คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

เทรนด์ยุค 90 กลายเป็นเทรนด์ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแฟชั่น ขนม ของกิน ร้านดัง ไปจนถึงไลฟ์สไตล์แบบเด็กยุค 90 แต่นอกจากนั้นแล้วยังมีเรื่องของ “เพลงและดนตรี” ที่ยังคงฮิตติดหู ถูกนำมาใช้เป็นเพลงประจำงานปาร์ตี้ มิกส์ใหม่เป็นเพลงแดนซ์ และเป็นเพลงคาราโอเกะประจำงานอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นใครไม่อยากตกเทรนด์ ลองมาดูเพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 ที่เราคัดมาแล้วว่าเพลงเพราะ ร้องง่าย และฮิตจริงฉบับเด็กยุค 90! รวมลิสต์ 20 เพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 เก็บไว้เป็นไอเดียร้องเกะได้เลย

Show

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

1. O.K.นะคะ – แคทรียา อิงลิช

คาราโอเกะเพลงเก่าเพราะๆ ผู้หญิงร้อง ที่เนื้อเพลงและดนตรีน่ารักสดใส สไตล์แคทรียา อิงลิช หนึ่งในศิลปินเบอร์ต้นของเด็ก 90 ที่ปัจจุบันกลายเป็นตัวแม่ตัวมัมในวงการไปแล้ว

2. รบกวนมารักกัน – ทาทา ยัง

ใครตามหาเพลงที่ร้องง่ายๆ เสียงไม่สูง ต้องไม่พลาดเพลงรบกวนมารักกันของทาทา ยัง ศิลปินสาวเสียงดี ที่ร้องเพลงก็ได้ เต้นก็ดี แถมเพลงนี้ยังเป็นเพลงจังหวะสบาย ๆ ร้องไม่ยากด้วย

3. เพื่อนสนิท – Endorphine

เพลงยอดฮิตที่ไม่ว่าเด็ก 90 คนไหนก็ต้องร้องได้ ยิ่งช่วงวัยว้าวุ่น วัยแอบรัก ต้องบอกว่าเป็นเพลงเพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 ที่ทุกคนต้องรู้จักจริง ๆ

4. ใกล้ – Scrubb

อีกหนึ่งเพลงสำหรับคนแอบรักที่ทั้งเนื้อร้องและทำนองยังติดหูมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เป็นหนึ่งในเพลงฮิตที่หลายคนเลือกหยิบมาร้องอยู่ตลอด

5. หยุด – Groove Riders

เพลงชาติประจำงานแต่งงานที่หยิบมาร้องเมื่อไรก็หวานกันทุกครั้ง เพลงหยุดของ Groove Riders คืออีกหนึ่งเพลงฮิตที่ร้องไม่ยาก แถมเพลงยังเพราะมากด้วย

6. อยากร้องดังดัง – ปาล์มมี่

เอาใจคนตามหาเพลงคาราโอเกะ ผู้หญิง ร้องง่าย ฟีลสบาย ๆ อารมณ์อยากปลดปล่อย สามารถเอ็นจอยไปกับเพลงของพี่มี่ - ปาล์มมี่ เพลงนี้กันได้เลย

7. คนใจง่าย – ไอซ์ ศรัณยู

ไอซ์ ศรัณยู หนึ่งในศิลปินแจ้งเกิดยุค 90 ด้วยงานเพลงจังหวะสนุกสนาน เนื้อเพลงความหมายแสบ ๆ คัน ๆ ที่พูดถึงความรักแบบน่ารัก ๆ ตามไปร้องกันได้เลย

8. พลิกล็อค – คริสติน่า อากีล่าร์

เพลงผู้หญิงร้องง่ายๆ ที่มาพร้อมนักร้องสาวเสียงดี ถือเป็นอีกเพลงที่มีจังหวะสบาย ๆ เนื้อหาสนุกชวนร้องตาม ใครอยากร้องเพลงจังหวะไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป สามารถหยิบเพลงนี้ไปร้องกันได้

9. Hula Hula – 2002 ราตรี

เพลงสนุก ๆ แดนซ์มันส์ ๆ จากเกิร์ลกรุ๊ปยุค 90 อย่าง 2002 ราตรี ที่แม้จะเป็นเพลงแดนซ์แต่จังหวะก็ไม่เร็วจนเกินไป เป็นอีกหนึ่งเพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 ที่เหมาะกับงานปาร์ตี้แบบสุด ๆ

10. หวั่นไหว – BodySlam

เพลงของศิลปินดังที่วัยรุ่น 90 ทุกคนต้องรู้จัก เพราะมีเพลงเนื้อหาโดน ๆ จังหวะเข้ม ๆ มาให้ร้องตามกันมากมาย หวั่นไหวก็คือหนึ่งในเพลงฮิตที่อยากให้ทุกคนลอง

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

เลือกซื้อสินค้า วิทยุคลาสสิค วิทยุกพา เพลงเก่า

11. สองรัก – Zeal

เพลงเนื้อหาเข้มจากวง Zeal เหมาะกับคนที่ชอบการร้องเพลงแบบใช้พลังกายและพลังเสียง เพราะแม้จะร้องไม่ยากแต่ก็ต้องมีอินเนอร์สูงพอตัว

12. เล่นของสูง – Big Ass

เป็นเพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 ที่ฮิต ติดหู และยังคงถูกนำมาเปิดซ้ำบ่อย ๆ เพราะมีจังหวะที่ชวนเต้น เนื้อหาเพลงโดนใจ ทำให้กลายเป็นเพลงยอดนิยมที่ไม่ว่าใครก็ร้องได้ไปตาม ๆ กัน

13. ใจร้าย - นิโคล เทริโอ

ใครตามหาเพลงที่ร้องง่ายๆ เสียงไม่สูง จังหวะช้า ๆ เศร้า ๆ ต้องไม่พลาดเพลงนี้ เพราะเป็นเพลงช้าจากนักร้องสาวเสียงใสยุค 90 นิโคล เทริโอ ที่ร้องไม่ยากเกินไป มือใหม่ก็ร้องได้แน่นอน

14. บุษบา - นิโคล เทริโอ

ขอหยิบเพลงจากนิโคล เทริโอมาแนะนำกันอีกเพลง เพราะเป็นคาราโอเกะเพลงเก่าเพราะๆ ผู้หญิงร้อง เนื้อหาน่ารัก ชื่อเพลงติดหู แถมมีเนื้อร้องติดปาก

15. กระดุ๊กกระดิ๊ก – โมเม

เพลงผู้หญิงร้องง่ายๆ ที่น่ารักสดใสสมชื่อเพลง เหมาะกับคนที่มองหาเพลงจังหวะสนุก ๆ ร้องไม่ยากจนเกินไป

16. หมวยนี่คะ – China Dolls

เพลงนี้เกิดขึ้นในยุค 90 ที่กำลังฮิตเทรนด์ลูกครึ่ง โดยเฉพาะลูกครึ่งจีน - ไทย แถมศิลปินเองก็ยังเป็นฝาแฝดลูกครึ่งด้วย

17. ซ่าส์…(สั่นๆ) – D2B

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ จากบอยแบนด์ชื่อดัง D2B ที่ปัจจุบันยังคงมีคอนเสิร์ตที่จัดเป็นอีเวนต์พิเศษมาให้แฟน ๆ หายคิดถึง

18. ซักกะนิด – ทาทา ยัง

หนึ่งในเพลงคาราโอเกะ ผู้หญิง ร้องง่ายจากศิลปินดังทาทา ยัง จังหวะเพลงสนุก ร้องตามได้ไม่ยาก

19. เกรงใจ – Raptor

เพลงจังหวะสุดมันส์สำหรับคนชอบแดนซ์ แต่มีจังหวะไม่เร็วจนเกินไป สามารถร้องตามได้ ใครชอบเนื้อร้องที่มีทั้งการร้องและเต้นสนุก ๆ ต้องลอง

20. ผ้าเช็ดหน้า – Triumphs Kingdom

ปิดท้ายด้วยคาราโอเกะเพลงเก่าเพราะๆ ผู้หญิงที่เป็นเพลงชาติสำหรับการจีบใครสักคนในยุคนั้น ด้วยเนื้อหาเพลงที่โดนใจแถมจังหวะร้องไม่ยากเกินไปด้วย

ใครกำลังตามหาเพลงร้องง่ายๆ ยุค 90 ลองนำลิสต์เพลงทั้ง 20 เพลงที่เรานำมาฝากไปร้องกันได้เลย รับรองว่าร้องตามไม่ยาก สนุกได้ทั้งผู้ชายผู้หญิง จะงานอีเวนต์หรือปาร์ตี้ไหน ๆ ก็ไม่ตกเทรนด์

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจ “ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ ร้องคาราโอเกะ ได้ไหม?” เชื่อว่าใครหลายๆ คน มีลำโพงดูหนัง ลำโพงโฮมเธียเตอร์ แต่หากอยากจะใช้งาน “ร้องคาราโอเกะ” บ้าง สามารถทำได้ไหม? ลำโพงดูหนัง ร้องคาราโอเกะได้ไหม? ไขข้อข้องใจไปพร้อมกัน!

ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ ร้องคาราโอเกะ ได้ไหม?

เป็นคำถามยอดฮิตที่หลายๆ ท่านอยากทราบ ลำโพงโฮมเธียเตอร์ สามารถนำมาใช้งานร้องคาราโอเกะ ได้หรือไม่? มีลำโพงดูหนังอยู่ที่บ้าน เอามาร้องคาราโอเกะได้ไหม? ลำโพงโฮมเธียเตอร์เหมาะสมกับการร้องคาราโอเกะมากน้อยแค่ไหน?

เมื่อเรามีชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ไว้ใช้งานอยู่ ดูหนังบ้าง เปิดเพลงฟังบ้าง แต่หากมีบางวันที่ต้องสังสรรค์ จัดปาร์ตี้ที่บ้าน มีอารมณ์อยากจะร้องเพลง ร้องคาราโอเกะขึ้นมา เราสามารถที่จะนำชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ มาเซ็ตอัพใช้งานร้องคาราโอเกะได้ หรือไม่? วันนี้ SoundDD.Shop จะมาไขข้อข้องใจกัน

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

โดยปกติของชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์

“ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์” หรือ “เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์” ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงแบบ 2.1, 5.1, 7.1, หรือไปจนถึง 9.1 ก็จะต้องประกอบไปด้วย เครื่อง AVR (Audio Video Receiver) คือ แอมป์ประเภทหนึ่งที่รวมฟีเจอร์ และขยายเสียงให้กับลำโพงส่วนต่างๆ ในระบบเสียงโฮมเธียเตอร์ หากจะต่อไมโครโฟนเข้าที่ AVR เพื่อใช้งานร้องคาราโอเกะได้เลยได้ไหม? ในปัจจุบัน AVR ส่วนใหญ่ รองรับ Input ได้น้อย ช่องสัญญาณเป็นแบบ RCA (แจ็คขาว/แดง), หรือ AUX In เป็นหลัก หากจะต่อไมโครโฟน ก็จะต้องมาแปลงสายสัญญาณยุ่งยาก สัญญาณเสียงดรอปลง ไม่สามารถปรับเสียงไมโครโฟนได้ จึงไม่เหมาะสมกับการเสียบใช้งานไมโครโฟนได้โดยตรง อีกทั้งยังควบคุมสัญญาณเสียงยากขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้จึงต้องหาใช้งานอุปกรณ์เสียงเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ประยุกต์ใช้งานร้องคาราโอเกะได้

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

หา “มิกเซอร์” มาใช้งานเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ ระบบเสียงโฮมเธียเตอร์ของเรา ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อคาราโอเกะ อาจเกิดปัญหาตามมาได้แน่นอน แต่หากจะอยากใช้งานร้องคาราโอเกะดู ก็สามารถทำได้ หาอุปกรณ์เสียงเพิ่มเติมที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมไมโครโฟนได้มากขึ้น อุปกรณ์สิ่งนั้นก็คือ “มิกเซอร์” หรือ Audio MIxer (อาจจะเลือกใช้งานเป็นมิกเซอร์ขนาดเล็กๆ ก็ได้) มาต่อใช้งานเพิ่มเติม ให้มิกเซอร์เป็นส่วนกลางที่จัดการรองรับไมโครโฟน และเครื่องเล่นเพลงของเรา เชื่อมต่อโดยช่อง Main Output (L/R) ด้วยสายสัญญาณ XLR to RCA เข้ากับเครื่อง AVR ช่อง Audio In ต่างๆ และเข้าสู่ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงอะไรก็แล้วแต่ จะออกมาเป็นระบบสเตอริโอเท่านั้น เพราะว่าไฟล์เสียงที่บันทึกมาจะให้เสียงแยกซ้าย/ขวา ออกสู่ลำโพง Main หลัก ไม่ได้ให้เสียงรอบทิศทางแบบระบบเสียงภาพยนตร์

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

สรุป : ลำโพงโฮมเธียเตอร์ เอามาใช้งานร้องคาราโอเกะได้ไหม?

หากเราจะนำ ลำโพงโฮมเธียเตอร์ ร้องคาราโอเกะได้ไหม? คำตอบคือ พอทำได้ โดยหาอุปกรณ์เสริมมาใช้งานเพิ่มเติม คือ “มิกเซอร์” เพื่อมาจัดการเรื่องของ Input ไมโครโฟนเข้ามา และการปรับแต่งเสียงต่างๆ เพิ่มเติมให้เหมาะสม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูที่คุณสมบัติของชุดโฮมเธียเตอร์ของเราด้วย ว่าใช้งานเหมาะสมได้มากน้อยแค่ไหน? เพราะอย่างไรก็แล้วแต่ทางกายภาพของชุดลำโพงโฮมเตอร์ ไม่สามารถใช้งานร้องคาราโอเกะได้โดยตรง 100% อยู่แล้ว ตัวดอกลำโพงมีความเล็ก อ่อนไหวง่าย เมื่อร้องคาราโอเกะ เสียงพูดของเรามีไดนามิก หนักเบา อีกทั้งระดับ Gain จากมิกเซอร์ ตัวสัญญาณมีความแรงกว่าที่ดอกลำโพงโฮมเธียเตอร์จะรองรับไหว เสี่ยงชำรุด มันถูกออกแบบมาเพื่อการดูหนังเป็นหลักนั้นเอง

หากจะลองทดสอบใช้งาน ก็ควรต้องบาล๊านซ์เสียงให้ดี ระมัดระวังเรื่องของการเซ็ตระดับ Gain เพราะชุดโฮมเธียเตอร์มีวัตต์ที่ไม่สูงนัก พอมาต่อกับมิกเซอร์ อาจจะทำให้เสียงแตกพร่าได้ โดยสรุปแล้ว ควรเลือกใช้งานลำโพง ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ จะดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยง หรือลดโอกาสที่จะเกิดการชำรุดของเครื่องเสียงที่เรารักได้

คาราโอเกะส ขส นต ว นเก ดหน ม เตอร

แล้วทำไมต้อง “ลำโพงคาราโอเกะ” ?

เพิ่มเติม หากลำโพงโฮมเธียเตอร์ สามารถมาต่อใช้งานร้องคาราโอเกะได้ แต่จะประสิทธิภาพการใช้งาน หรือคุณภาพเสียงจะได้แบบที่เราต้องการหรือไม่? ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ว่าเราจะรับมือใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน? และข้อแนะนำหากเราต้องการระบบเสียงคาราโอเกะที่จริงจังขึ้นมา ต้องการเสียงร้องที่ไพเราะ โดดเด่น รายละเอียดเสียงดนตรีที่รายล้อม ลงตัวกับงานคาราโอเกะจริงๆ ก็ควรเลือกใช้งานชุดคาราโอเกะ (แอมป์คาราโอเกะ, ไมโครโฟน, ลำโพงคาราโอเกะ) ไปเลย เพื่อสีสันในการร้องคาราโอเกะแบบครบๆ โดยตรงเลยดีกว่า ไม่ผิดหวังแน่นอน!

“ลำโพงคาราโอเกะ” คอนเซ็ปต์เพื่อเน้นในการใช้งานคาราโอเกะ เสียงร้องที่โดดเด่น รายละเอียดของเสียงดนตรีที่ลงตัว เสียงร้องไม่จมไปกับเสียงดนตรี ตอบสนองเอฟเฟกต์ Chorus หรือ Reverb ได้เพราะสุดๆ

  • ดีไซน์ตู้ การจัดวางดอกลำโพง ปรับจูนให้ลงตัวกับคาราโอเกะมากที่สุด
  • รองรับกำลังขับที่สูง ให้ไดนามิกของเสียงร้อง และเสียงดนตรีทำได้ดี
  • วัสดุ หรือส่วนประกอบของดอกลำโพง ดีไซน์มาเพื่อเน้นการตอบสนองความถี่ย่านเสียงร้อง หรือ Mid-High มาเฉพาะเจาะจง ปรับจูนให้แมตซ์กับไดนามิกเสียงร้องของเรา รองรับได้หลากหลายแนวเพลง ตั้งแต่แนวเพลงลูกทุ่ง ช้าๆ ไปจนถึงแนวเพลงร็อค ที่มีความหนักแน่น ซึ่งให้อรรถรสของงานคาราโอเกะได้ดีกว่าแน่นอน