ว ตาม น ม ประโยชน อย างไร โดยรวม

มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาเผาผลาญสารอาหาร เพื่อนำไปสร้างสารสำคัญต่างๆ แก่ร่างกายให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงมีการทำงานอย่างสมบูรณ์ภายในร่างกายอย่างระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

วิตามินบี (Vitamin B) สามารถพบได้จากแหล่งอาหารในธรรมชาติที่ใดบ้าง?

แหล่งอาหารที่ให้วิตามินบี เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง รำข้าว ยีสต์ เครื่องในสัตว์ เนื้อหมู ปลา นมเปรี้ยว และผักใบเขียว แต่ปัจจุบันชีวิตประจำวันมีความเร่งรีบสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชีวิตในเมือง จนทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากนัก การทานวิตามินบีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมวิตามินบีได้ดีเลยทีเดียว

ประโยชน์ของวิตามินบี (Vitamin B) ที่ดีต่อร่างกาย

วิตามินบี 1 (Thiamine) มีความจำเป็นต่อระบบประสาท เนื่องจากมีความจำเป็นในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ และลดอาการวิตกกังวล

วิตามินบี 2 (Riboflavin)

เป็นปัจจัยสำคัญของการหายใจระดับเซลล์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม เล็บ เเละช่วยในการมองเห็น

วิตามินบี 3 (Nicotinamide)

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและระบบประสาท บรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน ป้องกันโรคซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรัง

วิตามินบี 4 (Choline)

วิตามินชนิดนี้ผลิตโดยตับ ช่วยในการพัฒนาสมอง สร้างสัญญาณสื่อประสาท ทำให้มีความจำที่ดีขึ้น อีกทั้งวิตามินชนิดนี้มีส่วนช่วยลดการสะสมของไขมันในเลือดด้วย

วิตามินบี 5 (Pantothenic acid)

จำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท ช่วยบรรเทาความเครียด เเละช่วยในการสร้างฮอร์โมนลดเครียดของต่อมหมวกไต

วิตามินบี 6 (Pyridoxine) เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสารสื่อประสาท และช่วยสร้างสารต้านอาการซึมเศร้า

วิตามินบี 7 (Biotin)

มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต การสร้างพลังงาน ช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรง ช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย

วิตามินบี 8 (Inositol)

มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของสารเคมีในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการเครียด ป้องกันโรคซึมเศร้า และลดความวิตกกังวล

วิตามินบี 9 (Folic acid)

วิตามินบี 9 จำเป็นต้องทำงานร่วมกับวิตามินบี 12 จะช่วย บรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการทางประสาท อาการปวดศีรษะ อาการขี้หลงขี้ลืม อารมณ์เเปรปรวนหงุดหงิดง่าย

วิตามินบี 12 (Cobalamin)

ช่วยบำรุงประสาท ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น และช่วยเพิ่มสมาธิความจำ

วิตามินบี (Vitamin B)

เป็นหนึ่งในวิตามินพื้นฐานที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะทางด้านการบำรุงระบบสมองและประสาท ช่วยลดความเครียดป้องกันโรคซึมเศร้า รวมถึงอาการวิตกกังวล ซึ่งเราสามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ไข่ นม ยีสต์ และผักใบเขียว เป็นต้น แต่ด้วยในปัจจุบันวิถีชีวิต การทำงานที่มีการเเข่งขันสูง มีเเรงกดดัน ทำให้เผชิญความเครียดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ร่างกายดึงวิตามินบีออกมาใช้ในปริมาณที่มาก ประกอบกับการละเลยการทานอาหารที่มีประโยชน์ สาเหตุเหล่านี้อาจทำให้ได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอในเเต่ละวัน ดังนั้นการเสริมวิตามินบีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินอย่างพอเพียงต่อความต้องการในการช่วยลดความเครียด ทำให้สมองสดชื่น ปลอดโปร่ง

วิตามินบี (Vitamin B) สุดยอดวิตามินบำรุงสมอง

‘วิตามินบี’ (Vitamin B) ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของวิตามินชนิดนี้ก็คือ บำรุงระบบประสาท และกระตุ้นการทำงานของสมองโดยเฉพาะอีกทั้งยังช่วยลดความเครียด วิตกกังวล ได้ และหากร่างกายขาดวิตามินบีผลเสียที่สังเกตเห็นได้ เช่น อาการมึนงง สมองตื้อ รู้สึกอ่อนเพลีย แต่ถ้าไม่อยากให้มีอาการเหล่านี้ ทำให้ชีวิตต้องหยุดชะงัก มาเพิ่ม ‘วิตามินบี’ (Vitamin B) เพื่อประสิทธิภาพของร่างกายและสมองกันดีกว่า

ว ตาม น ม ประโยชน อย างไร โดยรวม

เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถผลิตวิตามินบีได้เพียงพอ เราจึงต้องทาน พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ไข่ นม ยีสต์ และผักใบเขียว ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี ที่ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างครบถ้วนจะทำให้การเผาผลาญอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่และช่วยสร้างเม็ดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ตามร่างกายได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานเเละสมองสดชื่นตลอดทั้งวัน

วิตามิน คือสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อย ต่อวันแต่มีความจำเป็นขาดไม่ได้ เพราะจะช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ให้ทำงานปกติ

วิตามินจึงมีความสำคัญอย่างมาก แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินขึ้นเองได้ จึงต้องทานอาหารและอาหารเสริม

2 กลุ่มวิตามิน กินตอนไหนให้ประโยชน์สูงสุด

วิตามินทานเวลาไหนดี? ก่อนที่เราจะทานวิตามินตอนไหนดี ที่ได้ประโยชน์สูงสุด มาทราบกันก่อนว่า วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

  1. กลุ่มที่ละลายในน้ำ
  2. วิตามินกลุ่มละลายไขมัน

1. วิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำ ( Water Soluble)

วิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้และไม่สะสมในร่างกาย ปริมาณที่เหลือใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ได้แก่

วิตามินบีรวม (B-complex vitamins)

หรือ วิตามินบีรวมต่าง ๆ (บี 1, 2, 3, 5, 6, 9 และ 12) เป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างพลังงาน เผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ทั้งคาร์โบไอเดรต โปรตีน ไขมัน ควรทานหลังอาหารเช้า หรือ ระหว่างวัน ทานก่อนนอนอาจทำให้นอนไม่หลับ

วิตามินซี (Vitamin C)

ทานหลังอาหารเช้า หรือ ระหว่างวันและดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะวิตามินซีจะละลายได้ดีในน้ำ แต่ดูดซึมได้ปริมาณจำกัด จึงควรแบ่งขนาดทาน เช่น ครั้งละ 500 mg 2 ครั้ง/วัน

วิตามินบี12 (Vitamin B12)

ทานช่วงท้องว่างจะทำให้ดูดซึมได้ดี และทานร่วมกับโฟลิก (Folic acid) จะทำให้ได้รับประโยชน์มากในการบำรุงเม็ดเลือด การสร้างพลังงาน การลดระดับ Homocysteine (หากมีค่าสูง จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด)

ธาตุเหล็ก (Iron)

ทานขณะท้องว่างจะดูดซึมได้ดีที่สุด หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอาจทานหลังอาหารได้ และ ไม่ควรทานพร้อมกับแคลเซี่ยมและสังกะสี เพราะจะรบกวนการดูดซึมของธาตุเหล็กได้ และทานอาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วยจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น

สังกะสี (Zinc)

ดูดซึมได้ดีตอนท้องว่างเช่นกัน (1 ชม. ก่อนอาหาร หรือ 2 ชม.หลังอาหาร) หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาจทานหลังอาหารได้และไม่ควรทานสังกะสีพร้อมกับแคลเซี่ยมและเหล็ก

แคลเซี่ยม (Calcium)

ต้องดูว่าเป็นแคลเซี่ยมชนิดไหนก่อน

  • แคลเซี่ยมคาร์บอเนต (Calcium carbonate): ควรทานหลังอาหารทันที เพราะต้องใช้กรดในกระเพาะอาหารช่วยในการแตกตัว แต่ร่างกายดูดซึมได้น้อยและอาจมีอาการไม่สบายท้อง ท้องอืดได้
  • แคลเซี่ยมซิเทรท (Calcium citrate): ทานตอนท้องว่างได้และดูดซึมได้ดีกว่า (ปริมาณแคลเซี่ยมจะน้อยกว่าชนิดคาร์บอเนต) แต่ราคาก็จะสูงกว่า และควรเลี่ยงทานพร้อมยาอื่น ๆ เพราะจะไปลดฤทธิ์ของยา

เลี่ยงหลังการทานผักมาก ๆ และควรทานคู่กับวิตามินดี (Vitamin D) เนื่องจากจะช่วยในการดูดซึมและการนำแคลเซี่ยมไปใช้ได้ แต่ควรตรวจระดับ Vitamin D ในเลือดก่อนเสมอหากไม่ต่ำก็ไม่ต้องทาน(แต่คนไทยส่วนใหญ่ระดับวิตามิน D จะต่ำ)

2. วิตามินกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน (Fat Soluble)

วิตามินกลุ่มนี้สะสมที่ตับและไขมันทั่วร่างกาย ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ได้แก่ วิตามิน เอ,ดี,อี และ เค

รวมถึงกลุ่มน้ำมันต่าง ๆ เช่น น้ำมันปลา (Fish oil) น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (EPO) , Co-enzyme Q10 อาจรวมไปถึงวิตามิน แร่ธาตุรวม (Multivitamins ; MTV) อีกด้วย

ควรทานหลังอาหาร เนื่องจากอาหารในกลุ่มไขมันที่เราทานเข้าไปจะช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินหรือสารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ได้มากขึ้น (โดยทั่วไปการดูดซึมอยู่ที่ประมาณ 20-30 นาทีหลังมื้ออาหาร)