ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

การศึกษาประวัติศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์กาลเวลา และนักประวัติศาสตร์ ดังนั้น จำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์

Show

    1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา/การตั้งประเด็นที่จะศึกษา

    การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์เริ่มจากความสงสัย อยากรู้ ไม่แน่ใจกับคำอธิบายเรื่องราวที่มีมาแต่เดิม ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเริ่มจากการกำหนดเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการศึกษาซึ่งในตอนแรก อาจกำหนดประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้กว้าง ๆ ก่อน แล้วจึงค่อยจำกัดประเด็นลงให้แคบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในภายหลัง เพราะบางเรื่องขอบเขตของการศึกษาอาจกว้างมากทั้งเหตุการณ์ บุคคล และเวลา

    การกำหนดหัวเรื่องอาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ความเจริญ ความเสื่อมของอาณาจักรตัวบุคคลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจยาวหรือสั้นตามความเหมาะสม ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ และยังมีหลักฐานข้อมูลที่ผู้ต้องการศึกษาหลงเหลืออยู่ หัวข้อเรื่องอาจปรับให้มีความเหมาะสมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากหลักฐานที่ใช้ในการศึกษามีน้อยหรือไม่น่าเชื่อถือ

    2. การรวบรวมหลักฐาน/สืบค้นและรวบรวมข้อมูล

    การรวบรวมหลักฐาน คือ การรวบรวมรายละเอียดและสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะศึกษา ซึ่งมีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่าง ๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่นพงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน เอกสารพื้นบ้าน และกฎหมาย
    1. หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก

    ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

    แบ่งตามลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 ประเภท คือ

    1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง ๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรงหรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้น หลักฐานช่วงต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้ เช่น จดหมายเหตุ คำสัมภาษณ์เอกสารทางราชการ ทั้งที่เป็นเอกสารลับและเอกสารที่เปิดเผยบันทึกความทรงจำกฎหมายหนังสือพิมพ์ ประกาศ สุนทรพจน์ รายงานข่าว ภาพยนตร์ สไลด์ วีดิทัศน์แถบบันทึกเสียง ภาพถ่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ เป็นต้น
    1. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่าง ๆ เช่นพงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ เป็นต้น สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี คือ มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์เหตุการณ์ และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบโดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว

    หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองจัดว่ามีคุณค่าแตกต่างกัน คือ หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่บันทึกโดยผู้รู้เห็น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ส่วนหลักฐานชั้นรองเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นภายหลัง โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วยอธิบาย เรื่องราวให้เข้าใจหลักฐานชั้นต้นได้ง่ายขึ้น ละเอียดขึ้นอันเป็นแนวทางไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งปรากฏในบรรณานุกรมของหลักฐานชั้นรองทั้งหลักฐานชั้นต้น และชั้นรองสามารถค้นคว้าได้จากห้องสมุดของทางราชการ และของเอกชนตลอดจนฐานข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (website)

    แหล่งรวบรวมหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญ คือ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

    ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งรวบรวมเอกสาร ตัวเขียนที่เป็นสมุดฝรั่ง ภาพถ่ายเก่าส่วนสำนักหอสมุดแห่งชาติเป็นที่เก็บเอกสารตัวเขียนที่เป็นสมุดไทยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งในพระนครและต่างจังหวัดเป็นสถานที่ที่มีศิลาจารึกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเก็บไว้จำนวนมาก นอกจากนี้หอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยต่าง ๆบางแห่งก็มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เก็บไว้เช่นกันหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนหนึ่งมีการพิมพ์เผยแพร่ โดยหลายหน่วยงานซึ่งทำให้เกิดความสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า รวมทั้งมีการปริวรรตหรือถอดเป็นภาษาปัจจุบันด้วยหน่วยงานสำคัญที่เป็นแหล่งพิมพ์เผยแพร่หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย คือ กรมศิลปากรคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตลอดจนสำนักพิมพ์เอกชนทั้งหลาย

    การใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้นใช้ได้สะดวกพอสมควรแต่บางส่วนอาจใช้จากฉบับสำเนา เพราะต้นฉบับเดิมกระดาษกรอบและขาดง่าย เนื่องจากอากาศร้อนชื้นและมีอายุมาก ดังนั้น การใช้จึงต้องระมัดระวัง และต้องช่วยกันถนอมรักษา เพราะหลักฐานเหล่านี้เป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ ไม่สามารถจะหามาใหม่ทดแทนได้

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยหรือหลักฐานที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการและความเป็นมาของมนุษย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อและการดำ เนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำ คัญในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพราะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น ทราบเรื่องราวได้อย่างใกล้เคียงกับความจริงที่สุด

    ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์

    1. จารึก เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทลายลักษณ์อักษรที่มีการบันทึกลงในวัตถุต่าง ๆ เช่น แผ่นศิลาแผ่นผนัง แผ่นกระเบื้อง ใบลาน เป็นต้น มักเป็นการบันทึกเรื่องราวของช่วงเวลานั้น ๆ หรือบันทึกวิชาความรู้ต่าง ๆ เมื่อทำการจารึกแล้วจะไม่มีการแก้ไข เพราะเป็นการจารึกเพียงครั้งเดียวจึงมีความน่าเชื่อถือ เช่น จารึกที่วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาที่สำคัญแล้วจารึกไว้บนแผ่น
    1. พงศาวดาร เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชวงศ์เนื้อหามักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอาณาจักรหรือราชสำนัก ซึ่งช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชสำนักได้อย่างดี เช่นพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
    1. บันทึกของชาวต่างชาติ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาในประเทศไทยได้บันทึกถึงเหตุการณ์ที่ตนเองได้ประสบพบเห็นในช่วงเวลานั้น ๆ เช่นการดำเนินชีวิตของผู้คน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณี เป็นต้น บันทึกของชาวต่างชาติที่น่าสนใจ เช่น บันทึกของเซอร์ จอห์น เบาว์ริ่งราชทูตที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษส่งมาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ใน พ.ศ. 2397 ซึ่งได้มีโอกาสบันทึกถึงราชสำนักและบ้านเมืองในสมัยนั้น เป็นต้น
    1. เอกสารทางราชการ เป็นเอกสารที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ออกขึ้น เพื่อใช้ในงานหรือกิจการที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นบันทึกที่อยู่ในช่วงเวลานั้นเช่น กฎหมายตราสามดวงที่ชำระแก้ไขในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่ 1) เอกสารแจ้งข่าวของกระทรวงการต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระราชหัตถเลขาของพระมหากษัตริย์ ที่มีถึงหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
    1. แหล่งโบราณสถาน โบราณสถานสำคัญที่สามารถใช้ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีด้วยกันหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ป้อมพระสุเมรุ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ที่มา : www.attazone02.blogspot.com

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ที่มา : www.rimkhobfabooks.com

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ที่มา : www.rimkhobfabooks.com

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ภาพ : ป้อมพระสุเมรุ กรุงเทพฯ

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ภาพ: วัดพระศรีรัตนศาสดารามภาพ

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ภาพ : วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

    ข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทั้งความจริงและข้อเท็จจริง

    ในการสรุปข้อมูลที่ได้จากหลักฐาน สิ่งที่ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าจะมีทั้งข้อเท็จจริงและความจริงที่ปรากฏอยู่บนหลักฐาน ผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าข้อเท็จจริงกับความจริงที่ได้จากหลักฐานนั้นแตกต่างกันอย่างไร

    ข้อเท็จจริง คือ เรื่องราวหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นจริง (ข้อจริง)และส่วนที่ไม่เป็นความจริง (ข้อเท็จ) ปะปนกันอยู่ จึงต้องได้รับการประเมินและตรวจสอบความน่าเชื่อถืออย่างรอบคอบ

    ความจริง คือ เรื่องราวซึ่งได้รับการประเมิน และให้การยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ให้การสนับสนุน

    ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานนั้นจึงต้องมีการแยกแยะถึงข้อเท็จจริงและความจริงเสมอ เพราะเรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เราจึงไม่สามารถทราบได้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร การใช้ข้อมูลจากหลักฐานจึงต้องทำการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้เรื่องราวที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด

    3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน/การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้ ก่อนที่จะทำการศึกษาจะต้องมีการประเมินคุณค่าว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริงเพียงใด การประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้เรียกว่า“วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” มี 2 วิธี ดังต่อไปนี้

    1. การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก หมายถึง การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บางครั้งก็มีการปลอมแปลงเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้หลงผิด หรือเพื่อเหตุผลทางการเมือง การค้า ดังนั้น จึงต้องมีการประเมินว่าเอกสารนั้น เป็นของจริงหรือไม่ ในส่วนวิพากษ์วิธีภายนอก เพื่อประเมินหลักฐานว่าเป็นของแท้ พิจารณาได้จากสิ่งที่ปรากฏภายนอก เช่น เนื้อกระดาษ ของไทยแต่เดิมจะหยาบและหนาส่วนกระดาษฝรั่งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เริ่มเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) แต่ทางราชการจะใช้กระดาษฝรั่งหรือสมุดฝรั่งมากขึ้น ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เกี่ยวกับตัวพิมพ์ดีดเริ่มใช้มากขึ้นในกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ตัวพิมพ์ดีด ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของปลอม
    1. การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานจากข้อมูลภายในหลักฐานนั้น เป็นต้นว่า มีชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ในช่วงเวลาที่หลักฐานนั้นทำ ขึ้นหรือไม่ ดังเช่น หลักฐานซึ่งเชื่อว่าเป็นของสมัยสุโขทัยแต่มีการพูดถึงสหรัฐอเมริกาในหลักฐานนั้น ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่ เพราะในสมัยสุโขทัยยังไม่มีประเทศสหรัฐอเมริกา แต่น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำขึ้น เมื่อคนไทยได้รับรู้ว่ามีประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว หรือหลักฐานเป็นของเก่าสมัยสุโขทัยจริง แต่การคัดลอกต่อกันมามีการเติมชื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าไป เป็นต้น

    วิพากษ์วิธีภายในยังสังเกตได้จากการกล่าวถึงตัวบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ถ้อยคำ เป็นต้น ในหลักฐานว่ามีความถูกต้องในสมัยนั้น ๆ หรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องก็ควรสงสัยว่าเป็นหลักฐานปลอมแปลง หลักฐานที่แท้จริงเท่านั้นที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ส่วนหลักฐานปลอมแปลงไม่มีคุณค่าใด ๆ อีกทั้งจะทำให้เกิดความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการประเมินคุณค่าของหลักฐานจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก

    4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

    เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือความจริงในประวัติศาสตร์ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะต้องศึกษาข้อมูลหรือข้อสนเทศในหลักฐานนั้นว่าให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อะไรบ้าง ข้อมูลนั้นมีความสมบูรณ์เพียงใด หรือข้อมูลนั้นมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ ข้อมูลมีความยุติธรรมหรือไม่ จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหลายมาจัดหมวดหมู่ เช่น ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ความเป็นไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เป็นต้น

    เมื่อได้ข้อมูลเป็นเรื่อง เป็นประเด็นแล้ว ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องนั้นก็จะต้องหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่าง ๆ และตีความข้อมูลว่ามีข้อเท็จจริงใดที่ซ่อนเร้นอำพรางไม่กล่าวถึงหรือในทางตรงกันข้ามอาจมีข้อมูลกล่าวเกินความเป็นจริงไปมาก

    ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ควรมีความละเอียดรอบคอบ วางตัวเป็นกลาง มีจินตนาการ มีความรอบรู้ โดยศึกษาข้อมูลทั้งหลายอย่างกว้างขวาง และนำผลการศึกษาเรื่องนั้นที่มีแต่เดิมมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมทั้งจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบ

    5. การเรียบเรียงและการนำเสนอข้อมูล/การเรียบเรียง รายงาน ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

    การเรียบเรียงหรือการนำ เสนอจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมและเรียบเรียงหรือนำเสนอให้ตรงกับประเด็นหรือหัวเรื่องที่ตนเองสงสัย ต้องการอยากรู้เพิ่มเติมทั้งจากความรู้เดิมและความรู้ใหม่ รวมไปถึงความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ซึ่งเท่ากับเป็นการรื้อฟื้นหรือจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ อย่างถูกต้องและเป็นกลาง

    ในขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาควรอธิบายเหตุการณ์อย่างมีระบบและมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนผลการศึกษาวิเคราะห์แต่เดิม โดยมีข้อมูลสนับสนุนอย่างมีน้ำหนัก เป็นกลาง และสรุปการศึกษาว่าสามารถให้คำตอบที่ผู้ศึกษามีความสงสัยอยากรู้ได้เพียงใด หรือมีข้อเสนอแนะให้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไปอย่างไรบ้าง

    จะเห็นได้ว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีระบบ มีความระมัดระวัง รอบคอบ มีเหตุผลและเป็นกลาง ซื่อสัตย์ต่อข้อมูลตามหลักฐานที่ค้นคว้ามาอาจกล่าวได้ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จะแตกต่างกันก็เพียงวิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถทดลองได้หลายครั้ง จนเกิดความแน่ใจในผลการทดลอง แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้อีก ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีจึงเป็นผู้ฟื้นอดีตหรือจำลองอดีตให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจอดีต อันจะนำมาสู่ความเข้าใจในปัจจุบัน

    ข นตอนการหาหล กฐานทางประว ต ศาสตร ม ก ประเภท

    ตัวอย่างการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย

    การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

    1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา/การตั้งประเด็นที่จะศึกษา จะต้องตั้งประเด็นปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาก่อน เพราะการตั้งประเด็นปัญหาจะช่วยกำหนดเป้าหมายในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น การตั้งกำหนดปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษานั้นมีด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้

    “ป้อมพระจุลจอมเกล้าสร้างขึ้นมาเมื่อใด”

    “ใครเป็นผู้ที่สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ขึ้น”

    “ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นไว้ในบริเวณใด”

    “ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ใด”

    “ลักษณะโดยทั่วไปของป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นอย่างไร”

    “ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์”

    2. การรวบรวมหลักฐาน/สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้านั้นผู้ที่ได้ศึกษาจะต้องทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้าจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งแหล่งข้อมูลที่สามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานได้นั้นมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน หอสมุดแห่งชาติหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ป้อมพระจุลจอมเกล้าจังหวัดสมุทรปราการ เว็บไซต์ต่าง ๆ นิตยสาร สารคดี รวมถึงผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นต้น

    3. การประเมินค่าของหลักฐาน/การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานจนได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานเหล่านั้น ทั้งนี้ ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้านั้น ควรใช้ข้อมูลหลักฐานที่มีความหลากหลายและจะต้องมีการเทียบเคียงข้อมูลหลักฐานหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องมากที่สุด และจะต้องวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่มีอคติ

    4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูล เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานที่มีจนได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและใกล้เคียงมากที่สุดแล้ว ผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่มีเหล่านี้ไปใช้ในการตอบประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้เกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า ดังนี้

    • ป้อมพระจุลจอมเกล้าสร้างขึ้นมาเมื่อใด เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2427 รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    • ใครเป็นผู้ที่สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    • ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นไว้ในบริเวณใด บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
    • ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ใด เพื่อสกัดกั้นการรุกรานของกองเรือต่างชาติที่จะรุกล้ำเข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา
    • ลักษณะโดยทั่วไปของป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นอย่างไร ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีลักษณะการสร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก ประกอบด้วยหลุมปืนใหญ่จำนวน 7 หลุม ติดตั้งปืนอาร์มสตรองขนาด 155 มิลลิเมตร เรียกว่า “ปืนเสือหมอบ”ซึ่งสั่งมาจากประเทศอังกฤษ ภายในประกอบด้วยคูหาและห้องสำหรับเก็บกระสุนปืนใหญ่ มีการออกแบบป้อม เพื่อลดการสูญเสียหากถูกโจมตีด้วยการยิงจากปืนใหญ่จากฝ่ายตรงข้าม

    ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ในช่วงที่มหาอำนาจตะวันตกพยายามคุกคามประเทศไทยป้อมพระจุลจอมเกล้ามีบทบาทสำคัญในการสกัดกั้นการรุกรานของกองเรือฝรั่งเศส จำนวน 3 ลำ ที่เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการต่อสู้กันและทหารที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าสามารถยิงเรือรบฝรั่งเศสจนเกยตื้นได้ 1 ลำ เรือรบที่เหลือของฝรั่งเศสได้รับความเสียหาย แต่สามารถฝ่าเข้าไปจนถึงกรุงเทพฯ ได้ ปัจจุบันป้อมพระจุลจอมเกล้าอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ โดยฐานทัพเรือกรุงเทพซึ่งได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเที่ยวชม และศึกษาเรื่องราวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดจนชมทัศนียภาพของระบบนิเวศที่อยู่โดยรอบป้อมพระจุลจอมเกล้าอีกด้วย