ยศขณะนั้น) และบอกด้วยว่า นอกจากนี้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ในขณะนั้น ยังกล่าวกับเขาขณะพบกันในงานประกาศนโยบายของ ผบ.ตร.คนใหม่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ว่า "ไอ้เ-ย มึงไปจับทหารได้ยังไงวะ มึงมีหลักฐานอะไรวะ…ผมยืนยันได้ว่าผมทำงานกับอัยการ พนักงานสอบสวน ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ ถ้าไม่มีพยานหลักฐาน ศาลจะออกหมายจับได้อย่างไร"

บีบีซีไทย พยายามติดต่อ พล.ต.อ.ศรีวราห์ แต่ไม่ได้รับคำตอบในเรื่องนี้ นายตำรวจที่รับโทรศัพท์แจ้งเพียงว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ และ พล.ต.ต.ปวีณ เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน และจะแจ้งให้ "นาย" ทราบ

พล.ต.ต. ปวีณ ยังกล่าวหานายทหารระดับสูงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกคณะรัฐประหาร คสช.ในขณะนั้นว่าได้เรียกเขาเข้าพบ และใช้ถ้อยคำบริพาษว่า "ไอ้ห่า ไปจับทหารได้ยังไง ทำไมไม่จับตำรวจ…ไม่มีช่องทางไหนที่ผมทำผิดพลาดเลย พยานหลักฐานมีตรงไหนก็จับตรงนั้น ทำอย่างตรงไปตรงมา…จะให้ผมตีความอย่างไร คุณสมคบกันรึเปล่า"

หลักฐานสำคัญที่สามารถมัดตัวผู้ต้องหาในคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาได้คือสลิปการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของ พล.ท.มนัส ซึ่ง พล.ต.ต.ปวีณ กล่าวว่าชุดตรวจค้นที่พบหลักฐานดังกล่าวเป็นชุดของ พ.ต.อ.อาคม สายสมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนภาค 8 ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา ซึ่งไม่ได้มอบหลักฐานสำคัญชิ้นนี้ให้ จนต้องทวงถามและได้รับมาอย่างล่าช้า

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

ที่มาของภาพ, สำนักโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี

"อาคมบอกว่าจักรทิพย์สั่งให้เก็บไว้ ไม่ให้เอามาให้ชุดของผม เพราะถ้าผมไม่ได้หลักฐาน ผมก็จับมนัสไม่ได้ เห็นไหมครับว่ามีกระบวนการช่วยเหลือทหารทั้งหมด จักรทิพย์มีความผิดตามกฎหมายนะครับ ข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และสิ่งที่อาคมพูดนั้น พนักงานสอบสวนได้ยินกันหมด"

พล.ต.ต.ปวีณ กล่าวว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. และ พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ยังได้สั่งย้ายเขาจากตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ไปประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเขาระบุว่าเป็นพื้นที่ภายใต้การควบคุมของทหาร และน่าจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตัวเขา พล.ต.ต.ปวีณ ได้ร้องเรียนเรื่องคำสั่งย้ายเขาถึงผู้บังคับบัญชา รวมทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี

"ตรงนี้ผมกล่าวหา (จักรทิพย์) ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กลั่นแกล้งหลายเรื่อง คุณปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบร่วมกันทั้งหมด ย้ายผมไปเพื่ออะไร ถ้าย้ายไปประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติคงไม่ลาออก เพราะกรุงเทพฯ มันไม่อันตราย แต่สามจังหวัดพื้นที่ทหารหมด มีแต่ด่าน เดี๋ยวไปตรวจที่นู่นนี่ก็เป็นอาหารหวานอันโอชะ"

บีบีซีไทยสอบถามเรื่องนี้ไปยัง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ได้รับคำตอบว่าไม่ต้องการชี้แจงใด ๆ โดยบอกเพียงว่า "ก็ให้เขาไปแจ้งความ"

สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น พล.ต.ต.ปวีณ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ มักออกมาเรียกร้องให้เขาทำเรื่องร้องทุกข์มายังรัฐบาล ทั้งที่เขาได้ร้องเรียนเรื่องของตัวเองไปนานแล้ว และ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ทราบดีมาโดยตลอด "แต่กลับมาเรียกร้องให้ผมกลับไปอีก ไปร้องเรียน กลับไปผมก็ถูกจับแน่"

ทั้งนี้ บีบีซีไทยพยายามติดต่อบุคคล ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ โดยได้ส่งข้อความและโทรศัพท์ไปยังโทรศัพท์มือถือของนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาล เพื่อขอคำชี้แจงในเรื่องข้อกล่าวหาที่มีต่อบุคคลในรัฐบาล แต่ไม่ได้รับคำตอบ มีเพียง น.ส. รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ที่ตอบว่าเป็นการกล่าวหากันไป และไทยดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ได้ดีขึ้น และรับข้อเสนอของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชนมาโดยตลอด เป็นสิ่งที่เห็นได้โดยประจักษ์

ก่อนหน้าที่ พล.ต.ต.ปวีณ จะตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ เขาบอกบีบีซีไทยว่าได้รับการติดต่อจาก พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ (ยศขณะนั้น) และ พล.ท.จักรภพ ภูริเดช (ยศขณะนั้น) เป็นช่วง ๆ เพื่อส่งเอกสารให้เขาสมัครเข้าไปเป็นตำรวจในวัง หลังจากนั้นเขายังได้รับเรียกให้ไปพระที่นั่งอัมพรสถาน โดยผู้ที่มาพบเขาในที่นั้นเป็นคนแรกคือ พ.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล (ยศในขณะนั้น) หลังจากนั้นเขายังได้คุยกับ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง (ตำแหน่งขณะนั้น) แจ้งให้เขาสมัครเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวัง "แต่พวกเขาบอกว่าต้องไปฝึกปรับพื้นฐานสักเดือนหนึ่ง ผมก็ตกใจว่าทำไมต้องฝึกด้วย เขาบอกว่าเฮ้ย ฝึกตามสภาพ ตอนนั้นผมได้ยินเรื่องการเสียชีวิตมาโดยตลอด…มีข้อมูลที่บันทึกไว้ ประมวลออกมาแล้ว ไม่คุ้ม อย่าไปเสี่ยง บุคคลระดับผู้ใหญ่หลายคนบอกว่าอย่าเข้าไปอันตรายมาก ตอนนั้นผมมีสองทางเลือกไปตรงนี้หรือสามจังหวัดภาคใต้"

ตร.ตำแหน งใหม ผ ช วย พงส.ม เง นตำแหน งไหม

หลังจากเขาปฏิเสธที่จะเข้าไปทำงานในวัง พล.ต.อ.จักรทิพย์ เรียกเขาไปพบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 13 พ.ย.2558 และแจ้งให้เขาลาออกจากการเป็นตำรวจ โดยระหว่างที่ พล.ต.อ.จักร์ทิพย์พูดคุยกับเขานั้น ได้โทรศัพท์ให้ พล.ต.อ.จุมพล แจ้งกับเขาโดยตรงในเวลาเดียวกันด้วย

พล.ต.ต.ปวีณ ได้ส่งข้อความถึง พล.ท.จักรภพ ภูริเดช และราชเลขาธิการฯ เพื่อแจ้งเรื่องการถูกขอให้ลาออก

"พอผมไม่เลือกแทนที่พวกเขาจะช่วยผม ก็ไม่ช่วย นี่ไม่จริงใจ บอกให้ผมลาออกไป ผมอึดอัดมาก อยากจะบอกว่ามันคืออะไร นี่คือประเทศไทย ที่ผมรับราชการมายาวนาน ไม่คิดว่ามันจะเกิดกับผมเลย ปกติมันต้องเกิดจากการทำไม่ถูกต้อง ถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ หรือฟ้องร้อง ผมระวังมาก เพราะรู้ว่าอยู่ระหว่างเขาโค ถ้าไม่ระวังโดนได้…ที่เล่ามานี่คือเพื่อที่จะบอกว่าแต่ละคนสามารถเสกอะไรก็ได้ ถ้าใครทำอะไรตรงไปตรงมา ก็จะได้รับผลจากการกระทำอย่างที่ผมเป็น"

วันนี้ พล.ต.ต.ปวีณ ได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองออสเตรเลียเรียบร้อยแล้ว ถึงอย่างนั้นเขายังคิดถึงและต้องการกลับเมืองไทยซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดที่เขารัก ที่เขาเคยมี "ความฝัน"

สํานวนการสอบสวน มีกี่ประเภท

6. ส่วนวนการสอบสวน สามารถจําแนกตามสารบบออกได้เป็น ๓ ประเภท ค.ส สานวนคดีอาญาทั่วไป ๑.๒ ส่วนวนคดีจราจรทางบ สํานวนชันสูตรพลิกศพ ๒. สำนวนการสอบสวน สามารถจำแนกตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิดออก ได้เป็น ๒ ประเภท - ๒.๒ สำนวนคดีไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด แบ่งเป็น .. ..........)

ตํารวจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจไว้ 5 กลุ่มสายงาน ได้แก่ 1) กลุ่มสายงานบริหาร 2) กลุ่มสายงานอำนวยการและสนับสนุน 3) กลุ่มสายงานสืบสวนสอบสวน ได้แก่ สายงานสืบสวนสอบสวน สายงานสืบสวน และสายงานอื่นที่ ก.ตร. กำหนด

วิธีการจับกุมมีกี่แบบ

การจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. การจับโดยมีหมายจับของศาล ๒. การจับโดยไม่มีหมายจับของศาล วิธีการจับโดยมีหมายจับของศาล

ใครมีอำนาจในการสอบสวน

พนักงานสอบสวนหมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนหมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือการพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ