ข นตอนว ธ การทางประว ต ศาสตร ม ความสำค ญอย างไร

ใบความรู้ท่ี 2.2 เรอ่ื ง วธิ กี ารทางประวัติศาสตร์

1. ความหมาย ความสำคญั และประโยชนข์ องวิธีการทางประวัตศิ าสตร์

ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวหรือกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้เรื่องราวที่ ถูกต้อง นา่ เช่ือถอื โดยใช้วิธีการท่เี รยี กว่า “วิธีการทางประวัตศิ าสตร์

1.1 ความหมายของวธิ ีการทางประวตั ศิ าสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับ เร่อื งราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอาศัยจากหลกั ฐานทเี่ ป็นลายลักษณ์อักษรเปน็ สำคัญ ประกอบกับหลักฐาน อื่นๆ เช่น ภาพถ่าย แถบบันทึกเสียง วีดิทัศน์ หลักฐานทางโบราณคดี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถฟื้นอดีตหรือ จำลองอดีตข้ึนมาใหม่ไดอ้ ย่างถูกตอ้ งสมบรู ณแ์ ละน่าเชือ่ ถือ 1.2 ความสำคัญของวธิ ีการทางประวตั ิศาสตร์ วิธกี ารทางประวัติศาสตร์มคี วามสำคัญ คือ ทำใหเ้ รอ่ื งราว กิจกรรม เหตุการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ ในประวัติศาสตร์มี ความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากท่ีสุด เพราะได้มีการศึกษาอย่างเป็น ระบบ มีข้นั ตอน มคี วามระมดั ระวัง รอบคอบ โดยผูไ้ ด้รับการฝึกฝนในระเบยี บวธิ กี ารทางประวตั ศิ าสตรม์ าดีแลว้ สำหรับการศึกษาประวตั ิศาสตรน์ ัน้ มีปัญหาทสี่ ำคญั อยูป่ ระการหน่ึง คอื อดีตทมี่ ีการฟน้ื หรอื จำลองข้ึนมา ใหม่นั้น มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลาย ลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่ มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้น วิธีการทาง ประวัติศาสตร์จงึ มีความสำคญั เพ่ือใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศกึ ษาประวัตศิ าสตร์ หรอื ผู้ฝกึ ฝนทางประวัติศาสตร์จะ ได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวงั ไม่ลำเอียง และเพอื่ ใหเ้ กดิ ความนา่ เช่อื ถอื 1.3 ประโยชนข์ องวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธกี ารทางประวัติศาสตร์มปี ระโยชนท์ งั้ ตอ่ การศึกษาประวตั ิศาสตร์ที่ทำใหไ้ ด้เรอ่ื งราวทางประวัติศาสตร์ท่ี น่าเชื่อถือ ประโยชน์อกี ด้านหนึง่ คือ ผู้ที่ได้รับการฝกึ ฝนการใช้วธิ กี ารทางประวัติศาสตร์จะทำให้เป็นคนละเอียด รอบคอบ มีการตรวจสอบเรื่องราวทีศ่ ึกษา รวมทั้งนำมาปรับใช้ในชวี ิตประจำวันได้ โดยจะทำให้เป็นผู้รู้จักทำการ ประเมินเหตุการณ์ต่างๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด หรือก่อนจะเชื่อถือข้อมูลของใคร ก็นำวิธีการทาง ประวตั ิศาสตร์ไปตรวจสอบกอ่ น

2. ขน้ั ตอนของวิธีการทางประวตั ิศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์มอี ยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดหัวเรื่อง การรวบรวมหลักฐาน การประเมิน คุณค่าของหลักฐาน การวเิ คราะหแ์ ละสังเคราะห์ข้อมูล และการเรยี บเรยี งหรือการนำเสนอ ดังนี้

ข้นั ตอนของวธิ กี ารทางประวตั ิศาสตร์ 1. การกำหนดหวั เร่อื งทจ่ี ะศกึ ษา 2. การรวบรวมหลกั ฐาน 3. การประเมินคณุ ค่าของหลกั ฐาน 4. การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และจดั หมวดหมู่ขอ้ มูล 5. การเรยี บเรยี งหรือการนำเสนอ 2.1 การกำหนดหวั เรื่องท่ีจะศึกษา การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์เริม่ จากความสงสัย อยากรู้ ไม่พอใจกับคำอธิบายเรือ่ งราวที่มีมาแต่ เดิม ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเริ่มจากการกำหนดเรื่องหรือประเด็นทีต่ ้องการศกึ ษา ซึ่งในตอนแรกอาจกำหนดประเด็นท่ี ต้องการศึกษาไว้กว้างๆ ก่อน แล้วจึงค่อยจำกัดประเด็นลงใหแ้ คบ เพื่อให้เกดิ ความชัดเจนในภายหลัง เพราะบาง เรื่องขอบเขตของการศึกษาอาจกวา้ งมาก ท้ังเหตกุ ารณ์ บคุ คล และเวลา การกำหนดหัวเรอ่ื งอาจเก่ียวกับเหตกุ ารณ์ ความเจริญ ความเสอ่ื มของอาณาจักร ตัวบคุ คลในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง อาจยาวหรือสั้นตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นชว่ งเวลาท่ีสำคญั และยังมหี ลักฐานข้อมูลท่ผี ู้ ต้องการศึกษาหลงเหลืออยู่ หัวข้อเรื่องอาจปรับให้มีความเหมาะสมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากหลักฐานที่ใช้ใน การศึกษามนี อ้ ยหรอื ไมน่ ่าเช่ือถือ 2.2 การรวบรวมหลกั ฐาน การรวบรวมหลักฐาน คอื การรวบรวมหลกั ฐานท่เี กี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะศกึ ษา ซึง่ มีทง้ั หลักฐานท่ีเป็นลาย ลกั ษณอ์ กั ษร และหลักฐานท่ไี ม่เป็นลายลกั ษณ์อักษร หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิกับหลักฐานชั้นรองหรือ หลกั ฐานทุตยิ ภูมิ

  1. หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานร่วมสมัยของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ประกอบด้วยหลักฐานทางราชการทั้งที่เป็นเอกสารลับ เอกสารที่เปิดเผย กฎหมาย ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึก ความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องกบั เหตุการณ์ หรืออัตชีวประวัติ ผู้ที่ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ การรายงานข่าว ของผู้รู้ ผ้เู หน็ เหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพถา่ ยเหตุการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ เป็นตน้
  2. หลักฐานช้ันรอง (Secondary Sources) เปน็ หลักฐานที่จดั ทำขนึ้ โดยอาศัยหลกั ฐานช้ันต้น หรอื โดย บุคคลที่ไม่ไดเ้ ก่ียวข้อง ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบคุ คลอื่น ประกอบด้วยผลงานของนกั ประวัตศิ าสตร์หรือหนงั สอื ประวัติศาสตร์ รายงานของส่อื มวลชนที่ไม่ได้รูเ้ ห็นเหตกุ ารณด์ ้วยตนเอง ทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองจัดวา่ มีคุณค่าแตกต่างกัน คือ หลักฐานชั้นต้น มีความสำคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานรว่ มสมัยที่บันทึกโดยผู้รู้เห็น หรือผู้ที่เกี่ยวขอ้ งกับเหตุการณ์โดยตรง ส่วนหลักฐานชั้นรองเปน็

หลักฐานที่ทำขึ้นภายหลังโดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วยอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจ หลักฐานชั้นต้นได้ง่ายขึ้น ละเอียดขึ้น อันเป็นแนวทางไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่นๆ ซึ่งปรากฏในบรรณานุกรมของ หลักฐานช้ันรอง ทัง้ หลักฐานชนั้ ตน้ และชนั้ รองสามารถค้นคว้าได้จากหอ้ งสมุด ทัง้ ของทางราชการ และของเอกชน ตลอดจนฐานขอ้ มลู ในเครือขา่ ยอินเทอร์เนต็ (website)

การค้นคว้าเรื่องราวในประวตั ศิ าสตรท์ ่ีดคี วรใช้หลักฐานรอบดา้ น โดยเฉพาะหลกั ฐานทเ่ี กีย่ วขอ้ งกับเร่ืองที่ จะศึกษา อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะใช้หลักฐานประเภทใดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะหลักฐานทุกประเภ ทมี จุดเดน่ จดุ ดอ้ ยแตกต่างกนั

ภาพ 1 ภาพถ่ายเหตกุ ารณช์ ุมนมุ ประท้วงของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ และบริเวณถนนราชดำเนนิ เม่อื วนั ท่ี 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นหลกั ฐานช้นั ตน้ ท่ีอยู่ร่วมสมยั กับผู้ที่ถ่ายภาพ เหตุการณ์ จงึ มีความน่าเช่อื ถือ

ทม่ี า : https://www.silpa-mag.com/history/article_40175 สบื คน้ เมอ่ื : 23 เมษายน 2562

2.3 การประเมินคุณคา่ ของหลักฐาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้ ก่อนที่จะทำการศึกษาจะต้องมีการประเมินคุณค่าว่าเป็น หลกั ฐานที่แทจ้ รงิ เพยี งใด การประเมนิ คุณคา่ ของหลกั ฐานนี้เรียกวา่ “วิพากษ์วิธีทางประวตั ิศาสตร”์ ซึง่ มีอยู่ 2 วิธี ดงั ตอ่ ไปนี้

  1. การประเมนิ คณุ ค่าภายนอกหรอื วิพากษ์วธิ ีภายนอก ซง่ึ หมายถงึ การประเมินคณุ ค่าของหลักฐานจาก ลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ บางคร้งั กม็ กี ารปลอมแปลงเพอ่ื การโฆษณาชวนเช่อื ทำให้หลงผิด หรอื เพ่อื เหตผุ ลทางการเมือง การค้า ดังน้นั จงึ ต้องมกี ารประเมนิ วา่ เอกสารน้ันเปน็ ของจรงิ หรอื ไม่ ในส่วนวิพากษ์ วิธีภายนอกเพื่อประเมินหลักฐานวา่ เปน็ ของแท้ พิจารณาได้จากส่ิงที่ปรากฏภายนอก เช่น เนื้อกระดาษ กระดาษ ของไทยแต่เดิมจะหยาบและหนา ส่วนกระดาษฝรั่งดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบนั เริ่มเข้ามาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทางราชการจะใช้กระดาษฝรั่งหรือสมุดฝรั่งมากขึ้นในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับตัวพิมพ์ดีดเริ่มใช้มากขึ้นในกลางรัชสมัยพระบาทสมเ ด็จ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวตั ิศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้านภาลัยมีการใช้กระดาษฝรั่ง หรือมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจา้ อยูห่ ัวใชต้ วั พมิ พด์ ดี กค็ วรสงสยั ว่าหลกั ฐานน้นั เป็นของปลอม
  2. การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานจากข้อมูล ภายในหลักฐานนั้น เป็นต้นว่า มีชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ในช่วงเวลาที่หลักฐานนั้นทำขึ้นหรือไม่ ดังเช่น หลักฐานซึง่ เชื่อว่าเป็นของสมัยสุโขทัยแต่มีการพูดถึงสหรัฐอเมริกาในหลกั ฐานนั้น ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็น ของสมยั สุโขทัยจรงิ หรือไม่ เพราะในสมัยสุโขทัยยังไม่มีสหรฐั อเมริกา แต่นา่ จะเป็นหลักฐานท่ีทำข้ึนเม่ือคนไทยได้ รับรู้ว่ามีสหรัฐอเมริกาแล้ว หรือหลักฐานเป็นของเก่าสมัยสุโขทัยจริง แต่การคัดลอกต่อกันมามีการเติมชื่อ สหรัฐอเมริกาเขา้ ไป เปน็ ต้น วิพากษ์วิธีภายในยงั สงั เกตไดจ้ ากการกล่าวถงึ ตวั บุคคล เหตกุ ารณ์ สถานที่ ถอ้ ยคำ เปน็ ตน้ ในหลักฐานว่า มีความถูกต้องในสมัยนั้นๆ หรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องก็ควรสงสัยว่าเป็นหลักฐานปลอมแปลง หลักฐานที่แท้จริง เท่านั้นที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ส่วนหลักฐานปลอมแปลงไม่มีคุณค่าใดๆ อีกทั้งจะทำให้เกิดความรู้ที่ไม่ ถูกต้องดว้ ย ดงั นั้น การประเมนิ คุณค่าของหลกั ฐานจงึ มคี วามสำคญั และจำเป็นมาก 2.4 การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และจดั หมวดหม่ขู อ้ มลู เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือความจริงใน ประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษา ประวัตศิ าสตรก์ ็จะตอ้ งศกึ ษาข้อมูลหรอื ข้อสนเทศในหลักฐานน้ันว่าให้ขอ้ มูลทางประวัติศาสตรอ์ ะไรบ้าง ข้อมูลนั้น มีความสมบูรณเ์ พียงใด หรือข้อมูลนั้นมีจดุ มุ่งหมาย เบื้องต้นอย่างไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรอื ไม่ ข้อมูลมีความ ยุติธรรมหรือไม่ จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหลายมาจัดหมวดหมู่ เช่น ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิด เหตุการณ์ ความเปน็ ไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เปน็ ตน้ เมื่อได้ข้อมูลเป็นเรื่อง เป็นประเด็นแล้ว ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องนั้นก็จะต้องหาความสัมพันธ์ของ ประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลว่ามีข้อเท็จจริงใดที่ซ่อนเร้น อำพราง ไม่กล่าวถึง หรือในทางตรงกันข้าม อาจมี ข้อมูลท่ีกล่าวเกินความเป็นจริงไปมาก

ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาควร มีความละเอียดรอบคอบ มีการวางตัวเป็นกลาง มีจินตนาการ มีความรอบรู้ โดยศึกษาข้อมูลทั้งหลาย อย่างกว้างขวาง และนำผลการศึกษาเรื่องนั้นที่มีแต่เดิม มาวเิ คราะหเ์ ปรียบเทียบ รวมทัง้ จัดหมวดหม่ขู ้อมลู ใหเ้ ป็นระบบ

2.5 การเรยี บเรยี งหรอื การนำเสนอ การเรียบเรียงหรือการนำเสนอจัดเปน็ ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวตั ศิ าสตร์ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยผศู้ กึ ษาประวัติศาสตร์จะต้องนำขอ้ มูลทัง้ หมดมารวบรวมและเรียบเรียง หรอื นำเสนอให้ตรงกบั ประเด็นหรือหัว เรื่องที่ตนเองสงสัย ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม ทั้งจากความรู้เดิมและความรู้ใหม่ รวมไปถึงความคิดใหม่ที่ได้จาก การศึกษาครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรือ้ ฟื้นหรือจำลองเหตกุ ารณ์ทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่อย่างถูกต้องและเป็น กลาง ในขั้นตอนการนำเสนอ ผ้ศู กึ ษาควรอธิบายเหตุการณอ์ ย่างมรี ะบบและมีความสอดคล้อง ต่อเนอื่ ง เปน็ เหตุ เป็นผล มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนผลการศึกษาวิเคราะห์แต่เดิม โดยมีข้อมูล สนับสนุนอย่างมนี ำ้ หนกั เป็นกลาง และสรุปผลการศกึ ษาวา่ สามารถให้คำตอบท่ีผู้ศกึ ษามคี วามสงสยั อยากรไู้ ดเ้ พยี งใด หรอื มขี ้อเสนอแนะให้สำหรับผู้ ที่ต้องการศึกษาต่อไปอยา่ งไรบ้าง จะเห็นได้ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีระบบ มีความระมัดระวัง รอบคอบ มีเหตุผลและเป็นกลาง ซื่อสัตย์ต่อข้อมูลตามหลักฐานที่ค้นคว้ามา อาจกล่าวได้ว่า วิธีการทาง ประวัติศาสตร์เหมือนกับวิธีการทางวทิ ยาศาสตร์ จะแตกต่างกันก็เพียงวิธกี ารทางวทิ ยาศาสตร์สามารถทดลองได้ หลายครั้ง จนเกิดความแน่ใจในผลการทดลอง แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตรไ์ ม่สามารถทำให้เกิดขึ้นใหมไ่ ดอ้ ีก ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีจึงเป็นผู้ฟื้นอดีตหรือจำลองอดีตให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด โดยใช้วิธีการทาง ประวตั ิศาสตร์ เพื่อจะได้เกิดความเขา้ ใจอดตี อนั จะนำมาส่คู วามเข้าใจในปจั จบุ นั