พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า กรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงาน ผลการนับคะแนนเลือกตั้งปี 2566 อย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 มีผู้มาใช้สิทธิ์ 39,514,973 คน คิดเป็น 75.71% ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

สำหรับ พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส.เขต คะแนนนำ 39 ที่นั่ง คะแนนบัญชีรายชื่อ รวม 537,625 เสียง คิดเป็น 1 ที่นั่ง รวมมี ส.ส. 40 ที่นั่ง โดยมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อยู่ในการเมืองมา 20 ปีเต็ม หลังรัฐประหารปี 2549 เขาเคยเคลื่อนไหวเบื้องหลัง "พรรคต่ำสิบ" หลังรัฐประหารปี 2557 เขารวบรวม "มวลมหามิตร" ตั้งพรรคเพื่อสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เคยถูกทักษิณถาม "วัดรอยเท้าผมหรือ"

ในยามก่อเกิด... สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คือ 1 ใน 23 ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ร่วมกับ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2541 อาศัยความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการด้านการตลาดร่วมปลุกปั้นนโยบายแปลก-ใหม่-จับต้องได้ ปั่นกระแสนิยมในตัวทักษิณให้พุ่งสูง จนพรรคการเมืองน้องใหม่ชนะการเลือกตั้งปี 2544 ด้วยคะแนน 11 ล้านเสียง กวาด ส.ส. เข้าสภาได้ 248 คน

สมคิดกลายเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล "ทักษิณ 1" (2544-2548) แม้มีการปรับ ครม. ถึง 10 ครั้ง แต่เขายังมั่นคงบนเก้าอี้ รมว.คลัง สลับกับ รองนายกฯ ต่อเนื่องไปจนถึงรัฐบาล "ทักษิณ 2" (2548-2549) ที่พ่วงเก้าอี้ รมว. พาณิชย์ เป็นบางช่วง

ความเฟื่องฟูของ "ผู้นำขวัญใจชาวรากหญ้า" ทำให้ชื่อชั้นของ "ขุนพลเศรษฐกิจ" พลอยโดดเด่นไปด้วยทั้งในเวทีไทย-เวทีโลก-เวทีการเมือง บางครั้งเกิดภาพเหลื่อม-ล้ำ-ทับซ้อนกัน จนเกิดเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากแกนนำ ทรท. ว่าครั้งหนึ่งทักษิณเคยออกปากถามสมคิด ณ ที่ทำการพรรค ทรท. ว่า "วัดรอยเท้าผมหรือ"

เคยเป็น "นายกฯ ในโผ" แกนนำ ทรท.

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

ในยุคตกต่ำ... หัวหน้ากลุ่มการเมืองใน ทรท. แวะเวียนไปตั้งวงถกเหตุบ้านการเมืองกับสมคิดอยู่เนือง ๆ ท่ามกลางการชุมนุมขับไล่ทักษิณโดยประชาชนที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปฯ

วงลับที่ข่าวลึกดันหลุดมาถึงหูทักษิณ หนีไม่พ้น กรณี 7 รัฐมนตรีนัดปรับทุกข์กันที่ร้านอาหารอิตาเลียน ซอยต้นสน เมื่อ ก.ค. 2549 ร้อนถึงบรรดาผู้ร่วมวงต้องออกมาแจกแจงว่าเป็นการจัดเลี้ยงฉลองวันคล้ายวันเกิดให้สมคิด

ท่ามกลางเสียงตะโกนขับไล่ทักษิณที่ดังอยู่บนท้องถนน บางเสียงใน ทรท. เสนอให้ดันสมคิดขึ้นเป็นนายกฯ แทนทักษิณ ขณะที่บางคนก็ชิงให้ข่าวเรื่องการงดสังฆกรรม-ไม่ขอรับตำแหน่งใด ๆ หาก ทรท. ชนะเลือกตั้งเป็นหนที่ 3 เพื่อนำตัวเองเด้งออกจากมุมอับการเมือง หลังทักษิณไม่ยอม "ลาออก" แต่เลือกหนทาง "ยุบสภา" ทว่าถูกพรรคฝ่ายค้านบอยคอตการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 2549 ทำให้เกมต่อสู้ทางการเมืองหาจุดยุติไม่ได้

  • พรรคพลังประชารัฐ : ใครเป็นใครในผู้ร่วมก่อตั้ง
  • ประชาธิปัตย์: โตแล้วแตก แตกแล้วโต
  • จาก ทักษิณ ถึง "สามมิตร" การเมืองไทยไม่ไร้ "การดูด ส.ส."

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ (ขวา) เข้าสวมกอดให้กำลังใจนายทักษิณ หัวหน้ารัฐบาลพรรคไทยรักไทย

รัฐบาลทักษิณอยู่ในสถานะ "ไร้อำนาจเต็ม" ก่อนที่รักษาการนายกฯ จะยอมประกาศ "เว้นวรรค" ทางการเมืองในเวลาต่อมา แต่นั่นไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยอมถอนทัพกลับบ้าน ก่อนนำไปสู่รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เมื่อรถถังออกมา ภารกิจของประชาชนกลุ่มนี้จึงสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการพลัดหล่นจากอำนาจของทักษิณกับพวก

ไม่มีนายกฯ ที่ชื่อสมคิด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่านักการตลาดการเมืองผู้นี้จะหมดวาสนาทางการเมือง

ไม่เคยติดต่อทักษิณหลังรัฐประหาร 49

หลังรัฐประหารรัฐบาล "ชินวัตรผู้พี่".. สมคิดลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ทรท. ก่อนได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการประสานและกระชับงานความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์

ทว่ามีชื่อในคำสั่งแต่งตั้งเพียง 6 วัน-ยังไม่ทันลงมือทำงานใด ๆ ก็ต้องคืนเก้าอี้ เมื่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล "หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลตั้งป้อมค้านด้วยคลางแคลงใจในความสัมพันธ์ระหว่างสมคิดกับ "นายเก่า"

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (คนกลาง) ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับ ครม. ซึ่งหัวหน้า คมช.เปรียบเปรยว่าเป็น "คอหอยกับลูกกระเดือก" แต่ต่อมาเกิดความเห็นไม่ลงรอยหลายครั้ง จนกลายเป็น "คอหอยขัดลูกกระเดือก"

"หลังการปฏิวัติ ผมไม่เคยติดต่อกับท่าน ท่านก็ไม่เคยติดต่อกับผม.." สมคิดยืนยันระหว่างแถลงลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 21 ก.พ. 2550

ต่อมาในเดือน พ.ค. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบ ทรท. พร้อมเพิกถอนสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คน เป็นเวลา 5 ปี ในจำนวนนี้มีสมคิดในฐานะรองหัวหน้า ทรท. รวมอยู่ด้วย

แต่ถึงอย่างนั้น ไม่อาจจำกัดความเคลื่อนไหวโดยพฤตินัยของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ได้ ต่างคนต่างแยกย้ายไปทำพรรคการเมืองต่าง ๆ มีกลุ่มการเมืองมากกว่า 1 กลุ่มอยากให้เขาไป "ถือธงนำ" แต่ที่สุดสมคิดย้ายไปชุบชีวิตใหม่ในฐานะที่ปรึกษาพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (รช.) ร่วมกับอดีตเพื่อนร่วมพรรค ทรท. ที่ชื่อ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และ ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เพื่อลงสู่สนามเลือกตั้งปี 2550

สมคิดพานักการเมืองใหม่สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแห่งนี้ แต่การณ์กลับไม่เป็นดังฝันเมื่อ รช. กลายเป็น "พรรคต่ำสิบ" หิ้ว ส.ส. เข้าสภาได้เพียง 9 ชีวิต สมคิดจึงถอยฉาก-ห่างการเมืองไปพักใหญ่

เป็นพลเรือน 2 คนแรกที่ร่วมงาน คสช.

สมคิดปรากฏตัวในกระดานการเมืองอีกครั้งหลังรัฐประหารรัฐบาล "ชินวัตรผู้น้อง" เมื่อปี 2557 เขาเป็น 1 ใน 15 สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเรือนเข้าร่วมเพียง 2 คน อีกคนชื่อ มีชัย ฤชุพันธุ์ ผู้กลายเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเวลาต่อมา หน้าที่หลักของสมคิดคือให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจแก่บรรดานายพลที่จากรั้วกองทัพมาบริหารราชการแผ่นดิน

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, ทำเนียบรัฐบาล

กระทั่ง ส.ค. 2558 สมคิดกลับมาเป็นเสนาบดีอีกครั้งในรอบ 10 ปี เมื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปรับ ครม. "ประยุทธ์ 3" ดึงทีมสมคิดเข้ามาเสียบแทนทีม ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล จากเคยขับเคลื่อนวาระ "ประชานิยม" ในยุครัฐบาลทักษิณ สมคิดกลายเป็นหัวหอกหลักในการเข็นวาระ "ประชารัฐ" ของรัฐบาล คสช.

ชื่อ "นโยบาย" ดังกล่าวได้กลายเป็นชื่อ "พรรคการเมืองใหม่" ซึ่ง "รัฐมนตรีลูกข่ายของสมคิด" ประกอบด้วย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์, อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม, กอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมเปิดหน้า-เปิดตัวเข้าร่วมกิจกรรมในนามพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) วันที่ 29 ก.ย. นี้ กำหนดภารกิจชัดเจนเพื่อสนับสนุนการขยายอำนาจของหัวหน้า คสช. ภายหลังการเลือกตั้ง

พลันที่ พล.อ. ประยุทธ์ส่งสัญญาณชัด "ผมสนใจงานการเมือง" เมื่อ 24 ก.ย. ก็มีเสียงขานรับจากกอบศักดิ์ว่า "ผมฟังนายกฯ บอกว่ารักประเทศชาติ นี่คือความรู้สึกของทุกคนที่ตัดสินใจจะทำเรื่องนี้ เราอยากทำให้ประเทศดีที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อทุกคน ซึ่งผมยินดี..."

แม้การเกิดขึ้นของ พปชร. ไม่ใช่เรื่องเหนือคาดหมาย ทว่าการไร้ "สถานภาพ" ของสมคิดในพรรคการเมืองแห่งนี้เป็นสิ่งที่ผิดจากความคาดหวังของบรรดาหัวหน้ากลุ่มการเมืองที่สมคิดเดินสายไปตกรอง-ต่อรอง โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มสามมิตร" นำโดย สมศักดิ์ เทพสุทิน และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วยเพราะพรรษาการเมืองของ "2 ส." นั้นห่างไกล-ห่างชั้นจากคนการเมืองหน้าใหม่ที่สมคิดส่งไปร่วมพรรคการเมืองน้องใหม่มาก

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

ตัวแทนกลุ่ม พปชร. เข้าร่วมประชุมกับ กกต. วันนี้ (28 ก.ย.)

ทั้ง "2 ส." อดีตรัฐมนตรี ทรท. คือเพื่อนร่วมวงของ ส. สมคิดในช่วงวิกฤตรัฐบาลไทยรักไทยที่ยินดีร่วมงานกับ พปชร. หากสมคิดถือธงนำ ทว่าเมื่อเจ้าตัวขอเป็นแค่ "เงา" กลุ่มสามมิตรจึงยัง "แทงกั๊ก" ไม่นำอดีต ส.ส. ที่ "ดูด" มาจากพรรคต่าง ๆ ไปร่วมวงประชุมวันเสาร์นี้

สุรพร ดนัยตั้งตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้ง พปชร. กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับสมคิดตลอด ส่วนสาเหตุที่รองนายกฯ ยังไม่มาเปิดตัวทำกิจกรรมกับพรรคเชื่อว่าเป็นเพราะ "ถ้าเปิดตัวเร็ว ก็เจ็บเร็ว" เนื่องจากขณะนี้ พปชร. ยังมีสถานะเป็นเพียงกลุ่มการเมือง ไม่ใช่พรรคการเมือง

แม้ยังไม่ทราบแนวทางการตัดสินใจของสมคิด รวมถึงอนาคต พล.อ. ประยุทธ์ว่าจะมาร่วมหัวจมท้ายกับพรรคนี้หรือไม่ แต่สุรพรระบุ 2 ประโยคสำคัญคือ "ถ้าสมคิดมาก็จะเป็นคอนดัคเตอร์คอยให้แนวทาง" และ "ใครสนใจก็มาทำร่วมกันทำงาน เพราะพรรคนี้ถือเป็นรัฐบาลอยู่แล้ว"

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, ทำเนียบรัฐบาล

กล่าวสำหรับสมคิดน้อยครั้งที่จะยอมแสดงทัศนะทางการเมืองต่อสาธารณะ เพราะบทบาทที่เขาพึงใจคือการเคลื่อนไหวหลังฉาก ทว่าส่งผลต่อภาพลักษณ์หน้าฉาก และไม่ลืม "ทิ้งร่องรอย" ให้เดาถูกว่าเป็นผลงานของใคร

ย้อนกลับไป ก.พ. 2561 วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ คือคนแรก ๆ ที่ออกมาปูดข่าวเรื่องการเตรียมการจัดตั้งพรรคชื่อ "ประชารัฐ" โดยมีสมคิดเป็นหัวหน้าพรรค ไม่มีเสียงตอบรับจากผู้ถูกพาดพิง มีเพียง "ภาพ" ที่ไร้ "เสียงบรรยาย" โดยตรงจากปากของสมคิดปรากฏเป็นข่าวในเวลาต่อมา

ย้อนความเคลื่อนไหว-คำชี้แจง สมคิด ก่อนเกิด พปชร.

  • 29 มี.ค. เตรียมรับประทานอาหารกับ สุชาติ ตันเจริญ แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ : สมคิดบอกเพียงว่า "ก็ไทยรักไทยด้วยกัน" และ "ทุกคนก็สนิทสนมกันทั้งนั้น"
  • 3 เม.ย. อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย สกลธี ภัททิยกุล และ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เข้าพบสมคิดที่ทำเนียบฯ : ต่อมาผู้ว่าราชการ กทม. แต่งตั้งสกลธีเป็นรองผู้ว่าราชการ กทม.
  • 17 เม.ย. ครม. มีมติแต่งตั้ง สนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล เป็นที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายการเมือง และตั้ง อิทธิพล คุณปลื้ม เป็น ผช.รมต.ท่องเที่ยวและกีฬา : สนธยายอมรับว่าได้รับการทาบทามจากสมคิดให้มาช่วยงานเรื่องอีอีซี
  • 1 ก.ย. ปองพล และ ร.ต. ปรพล อดิเรกสาร อดีต ส.ส.สระบุรี พรรคเพื่อไทย เข้าพบสมคิด : ร.ต. ปรพลยอมรับว่าเตรียมสมัครเป็นสมาชิก พปชร.
  • 11 ก.ย. ครม. มีมติแต่งตั้ง พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตแกนนำ กปปส. และอดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง : พุทธิพงษ์ยอมรับว่าสมคิดเคยคนทาบทามให้มาช่วยงานรัฐบาลในครั้งแรก แต่ครั้งนี้คนของนายกฯ เป็นผู้ส่งเทียบเชิญ

ที่มา : บีบีซีไทยรวบรวม

แกนนำพรรคการเมืองขนาดกลางรายหนึ่งเปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ในช่วงที่ผู้นำ คสช. อยู่ระหว่างการหยั่งเสียงว่าจะลงสู่สนามการเมืองด้วยการเปิดตัวเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหนึ่งเพื่อให้เป็นแคนดิเดต "นายกฯ ในบัญชี" ของพรรคการเมืองนั้น หรือรอแต่งตัวเป็น "นายกฯ คนนอก" หลังการเลือกตั้ง สมคิดเคยเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองหลายคน อาทิ สนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล และ วราวุธ ศิลปอาชา ว่าที่หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ไปพูดคุยกับ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม เมื่อเดือน เม.ย. 2561 โดยนักเลือกตั้งประเมินสถานการณ์ว่าหาก คสช. ตั้งพรรคเองน่าจะ "ไปไม่ไหว เพราะประชาชนไม่เอาทหาร" แต่ผ่านมา 5 เดือนเข้าใจว่ามี "ปัจจัยใหม่" ที่ทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ต้องเลือกแนวทางการเป็นนายกฯ ในบัญชีของ พปชร.

พรรคพล งประชาร ฐ ต วแทน ม ใครบ าง

ที่มาของภาพ, ทำเนียบรัฐบาล

ในช่วงที่สมคิดเริ่ม "รุกหลังฉาก" เขาออกมาเฉลย "วาระในใจ" ผ่านสื่อว่า "สนับสนุนคนดีมีคุณธรรม คิดว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็นคนดี และสนับสนุนให้ดูแลประเทศ" แต่ชิงขีดเส้นกั้นตัวเองว่าจะไม่ยืดวาระทางการเมือง-ไม่ไปต่อกับ พล.อ. ประยุทธ์ โดยบอกเพียงว่า "ผมอายุมากแล้ว แต่ยังมีลูกน้องเต็มไปหมดแล้ว" (5 เม.ย.)

อีกครั้งเมื่อมีความเคลื่อนไหวในการดูด ส.ส. ของกลุ่มสามมิตร และพาดพิงชื่อสมคิดในฐานะ "ดีลเมเกอร์" เขาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะทำงานด้านเศรษฐกิจ แต่ "ทุกคนเป็นเพื่อนกัน และไม่ใช่แค่สามมิตร เป็นมวลหมู่มหามิตรเลย เป็นเพื่อนฝูงกันทั้งหมด วงการเมืองคือเพื่อน ๆ กัน" (5 ก.ค.)

อีกไม่กี่ชั่วโมง เราจะรู้กันว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ใช่แค่ "สามมิตร" แต่เป็น "มวลหมู่มหามิตร" ของสมคิดเพื่อปูทางให้ พล.อ. ประยุทธ์ บริหารประเทศต่อไป หรือไม่