สถาบ นว จ ยส งคมและเศรษฐศาสตร ม.ธ รก จบ ณฑ ต

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยอีกทั้งยังเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญา ปัจจุบันมีการผลิตนักวิชาและนักเศรษฐศาสตร์ไปพัฒนาประเทศอย่างต่อเนือง

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ "เศรษฐศาสตร์" และ "ลัทธิเศรษฐกิจ" ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ

ทั้งนี้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระยะแรก เป็นการสอนตามแนวฝรั่งเศสแบบเก่า อาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรง

ต่อมาเปิดมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีศาสตราจารย์แอล ดูปลาตร์ ซึ่งมีตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคณะต่างๆ โดยได้ประกาศจัดตั้งคณะ 4 คณะ ได้แก่คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จึงถือเป็นการกำเนิดขึ้นของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคนแรก

พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งคณบดี โดยมีภารกิจสำคัญคือ การสร้างบุคลากร ได้ขอเพิ่มอัตราตำแหน่งอาจารย์ ติดต่อหาทุนเรียนต่อต่างประเทศให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่รับเข้า หาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาช่วยปูพื้นความรู้ของอาจารย์ที่จะส่งไปเรียนต่อ และช่วยวางหลักสูตรเศรษฐศาสตร์โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 59 คน ในเวลาเพียง 6 ปี

พ.ศ. 2508 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาคค่ำ

พ.ศ. 2509 มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรแรกของไทย ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สถิติเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

พ.ศ. 2512 ได้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแรกในไทย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษและเรียนเต็มเวลา

พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรและหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพของบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของทั้งในและนานาประเทศ ซึ่งย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของคณาจารย์และบุคลากรในคณะเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บัณฑิตของคณะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศในระดับนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับในองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี[แก้]

  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศบ.) (Bachelor of Economics: B.Econ.) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศบ.ภาคภาษาอังกฤษ) (Bachelor of Economics, English Programme: B.Econ., English Programme) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปริญญาโท[แก้]

  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศม.) (Master of Economics: M.Econ.) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศม.ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Economics, English Programme: M.Econ., English Programme) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ศม.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) (Master of Business Economics,: M.Econ., Business Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติเศรษฐศาสตร์ (ศศ.ม.นิติเศรษฐศาสตร์)(Master of Arts,: M.A., International Trade Laws and Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นโครงการร่วมกับคณะนิติศาสตร์

ปริญญาเอก[แก้]

  • ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือ Philosophy of Economics Programme (Ph.D., Economics) ภาคภาษาอังกฤษ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

คณบดีและรักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค รักษาการในตำแหน่งคณบดี 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – XX ตุลาคม พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตรา คณบดี XX ตุลาคม พ.ศ. 2492 – XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิ คณบดี XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 – XX กันยายน พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คณบดี XX กันยายน พ.ศ. 2507 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ รักษาการแทนคณบดี 21 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี รักษาการในตำแหน่งคณบดี 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 18 มกราคม พ.ศ. 2517 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี คณบดี 19 มกราคม พ.ศ. 2517 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม รักษาการในตำแหน่งคณบดี 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 14 มกราคม พ.ศ. 2518 รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ คณบดี 15 มกราคม พ.ศ. 2518 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จรรย์ศุภรินทร์ คณบดี 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ รักษาการในตำแหน่งคณบดี 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 – 14 เมษายน พ.ศ. 2521 ดร.โฆษะ อารียา คณบดี 15 เมษายน พ.ศ. 2521 – 4 เมษายน พ.ศ. 2523 ดร.โฆษะ อารียา รักษาการในตำแหน่งคณบดี 5 เมษายน พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว คณบดี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว รักษาการในตำแหน่งคณบดี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม คณบดี 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 อาจารย์ ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 รองศาสตราจารย์ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ คณบดี 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 รองศาสตราจารย์ ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม รักษาการแทนคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา นิธังกร คณบดี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 เมษายน พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร เลียวไพโรจน์ รักษาการในตำแหน่งคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร คณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี (โพชนุกูล) ซูซูกิ คณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2554 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2560 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ รักษาการแทนคณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ประธานคณะกรรมการนักศึกษา[แก้]

คณะกรรมการนักศึกษาคณะได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะและรับผิดชอบบริหารกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ

รายชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง อรรถกร โพธิ์ใย ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2553 ศิรวัฒน์ ภาษาเวทย์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2554 อุทิศ ถีระแก้ว ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2555 วิจิร์ ผสมทรัพย์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2556 ชุลี กอบวิทยาวงศ์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2557 โยธิน กิตติธร ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2558 กาจบัณฑิต บัณฑิตสกุลพร ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2559 จิตชนก ลิ่มสิริตรังค์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2560 มัธยะ บุญฤทธิ์ลักขณา ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2561 กฤตภาส ลิมป์สีสวรรค์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2562 วีรภัทร แพรสมบูรณ์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2563 ธีรพงศ์ ชาญจิรกิตติ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2564 ปพนธีร์ สิทธิโชค ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2565

บุคคลมีชื่อเสียง[แก้]

บางส่วนจากรายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น และ คอลัมน์ "ซูม" จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

  • ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณบดี) สมาชิกขบวนการเสรีไทย, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
  • ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม (คณบดี, อธิการบดี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ผศ.ทวี หมื่นนิกร อดีตอาจารย์ 1 ใน 13 ขบถรัฐธรรมนูญ​
  • ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา (อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2529, ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย อดีตศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.นริศ ชัยสูตร (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.ปราณี ทินกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ (อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว (อดีตอาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง (ศิษย์เก่า) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2558, ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  • รศ.ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ (ศิษย์เก่า, อาจารย์) ภาคีสมาชิกสาขาเศรษฐศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ (ศิษย์เก่า)
  • รศ.ดร.กนกศักดิ์ แก้วเทพ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตกรรมการ TPBS
  • รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (ศิษย์เก่าปริญญาโท) ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการ

ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

  • รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย (อดีตอาจารย์) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (อดีตอาจารย์, ศิษย์เก่าปริญญาโท) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศาสตราภิชาน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (ศิษย์เก่า) สมาชิกวุฒิสภา, ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์, นักจัดรายการวิทยุ
  • รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ (ศิษย์เก่า) รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • รศ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รศ.วิทยากร เชียงกูล (ศิษย์เก่า) นักเขียน, ผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรณาธิการนิตยสารวิภาษา
  • ผศ.ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ (ศิษย์เก่า, อดีตอาจารย์) ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
  • เรวัต พุทธินันทน์ (เต๋อ) (ศิษย์เก่า) ผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์หรือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตอาจารย์) นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • ผศ.(พิเศษ)ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ศิษย์เก่า) นักเศรษฐศาสตร์, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯลฯ
  • ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (ศิษย์เก่า) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ดร. วิรไท สันติประภพ (ศิษย์เก่า) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • สมชาย กรุสวนสมบัติ (ศิษย์เก่า) อดีตประธานการสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา "ซูม"
  • อดิสร จรณจิตต์ (ศิษย์เก่า) ผู้บริหารในบริษัทเครืออิตัล–ไทย
  • ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ (ศิษย์เก่า) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน), นายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
  • กมล กมลตระกูล (ศิษย์เก่า) นักหนังสือพิมพ์
  • กรพจน์ อัศวินวิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นักธุรกิจด้านค้าข้าว
  • คำสิงห์ ศรีนอก (ศิษย์เก่า) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  • ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ (ศิษย์เก่า) ประธานบริหารบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
  • เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ (ศิษย์เก่า) นักแต่งเพลง
  • สุภชัย ปิติวุฒิ (ศิษย์เก่า) เจ้าของแฟนเพจชาวนาวันหยุด เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว
  • ศิริพล ยอดเมืองเจริญ (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์
  • อารันต์ ธรรมโน (ศิษย์เก่า) อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
  • ดร.อภิชาติ ดำดี (ศิษย์เก่า) วิทยากร, นักพูด, นักจัดรายการ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549, อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
  • สุรางคณา สุนทรพนาเวศ (ศิษย์เก่า) รองนางสาวไทย พ.ศ. 2534, นักแสดง, พิธีกร
  • ธีรภัทร์ สัจจกุล (ศิษย์เก่า) นักแสดง, นักร้อง
  • รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (คณบดี) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช (ศิษย์เก่า) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (ศิษย์เก่า) นักเขียน นักแสดง/พิธีกร นักผจญภัย นักดนตรี
  • วุฒิธร มิลินทจินดา พิธีกร ผู้บริหาร
  • ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร (ศิษย์เก่า, อาจารย์) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2554
  • ดร.กิริฎา เภาพิจิตร (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ – TDRI), นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง พ.ศ. 2553
  • โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ (โอบ) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีดีเอช ห้าห้าเก้า
  • ณัฐวุฒิ เจนมานะ (ศิษย์เก่า) ผู้เข้าประกวดรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1, นักดนตรี, นักเขียน
  • ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร (ศิษย์เก่า) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2554
  • เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร (วิน) (ศิษย์เก่า) นักแสดงสังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
  • พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน (ศิษย์เก่า) พระอุปัฏฐากพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด
  • ดุสิตา กิติสาระกุลชัย (แนทเธอรีน) นักร้อง, นางแบบ, นักแสดง, อดีตสมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 2

อ้างอิง[แก้]

  • ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค. (2508). ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์จนมาตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ อนุสารเศรษฐศาสตร์ ฉบับต้อนรับเพื่อนใหม่ ปี 2508 ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • วรวุฒิ หิรัญรักษ์.(2537) 45 ปีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรากรณ์ สามโกเศศ. วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย. เศรษฐสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 (ธันวาคม 2530). คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.